2day 2go with Intel Core2 Extreme QX9650
Share | Tweet |
วันนี้ Vmodtech.com เราภูมิใจนำเสนอ ซีพียูที่สืบเชื้อสายความแรงอันเลื่องชื่อจากค่ายอินเทลบนพื้นฐาน Core Microarchitecture ครับ จะเป็นใครไปที่ไหนไปไม่ได้ นอกจากซีพียูในโค้ดเนม Penryn 45nm ซึ่งในวันนี้ เราจะนำเสนอ ซีพียูในโมเดลที่เป็น Quad-Core (ควอด-คอร์) หรือซีพียูที่มีแกนประมวลผล 4 แกนบนแพ็คเกจเดียวกันนั้นเองครับ
Intel Yorkfield, The new 45nm Quad Core Processor from Intel Core2 Family
สำหรับการประเดิมเปิดตัว ซีพียูตัวแรกบนเทคโนโลยี 45nm บนโลกของเดสก์ทอพพีซีในวันนี้ คือ Intel Core2 Extreme QX9650 นั้นเองครับ สำหรับในซีพียูซีรีส์ใหม่ของตระกูล Core2 ในวันนี้ เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่ยังไม่ใหญ่ที่สุด กล่าวคือ Yorkfield ยังไม่ใช่ซีพียูที่ถูกออกแบบใหม่หมดจากเดิมครับ แต่เป็นซีพียูที่ยังอยู่บนพื้นฐานของ Core Microarchitecture และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิตและรายละเอียดในบางส่วนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นนั้นเอง เรามาดูตารางเปรียบเทียบ เสป็ค อย่างคร่าวๆของเจ้าQX9650 และผองเพื่อนของมันกันดีกว่าครับ
*รูปจาก xbitlabs.com
ตามชาร์ทจากในงาน Intel IDF เมื่อครัง้ที่ผ่านมานั้น ได้สรุปใจความสำคัญของซีพียู QX9650 ไว้ชัดเจนแล้วครับ คือซีพียู QX9650 เป็น Next Gen 45nm ก็จริง โดยมีจุดที่ถูกอัพเดตไปหลายจุดเช่นกัน เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตเล็กลง ก็สามารถใส่ความสามารถลงไปในซีพียูได้มากขึ้น อย่าง 6×2mb L2 รวมถึง SSE4 Instruction ด้วยครับ แต่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นเพียงแค่ Enhanced Intel Core Microarchitecure และยังคงฟังก์ชั่นหลักๆของ Core ไว้หมด ไม่ว่าจะเป็น EM64T, EIST, Execute Disable Bit และ Virtualization โดยจะทำงานที่ความเร็ว 3GHz คือเป็นความเร็วเริ่มต้น เหมือนกับเป็นการบอกอีกนัยๆ แน่นอนว่า ซีพียูในรุ่น Extreme นั้นยังคงไม่มีการล็อคตัวคูณ สามารถปรับขึ้นลงได้อย่างอิสระ หากเมนบอร์ดรองรับการปรับ และแน่นอนครับ เมื่อลงท้ายด้วยเลข 50 คือ xx50 ก็จะต้องเป็นซีพียูบัส 1333(333) และจะต้องทำงานกับชิปเซต P35 หรือ X38 เท่านั้น ซึ่งก็คงจะเป็นข่าวร้ายสำหรับ 965 fans แล้วนะครับสำหรับงานนี้
เกริ่นนำไปพอสมควร จะเปิดตัวทั้งทีมันต้องมีลีลาเล็กๆน้อยๆครับ มาพูดถึงรายละเอียดของเจ้า QX 9650 กันอีกสักนิดในเรื่องสเป็คของมัน ตามนี้เลยครับ
Intel® Core™2 Extreme Processor QX9650
–3.0 GHz, 1333 FSB, quad core
–45nm high-K metal gate transistor technology (more on 45nm here: http://www.intel.com/pressroom/kits/45nm/index.htm )
–12MB L2 cache
–SSE4 instructions (more on SSE4 here: http://www.intel.com/technology/architecture-silicon/sse4-instructions/?iid=search )
–820M transistors
–214mm2 die size
–LGA775 socket, 130W TDP, C-step
–Overspeed protection removed
