AMD A10-7860K Processor Review
Share | Tweet |
สวัสดีทุกๆ ท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันนี้พบรีวิวซีพียูในแบรนด์ AMD ซึ่งทำการเปิดตัวไปได้ไม่นานกันครับกับ AMD A10-7860K ซึ่งเป็นซีพียูที่ออกมาใหม่ในซีรี่ย์ APUs ของทาง AMD ที่นำเอาฮีตซิงค์รุ่นใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า AMD THERMAL SOLUTIONS รวมอยู่ในตัวซีพียูซีรี่ย์ใหม่ๆนี้นั่นเองครับ โดยซีพียู AMD A10-7860K รุ่นนี้เป็นซีพียูที่ทำการเปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาครับซึ่งจะเปิดตัวพร้อมๆกับ AMD FX-8370 ที่มีฮีตซิงค์ใหม่ล่าสุดอย่าง AMD Wraith Cooler โดยผมได้รีวิวให้ท่านชมไปแล้วนั่นเองครับ โดยจุดเด่นหลักๆของ AMD A10-7860K ก็คือเป็นซีพียูที่มีฮีตซิงค์ระบายความร้อนรุ่นใหม่ มีอัตราการบริโภคไฟที่ต่ำลงเพียง 65W นั่นเองครับ ส่วนสเปคการทำงานต่างๆก็อยู่ในสถาปัตย์ 28nm ในโค๊ดเนมเดิมก็คือ Godavari ใช้ซ๊อกเก็ต FM2+ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากครับ ส่วนความเร็วซีพียูนั้นอยู่ที่ 3.6Ghz Turbo 4.0Ghz บัสแรม 2133Mhz IGP อยู่ที่ 753Mhz ครับ ก็ถือว่าแรงใช้ได้เลยครับ โดยในวันนี้ผมจะทำการทดสอบในรูปแบบเดิมๆและโอเวอร์คล๊อกเปรียบเทียบให้ท่านได้ชมเหมือนเช่นเคยครับพร้อมทั้งทดสอบอุณหภูมิฮีตซิงค์ตัวใหม่อย่าง AMD THERMAL SOLUTIONS เปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้าว่าจะมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากน้อยขนาดไหน เดี๋ยวเราไปดูรายละเอียดของ AMD A10-7860K กันเลยครับ
ในรุ่นนี้จะเป็นกลุ่มของซีพียูที่มีฮีตซิงค์รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ชื่อเรียกว่า AMD THERMAL SOLUTIONS โดยมีทั้งรุ่น FX และบรรดา APU ครับ โดยฮีตซิงค์นั้นก็จะแตกต่างกันไปตามรุ่นถ้าเป็นรุ่นสูงๆก็จะเป็นฮีตซิงค์ที่มีท่อฮีตไปป์ส่วนถ้าเป็นรุ่นธรรมดาก็เป็นฮีตซิงค์อลูมิเนียมธรรมดาแต่พัดลมนั้นจะเป็นสีแดง ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือความเย็นและความเงียบนั่นเองครับ
สำหรับ AMD A10-7860K เมื่อเทียบกับ AMD A10-7850K แล้วนั้นข้อแตกต่างก็คือความเร็วซีพียูครับซึ่งเบสคล๊อกของ A10-7860K นั้นจะอยู่ที่ 3.6Ghz ส่วน A10-7850K จะอยู่ที่ 3.7Ghz แต่ในส่วนของ Turbo นั้นเท่ากันที่ 4.0Ghz ครับ ส่วนของ IGP นั้นสูงกว่านิดหน่อยครับอยู่ที่ 753Mhz ส่วนของ A10-7850K อยู่ที่ 720Mhz แต่อัตราการบริโภคไฟนั้น AMD A10-7860K อยู่ที่ 65W ส่วนของ AMD A10-7850K นั้นอยู่ที่ 95W ครับ โดย AMD A10-7860K นั้นจะมีฮีตซิงค์รุ่นใหม่อย่าง AMD THERMAL SOLUTIONS มาให้ด้วยซึ่งการระบายความร้อนนั้นจะดีกว่าฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้านี้ทั้งหมดครับ
