ASUS ThunderFX Review! : Page 2 (2/2)
.
TESTING
ผมเสียบเล่นง่ายๆครับ ด้านซ้ายสุดจะเป็นไฟบอกสถานะการทำงาน เมื่อลง Driver เสร็จ เสียบสาย USB สองเส้นเข้ากับคอม ไฟก็จะติดครับ ถัดมาจะเป็น Selector สำหรับเลือกแหล่ง Input ซึ่งสามารถรับจากเครื่องเล่นเกมส์ Xbox 360 และ PS3 ได้ด้วยทางช่องเชื่อมต่อด้านหลัง ถัดไปจะเป็นโวลุ่มและไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน
ขวาสุดจะเป็นโลโก้ ThunderFX เท่ห์ๆ ถัดมาด้านซ้ายจะเป็นมินิแจ๊ค 3.5 มม เพื่อทำการเชื่อมต่อหูฟังกับไมค์ครับ
วันนี้ฟังกันง่ายๆด้วยลำโพงคอม Altec Lancing ตัว ThunderFX นั้นต้องการการเชื่อมต่อแบบ USB สองหัว ซึ่งนัยก็เพื่อเพื่มไฟให้เพียงพอต่อความต้องการของภาควงจรในตัวด้วย เนื้อเสียงของเจ้า ThunderFX นั้นอาจจะไม่ทำให้หลายๆคนว้าวมากนัก แต่ว่ามันก็พอจะแยกแยะรายละเอียดและช่องไฟของเสียงที่เป็นต้นกำเนิดของเพลงแต่ละเพลงได้ดีกว่าตัวการ์ดออนบอร์ดและ USB soundcard รุ่นเล็กๆอื่นๆ
.
ลองฟังกับเพลงแจ๊สนั้น ผมว่าการแยกแยะความห่างระหว่างเครื่องดนตรีของ ThunderFX นั้นดีใช้ได้ครับ ฟังจากแผ่นแจ๊สที่เล่นสดๆแล้วจะรู้ว่ามันพยายามถ่างระยะของเครื่องดนตรีแต่ละระนาบออกเพิ่อให้เห็นวงเป็นสามมิติ เสียงกลางจะฟังดูว่าหนาดีครับเมื่อฟังนักร้องชายเสียงทุ้มๆนุ่มๆอย่าง Ray Charles รายละเอียดจากเสียงสแนร์ เสียงดับเบิ้ลเบส ก็อยู่ในเกณฑ์ดีกว่า Soundcard ออนบอร์ด หรือว่ารุ่นเล็กๆแน่นอน
.
นอกจากระนาบซ้ายขวาแล้วนั้น ความสูงก็สามารถแยกแยะได้ดีพอสมควรครับ ในหลายๆเพลงนั้น ความสูงของริมฝีปากนักร้องที่ ThunderFX ส่งผ่านออกลำโพงคอมนั้น มันก็สามารถจำลองระดับได้ดีเลย เพราะถ้าฟังจากออนบอร์ดของเมนบอร์ด ROG's Series เองก็คงสู้เจ้า ThunderFX ไม่ได้ด้วย พิจารณาด้านแรงปะทะของเสียงกลาง เสียงระเบิดนั้น ถือว่าทำได้ดีพอควรครับ คือผมว่าน่าจะเอามาเล่นเกมส์ได้ดีกว่าออนบอร์ดระดับนึง
.
ThunderFX นั้นก็ถือว่าเป็น USB Soundcard ที่เสียงพอใช้งานได้ดีในระดับนึงครับ ด้วยความที่ตัวมันสามารถให้เสียงที่เข้าใกล้ความเป็นไฮฟิเดลิตี๊มากกว่าซาวการ์ดออนบอร์ด อย่างน้อยมันก็ทำได้ดีกว่าในเรื่องของรายละเอียด เวทีเสียง และเล่นเกมส์ก็มันพอควร แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดเยียมๆ ไทม์มิ่งที่เป๊ะๆ ไดนามิกส์ที่รุนแรง เฉียบขาด รวมถึงอารมณ์เพลงที่อินมากกว่านี้ก็คงต้องมอง Soundcard รุ่นอื่นๆของ ASUS รวมถึงต้องพิจารณาอัพเกรดชุดลำโพงและแอมป์ของเราด้วยครับ
.
ขอขอบคุณ
ASUS