AMD UNLOCKED FX PROCESSOR : World's first 8 core desktop processor : Introduction & Specification (1/2)
...สวัสดีครับสมาชิก Vmodtech.com ทุกท่าน สำหรับวันนี้ถือเป็นวันดีที่ทาง AMD จะได้ทำการเปิดตัว Processor รุ่นใหม่ล่าสุดที่ได้ทำการบ่มเพาะวิจัยมายาวนานมาก เนื่องจากว่า Processor ใหม่รุ่นนี้ จะเป็นการปฏิวัติสถาปัตยกรรมโครงสร้างใหม่แบบยกชุดที่แท้จริงนั่นเองครับ ซึ่งในคราวนี้น่าจะเป็นที่น่าพอใจสำหรับแฟนคลับเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่านี่เป็นการเปิดตัว Processor 8 หัวตัวแรกของโลกสำหรับ Desktop กันเลย เริ่มแรกผมก็ขอแนะนำเจ้าตัว AMD FX Processor ซึ่งผมจะเรียกชื่อง่ายๆตามโค๊ดเนมซึ่งทาง AMD ตั้งมาว่า Bulldozer หรือว่าเจ้ารถไถที่เราคุ้นๆกันแบบไทยๆนั่นเองครับ
สำหรับ AMD FX Platform นั้นจะประกอบด้วย AMD FX Processor, AMD 9-Series Motherboard, และรวมไปถึง AMD Radeon HD 6000 Series เข้าไปด้วย ซึ่ง AMD FX Processor นั้นคาดหวังไว้ว่าจะสามารถยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพของตัว CPU ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการพัฒนาอัตราการบริโภคพลังงานในน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย
โดยที่เจ้า Bulldozer CPU ทุกตัวนั้นไม่ได้ล๊อคตัวคูณซึ่งแน่นอนครับว่ามันจะสามารถ Overclock ได้ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดขายจุดนึงที่ AMD ได้ทำการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อตลาด Extreme User ที่ค่อนข้างมากในปัจจุบัน นอกเหนือจากเทคโนโลยีล่าสุดที่สุดยอดแล้ว ความคุ้มค่าก็จะยังคงเป็นจุดเด่นของ AMD เหมือนดังในอดีตที่เป็นมาด้วย
จากตารางที่ 1.1 นั้นจะเป็น Model ที่จะทำการเปิดตัวในคราวนี้ทั้งหมดครับ ซึ่งก็แน่นอนว่ารุ่นใหญ่สุดก็คือ FX-8150 ซึ่งจะมี Base Clock หรือ Default Clock ที่ 3.6 GHz แปดหัวแท้เต็มๆ L2 และ L3 ขนาดใหญ่ถึง 8 MB และยังสามารถบู๊ต MHz ขึ้นไปด้วย Turbo Mode ได้อีกสองสเต๊ปตามโหลดที่ใช้งาน ณ ช่วงเวลานั้นๆด้วย ที่น่าสนใจสำหรับผมก็คือ TDP 125W นี่ละครับ ก็ต้องดูกันต่อไป
ในส่วนของ Chipset นั้นก็จะมีสามเซตหลักๆโดยที่ SouthBridge จะเป็นตัวเดียวกันคือ SB950 ส่วน Chipset หลักก็จะแบ่งเป็น 990FX, 990X, และ 970 ซึ่งความแตกต่างของสามตัวนี้หลักๆก็คงจะเป็นในส่วนของ PCI Express Lane นั่นเองครับ
และแน่นอนครับว่า หากต้องการให้ Bulldozer วิ่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วนั้น Graphic Card ในซีรีย์ Radeon 6000 จะเหมาะที่สุด
มาดูในส่วนรายละเอียดของ AMD FX Platform กันบ้าง Bulldozer นั้นผลิตขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมขนาด 32 นาโนเมตร หรือว่า nm บน socket AM3+ รองรับ Memory ตั้งแต่บัส 1333-1866 MHz กันเลย ในส่วนของ Chipset หลักนั้น PCI Express ก็จะยังเป็น Gen 2 อยู่ครับ
สำหรับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ AMD FX Platform ก็ดัง Diagram ด้านบนครับ ส่วนด้านล่างจะเป็นโครงสร้างภายใน Processor หรือว่า CPU ครับ
.
.
.