สำหรับ APU Series นั้นก็ยังใช้สถาปัตย์เดิมอย่าง Steamroller ขนาด 28nm จำนวนคอร์ที่ 4คอร์ครับในรุ่นระดับกลางไปหาสูง ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักก็คือยังเป็นโค๊ดเนม Kaveri ไปหา Godaveri ที่เหมือนเป็นการรีเฟรสใหม่เพิ่มความเร็วต่างๆเข้าไปและลดการกินไฟลงไปนั่นเองครับ
ซีพียู APU ของทาง AMD ที่ทำการเปิดตัวในช่วงนี้ก็จะเป็น AMD A10-7860K , AMD A6-7470K , AMD Athlon X4 845 ครับ
โดยซีพียูในรุ่น AMD A10-7860K นั้นเป็นซีพียูในระดับ Entry Level ก็คือเป็นซีพียูในราคาประหยัดที่คุ้มค่าสามารถใช้งานเล่นเกมส์ออนไลน์หรือบรรดาเกมส์ที่กินสเปกไม่มากในระดับ Full HD ได้ครับ
บรรดาเกมส์ออนไลน์ยอดฮิตต่างๆก็สามารถใช้งานได้สบายๆครับ
AMD มีการออกผลิตภัณฑ์มากมายครับในเดือนนี้ทั้งซีพียูตัวใหม่ทั้ง FX ซีรี่ย์ APU ซีรี่ย์ ฮีตซิงค์รุ่นใหม่ที่เย็นขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของ USB 3.1 ซึ่งเป็นตัวเลือกใหม่ๆที่สำหรับผู้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของทาง AMD
ก้าวต่อไปของ AMD ก็คือแพลตฟอร์ม AM4 ซึ่งจะมาพร้อมกับสถาปัตย์ “Summit Ridge” และ “Bristol Ridge” จะแรงมากน้อยขนาดไหนเร็วๆนี้สาวก AMD ห้ามพลาดครับ
A-SERIES APUS WITH new AMD THERMAL SOLUTIONS
ตารางเปรียบเทียบสเปคซีพียู APU ในรุ่นต่างๆครับ
เราไปชมรูปร่างหน้าตาของ AMD A10-7860K กันต่อเลยครับ
.
AMD A10-7860K Appearance
กล่องนั้นเป็นสีแดงสลับดำตามแบบฉบับ AMD ครับซึ่งตัวกล่องนั้นจะใหญ่กว่าบรรดารุ่น APU ทั่วไปครับเนื่องจากมีฮีตซิงค์รุ่นใหม่อยู่ด้านในนั่นเอง
ด้านหลังกล่องบอกรายละเอียดต่างๆของตัวซีพียูครับ
อุปกรณ์ที่ให้มาก็มีตัวฮีตซิงค์ คู่มือ ตัวซีพียู และสติ๊กเกอร์สวยงาม
ตัวซีพียู AMD A10-7860K ก็เหมือนกันกับรุ่นก่อนๆครับ ยังอยู่กับสถาปัตย์ Stramroller ขนาด 28nm ไม่ได้แตกต่างอะไรกับรุ่นก่อนครับโดยโค๊ดเนมก็ยังเป็น Godavari ส่วนซ๊อกเก็ตใช้ Fm2+ เหมือนเดิม ในส่วนสเปกการทำงานนั้นจะอยู่ที่ความเร็วซีพียู 3.6Ghz Turbo 4.0Ghz บัสแรม 2133Mhz IGP 753Mhz อัตราการบริโภคไฟอยู่ที่ 65W ครับ
ด้านหลังก็เป็นซ๊อกเก็ต FM2+ ชุบทองเหมือนกับในรุ่นก่อนหน้าครับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ตัวฮีตซิงค์นั้นเป็นลูมิเนียมครับ ตัดกับในพัดลมสีแดงสดใสจริงๆ โดยฮีตซิงค์รุ่นใหม่นี้จะแตกต่างตรงที่อลูมิเนียมนั้นดูดีกว่าขัดเงาวับมาเลยครับพร้อมมีท่อฮีตไปป์สองท่อก็คือฝั่งละท่อในการระบายความร้อนเพิ่มเข้ามานั่นเองครับ
ด้านข้างก็หนาพอสมควรครับ ประกอบด้วยฮีตซิงค์อลูมิเนียมเป็นคลีบบางๆ
ท่อฮีตไปป์นั้นจะเชื่อมต่อกับฮีตซิงค์เพื่อระบายความร้อนครับแล้วพัดลมก็จะเป่าลงมายังฮีตซิงค์ ถ้าสังเกตุดูจะบางกว่ารุ่นก่อนค่อนข้างเยอะเลยครับ
ช่องเสียบสายไฟพัดลมก็จะเป็นแบบ 4พินครับ
หน้าสัมผัสนั้นผมดูแล้วเป็นทองแดงครับแต่จะเคลือบสีเงินเอาไว้ให้กลมกลืนกับฮีตซิงค์นั่นเองครับ ดูแล้วหน้าคอนแทกนั้นดีกว่าในรุ่นก่อนมากๆครับ ส่วนเรื่องประสิทธิภาพความเย็นจะเป็นเช่นไรนั้นเดี๋ยวเรารู้กันครับ
เราไปชมรายละเอียดในการทดสอบกันต่อเลยครับ
...
