Review : Asus RT-N12HP Wireless-N High Power Router : Overview (1/1)

Article by Northbridge On March 13, 2013 61,618 views
Review : Asus RT-N12HP Wireless-N High Power Router

 

...จั่ว หัวมากับรูปตัวกล่องกันเลยครับสำหรับรีวิวในวันนี้เป็น ASUS RT-N12HP ว่ากันง่ายๆมันคือ Wireless N300 Router จาก Asus ที่มีฟีเจอร์มาตรฐานสุดๆทั้งการเชื่อมต่อไวเรส N 150 ในย่าน 2.4GHz แต่มีการชูจุดขายในเรื่องของสายอากาศ 9dbi และกำลังส่งสูง ที่เน้นการทำงานเป็นแบบ Range Extender ครับ

ซึ่ง ภายในกล่องที่เขาติดมาให้เนี่ย ก็จะพบว่ามีอะแดปเตอร์เสียบไฟเลี้ยง สายแลน แล้วก็สายอากาศแท่งใหญ่ยาว ที่ Asus เคลมไว้บอกว่ามี gain มากถึง 9dbi กันเลยทีเดียว

...ซึ่งตรงนี้ เนี่ยผมอยากให้ทำความเข้าใจนิดหนึ่งว่า สายอากาศที่มี gain มากๆมันไม่ได้หมายถึงว่ามีกำลังส่งออกมา 1 แล้วมันจะขยายให้ได้เป็น 10 อะไรแบบนั้นนะครับ สายอากาศ gain มากๆเนี่ยหมายถึงโอกาสที่มันจะสามารถทำให้กำลังส่งสามารถครอบคลุมพื้นทีได้ เป็นบริเวณกว้างขึ้นกว่าเดิม

...ลอง นึกถึงรูปลูกโป่งใส่น้ำอยู่เต็มใบ สายอากาศที่ไม่มี gain (isotropic antenna) น้ำมันก็จะอยู่เป็นรูปวงกลมในลูกโป่งของมันแบบนั้นล่ะครับ แต่ถ้าเราสร้างสายอากาศให้มันเริ่มมี gain นั้นหมายถึง เราเริ่มที่จะพยายามบีบลูกโป่งใบดังกล่าว ให้มีรูปร่างผิดไปจากวงกลม ผลที่ได้คือลูกโป่งใบดังกล่าว (การแผ่กระจายของคลืน) มันจะมีรูปที่ผิดไปจากวงกลม ซึ่งอาจทำให้ครอบคลุมระยะทาง หรือพื้นที่ที่ไกลขึ้นกว่าเดิม แต่ต้องไม่ลืมว่า ปริมาณน้ำในลูกโป่งเราก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ฉันใดก็ฉันนั้น กำลังส่ง(วัตต์) เราก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใดครับ

...ดัง นั้นจากตัวอย่างลูกโป่ง สายอากาศ db มากๆ ก็หมายถึงว่าโอกาสที่จะทำให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มาก แต่ว่าอาจจะอยู่ในช่วงทิศทางที่มีมุมองศาในแนวราบและแนวระดับ แคบลงบ้าง ในกรณีนี้สายอากาศ 9dbi ของ RT-N12HP เนี่ยผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นสายอากาศแบบ dipole ซึ่งมันมีคุณสมบัติเป็นสายอากาศรอบตัว ที่มีการแพร่กระจายคลื่นเป็นรูปอาจจะคล้ายๆเลข 8 ก็อยากจะให้ขอให้เข้าใจว่า ผลลัพท์ที่ได้จากการเปลี่ยนมาใช้สายอากาศแบบนี้เทียบกับสายอากาศแบบรอบตัว มาตรฐาน 3dbi (dipole มาตรฐาน) ก็อาจจะไม่ได้ทำให้มันเห็นผลชัดเจนเหมือนการเปลี่ยนมาใช้สายอากาศทิศทาง (พวกจาน หรือพวก yagi) ครับ