ในส่วนของโครงสร้างภายใน Processor ที่ AMD ได้ทำการเพิ่มเติมขึ้นมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ในการใช้งานเป็นอย่างมากครับ แต่ถ้าสังเกตจาก Diagram ดีๆจะพบว่า ซีพียูรุ่นนี้ จะมี Bulldozer Modules หลักๆอยู่ 4 Modules โดยในแต่ละ Modules จะมี CPU Core อยู่ 2คอร์ และจะมีการแชร์ L1 Cache inst และ L2 Cache ร่วมกันใน 1 Modules เดี๋ยวเราต้องมาชมกันครับว่าการออกแบบใหม่แบบนี้ จะทำให้ประสิทธิภาพที่ได้เป็นอย่างไร
SSE 4.1 และ 4.2 ก็จะสามารถพบได้บน Bulldozer ครับซึ่งถ้ามองในแง่ของการใช้งานของ User นั้นก็น่าจะเป็นประโยชน์มากในเรื่องของ Video Encoding, AVX ที่ช่วยในการคำนวน Floating Point หรือว่าจะเป็นงานในส่วนของ CPU Computing ซึ่งทาง Intel มีนั้น วันนี้ AMD ก็มีเรียบร้อยแล้ว ยังไม่รวม FMA4 ซึ่งมีจุดเด่นกับงานด้าน HPC application และ XOP ซึ่งเป็นจุดขายของ AMD ที่จะช่วยในการคำนวนตัวเลข, งานด้าน Multimedia รวมถึง Algorithms ที่ถูกใช้งานด้าน audio และ radio งานนี้มาเหนือคู่แข่งพอควรครับ เค้ามีเราก็มี แถมยังมีในส่วนที่เค้าไม่มีอีกด้วย
มาถึงส่วนที่ทาง AMD FX Processor อยากพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องของ Turbo Core Technology กันบ้างครับ ในส่วนของ Turbo Core Technology นั้นจะมีความสามารถในสองส่วนสำหรับตอบสนองความต้องการของงานที่เราทำในขณะนั้นๆครับ
สำหรับ MAX Core นั้น โดยสรุปก็จะทำงานร่วมกับ AMD Power Manager เมื่อระบบต้องการหรือว่ารันงานหลายๆ Thread นั้น ระบบทำการบู๊ตความเร็วให้กับคอร์ทั้งแปดคอร์ครับ ซึ่งนั่นจะมีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับไฟล์หนัง แปลงไฟล์ บีบอัดและคลายไฟล์ ดังจะเห็นได้ว่าผลของ Max Core เมื่อระบบ Turbo Core ทำงานนั้นสูงกว่าปกติถึง 4-6% เลยทีเดียว นี่แค่สถานะที่ไม่ได้ทำการ Overclock นะครับ
สำหรับในส่วนของ MAX Frequency นั้น ก็จะทำงานร่วมกับ AMD Power Manager ด้วยเช่นกัน โดยที่การบู๊ต Turbo เมื่อรัน Application ที่ต้องการนั้น ตัวความเร็ว CPU จะถูกบู๊ตขึ้นสูงขึ้นไปอีกระดับนึงแต่ว่าจะเป็นการบู๊ตจำนวนคอร์เพียงครึ่งเดียวของจำนวนคอร์ทั้งหมดครับ เรียกว่าระบบจัดการพลังงานของ AMD FX Processor นั้นชาญฉลาดมากๆครับสำหรับงานทั่วๆไป แล้วยิ่งถ้ามองในส่วนของผลที่ได้รับจาก MAX Frequency นั้น เห็นได้ชัดเลยครับคือ 5-12% กันเลยทีเดียว แรงงงง
มาถึงเรื่องของ Class หรือระดับของ CPU ใน FX Processor Series นั้น เทียบให้ชนกับ CPU ของอีกค่ายนึงกันดังรูปด้านล่างครับ
ตามรูปที่ทาง AMD ส่งมาให้นั้น รุ่นสูงสุดของซีรีย์ FX นั้นจะต่ำกว่ารุ่นสูงสุดของ Intel Core i7 2600K ตัวที่แรงที่สุดของ Intel ณ ปัจจุบันครับ แต่ก็จะเห็นได้ว่า AMD คาดหวังจะให้ชนกับ Core i5 ซึ่งก็น่าจะเป็น 2500K, 2500 มากกว่าครับ ส่วน APU ในซีรีย์ต่างๆนั้นก็ได้ถูกวางระดับไว้อย่างที่พวกเราได้ทราบๆกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
ครับ สำหรับเทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั้น ผมถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ของวงการ Processor เลยทีเดียว ในส่วนของบทความหลังจากนี้นั้นก็จะนำเจ้า Bulldozer มากทำการเทสต์ แบบเต็มๆทั้ง Default และ Overclock ให้ได้ชมกันนะครับ ส่วนจะแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าจะสมหวังกับผู้ที่รอคอยมากน้อยแค่ไหน ตามมาเลยครับ