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU |
..AMD A10-7860K Supported by AMD Thailand |
.Thermal Grease | ..GELID GC-ETREME |
.Motherboard | . GIGABYTE G1 Sniper A88X |
.Memory | ..Team XAtreem LV Series 2400 |
.Graphic Card | . AMD RADEON R7 APU |
.Harddisk | ..OCZ Vector 150 |
.CPU Cooler | ..AMD Thermal Solution / Water Custom Cooling / Stock Cooling AMD 7850K @ Ambient 25-28C |
.Power Supply | ..Thermaltake 1500W |
.Operation System | ..Windows 10 64-bit |
รายละเอียดต่างๆของระบบที่ใช้ทดสอบกันในวันนี้ครับ ซีพียูเป็น AMD A10-7860K ตัวใหม่ล่าสุดจากAMD ครับ Supported by AMD Thailand ครับผม…
บรรยากาศขณะทดสอบในห้องอุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส ด้วยฮีตซิงค์ที่มากับตัวซีพียูและชุดน้ำของผมครับ
CPU-Z
AMD A10-7860K
ในค่าความเร็วเดิมๆ Default ของ AMD A10-7860K นั้นค่าจะอยู่ที่ Core Speed 3.6Ghz Turbo Core 4.0Ghz NB 1600Mhz DRAM 2133Mhz ครับ โดยการทำงานจะเป็น 3ระดับคือ 1.โหมด Cool & Quit คือระบบประหยัดพลังงานซีพียู 2.โหมดปกติความเร็วจะอยู่ที่ 3.6Ghz 3.โหมด Turbo ความเร็วจะอยู่ที่ 4.0Ghz ตามลำดับครับ ซึ่งเมื่อเทียบกับ AMD A10-7850K แล้วนั้นความเร็ว Base Clock จะต่ำกว่าครับ โดย 7850K จะอยู่ที่ 3.7Ghz Turbo 4.0 และ NB 1800Mhz ซึ่งจะมากกว่า A10-7860K อยู่เล็กน้อยครับ แต่ข้อดีของ 7860K ก็คือกินไฟต่ำกว่าในสถานะ Idel ก็คือ 65W และมีฮีตซิงค์รุ่นใหม่มาให้ครับ
Overclock 4.6Ghz
สำหรับโหมดโอเวอร์คล๊อกวันนี้จัดกันเต็มๆที่ความเร็ว 4.6Ghz ครับ สำหรับประสิทธิภาพในการโอเวอร์คล๊อกตามที่ผมทดสอบก็จะวนๆอยู่ที่ 4.4Ghz-4.6Ghz ครับ ซึ่งถ้าใช้ฮีตซิงค์เดิมๆ AMD THERMAL SOLUTIONS ผมทำได้แบบนิ่งๆที่ความเร็ว 4.4Ghz ครับซึ่งผลทดสอบจะอยู่ที่หน้าท้ายๆนะครับ แต่ถ้าใช้ชุดน้ำแล้วจะอยู่ที่ 4.6Ghz ครับแบบนิ่งๆ ซึ่งมันก็เป็นความเร็วมาตรฐานไม่แตกต่างจากรุ่นก่อนครับที่จะตันกันที่ 4.6-4.7Ghz ประมาณนี้ โดยสามารถใช้ฮีตซิงค์แต่งหรือขุดน้ำสำเร็จเล่นกันได้ครับ ประสิทธิภาพในการโอเวอร์คล๊อกยังไม่ได้แตกต่างจากเดิมนะครับ
GPU-Z
สำหรับค่ากราฟฟิกการ์ดหรือ IGP ที่อยู่ใน AMD A10-7860K จะอยู่ที่ 758Mhz ครับ ซึ่งเมื่อเทียบดูแล้วจะมากกว่า A10-7850K ซึ่งมีค่า IGP อยู่ที่ 720Mhz ซึ่งก็เพิ่มมาเล็กน้อยครับ
AIDA64 Info
เราไปชมผลทดสอบในหน้าต่อไปกันเลยครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
SuperPI 1M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
