AMD RADEON™ R9 FURY X 4GB HBM 4096-bit Review : Features (2/28)
เรามาชมในส่วนของฟีเจอร์และตัวการ์ดกันต่อเลยครับว่าจะมาในรูปร่างแบบไหน ดีไซน์ไหน ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วครับว่าทาง AMD ได้นำเอาเทคโนโลยี HBM มาใช้ใน AMD RADEON FURY X ทำให้การใช้พื้นที่เม็ดแรมที่สิ้นเปลืองนั้นจะหมดไป ก็หมายความว่าพื้นที่ของตัวการ์ดนั้นจะลดลง ซึ่งในสมัยก่อนเราจะคิดว่าการ์ดใบใหญ่จะต้องเป็นรุ่นท๊อปและแรงมีประสิทธิภาพมากกว่าใบเล็กๆ(ถ้านับกันตามซีรี่ย์นะครับ) แต่ ณ เวลานี้ทาง AMD ปฎิวัติใหม่ครับโดยการนำเจ้าแรม HBM (High Bandwidth Memory) ที่เป็นการติดตั้งเม็ดแรมลงรอบๆ GPU DIE หรือบน Interposer เพื่อง่ายต่อการส่งถ่ายข้อมูลและการประหยัดพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ทำให้ตัวกราฟฟิการ์ด AMD RADEON FURY X จะมีขนาดที่เล็กลงอย่างมากครับ เพราะพื้นที่เม็ดแรมไม่ต้องไปติดตั้งลงไปที่ PCB เหมือนในรุ่นก่อนๆหรือกราฟฟิการ์ดในสมัยก่อนนั่นเอง เดี๋ยวเราไปชมกันครับว่า AMD RADEON FURY X นั้นจะมีรูปร่างหน้าตาและฟีเจอร์เป็นอย่างไรกันบ้าง
ขนาดตัวการ์ดที่เล็กลงเมื่อเทียบกับรุ่น RADEON R9 290X ลดลงถึง 30เปอร์เซ็นกันเลยทีเดียวครับ โดยขนาดของ PCB อยู่ที่ 7.5นิ้วเท่านั้นเอง จะเห็นได้ชัดครับว่ากราฟฟิกการ์ดรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เหมือนแต่ก่อนครับ
AMD RADEON FURY X นั้นมีชุดน้ำสำเร็จติดตั้งทำให้การระบายความร้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงเสียงรบกวนเพียงแค่ 32dBA เท่านั้นเองครับ เงียบจริงๆ
ในส่วนของชุดซิงค์คลอบด้านนอกก็ประกอบไปด้วยวัสดุชั้นดีไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียมเกรดดีผสมกับนิกเกิลอย่างดีกันเลยทีเดียวครับ ทำให้มั่นใจได้ครับคงทนและระบายความร้อนได้ดีเลยทีเดียว
อีกทั้งยังมีไฟแสดงสถานะการทำงานของชุดต่อไฟเลี้ยงในแต่ละชุด รวมทั้งมีไฟแสดงสถานะระบบ AMD Zero Core Power Mode ที่เป็นโหมดประหยัดพลังงานของทาง AMD ไว้แจ้งเตือนอีกด้วยครับ ส่วนด้านบนตัวการ์ดก็จะมีไฟแสดงบนโลโก้คำว่า RADEON สวยงามเป็นอย่างมาก
ประสิทธิภาพการโอเวอร์คล๊อกก็สามารถทำได้ดียิ่งขึ้นและอัตราการบริโภคไฟก้ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากแต่อย่างใดครับ
สำหรับอินเตอร์เฟสด้านหลังในช่องเชื่อมต่อก็มีมาให้มากมายครับ DP X3 , HDMI X1 อีกทั้งยังรองรับ DP1.2 MST HUB อีกด้วยในกรณีจะต่อเพิ่มครับ
