Acer Aspire V15 (V3-574G) notebook
Share | Tweet |
…หลังจากที่วันก่อน เราได้นำเสนอโน๊ตบุ๊กรุ่นใหม่จากทาง Acer ในตระกูล Aspire E series ไปแล้ว วันนี้ผมก็ได้รับเครื่องที่มีพิกัดไล่เลี่ยกันอย่าง “Acer Aspire V15″ หรือชื่อรุ่นเต็ม ๆ ว่า V3-574G-570Q (ตามประสาโน๊ตบุ๊กแบรนด์จากทางไต้หวันที่มักจะมีชื่อรหัสยาว ๆ ให้งงกันเล่น ๆ อย่างไรก็ดี V15 นั้นเรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กในกลุ่ม “All round performance” เล่นเกม พิมพ์งาน เปิดเว็บทั่วไป ในขนาดหน้าจอ 15 นิ้ว
.
Processor | Intel Core i5 5200U (2.2GHz) 3MB L3 cache |
Memory | DDR3-1600MHz 8GB |
Graphics | NVIDIA GeForce GT940M , Intel HD5500 |
Display | 15.6″ 1366×768 pixel |
Harddisk | 500GB SATA-III 5400RPM |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Qualcom Atheros QAC61×4 Wireless adapter |
Weight | 2.2KG |
OS Bundled | Windows 8.1 Single language (with upgrade right to Windows 10) |
.
…ซึ่งรายละเอียดทางเทคนิคในภาพรวม Acer V15 ตัวที่เราได้รับมานั้น จะใช้ซีพียู “Intel Core i5 5200U” 2.2GHz โค้ดเนม Broadwell พร้อมกับเมมโมรีแบบ DDR3-1600 ขนาด 8GB (แผงเดียว) กราฟฟิคชิปแบชิปแยก GeForce GT 940M และฮาร์ดไดร์ฟแบบ SATA 5400RPM
ดีไซน์ภายนอกนั้นมาในรูปแบบของพื้นผิวที่ทำให้ได้สัมผัสถึงอะลูมินัม เล่นเท็กซ์เจอร์สะท้อนแสงอยู่ภายในเนื้อ
ตัวถังมีการแซมสีเงิน ที่บริเวณบานพับ ดูแล้วเรียบหรู สวยงาม ความแน่นหนาจัดอยู่ในระดับกลาง ๆ
บานพับรูปตัว L ที่ทำให้กางออกมาได้ในระดับหนึ่ง มีความฝืดอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้งานได้สะดวก และมั่นคงดี ตัวเครื่องมีความบางพอสมควร ตามสไตล์โน๊ตบุ๊กระดับเมนสตรีมที่มักจะพบตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา
เมื่อกางออกมาก็จะพบกับหน้าจอขนาด 15 นิ้ว ขนาด 1366×768 พิกเซล ส่วนผิวหน้าจอเป็นแบบกึ่งเงากึ่งด้าน (เป็นกระจก ที่เงาพอสมควร แต่ไม่มากนัก) และภายในก็จะใช้สีเงินอะลูมิเนียม ซึ่งจริงๆตัวผิวนั้นป็นพลาสติก ที่มีความแน่นหนาน่าใช้งานดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
…เรามาดูกันที่ตัวคีย์บอร์ด V15 นั้นให้คีย์บอร์ดแบบที่มีไฟแบคไลท์พร้อม numpad มาให้ในตัว ซึ่งด้วยขนาด 15 นิ้ว ทำให้ปุ่มบางปุ่ม อาจจะถูกเบียดไปบ้าง เช่นปุ่มลูกศร หรือปุ่ม ctrl-alt ด้านขวามือ ทำให้กดยากพอสมควร หากใครคุ้นชินกับการกด ctrl+alt+del โดยใช้ปุ่มขวา ส่วนเลย์เอาท์การวางปุ่มตัวอักษร ไม่ถือว่าเลวร้ายสำหรับคีย์บอร์ดพร้อม numpad แบบนี้ แต่อาจต้องใช้เวลาปรับตัวบ้าง เพราะเวลานั่งพิมพ์กันยาว ๆ อาจจะต้องมีเอียงตัวไปทางด้านซ้าย ซึ่งตัวทัชแพด ก็ได้มีการวางในรูปแบบ offset ไปทางด้านซ้ายมาให้อยู่แล้ว
ทัชแพดนั้นรองรับการทำ gesture ใน windows 8 / 10 พื้นที่ก็ใหญ่โตตามประสาโน๊ตบุ๊กยุคหลัง ๆ มานี้ ทำ gesture ได้สะดวก สัมผัสจะรู้สึกสากๆมือเล็กน้อย เท่าที่ทดลอง pinch zoom อาจจะยังรู้สึกขัดๆ ติดบ้างไม่ติดบ้าง แต่การ scroll หน้าต่างด้วยนิ้วสองนิ้ว ทำได้อย่างสะดวกและลื่นไหลดีมาก ๆ ส่วนการชี้เคอร์เซอร์ทั่ว ๆ ไป ถือว่าทำได้แม่นยำดีกว่าโน๊ตบุ๊กที่เป็น multi-touch touchpad หลายๆรุ่น ที่ผมเคยเล่นมาครับ / สอบผ่าน !