SuperPI 32M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
HyperPI 32M 4Thread
Overclock 4.6Ghz
สำหรับผลทดสอบ SuperPI1MB จบไปที่ 18.516วินาที ส่วน SuperPI 32MB จบไป16นาที 21.877วินาที , ส่วน HyperPI32MB ก็ผ่านหมดแรงแบบนิ่งๆใช้งานกันได้จริงอย่างมีเสถียรภาพครับทั้งในแบบเดิมๆและโอเวอร์คล๊อกครับ
AIDA64 Extreme
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ค่าการ อ่านของเมนโมรี่โดยเทสแบบเดิมๆจะอยู่ที่ 19Kครับ ที่บัสแรม 2133 CL 9-11-11-24 40 2T ส่วนผลโอเวอร์คล๊อกจะอยู่ที่ 22K ก็เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยครับในบัสที่เท่ากัน
ไปดูผลทดสอบด้านอื่นๆกันต่อเลยครับ
wPrime2.09 , CPUMark99 MaxxMem & Fritz Chess Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ในผลทดสอบ Fritzchess Benchmark โดยผลคะแนนจะไปสูสีกับ AMD A10- 7800 และ 7850K นั่นเองครับ สำหรับ Winrar ผลทดสอบ Multithreading นั้น ก็แรงดีเลยครับอยู่ที่ 3518KB/s
X264 FHD
Overclock 4.6Ghz
X264 ก็ยังทำได้ดีครับทั้งค่าเดิมๆและโอเวอร์คล๊อกอยู่ที่ 12.4fps และ 15.8fps แรงใช้ได้ครับ
เราไปชมผลทดสอบในการเรนเดอร์และ Open GL จาก Cinebench Series กันต่อเลยครับ
Cinebench 10
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 11.5
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 15
Overclock 4.6Ghz
Cinebench ทุกซีรี่ย์ในการเรนเดอร์ทั้ง 4หัวนั้นก็ทำคะแนนได้ดีครับ ก็อยู่ในมาตรฐานของ APU ในแพลตฟอร์ม FM2+ ครับ
เราไปชมผลทดสอบด้าน 3D กันต่อเลยครับ
PCMark 7
Overclock 4.6Ghz
PCMark7 นั้นคะแนนออกมาแรงใช้ได้ครับ 4919 คะแนนเลยทีเดียว
PCMark 8
Overclock 4.6Ghz
PCMark 8 ก็แรงครับอยู่ที่ 3755คะแนน
3DMark11
Overclock 4.6Ghz
3Dmark11 ซึ่งคะแนนอยู่ที่ 2728คะแนน ก็เกาะกลุ่มกับบรรดา APU ในรุ่นสูงๆครับ
3DMark 2013
Overclock 4.6Ghz
Fire Strike กดไป 1546คะแนนแรงใช้ได้ครับ
เราไปชมผลทดสอบของเกมส์กันบ้างครับ
Grand Theft Auto V
GTA V อยู่ที่ 21เฟรมเรต ก็ยังไม่ค่อนลื่นครับคงต้องลดลงไปใช้ DX10 ดูน่าจะดีกว่านี้ครับ กับเกมส์ที่ค่อนข้างกินสเปกซึ่งจริงๆแล้วนั้น AMD A10-7860K ตัวนี้ออกแบบมาให้ใช้งานกับบรรดาเกมส์ที่กินสเปกไม่มากหรือพวกเกมส์ออนไลน์ต่างๆนั่นเองครับ แต่ที่ผมหยิบมาทดสอบก็เพราะมีเพื่อนๆสมาชิกสอบถามกันมานั่นเองนะครับ
Ashes of the Singularity
Ashes of the Singularity เกมส์ใหม่ๆที่รองรับ DX12 ก็คงรันประมาณ DX11 ครับเพราะแค่นี้ก็ไม่น่ารอดกับคอนฟิกต่ำสุดก็ทำเฟรมเรตไม่ค่อยลื่นเท่าไหร่ครับ แต่ถ้ามีการ์ดระดับกลางๆมาช่วยด้วยแล้วหรือไหลแน่นอนครับ
