เยี่ยมชมบูธ Smart Healthcare Expo กับเทคโนโลยีระบบการแพทย์และการดูแลสุขภาพอัจฉริยะในงาน 2019 SMART CITY SUMMIT & EXPO ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน : Introduction (1/1)

Article by Nongkoo OverclockTeam On March 27, 2019 44,114 views
เยี่ยมชมบูธ Smart Healthcare Expo กับเทคโนโลยีระบบการแพทย์และการดูแลสุขภาพอัจฉริยะในงาน 2019 SMART CITY SUMMIT & EXPO ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

smart-healthcare-expo-2019-smart-city-summit-expo

สวัสดีครับทุกๆท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันนี้เรายังอยู่ที่งาน 2019 SMART CITY SUMMIT & EXPO ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เป็นวันที่2 กันอยู่ครับ โดยในบทความนี้ผมจะนำท่านไปเยี่ยมบูธของเรื่องสุขภาพกับนวัฒกรรมทางการแพทย์แบบ Smart Healthcare Expo ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในเรื่องการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยภายในบูธนั้นมีนวัฒกรรมที่น่าสนใจมากมายให้ติดตาม เดี๋ยวเราไปชมกันครับว่าเมืองนอกที่เค้ามีระบบทางการแพทย์แบบสมาร์ทอัฉริยะนั้นเค้ามีเทคโนโลยีใดมาเป็นผู้ช่วยในการดูแลผู้ป่วยบ้าง เราไปชมกันเลยครับ

dsc_9120

ด้านหน้าบูธเราจะเจออักษรย่อ SHE ก็คือ  Smart Healthcare Expo นั่นเองครับ

dsc_9121

Smart Healthcare Expo ในปีนี้ทางทีมงาน Vmodtech ของเราได้มีโอกาสพิเศษในการเยี่ยมชมบูธแบบละเอียดพร้อมบทสัมภาษณ์พิเศษครับ

dsc_8717

ผู้คนให้ความสนใจเยอะมากๆครับในบูธนี้เพราะในปัจจุบันเรื่องสุขภาพนี่เป็นเรื่องสำคัญมากๆเลยครับ

dsc_8722

dsc_8731

เดินเข้าไปในด้านหน้าบูธ เราก็จะพบรองเท้าอัจฉริยะที่มีตัวเซ็นเซอร์เก็บข้อมูลวิเคราะห์เท้าเราเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บหรือการเดินให้ถูกวิธี

dsc_8732

โดยรองเท้าจะจัดเก็บข้อมูลและสามารถนำข้อมูลไปให้แพทย์วิเคราะห์อาการเจ็บป่วยได้ครับ

dsc_8747

เข้ามาด้านในก็จะเป็นการจัดแสดงการใช้เทคโนโลีเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆมากมาย

dsc_8756

อีกจุดเด่นที่สำคัญของบูธนี้ก็คือระบบ Smart Care System ที่เป็นเตียงอัจฉริยะดูแลผู้ป่วยแบบ Real Time

dsc_8758

ดูแล้วก็ไม่น่าจะแตกต่างอะไรจากเตียงพยาบาลทั่วๆไป แต่เดี๋ยวเราไปชมกันเลยครับว่ามันดีอย่างไร

dsc_8767

ผู้ป่วยนั้นจะส่วมใส่สายรัดคล้ายๆนาฬิกาข้อมือและมีรีโมทควบคุมเช็คสถานะ

dsc_8779

อุปกรณ์เสริมในระบบ Smart Care ที่เอาไว้เช็คสถานะผู้ป่วย

dsc_8786

สายรัดข้อมือครับโดยจะใช้ติดตามตัวผู้ป่วยและแจ้งสถานะของผู้ป่วยขณะนั้น

dsc_8755

เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระบบ Smart Care แล้วนั้นจะมีหน้าจอลิ้งดูสถานะของผู้ป่วยในห้องต่างๆได้ว่าผู้ป่วยนั้นกำลังทำอะไรอยู่ นั่ง นอน หรือลุกออกจากเตียง ซึ่งพยาบาลนั้นสามารถเช็คสถานะและมีการแจ้งเตือนแบบ Real Time อีกด้วยครับ

dsc_8782

หมอผู้ดูแลคนไข้สามารถตรวจเช็คสถานะและสามารถทราบรายละเอียดว่าคนไข้คนนี้เป็นคนไข้ของหมอคนไหน พร้อมทั้งมีข้อมูลรายละเอียดในการรักษา เช่น การให้ยา อาหาร การดูแลเป็นพิเศษ และอื่นๆ โดยสามารถให้หมอคนอื่นมาดูแลคนไข้ต่อได้แบบไม่ต้องไปค้นข้อมูลให้ยุ่งยากครับ

dsc_8816

หน้าจอหลักจะแจ้งให้พยาบาลผู้ดูแลไข้ได้ทราบรายละเอียดแบบครบถ้วนเลยครับ ว่าคนไข้คนนี้ต้องดูแลอะไรบ้างสุดยอดจริงๆ

dsc_8772

หน้าจอแสดงผลเมื่อไม่ได้ทำงานก็จะเปลี่ยนเป็นรูปภาพสวยๆ

dsc_8811

พยาบาลผู้ดูแลสามารถเช็คสถานะคนไข้ได้ตลอดว่าคนไข้ทำอะไร รุก เดิน ยืน หรือแอบถอดสายน้ำเกลือ และสามารถเช็คสถานะข้อมูลได้ว่าคนไข้รายนี้มีข้อจำกัดอะไรบ้างในการดูแล โดยสามารถเช็คได้ที่หน้าจอไม่ต้องเข้าไปในห้องเป็นการใช้เทคโนโลยีช่วยในการดูแลได้อย่างคลอบคลุมจริงๆครับ เหมาะกับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนบุคลากรมากๆครับ

