เยี่ยมชมการเสวนามุมมองในด้านการศึกษาของพลเมืองในรุ่นต่อไปในอนาคต Define Next Generation Citizenship EDUCATION FORUM : 2019 SMART CITY SUMMIT & EXPO : Introduction (1/1)
ภายในงานก็ได้เชิญเฉพาะแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าไปร่วมรับฟังเสวนาในครั้งนี้ครับ ถือเป็นไฮไลต์ของงานด้านการศึกษาเลยก็ว่าได้ครับ
ภายในงานจะมีกล้องคอยจับภาพผู้มาร่วมงานทุกๆคนครับ
และกล้องก็จะประมวลผลโดย AI ในการทักทายขึ้นจอใหญ่ดังรูปครับ
ก่อนเปิดงานมีการโชว์ระบบประเมินผลความรู้สึกให้ได้ชมกัน
โดยมีการเล่นดนตรีผ่าน AI และมนุษย์เพื่อประเมินความรู้สึก อารมณ์ของผู้ร่วมงานขณะนั้น
นักดนตรีกำลังแสดงผลงานบนเวทีเพื่อปรับอารมณ์ของผู้ชม เราจะเห็นไอคอนแสดงความพึงพอใจต่างๆด้านซ้ายมือครับ
ขณะกำลังเล่นก็แสดงข้อมูลของผู้ชมไปด้วย
โดยเซ็นเซอร์ AI จะจับกล้องที่หน้าผู้ชมเพื่อวิเคราะห์อารมณ์ ความรู้สึก สีหน้า แล้วประมวลผลออกมานั่นเองครับ
ในช่วงแรกก็ยังมีคนอารมณ์บูดๆอยู่ประมาณ 20เปอร์เซ็น
พอนักดนตรีเล่นไปสักระยะผลปรากฏว่าค่าของอารมณ์ของคนในห้องนี้เปลี่ยนไปเลยครับ เป็นการเก็บข้อมูลทางสถิติเอาไปใช้กับผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยมจริงๆ สามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นสถิติเพื่อใช้ในการประเมินผลหลังการสอนได้อีกด้วย เป็นการโชว์เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับการเรียนการสอนและการประเมินผลความพึงพอใจหลังเรียนได้อีกด้วย สุดยอดมากๆครับ
ในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการมีการกล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงานและกล่าวคำปฏิญาณเกี่ยวกับการศึกษาครับ
เนื้อหาในภาษาอังกฤษให้ผู้ร่วมงานได้กล่าวตามครับ
นักวิชาการทางการศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ครับ
ที่สำคัญมีนักวิชาการจากประเทศไทยเราด้วยครับ
หนึ่งในนั้นก็คือท่าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของไทยเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วยครับ
นักวิชาการในหลายๆท่านพูดถึงการแก้ไขปัญหาและระบบการศึกษาในประเทศของตนเอง เช่น ประเทศอินโดนีเซีย Dr.Ali Ghufron Mukti ได้พูดถึงการเรียนการสอนในประเทศของตนว่าการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่การศึกษาทำได้ยากเพราะอินโดนีเซียมีพื้นที่เป็นเกาะมากถึง 1000เกาะ จึงมีการคิดค้นสื่อหรือข้อมูลที่สามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้เรียนได้โดยไม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและเน้นการเรียนรู้ร่วมกับธรรมชาติ
อินเดียโดยท่าน H.E. Dr. Bader Baneisa ได้กล่าวว่าการศึกษาในอินเดียนั้นมุ้งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนก้าวทันเทคโนโลยีเพราะอินเดียนั้นมุ่งเน้นพัฒนาบุคคลากรที่มีความรู้ด้านไอทีทำงานในส่วนต่างๆของโลกและพยายามให้ผู้เรียนอยู่ร่วมกับยุค AI ที่จะมาถึงในอนาคต
มาถึงคิวท่าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้กล่าวถึงการเรียนในประเทศไทยว่าการศึกษาในไทยนั้นกำลังเน้นในเรื่องการเรียนของ Active Learning ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือทำจริงปฏิบัติจริงโดยถ้าใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผู้เรียนช่วยด้วยก็จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Active Learning เป็นการได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้ทำลงไป โดยกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งก็ไปตรงกับแนวการศึกษาของทางประเทศฟินแลนด์ที่ทาง คุณ Rikka Liehtinen กล่าวถึงการจัดการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ที่เป็นประเทศอันดับ 1 ในการจัดการศึกษาที่นำการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาใช้จนประสบความสำเร็จ
Video Interview Dr.Somkiat Tangkitvanich
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่อยากมุ่งเน้นให้กับการศึกษาในอนาคตก็คือการอ่านเพราะการอ่านเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยฝึกฝนทักษะด้านต่างๆไปในตัว
ในช่วงท้ายก็เป็นบทสัมภาษณ์ Dr.Ali Ghufron Mukti จากประเทศอินโดนีเซียครับ
ในช่วงท้ายก็เป็นบทสัมภาษณ์ Dr.Ali Ghufron Mukti จากประเทศอินโดนีเซียครับ
Video Interview Dr.Ali Ghufron Mukti
Concluions
ก็จบลงไปครับสำหรับเยี่ยมชมการเสวนามุมมองในด้านการศึกษาของพลเมืองในรุ่นต่อไปในอนาคต Define Next Generation Citizenship EDUCATION FORUM กับบรรดานักวิชาการชั้นนำจากหลากหลายประเทศที่มานำเสนอมุมมองในด้านการศึกษาของประเทศตนเองในอนาคตว่าจะมีทิศทางไปในด้านใด ถือเป็นงานที่นักการศึกษาไม่ควรพลาดจริงๆครับกับมุมมองและแนวคิดต่างๆที่จะนำมารับมือการศึกษาให้เท่าทันในอนาคตที่จะมีเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราในเรื่องของ SMART CITY รวมไปถึงระบบ AI หวังว่าท่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