Review : Tuniq Tower 120 Extreme : Page 2 (2/2)
ระบบที่ใช้
- Intel Core i7 920 Rev. "D0" Set 200x20 (4.0 Ghz) V core 1.39 - Memory Run at DDR3 1200 CL 7 - Mobo Asus Maximus Extreme II (Intel X58) - VGA : ATi Radeon X1650 - PSU : DELUX 800 watt การทดสอบ - ทดสอบบนซิสเต็มดังกล่าว ข้างบน ทำให้ Full load ด้วยโปรแกรม Prime 95 ในโหมด Blend 8 Threads เป็นเวลา 10 นาที โดยประมาณ โดยในฮีทซิงค์ที่ไม่มีพัดลมแถมมาให้ จะใช้พัดลม Thermaltake Thunderblade 120mm ความเร็วรอบ 2000rpm โดยการทดสอบทั้งหมด ทำภายในห้องปิด เปิดเครื่องปรับอากาศตั้งไว้ที่ 25 องศาเซลเซียสบรรยากาศในการทดสอบ
Tuniq Tower 120 Extreme (Bundle fan)
Tuniq Tower 120 Extreme (Thunderblade fan)
Thermalright TrueBlack 120 (Thunderblade fan)
กราฟทุกกราฟ สามารถคลิกเพื่อดู Screen shot เต็มได้ทุกกราฟ
สรุปผลการทดสอบ
...สำหรับ Tuniq Tower 120 Extreme ยังคงเอกลักษณ์ของ Tuniq ตั้งแต่ครั้งวันวาน ที่เราได้เคยทดสอบกันไว้ ไม่จางหายครับ คือในเรื่องของราคา ขณะนี้ ณ ร้านเจได ราคาหน้าเว็บอยู่ที่ 1,850 บาท นับได้ว่า ถูกกว่าฮีทซิงค์ที่เราได้เคยทดสอบแล้วว่า แทบจะ มีประสิทธิภาพดีที่สุดในตลาดอย่าง U120 extreme หรือ Trueblack (โครงสร้างเหมือนกัน) ที่เรา set ไว้ให้เป็นฐานสำหรับการทดสอบฮีทซิงค์ โดยที่ประสิทธิภาพนั้น จัดได้ว่า อยู่ในระดับ ที่ไม่ได้ทิ้งห่างกันสักเท่าไรเลยครับ ถ้าจะพูดกันอย่างไม่เกรงใจใครก็คือ มัน น่าใช้งานมากครับ เมื่อดูจากราคา และรูปทรงของมัน
...ข้อดีของ Tuniq นั้น อยู่ที่ของแถมที่มีมาให้ครบ สามารถนำไปใช้งานได้กับซีพียูแทบทุกรุ่นที่เป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ พัดลมถึงจะแถมและติดตั้งมาให้เรียบร้อย แต่ก็ยังสามารถถอดเปลี่ยนไปใช้งานพัดลมที่มีรอบสูงกว่าได้ เนื้องานที่จัดได้ว่าสวยงามเลยทีเดียว หากพูดถึงซิงค์ในราคาระดับนี้
...มีข้อดี ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลยนะครับ ข้อเสียของ Tuniq Tower 120 แน่นอนก็คือ ติดตั้งยากครับ เพราะต้องทำการถอดเมนบอร์ดออกมาติดตั้ง back plate และทำการร้อยเกลียวลงไปในรูของเมนบอร์ดเสียก่อน รวมไปถึงการออกแบบที่วางให้พัดลมอยู่กึ่งกลางของตัวฟินระบายความร้อน จึงทำให้ไม่สามารถขยับขยายไปเล่นพัดลมที่มีความหนามากๆได้
.
สำหรับวันนี้ ก็ต้องลาไปก่อน สวัสดีครับ
.
ขอขอบคุณ ร้านเจได สำหรับสินค้าสำหรับการทดสอบ