มาดูผลของเฟรมเรตในระดับ 4K กันครับจะได้ชัดครับว่าเฟรมเรตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 53เฟรมเรตในการเซ็ตติ้งระดับ Ultra แต่ที่น่าตกใจคือระดับ Minimum เฟรมเรตไม่ได้ตกฮวบลงไปอะไรมากมายครับอยู่แค่ 43เฟรมเรตเท่านั้น ถือได้ว่าการใช้งานระดับ 4K นี่ลื่นไหลแบบสุดๆอย่างแน่นอนในคอนฟิกระดับสูงๆได้สบายๆ
การออกแบบตัวการ์ดทั้งชุดระบายความร้อนด้วยน้ำรวมทั้งเฟสไฟ 6เฟสในการควบคุม ช่องต่อไฟเลี้ยง 8พินที่บริโภคไฟประมาณ 275W รวมทั้งมีไบออส 2ชุดสำรองไว้ในการใช้งานอีกด้วยครับ
ขนาดของตัวการ์ดนั้นกระทัดรัดมากครับ มีขนาดเพียงความยาว 194mm ความสูง 102mm เท่านั้นเองครับ ในส่วนของชุดระบายความร้อนด้วยน้ำก็เป็นหม้อน้ำขนาด 120mm 1ตอน และมีสายยาว 400mm ให้ไว้เผื่อติดตั้งได้สบายๆครับ
ด้านในตัวการ์ดก็จะประกอบด้วยตัวฮีตซิงค์คลอบถึง 4ชั้นกันเลยทีเดียวครับ ทั้งชุดระบายความร้อนด้วยน้ำ ฝาครอบด้านหน้า และแพลตด้านหลัง PCB
สเปคต่างๆของ AMD RADEON™ R9 FURY X ในโค๊ดเนม Fiji XT มี GPU Clock อยู่ที่ 1050MHz จำนวน Unified Shader core หรือ Steam Processor อยู่ที่ 4096 Unit มี TMUs อยู่ที่ 64unit มี ROPs อยู่ที่ 128 ROPs มีบัสแบนวิดท์ 4096bit และมีจำนวนแรม HBM (High Bandwidth Memory) อยู่ที่ 4096MB แรมจะทำงานที่ความเร็ว 500MHz แบนด์วิดท์สูงสุดที่ 512GB/s ประมวลผลได้สูงสุด 8.6 TFlops ในรูปแบบ single-precision รองรับการทำงานของ DirectX® 12, Vulkan™ & OpenGL® 4.5 APIs , AMD FreeSync™ Technology , Virtual Super Resolution (VSR) , Frame Rate Target Control (FRTC)
Frame Rate Target Control (FRTC) อีกหนึ่งฟีเจอร์ของทาง AMD ที่จะช่วยให้ท่านกำหนดเฟรมเรตในการใช้งานได้ครับ ก็คือเมื่อมีการเปิดใช้งาน Frame Rate Target Control (FRTC) จะทำให้อัตราการบริโภคไฟนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างท่านเล่นเกมส์ที่รันแล้วเฟรมเรตทะลุ 80-100 Fps ทำให้อัตราการกินไฟนั้นเพิ่มมากขึ้นซึ่งมันไม่ได้มีความจำเป็นมากนักเพราะในเฟรมเรตเฉลี้ยที่ 60เฟรมเรตขึ้นไปก็ทำให้ให้เราเล่นเกมส์ได้ลื่นแล้วครับ ระบบ Frame Rate Target Control (FRTC) จะสามารถล๊อกเฟรมเรตไม่ให้พุ่งสูงเกินความจำเป็นจะเป็นการช่วยประหยัดอัตราการบริโภคไฟได้อย่างมากเลยทีเดียวครับ
ในฟีเจอร์นี้เราสามารถไปปรับค่าเฟรมเรตที่เราต้องการใช้งานได้ครับ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานการกินไฟของตัวการ์ดเราได้อีกด้วย
ตารางเปรียบเทียบครับเมื่อใช้ระบบ Frame Rate Target Control (FRTC) จะเห็นได้ชัดครับว่ากินไฟน้อยลงจริงๆ
