สรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทล : Page 1 (1/4)

Article by Venom-Crusher On December 7, 2014 6,359 views
สรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทล
 1 2 3 4 > 

dsc_51772

...สวัสดีครับ ทางทีมงาน Vmodtech.com เราก็ได้รับเชิญจากทาง บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ไปร่วมงาน "สรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทล" ทางเราก็ขอนำภาพและเนื้อหาในงานนี้มาฝากท่านผู้อ่านกันนะครับ ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งความสำเร็จสำหรับอินเทลและอุตสาหกรรมไอทีในภาพรวม โดยที่ตลาดในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรอบ ตัวเรา ทั้งในด้านที่สัมผัสได้โดยตรงอย่างศักยภาพของอุปกรณ์ที่เราพกพาและเครือข่าย Internet of Things (IoT) และด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้งานอยู่เบื้องหลัง ซึ่งล้วนแล้วแต่นำพาเราให้ก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่หลากหลายเทคโนโลยีทำงานประสานกันเป็นหนึ่ง และเพื่อเป็นการส่งท้ายปี 2557 เราจะนำท่านย้อนไปทบทวนสิบเหตุการณ์สำคัญในรอบปีที่ผ่านมาของอินเทล ดังต่อไปนี้:

dsc_5103

คุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแถลงสรุปภาพรวมเทคโนโลยีเด่นในปี 2014 พร้อมอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของอุตสาหกรรมไอทีจากมุมมองของอินเทลในปี 2015

1.อินเทลตั้งเป้าหมายการส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้ อินเทล® อะตอมTM โปรเซสเซอร์ 40 ล้านเครื่องในปี 2557 นายไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอของอินเทล ได้เปิดศักราชใหม่ในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ (CES) ด้วยการประกาศเป้าหมายอันท้าทายที่จะส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้หน่วยประมวลผลของอินเทลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 40 ล้านเครื่องในปี 2557 นี้ ซึ่งเป็นยอดที่สูงกว่าในปีก่อนหน้าถึง 30 ล้านเครื่อง ถึงแม้ว่าเป้าหมายใหม่นี้จะสูงกว่ายอดเดิมอย่างมาก แต่อินเทลก็กำลังจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้า ด้วยนวัตกรรมด้านการพัฒนาหน่วยประมวลผลแบบ System-on-a-Chip (SOC) รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการลงทุนเพื่อสนับสนุนศักยภาพในการพัฒนามากมาย เช่น การเปิดศูนย์นวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ของอินเทลในเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน และการลงทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกองทุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ในประเทศจีน เมื่อนับถึงช่วงสิ้นไตรมาสที่สามในปีนี้ อินเทลได้ส่งมอบแท็บเล็ตออกสู่ตลาดแล้วกว่า 30 ล้านเครื่อง มีแท็บเล็ตออกวางจำหน่ายกว่า 250 รุ่นใน 150 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังได้รับการจัดอันดับโดยบริษัท สแตรทิจี แอนาไลติกส์[1] ให้เป็นผู้ผลิตชิปประมวลผลสำหรับ   แท็บเล็ตอันดับสองของโลกอีกด้วย หน่วยประมวลผลของอินเทลเป็นหัวใจที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์มากมายหลายรุ่นสำหรับทุกความต้องการ รวมถึงแท็บเล็ตดีไซน์แปลกใหม่จากแบรนด์เอเชียอย่าง Acer Aspire Switch 10, Asus Memo Pad 7, LG Tab Book และ the Toshiba Dynabook Tab S3.

dsc_5167

2.นวัตกรรมหน่วยประมวลผลบนอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ อินเทลยังคงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับหน่วยประมวลผลในอุปกรณ์พกพา เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น แบตเตอรี่ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น และมีคุณสมบัติที่หลากหลายกว่าเดิม ทั้งยังมีรูปลักษณ์ที่บางเบา พกพาได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคอมพิวเตอร์พีซี แล็ปท็อป อัลตราบุ๊ค แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์แบบ    ทูอินวันก็ตาม ในปีนี้ อินเทลเป็นผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลรายแรกของโลกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ระดับ 14 นาโนเมตร โดยอุปกรณ์รุ่นแรกๆ ที่ใช้ Intel® CoreTM M processors (อินเทล® คอร์TM เอ็ม โปรเซสเซอร์) จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นปีนี้ ตามด้วยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ จะทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเต็มรูปแบบยิ่งขึ้นในช่วงต้นปี 2558 ทั้งนี้ แบรนด์ผู้ผลิตหลายรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เผยโฉมอุปกรณ์ที่ใช้ อินเทล คอร์ เอ็ม โปรเซสเซอร์ ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ Lenovo® Yoga 3 Pro, Acer Aspire Switch 12 และAsus Zenbook UX305. ขณะเดียวกัน ยังได้มีการเปิดตัวอุปกรณ์ที่ใช้ชิป Intel® AtomTM processor Z3000 series (อินเทล®   อะตอมTM Z3000 ชื่อรหัส เบย์ เทรล) เพื่อเสริมสมรรถนะและมอบประสบการณ์การใช้งานของอุปกรณ์ขนาดพกพาที่ใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์ นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวชิปเซ็ตโมเด็มเทคโนโลยี LTE-Advanced รุ่น XMMTM 7260 ในสมาร์ทโฟน ซัมซุง กาแลคซี่ อัลฟ่า โดยโมเด็ม LTE-Advanced รุ่นนี้ ได้ผ่านการรับรองโดยไชน่า โมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน จึงเปิดโอกาสให้อินเทลได้เข้าไปมีบทบาททำงานร่วมกับหนึ่งในตลาด LTE ที่คึกคักที่สุดในโลก