dsc_8823

คนไข้นอนปกติระบบก็จะแสดงผลตามสถานะคนไข้ครับ

dsc_8777

ระบบแจ้งสถานะที่บอกรายละเอียดต่างๆ ชื่อห้อง ชื่อคนไข้ อัตราการเต้นหัวใจ ขณะนั้นคนไข้นั่งหรือนอน เดินไปไหนมาไหนหรือไม่ เป็นนวัฒกรรมที่ดีเยี่ยมจริงๆครับ

dsc_8788

ในส่วนของระบบที่ใช้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถใช้งานที่บ้านก็มีเช่นกันครับ กับการเช็คสถานะว่าผู้สูงอายุกำลังทำอะไรอยู่ เดินไปบริเวณใดภายในบ้าน

dsc_8795

สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนและเช็คการทำงานได้ตลอดเวลาครับ

dsc_8798

เหมาะสำหรับท่านที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านต้องดูและเป็นการเพิ่มความปลอดภัยได้มากเลยทีเดียว

dsc_8803

อุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาโชว์ให้เราได้ชมครับ

dsc_8891

ระบบ AI ทางการแพทย์และสุขภาพก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นครับ

dsc_8897

dsc_8900

กล้องส่องในช่องปากสำหรับทันตแพทย์ก็มีนำมาโชว์ครับ

dsc_8848

ในช่วงท้ายก็เป็นโอกาสพิเศษที่ทางทีมงานเราได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษบุคคลสำคัญในงานนี้และที่สำคัญท่านเป็นคนไทยด้วยครับก็คือ ดร.บุญชัย กิจสนาโยธิน Dr. Boonchai Kijsanayotin โดยท่านเป็นผู้บริหาร Asian eHealth Information Network (AeHIN) เป็นผู้ให้ข้อมูลกับเราในวันนี้ครับ

dsc_8854

ท่าน ดร.บุญชัย กิจสนาโยธิน ได้เล่าประวัติความเป็นมาของท่านที่ได้เข้ามาทำงาน Asian eHealth Information Network (AeHIN)

dsc_8860

โดยในบทสัมภาษณ์ซึ่งท่านให้เกียรติทางทีมงานของเราในการสัมภาษณ์แบบเป็นพิเศษครับ ซึ่งผมได้สัมภาษณ์ท่านถึงความเป็นได้ที่ประเทศไทยน่าจะนำ Smart Healthcare แบบใดมาใช้ให้เข้ากับบริบทของเมืองไทยและใช้งานได้จริงมากที่สุดพร้อมทั้งน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับคนไทยมากที่สุด โดยท่านได้ให้คำตอบว่า ควรจะเป็นระบบ Smart Healthcare Bank ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของตัวเราเองเพื่อไปใช้ในทางการแพทย์ โดยท่านได้เล่ารายละเอียดให้ฟังถึงระบบจัดการข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคนที่สามารถจัดเก็บได้ในฐานข้อมูลของแต่ละบุคคลที่อาจจะแสดงถึงประวัติการรักษาตามสถานที่ต่างๆ การใช้ยา การกินอาหาร และอื่นๆ โดยมีหน่วยงานหรือองค์กรดูแลข้อมูลโดยตรงทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลรายละเอียดสุขภาพของตัวเราเพื่อที่แพทย์จะใช้นำไปวิเคราะห์ในการรักษาให้ถูกต้องมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

dsc_8880

ระบบ Health 2Sync ที่เป็นการจัดเก็บข้อมูลของตัวเราเองหรือผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์สุขภาพครับ

dsc_8874

โดยเราสามารถบันทึกผลทดสอบต่างๆลงในฐานข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อให้หน่วยงานนำไปจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลย้อนหลังเพื่อให้แพทย์นำไปวิเคราะห์และวินัจฉัยโรคได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ

dsc_8885

ระบบก็สามารถวิเคราะห์เป็นเปอรเซ็นเปรียบเทียบเพื่อที่แพทย์หรือพยาบาลสามารถนำข้อมูลเราไปงานได้สะดวกยิ่งขึ้น

dsc_8876

มีการกรอกข้อมูลประวัติการรักษา การใช้ยา ความดัน การเต้นของหัวใจ โรคประจำตัว และอื่นๆที่เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อที่แพทย์จะนำไปใช้วิเคราะห์นั่นเองครับ

Concluions

ก็จบลงไปครับสำหรับเยี่ยมชมบูธ Smart Healthcare Expo ระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะที่ในปีนี้นำนวัฒกรรมใหม่ๆมาให้เราได้ชมอย่างมากมายและน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ เห็นได้ชัดครับว่าในต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากจริงๆ ทั้งระบบทางการแพทย์ที่นำระบบ Smart Healthcare มาช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้นและสามารถตรวจเช็คข้อมูลได้อย่างเป็นระบบพร้อมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหมอและพยาบาล รวมถึงระบบดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่อยู่บ้านโดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยดูแลเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นใจของผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้นครับ ในบทความหน้าเรายังมีการเสวนาระบบการศึกษาของแต่ละประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยของเราว่าจะมีทิศทางไปในทางเช่นใดในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต ห้ามพลาดครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

scse-2019