ตัวบอดี้นั้นจริงๆแล้วก็ทำมาจากพลาสติก แต่ให้ผิวสัมผัสที่ดูแล้วดูดีมีราคาพอสมควรเลยทีเดียว

เมื่อ ขันสายอากาศเข้ากับขั้วต่อแบบ SMA ไปแล้วก็ยิ่งทำให้ดูดุดันมากเลยทีเดียวครับ สายอากาศจริงๆแล้วมีน้ำหนักพอสมควร ถ้าวางไว้กับโต้ะ แล้วจับสายอากาศขยับไปมาเนี่ย ทำให้ตัวเร้าเตอร์ยกขึ้นมาได้เลยเหมือนกัน

ไฟ LED หน้าเครื่องจะเป็นสีน้ำเงิน ไม่สว่างจนแยงตาเกินไป ผมคิดว่ากำลังดีครับ

พอร์ต เชื่อมต่อนั้นเรียกได้ว่าก็มีมาให้ตามเท่าที่ wireless router ทั่วไปควรมีคือมีพอร์ตแลนมาให้ 4 พอร์ต และพอร์ตสำหรับต่อ WAN (Internet) มาให้หนึ่งพอร์ต และน่าเสียดายที่ยังเป็นแลนแบบ 100mbps อยู่ครับ ส่วนปุ่มนอกจากปุ่มเพาเวอร์แล้วก็ยังมีปุ่มสำหรับการคอนฟิคแบบ WPS มาให้อีกด้วย

ด้าน ใต้มีรูระบายอากาศมาให้พออุ่นใจ และมีช่องไว้สำหรับแขวนตัวไวเรสเร้าเตอร์เข้ากับข้างฝาอีกด้วย เรียกได้ว่าน่าจะเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้าง Hot-Spot ใช้เร้าเตอร์ตัวนี้เป็น range extender กันเลยทีเดียว

 

การ เข้าไปคอนฟิคนั้นทำได้ผ่านทางหน้าบราวเซอร์โดยในครั้งแรกจำเป็นจะต้องทำการ เสียบสายแลนเสียก่อน โดยสามารถเข้าสู่หน้าเซ็ตอัพได้ผ่าน url ชื่อ www.asusrouter.com หรือจะเข้าทาง 192.168.1.1 ก็ได้เช่นกันครับ

การ เลือกโหมดการทำงาน สามารถเลือกได้สามโหมด คือ Wireless Router เป็นโหมดมาตรฐานและ Access point mode ที่ตัวมันจะทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ wireless switching hub และ Repeater mode ซึ่งการใช้งานเป็น repeater mode สามารถทำได้โดยการตั้งค่าให้มี SSID และ security key ให้ตรงกันกับ AP สัญญาณต้นทางครับ

หน้าต่าง การใช้งานนั้นบอกได้เลยว่าเรียบง่าย และเข้าใจง่าย ตลอดจนสามารถปรับตั้งค่าได้ละเอียดพอสมควรเลยทีเดียวครับ หน้าแรกมี network map ให้ได้ดูกันอย่างเข้าใจง่ายๆดังภาพ ตลอดจนแสดงสถานะระบบพื้นฐานที่ควรทราบให้ได้เห็นกัน

แวะ เข้ามาดูในส่วนของ log ระบบ ก็จะเห็นว่าแสดงรายละเอียดว่าทำงานอยู่ในโหมดไหน ซึ่งตรงนี้เนี่ยก็พอจะเดาได้เลยครับว่าตัวเฟิร์มแวร์นั้นเป็น Linux แน่นอน และจากที่ทราบมาเนี่ยเร้าเตอร์ของ Asus หลายๆรุ่น รวมไปถึงเจ้า RT-N12HP ก็ใช้ชิปของ Broadcom ซึ่งเป็นชิปยี่ห้อเดียวกับเร้าเตอร์แบรนด์ดังๆในหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมา ด้วยครับ

สามารถ browse ดูเครือข่ายละแวกใกล้เคียงได้ในโหมด repeater ดูรายละเอียดชาแนลที่ใช้ได้ด้วย