dsc_5205

3.สร้างสรรค์เทคโนโลยีสำหรับทุกคน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกลุ่มประสิทธิภาพเบื้องต้นและราคาไม่สูง อินเทลได้เปิดตัว SoFIA ชิป SoC สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับพื้นฐานที่รวมหน่วยประมวลผลอินเทล® อะตอมTM แบบดูอัลคอร์เข้ากับโมเด็ม 3G ที่ใช้งานได้กับทุกคลื่นความถี่ทั่วโลก ชิป SoFIA นี้ พัฒนาขึ้นในประเทศสิงคโปร์ จึงถือเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์คุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสมกับตลาดในประเทศกำลังพัฒนา และในปี 2558 อินเทลก็มีแผนที่จะเปิดตัวชิป SoFIA แบบควอดคอร์ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 4G LTE นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างอินเทลและร็อคชิพ ผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลเซมิคอนดักเตอร์จากประเทศจีนจะเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านสถาปัตยกรรมระบบและการสื่อสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น ผ่านทางแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่มีราคาต่ำ โดยเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้นับรวมถึงชิป SoFIA    ควอดคอร์รุ่น 3G ที่มีกำหนดเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 4.สานต่อมรดกแห่งนวัตกรรม อินเทลยังคงพัฒนาชิปประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกฎของมัวร์ ด้วยการลงทุนในนวัตกรรมล่าสุดสำหรับทุกตลาด ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงาน จำนวนทรานซิสเตอร์ และความคุ้มค่า ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป อย่างไม่หยุดยั้ง จนนำไปสู่การนำหน่วยประมวลผลเทคโนโลยี 14 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลกเข้าสู่สายการ ผลิตก่อนคู่แข่งทุกรายในตลาด ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ทำงานโดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปีของแบรนด์ Pentium® (เพนเทียม®) อันเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเทล เราจึงได้เปิดตัวชิปประมวลผลเพนเทียม G3258 รุ่นพิเศษ ที่ผู้ใช้สามารถโอเวอร์คล็อกได้

dsc_5207

5.ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน อินเทลได้เปิดตัวเทคโนโลยี RealSenseTM (เรียลเซนส์) เพื่อยกระดับนวัตกรรมด้านการรับคำสั่งจากสภาพ แวดล้อมของอุปกรณ์ต่างๆ (หรือ Perceptual Computing) ผ่านทางคุณสมบัติอย่างระบบกล้องที่สามารถอ่านความลึกจากภาพได้ทำให้สามารถรับคำสั่งจากท่าทางมือของผู้ใช้ แผงไมโครโฟนคู่ เทคโนโลยีสแกนภาพสามมิติ จดจำใบหน้าผู้ใช้ และระบบรับคำสั่งด้วยเสียง คุณสมบัติทั้งหมดของ RealSenseTM ทำให้เราสามารถพัฒนาอุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้  จึงถือเป็นการบุกเบิกยุคใหม่อย่างแท้จริง ขณะนี้ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระกว่า 60 ราย ที่กำลังสร้างสรรค์โซลูชั่นต่างๆ สำหรับแพลตฟอร์มนี้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานเทคโนโลยี RealSenseTM รุ่นแรกอย่างแท็บเล็ต Dell Venue 8 7000 Series (เดลล์ เวนิว 8 7000 ซีรีส์) ก็ได้เปิดตัวออกสู่สายตาชาวโลกไปเป็นที่เรียบร้อยในงานไอดีเอฟ ทั้งนี้ อินเทลยังได้ประกาศการพัฒนาเทคโนโลยีอีกมากมายเพื่อพลิกโฉมการใช้งานคอมพิวเตอร์พีซีให้กลายเป็นประสบการณ์แบบไร้สายที่สมบูรณ์แบบ และขจัดความวุ่นวายของสายไฟและสายเคเบิลเชื่อมต่ออุปกรณ์ชนิดต่างๆ ส่วนเทคโนโลยีสแกนม่านตา ActiveIRIS® (แอคทีฟไอริส) ที่นำมาจัดแสดงบนสมาร์ทโฟนรุ่นต้นแบบที่ใช้ชิปประมวลผล Intel® AtomTM Z3500 processor series ก็ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ด้านความปลอดภัยที่ทั้งรวดเร็วและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน

 1 2 3 4 >