AMD FX-8350 Processor Review : Introduction & Specification (1/9)
...FX 8350 อย่างที่เราทราบกันดีแล้วว่า นี่เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่สองของ Processor หรือ CPU ที่ในตระกูล FX ภายใต้โค๊ดเนม Vishera ซึ่งถ้ามองกันในรายละเอียดแล้วเนี่ย โครงสร้างนั้นแทบจะไม่ต่างจากเจนเนอร์เรชั่นก่อนที่มีขนาด 32 นาโนเมตร ซึ่งโปรเซสเซอร์แต่ละคอร์นั้นจะมี Piledriver ยูนิตเป็นโมดูลอยู่ ซึ่งอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆว่า โมดูล Piledriver แต่ละยูนิตนั้นจะมี AMD64 CPU อยู่สองคอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจำนวนที่มีมาใน 8350 นั้นจะมี Piledriver ทั้งหมดสี่หน่วยรวมเป็นจำนวนคอร์ทั้งหมด 8 คอร์ตามรูปของ Die ด้านล่าง
Vishera Processor die
ภายในของ FX-8350 นั้น จะมีจำนวนทรานซิสเตอร์ประกอบอยู่จำนวนทั้งหมดประมาณ 1.2 พันล้านตัว ซึ่งมันยังรวมเอา Memory Controller เข้าไว้ด้านในด้วย สามารถเห็นและทำความเข้าใจได้จากภาพด้านล่าง ความแตกต่างในด้านการออกแบบของรุ่นใหม่นี้ จะเห็นได้ว่าในแต่ละโมดูลนั้นจะแชร์คอมโพเน้นท์ที่รวมไปถึง front-end (fetch and decode), floating-point unit, data prefetch unit, และ cache L2 ขนาด 2MB ซึ่งการที่โมดูล Piledriver ที่แชร์ได้นั้นทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะรวมเอาคอร์ที่มากขึ้นบนขนาด die ที่เล็กลง และยังจะสามารถเบ่งพลังของ floating-point unit ได้มากกว่า นั่นจะมีผลให้เค้นประสิทธิภาพได้มากเท่าที่เป็นไปได้ มันทำให้ AMD สามารถทำคอร์โปรเซสเซอร์ที่มีจำนวนคอร์ในลักษณะ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16 PileDriver แปดคอร์นั้น ได้ถูกทำการผลิตโดย GlobalFoundries บนพื้นฐาน 32 นาโนเมตร SOI (Silicon-On-Insulator) ขนาดขอมันใกล้เคียงกับ CPU A-Series APUs ที่ออกแบบมาสำหรับ Mainstream Laptops มันมีขนาด 315 ตารางมิลลิเมตร และมีทรานซิสเตอร์ประมาณ 1.2 พันล้านตัว ตัว Processor นั้นสามารถใช้งานได้กับชิพเซต 900 ที่มีอยู่บนมาเธอร์บอร์ดในปัจจุบัน Piledriver CPU Core Piedriver นั้นเป็นการพัฒนาในเจนเนอร์เรชั่นที่สองต่อจาก Bulldozer ซึ่งภายใน Piledriver คอร์นั้นใช้งาน Trinity APUs ที่ใหม่กว่า, AMD กล่าวกว่า พวกเค้าได้ทำการทวีค CPU core เล็กน้อยเพื่อให้มันสามารถแสดงศักยภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น หนึ่งในการพัฒนา Vishera ก็คือ Turbo Core 3.0 ที่เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดขึ้นมา ในเทอร์โบโหมดนั้น มันสามารถปรับความเร็วของคอร์ขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วมากเมื่อพลังงานที่ใช้และอุณหภูมิยังอยู่ในสภาวะปกติ ซึ่งโดยปกติแล้ว ความเร็วในโหมดเทอร์โบจะไปได้ประมาณ 4.2 GHz Caches มองในด้านของการพัฒนา Cache นั้น กล่าวได้ไม่เต็มปากนักครับว่ามีการพัฒนาจาก Bulldozer ไปมาก แต่มันก็เปลี่ยนแปลงจาก Phenom II หรือ Athlon II อย่างมากมายมหาศาลเลย กล่าวง่ายๆก็คือ ในแต่ละคอร์นั้นจะมี cache level 1 จำนวน 128 KB, 16 KB/Core x8 Data cache 64-byte cacheline, 4-way associative, write-through ซึ่งโครงสร้างของ L1 cache