บริเวณ handrest นั้นมีสติกเกอร์แสดงคุณสมบัติ โดยในระหว่างการใช้งาน ไม่พบหรือรู้สึกว่าพื้นที่บริเวณนี้ร้อนแต่อย่างใด
numpad ขนาดอาจจะดูไม่ใหญ่โต แต่เวลาใช้งาน excel ที่ต้องทำงานกับตัวเลขมาก ๆ ทำให้สะดวกขึ้นไม่เบาเลยทีเดียว
จุดที่ดูแล้วแปลกประหลาดไปจากโน๊ตบุ๊กหลายรุ่นในตลาดก็คือ ปุ่ม power ที่นำมารวมกับปุ่มบนคีย์บอร์ด ซึ่งแรก ๆ ใช้งานก็อาจจะทำให้กดผิดกดถูก จะกด delete ก็ไปกดโดน power เสียอย่างนั้น
ไฟสถานะด้านหน้ามีสองดวง คือไฟสถานะการชาร์จ และไฟเพาเวอร์ ซึ่งหลบมุมอยู่ด้านล่าง คู่กับ SD cardreader
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือ มีพอร์ต VGA, RJ45 (LAN), HDMI และ USB 3.0 สองพอร์ต
ด้านขวามือมีไดร์ฟ DVD และ USB 2.0 ซึ่งน่าจะตั้งใจเอาไว้ให้เสียบเมาส์โดยเฉพาะ เบ็ดเสร็จทั้งเครื่องมี USB 3 พอร์ต ซึ่งเป็นพอร์ตที่ใช้คอนโทรลเลอร์แบบอินติเกรต ในตัวชิปเซ็ต PCH ทั้งหมด
ฝาด้านหลังนั้นไม่มีช่องสำหรับถอเปลี่ยนแรม หรือฮาร์ดไดร์ฟ หากต้องการเปลี่ยน จะต้องไขน็อตทั้งหมด เท่าที่พอจะเห็นรูในภาพนี้แหละครับ ออกให้หมด ถึงจะสามารถยกฝาออกเพื่อทำการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์จำพวกแรมหรือฮาร์ดไดร์ฟได้
CPU-Z
.
AIDA64 (System info.)
AIDA64 ไม่พบรายละเอียดของกราฟฟิคการ์ดครับ ซึ่งต้องลองมาเช็คจาก GPU-Z ดูอีกที
.
GPU-Z
.
Super PI (1M)
สำหรับซีพียูรุ่นประหยัดไฟ (โค้ด U) ทำความเร็วได้ระดับ 14 วินาที ถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียวครับ
.
Crystal Disk Mark 3
คะแนนการอ่าน/เขียน ของไดร์ฟ ก็อยู่ในเกณฑ์ทั่วไปของไดร์ฟ 5400RPM
.
Cinebench R15
.
Imtec Battery Mark (Fast mode)
การทดสอบแบตเตอร์รี่ผมทำใน Fast mode พร้อมทั้งปรับวินโดวส์ให้อยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน ก็พบว่าคำนวนออกมาได้เวลาที่จะสามารถใช้ได้ถึง 2 ชั่วโมง 34 นาที ถือว่าเกินคาดไปพอสมควรสำหรับโน๊ตบุ๊กระดับกลาง ๆ แบบนี้
PCMark 8
3DMark (2013)
Resident Evil 6 (Benchmark)
สรุปส่งท้าย
…ถือได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กที่มีสมรรถนะรอบด้าน ตอบโจทย์คนที่มีงบประมาณระดับหนึ่ง ต้องการคอมพิวเตอร์ที่ซื้อเครื่องเดียวแล้วจบ ทั้งในแง่การพกพาสะดวก แต่ก็ยังไม่เสียสมรรถนะที่จำเป็นในการใช้งาน สเป็ค และผลการทดสอบที่ออกมา ก็ถือได้ว่ามีไว้ใช้งานเล่นเกมทั่วไปได้ในระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าหากใช้งานดูหนัง / ออฟฟิศ ทั่วไป ถือว่าสมรรถนะเหลือใช้สบาย ๆ แถมยังมี numpad มาให้อีก ซึ่งเอาไว้ใช้ทำงานที่ต้องดีลกับตัวเลขปริมาณมาก ๆ (excel) ได้อย่างสบาย แบตเตอร์รี่นั้นก็สามารถที่จะใช้งานในระดับ 2 ชั่วโมงโดยไม่เสียบชาร์จได้อย่างสบาย ๆ แถมยังมีความบางและเบา (แต่ยังคงใส่ออฟติคัลไดร์ฟมาให้)
…จุดที่อาจจะมีขัด ๆ หรือน่าติติงบ้างก็คงมีแต่เรื่องปุ่มเพาเวอร์ที่วางไว้ใกล้กับปุ่มคีย์บอร์ดมากเกินไป อาจทำให้เกิดการกดผิดได้บ้าง และฝาหลังที่ผนึกรวมกันเป็นแผ่นเดียว อาจจะทำให้การอัพเกรดดูยุ่งยากไปบ้าง ซึ่งไม่น่าใช่ปัญหา หากต้องการที่จะถอดจริง ๆ (เพราะคงไม่มีใครมาถอด ๆ ใส่ ๆ ทุกวัน)
Processor | Intel Core i7 2630QM |
Chipset | Intel HM67 |
Memory | 12GB DDR3-1333MHZ |
Graphics Adapter | NVIDIA GeForce GTX460M |
Display | 15.6″ (1920×1080) |
Harddisk | 500gbx2 7200 SATA RAID0 |
Optical Drive | Blu-Ray Combo (DVD write) |
Network | Intel WiFilink BGN 1000 |
Connection Port | cardreader, USB2.0 x4,USB3.0 x2 VGA, RJ45, HDMI, eSATA |
Battery | 86Wh |
Weight | 3.5Kg |
OS Bundled | Windows 7 Home premium |
- See more at: http://www.vmodtech.com/main/article/review-msi-gt680r-notebook/all/1/#sthash.DQ1vFvSt.dpuf