Review : Asus RT-AC66U Dual band Gigabit Router : Page 2 (2/2)
...ในการใช้งานนั้นเร้าเตอร์สมัยใหม่ส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถเซ้ตอัพได้ง่ายกว่าเร้าเตอร์ในยุคก่อนๆแล้วครับ อย่าง RT-AC66U นี้การเซ้ตอัพก็ง่ายดายมากๆ เพราะหลังจากเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของตัวเร้าเตอร์ได้แล้ว ก็จะมี popup ขึ้นมาบริเวณ system tray ให้ทำการเซ็ตอัพได้ทันที หรือจะเซ็ตอัพผ่านแผ่น CD ที่แถมมาให้กับตัวเราเตอร์ก็ได้เช่นกัน
...หลังจากการเซ็ตอัพที่จะ require ให้เราใส่รหัสผ่านของยูสเซอร์ admin เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะพบกับยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (ที่เข้าผ่านทางหน้าเว็บ) ซึ่งโหมดการทำงานของ RT-AC66U นั้นก็จะแบ่งเป็นสองโหมดหลักๆคือ AP mode (เป็น access point อย่างเดียว) กับอีกโหมดหนึ่งคือโหมดที่เอาไว้สำหรับใช้งานเป็นเร้าเตอร์จริงๆที่ต้องต่อโมเดม ในรีวิวนี้ผมสาธิตให้ดูฟีเจอร์เด็ดๆคร่าวๆของเจ้า RT-AC66U ตัวนี้จึงเปิดใช้งานเพียงแค่ AP Mode
...อินเตอร์เฟสเริ่มจากบล๊อกขวาสุด จะเป็นสถานะของ wireless lan ทั้งในย่าน 2.4GHz ในย่าน 2.4 นี้ก็จะมี Wireless B G และ N ส่วนในย่าน 5GHz ก็จะหมายรวมถึง Wireless N และ Wireless AC ด้วยนั้นเองครับ
...ส่วนบล๊อกกลางจะเป็น network map ซึ่งง่ายแก่การเข้าใจ ในภาพนั้นแสดงให้เห็นว่าเรามี client (เครื่องลูกข่าย) ใช้งานอยู่ 3 เครื่อง และมี CF Cardreader ต่อไว้กับพอร์ต USB อเนกประสงค์ที่ไว้ใช้กับฟีเจอร์ AI Cloud อยู่หนึ่งตัว
...ส่วนด้านซ้ายสุดจะเห็นเมนูหลัก ตรงนี้ขยายความคำว่า guest network เลยก็คือตัว RT-AC66U นี้สามารถสร้าง guest network หรือ SSID ของตัวไวเรสเพิ่มขึ้นได้สูงสุด 3 ชื่อ ซึ่งการสร้าง SSID (ซึ่งมันคือชื่อ wireless connection) เพิ่มขึ้นมาได้เยอะๆนั้นก็มีข้อดีที่ทำให้เราสามารถแบ่งสันปันส่วนทรัพยากรในเครือข่ายของเราให้กับกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้อย่างง่ายดาย ดังภาพด้านบนนั้นเองครับ
...ส่วนของเมนู USB Application นั้นมีไว้สำหรับเซ็ตค่าบริการที่จะต้องใช้งานผ่าน Router ตัวนี้ อย่างระบบ cloud ซึ่งระบบ Cloud disk ใน Asus RT-AC66U นี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นมากเลยทีเดียวครับ รองรับการเข้าถึงข้อมูลผ่านทั้งระบบ Samba server (file sharing ในวินโดวส์) หรือจะผ่านทาง FTP ก็ได้เช่นกัน
เมื่อเปิดการทำงานของ Samba server ของ Ai Cloud แล้วในวงแลนก็จะเห็นเจ้า RT-AC66U ปรากฏขึ้นมาแบบนี้แหละครับ
...นอกจากช่องทางการเข้าถึงไฟล์มีเดียใน Cloud server ที่ผมได้กล่าวไปเมื่อกี้แล้ว RT-AC66U ยังสามารถทำตัวเองให้เป็น DLNA server ซึ่ง DLNA ถือว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในเครือข่ายสำหรับการแชร์ข้อมูลจำพวกภาพถ่าย วีดีโอ หรือเพลง ให้กับเครื่องจำพวก LCD TV หรือ smart tv อื่นๆที่รองรับได้ครับ กล่าวคือ เราสามารถโยนไฟล์ภาพยนตร์ HD ไปไว้ใน cloud disk บนตัวเร้าเตอร์ตัวนี้ แล้วก็ใช้ smart tv หรือ smart phone ต่างๆ ที่รองรับ DLNA เปิดไฟล์ดังกล่าวเล่นขึ้นมาได้ทันทีครับ
...นอกจากนี้ในส่วนของการใช้งานพอร์ต USb ก็ยังมีแอพพลิเคชั่นมาให้เลือกใช้อีกสามตัว ทั้ง Server Center (พวก Media sharing) หรือจะใช้งานเป็น printer server หรือสุดท้ายเป็น Download master ที่รองรับการดาวโหลดไฟล์ผ่านทั้ง HTTP, P2P หรือบิตทอเร้น นั้นเองครับ
.
.
...RT-AC66U ถือได้ว่าเป็น Gigabit Router ที่ถ้าลองนับๆดูในตลาดแล้ว ผมให้ว่าเป็นเร้าเตอร์ที่มีความสดใหม่ในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ทั้งในเรื่องของ Wireless AC 5GHz เร็วสุดถึง 1.5Gbps มาตรฐานใหม่ที่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นที่แพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้ และยังคงสามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายไร้สายยุคเก่าในย่าน 2.4GHz ที่เราคุ้นเคยกันได้อีกด้วย เรื่องของฟีเจอร์ก็มีอะไรหลายๆอย่างให้ผมได้ตื่นเต้นพอสมควร ทั้งความสามารถในการแจกชื่อ SSID ได้ถึง 3 ชื่อ (ถ้านับจริงๆแล้วรวมเอา 2.4 และ 5G ก็จะได้เป็น 6) ตลอดจนฟีเจอร์ AI Cloud ที่จะทำให้เราสามารถแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่ายได้ทั้งการแชร์ไฟล์ผ่านทั้ง FTP, Samba server และ DLNA หรือจะใช้งานแชร์ปรินเตอร์ หรือจะใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสแตนด์บายดาวโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ๆจากอินเตอร์เนทก็ได้อีกด้วย
...อย่างไรก็ดี RT-AC66U สำหรับทุกวันนี้ เราจะยังไม่น่าที่จะสามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่ เพราะด้วยมาตรฐาน IEEE 802.11ac ที่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะช่วงที่ผมได้รับเร้าเตอร์ตัวนี้มาทำการทดสอบ Asus ก็ยังส่ง wireless adaptor แค่แบบ Wireless N มาให้ (USB-N66) แต่อย่างไรก็ดี ผมมองว่าเทรนด์ของโลกไวเรสนั้นกำลังจะเคลื่อนไปยังมาตรฐานของ 5GHz แน่นอนครับ เพราะด้วย Wireless AC เองก็เหมือนเป็นการบังคับไปในตัวว่าต้องให้ใช้คลื่นในย่าน 5GHz เท่านั้นแล้ว ดังนั้น Asus RT-AC66U ก็ถือได้ว่าเป็น Next generation router อย่างที่ Asus ได้ชูโฆษณาไว้หน้ากล่อง จริงอย่างที่ว่าไว้นั้นแหละครับ !
.
.