–Supported by either Intel® P35 or Intel X38 chipsets, contact your board manufacturer for compatibility
ครับจะเห็นได้ว่าที่เปลี่ยนแปลงแบบเห็นชัดนั้นคือเรื่องขนาดการผลิตที่ก้าวเข้าสู่ยุคของ 45nm และ เพิ่ม SSE4
ประโยชน์ที่ได้จากผลิตแบบ 45 nm เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตแบบ 65 nm มีดังนี้ครับ
- สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ลงไปได้มากกว่าประมาณ 2 เท่า
- ลดปริมาณการใช้พลังงานของทรานซิสเตอร์ลงได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
- เพิ่มความเร็วของทรานซิสเตอร์ได้ดีกว่าเดิมมากกว่า 20 เปอร์เซนต์ และลดอัตราการสูญเสียพลังงานได้ประมาณ 5 เท่า
ส่วนประโยชน์ที่จะได้จาก SSE4 นั้น จะทำให้ซีพียูรุ่นนี้ของอินเทลมีความสามารถในเรื่องของมัลติมีเดียมากขึ้น รวมไปถึงการตัดต่อวีดีโอและตกแต่งภาพ
Intel Quad-Core Family Comparison Chart
Processor Number | Cache | Clock Speed | FSB | Code Name | Process | Multiplier Adjustable |
---|---|---|---|---|---|---|
QX9650 | 6×2 MB L2 | 3 GHz | 1333MHz | Yorkfield | 45nm | Yes |
QX6850 | 4×2 MB L2 | 3 GHz | 1333 MHz | Kentsfield | 65nm | Yes |
Q6700 | 4×2 MB L2 | 2.66 GHz | 1066 MHz | Kentsfield | 65nm | No |
ตารางเปรียบเทียบ กับซีพียูในรหัส Q รุ่นก่อน
นอกจากนี้ ใน Roadmap ของอินเทลนั้น ยังมีซีพียูตัวอื่นๆที่มีกำหนดเปิดตัวในช่วงของไตรมาสแรกของปี 2551 อีกด้วยครับ ตาม Chart นี้เลย
*ข้อมูลจากเว็บ techpowerup.com
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2008 ยังคงมี รายชื่อของซีพียู 45นาโนเมตร ที่รอเปิดตัว ทั้งดูอัลคอร์ และควอดคอร์อยู่อีกเพียบเลยครับ โดยในครั้งนี้จะมาใน ซีรีส์ 8XXX และ 9XXX โดย 8xxx จะเป็นในส่วนของ Dualcore 45nm L2 6mb โค้ดเนม Wolfdale ส่วน ซีรีส์ 9XXX จะเป็นในส่วนของ Yorkfield ที่เป็นควอดคอร์ L2 6 และ 12mb ในจุดนี้เองทางเรายังไม่ได้รับข้อมูลที่แน่ชัดในส่วนของ Q9300 ทีจะมี L2 เพียง 6mb เท่านั้น คงได้แต่คาดเดาไว้ว่าน่าจะต้องเป็น 3×2mb เพราะจากซีพียู QX9650 ที่เราได้รับมาทำการทดสอบ และ เนื่องด้วยโครงสร้างของ Core Microarchiture แล้ว ควอดคอร์ที่ถูกผลิตออกมาทุกตัว คือการนำ ซีพียู Native Dual Core ตัวปกติในรุ่น Core2 Duo ในที่นี่คือ Wolfdale มาทำการประกบให้มาทำงานอยู่บนแพคเกจเดียวกัน กลายเป็นซีพียู Quad Core นั้นเอง ดังนั้น L2 ในแต่ละหน่วยการทำงาน (ซีพียู Native Dualcore 1 ตัว) ขนาดของมันน่าจะเป็น ครึ่งต่อครึ่ง ของ L2 ทั้งหมดที่จะโชว์ในเสป็ค
*รูปจาก thethirdmedia.com
ภาพนี้จากงานIDFที่พึ่งผ่านมาไม่นานนะครับ Mr.Pat Gelsinger, senior vice president and general manager, Digital Enterprise Group, กำลังทำการสาธิตระบบ dual quad-core extreme gaming system, ที่มีcodenamedว่า ”Skulltrail.”
*รูปจาก intel.com
ดูกันชัดๆนะครับ เล่นน้ำกันทั้งชุดตั้งแต่CPUยันการ์ดจอเลยครับ แบบนี้ทางเราต้องเลียนแบบมั่งครับ เพราะทางเราชอบตามหลังและลอกเลียนแบบ ว่าแล้วก็ไปเริ่มชมการทดสอบของทางเรากันหน้าถัดไปเลยนะครับ