นอกจากนี้มีฟีเจอร์ VPN พื้นฐาน เปิดให้สนับสนุน PPTP server และ Samba ได้อีกด้วย

DDNS ก็มีให้เลือกใช้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งซอฟแวร์ที่ตัวคอมพิวเตอร์กัน อีกต่อไป เท่าที่ดูก็ครอบคลุมหลายๆเจ้าที่ดังๆอย่าง no-ip ก็มีมาให้เช่นกัน

รองรับ IPV6

ระบบ Firewall สั่งบล๊อกเป็นรายไอพีไปได้ ตลอดจนบล๊อกไซต์ได้ด้วยเช่นกัน

ระบบ QOS บริหารจัดการความเร็ว ก็สามารถปรับตั้งได้ค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียวครับ

สามารถให้ผู้ใช้ลอกอินใช้งานแบบ guest โดยที่ระบบจะทำการตัดออกภายในเวลาทีก่ำหนด

ส่วน อันนี้เป็น parental control สามารถควบคุมให้ผู้ใช้เฉพาะเครื่องหรือทุกๆเครื่องในวง สามารถเข้าถึงอินเตอร์เนทได้ในเวลาจำกัด หรือบล๊อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้

การ ปรับตั้งค่าพารามิเตอร์เกี่ยวกับไรเรสขั้นสูง สามารถทำการปรับกำลังส่งได้สูงสุดถึง "900mW" ซึ่งถือว่าสูงมากเลยทีเดียวครับ สมกับที่โฆษนาว่าเป็น High-Power / Extend range จริงๆ

.

.

...จะ เห็นได้ว่าตัวผมเองไม่ได้ทำการทดสอบอะไรมากนักนอกจากรีวิวในส่วนของฟีเจอร์ ให้ดู เพราะเรื่องพวกนี้ผมไม่มีเครื่องมือที่ใช้วัด signal strenght ได้อย่างแน่นอน ประกอบกับการทดสอบพวกนี้นั้นอาจจะมีสัญญาณรบกวนและปัจจัยที่เรามองไม่เห็น ควบคุมไม่ได้อีกมาก

...มา ว่ากันเรื่องของตัวไวเรสเร้าเตอร์ตัวนี้ เหมาะกับใคร ? ผมคิดว่าน่าจะเหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการ Wireless Router พื้นฐาน ที่เน้นเอาไว้ใช้งานแชร์อินเตอร์เน็ทเป็นหลัก เพราะว่าด่้วยความเร็วในการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานแบบ Wireless N 150mbps กับพอร์ต Ethernet 100mbps นั้นอาจจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่กับการนำไปใช้งานสตรีมมิงภาพยนตร์หรือคอนเทค HD ต่างๆกันเองภายในบ้าน และฟีเจอร์หลายๆอย่างที่ถึงแม้จะดูมีลูกเล่นมาก แต่สำหรับปี 2013 นี้เป็นยุคของ cloud computing เร้าเตอร์รุ่นท็อปๆแพงๆส่วนใหญ่ก็มักจะมีพอร์ต USB มาให้สำหรับการแชร์อุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่ายกันแล้ว

...เรียก ได้ว่า ด้วยจุดแข็งของมันคือความเรียบง่ายในการนำไปใช้งาน ฟีเจอร์ที่มีแบบตรงไปตรงมา และกำลังส่ง ประกอบกับสายอากาศแท่งโตที่แถมมาให้นั้น น่าจะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเร้าเตอร์ไวเรสพื้นฐานไว้ใช้งานภายในบ้าน สำหรับแชร์อินเตอร์เนทเป็นหลัก หรือผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่ต้องการจะใช้งานเป็นตัวตั้ง hotspot หรือจะซื้อไว้เป็น range extender ใช้งานเป็น repeater mode อย่างเดียวก็น่าสนใจครับ และในอนาคตผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีเฟิร์มแวร์อะไรมาให้เล่นกันสนุกๆอีกหรือเปล่า ด้วยความที่เฟิร์มแวร์ของมันเป็น Linux นี่ล่ะครับ