นั้นจะสามารถว่างและใช้งานได้ 64KB, 2-way associative with a 64-byte cacheline x4. สำหรับ SKUs จำนวนแปดคอร์นั้น จะมี L2 ความจุ 8 เมกกาไบท์ จาก 2 เมกต่อหนึ่งโมดูล ในส่วนของ L3 นั้น AMD ได้ออกแบบให้มีการแชร์ L3 8 เมกกาไบท์นั้นกับทั้งสองคอร์ใน Piledriver โมดูล (ในหนึงโมดูลจะมีสองคอร์) จะมี L3 จำนวน 2 เมกกาไบท์ New Instruction sets (compilers) Bulldozer นั้นได้เพื่มชุดคำสั่งใหม่ที่บางคำสั่งนั้นมีอยู่บนทั้ง CPU ของ AMD และ intel เช่น SSE, encryption, และ AVX สำหรับ floating-point operations นอกเหนือจากนั้นแล้ว AMD ก็ยังใส่ชุดคำสั่งที่เป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบโดย AMD คือ FMA4 สำหรับ HPC applications และ XOP สำหรับ numeric, multimedia, and audio/radio applications ข่าวดีก็คือเราได้เห็นว่า FX-8350 นั้นรองรับชุดคำสั่ง AVX, AVX 1.1, FMA3 and AES ได้เป็นอย่างดีด้วย Processor SKUs สำหรับ FX CPU เจนเนอร์เรชั่นที่สองนั้น เราจะเห็น AMD วางจำหน่ายอยู่สองรุ่น สองในสี่จะเป็น CPU ที่มีแปดคอร์ อีกสองรุ่นจะเป็นหกและสี่คอร์ รุ่นที่เร็วและแรงที่สุดนั้นคือ FX-8350 มีเบสคล๊อกที่ 4.0 GHz และสามารถเร่งความเร็วสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4.2 GHz มี cache L2 จำนวน 8MB และมี TDP ที่ 125 วัตต์ ส่วนรุ่นรองลงมาอย่าง FX-8250 นั้นจะเหมือนกันแต่ความเร็วจะน้อยกว่าที่เบสคล๊อก 3.5 GHz และสูงสุดด้วย Turbo 4.0 GHz สำหรับรุ่นหกคอร์นั้นจะมี FX-6300 ซึ่งเบสคล๊อกจะอยู่ที่ 3.5 GHz และสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4.1 GHz มี L2 6MB (L2 1MB/each core) สำหรับตัวล่างสุดนั้นจะเป็น FX-4300 ที่มีจำนวนคอร์ทั้งหมดสี่คอร์ เบสคล๊อกที่ 3.8 GHz และสามารถปรับไปสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4 GHz และมี cache 4MB Turbo Core 3.0 คุณสมบัติที่น่าสนใจนี้เริ่มต้นมีตั้งแต่ใน AMD Phenom II Hexacore Processor ต่อเนื่องมายัง Bulldozer, LIano & Trinity และปัจจุบัน Vishera Piledriver ก็ได้รวมเอาคุณสมบัตินี้เอาไว้ด้วย ซึ่ง AMD Turbo Core นั้นจะทำให้ความเร็วของคอร์ใน CPU นั้นปรับขึ้นลงได้อย่างอิสระจากเบสคล๊อคในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้การพัฒนาก็มาถึงเวอร์ชั่นที่สามแล้ว อะไรคือ Scorpius? มันเป็นชื่อทางการค้าซึ่งโค๊ดเนม Scorpius นั้นเป็นชื่อของแพลทฟอร์มที่ได้รวมเอาชิ้นส่วนสำคัญๆเอาไว้สามชิ้น ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้บนชิพเซตซีรีย์ 9 บนมาเธอร์บอร์ด โดยที่คอมโพเนนท์เหล่านั้นจะประกอบไปด้วย CPU Fx Series, AMD Radeon HD 6000/7000 กราฟฟิกการ์ด และชิพเซตซีรีย์ 9 Socket AM3+ Processor ในซีรีย์ FX นั้นจะมีพื้นฐาน Socket AM3+ บนชิพเซตซีรีย์ 9 แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำงานบนมาเธอร์บอร์ดที่ใช้ชิพเซตซีรีย์ 8 ซึ่งบรรดาผู้ผลิตก็ได้ประกาศรายชื่อของมาเธอร์บอร์ดที่รองรับการทำงานของ AM3+ Multi-core Processor แต่บางบอร์ดอาจจะต้องมีการอัพเดทไบออสด้วย หลังจากนั้นก็สนุกกับความสามารถของ processor 32 นาโนเมตรตัวใหม่ที่เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่สองได้แล้ว