Virtual Super Resolution (VSR) ฟีเจอร์ที่คุณสามารถใช้งานจอที่รองรับความละเอียด 1080P สามารถใช้งานความละเอียด 4K ได้แบบง่ายๆด้วยฟีเจอร์ใหม่ของทาง AMD ครับ โดยสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนฟังชั่น Virtual Super Resolution (VSR) ท่านก็จะสัมผัสความละเอียดที่คมชัดในระดับ 4K ในจอมอนิเตอร์ความละเอียด 1080P ได้นั่นเองครับ
จอมอนิเตอร์ที่เป็น 1080P สามารถใช้ฟีเจอร์ Virtual Super Resolution (VSR) เปลี่ยนภาพให้แสดงผล 4K ได้อย่างสบายๆครับ
เข้าไปคอนฟิกความละเอียดที่ 3840x2160 ก็สามารถใช้งานความละเอียดระดับ 4K บนจอมอนิเตอร์ 1080P ได้แล้วครับกับฟีเจอร์ Virtual Super Resolution (VSR)
AMD FreeSync™ Technology อีกหนึ่งฟีเจอร์ของทาง AMD ที่ตอนนี้บรรดาจอมอนิเตอร์รองรับการทำงานมากถึง 16รุ่นด้วยกันครับ ระบบ AMD FreeSync™ Technology ก็คือเป็นการขจัดปัญหาภาพแตกหรือที่เราเรียกกันว่าซัตเตอร์ริ่งนั่นเองครับ โดยจอมอนิเตอร์หลากหลายยี่ห้อก็ทยอยกันซัพพอตอย่างมากมายแล้วครับในปัจจุบัน
DirectX® 12 ก็รองรับการทำงานเต็มรูปแบบสำหรับ Windows 10 ที่กำลังจะมาในไม่ช้านี้ครับ
เข้าไปคอนฟิกค่า AMD FreeSync ได้ง่ายๆครับ เพื่อเปิดการใช้งานกับมอนิเตอร์ที่รองรับการทำงาน
ตารางเปรียบเทียบเทคโนโลยี AMD FreeSync™ Technology จะเปิดกว้างมากกว่าคู่แข่งอีกฝั่งครับ
จอมอนิเตอร์ที่รองรับ AMD FreeSync™ Technology ในปัจจุบัน
กราฟฟิกการ์ดของทาง AMD มีด้วยกันอยู่หลากหลายรุ่นครับทั้ง R9 390 , R9 380 , R9 370 ไล่เรียงลงไปตามลำดับ และในรุ่นใหญ่สุดจะเป็น AMD RADEON R9 FURY X
ด้วยการออกแบบที่ทันสมัยนำทุกสิ่งมาไว้ในชิพเดียวในโค๊ดเนมที่มีชื่อเรียกว่า " FIJI " ทำให้ AMD เป็นผู้ผลิตกราฟฟิกการ์ดรายแรกที่ออกแบบนวัฒกรรมที่ทันสมัยของกราฟฟิการ์ดในปัจจุบัน
พร้อมกันนั้นในรุ่นเล็กๆของ " FIJI " ก็มีมาเช่นกันครับในชื่อรุ่น AMD RADEON™ R9 Nano ด้วยขนาดที่เล็กมาก และอัตราการบริโภคไฟที่ 175W เท่านั้นครับ
Project Quantum อีกหนึ่งโปรเจคของทาง AMD ที่ตอนนี้ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดกันมากนักจะเป็นการนำเอา CPU , เมนบอร์ด , การ์ดจอ , ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำ, แรม , PSU และส่วนประกอบต่างๆของ PC มาประกอบเป็น Project Quantum ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นชุด PC แบบ All in One ของทาง AMD เปิดตัวกันในไม่ช้านี้ครับ