DiRT Rally
ในคอนฟิก 1080P นั้นผลออกมาที่ 16เฟรมเรตครับ ก็ถือว่ายังไม่พอกับการรันเกมส์หนักๆครับ
Dirt Rally อยู่ที่ 26เฟรมเรต ก็พอรันกันได้ครับ แต่ไม่ลื่น ในระดับ 720P
Tom Clancy’s Rainbow Six Siege
Tom Clancy’s Rainbow Six Siege ผลทดสอบ 1080P ก็อยู่เพียง 10กว่าเฟรมเรตครับ
ส่วนผลทดสอบ 720P ก็เพิ่มขึ้นมาหน่อยเฉลี่ย 20กว่าเฟรมเรตครับ ก็ยังไม่ลื่นครับ
ส่วนผลทดสอบแบบ 720P นั้นอยู่ที่ 24เฟรมเรต ก็ดีขึ้นมาเท่านึงครับ แต่ผมว่าก็ยังไม่ลื่นอยู่ดีครับ
DOTA 2
DOTA 2 อยู่ที่ 40เฟรมเรต ก็พอได้ครับ ก็สมกับที่ทาง AMD การันตีไว้สำหรับบรรดาเกมส์ออนไลน์ที่ไม่กินสเปกจนเกินไปอย่าง DOTA2
Counter Strike : Global Offensive
เกมส์อย่างเคาร์เตอร์สไตร์คก็เล่นได้อย่างลื่นไหลแบบสบายๆครับอยู่ที่ 53เฟรมเรต โอเคครับกับเกมส์ออนไลน์ที่ทาง AMD แนะนำไว้ในบทความหน้าแรกๆ
เราไปชมผลทดสอบอื่นกันต่อเลยครับ
AMD Thermal Solution Heatsink
เรามาชมผลทดสอบฮีตซิงค์ AMD THERMAL SOLUTIONS กันบ้างครับ โดยในการทดสอบจะมีทั้งการโอเวอร์คล๊อกในฮีตซิงค์เดิมๆตัวนี้ว่าจะโอเวอร์คล๊อกกันได้ไกลมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงอุณหภูมิเปรียบเทียบกับฮีตซิงค์รุ่นก่อนหน้านี้ให้ท่านได้ชมกันไปเลยครับว่า AMD THERMAL SOLUTIONS จะสมกับที่สาวก AMD ตั้งตารอคอยกันไหม เราไปติดตามชมเลยครับ
แม้จะเป็นฮีตซิงค์เดิมๆก็สามารถโอเวอร์คล๊อกกันมาได้ไกลถึง 4.4Ghz กันเลยทีเดียว โดยค่าความเร็วต่างๆอยู่ที่ 4.4Ghz NB 2000Mhz บัสแรม 2400Mhz ไฟเลี้ยงเพียงแค่ 1.48v เท่านั้นครับ ซึ่งเมื่อเทียบกับฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้านี้ผมทำได้แบบนิ่งๆใช้งานได้จริงเพียงแค่ 4.2Ghz เท่านั้นครับ ถือได้ว่าประสิทธิภาพในการระบายความร้อนนั้นทำได้ดีมากขึ้นเลยทีเดียวเพราะถ้าจะใช้งานจริงในความเร็วระดับ 4.4-4.6จะต้องเป็นฮีตซิงค์แต่งที่มีคุณภาพกันสักนิดนึงครับถึงจะมาที่ความเร็วนี้ได้แบบใช้งานได้จริงอย่างมีเสถียรภาพ
SuperPI 1MB
SuperPI 32MB
HyperPI 32MB 4Core
ผลทดสอบ SuperPI และ HyperPI32 ผ่านหมดแบบนิ่งๆครับ เสถียรกันระดับนึงเลยทีเดียวครับ ไม่ธรรมดาจริงๆสำหรับ AMD THERMAL SOLUTIONS ตัวนี้
X264 ก็รันผ่านได้สบายๆครับ ที่ 15.07 Fps ความเร็วไม่มีตกครับ ทำงานได้เยี่ยมทุก Core เลยทีเดียว
Cinebench ก็เรนเดอร์กันได้ดีเยี่ยมครับ ความเร็วไม่มีตกคะแนนไม่มีร่วงให้เห็นครับ แสดงว่าฮีตซิงค์ตัวนี้เอาอยู่สบายๆครับ
Overclock 4.6Ghz
โอเวอร์คล๊อกกันแบบสุดๆก็จะได้ที่ความเร็ว 4.6Ghz ครับ ซึ่งในความเร็วนี้นั้นไม่เสถียรนะครับ อัดกันโชว์เอามันส์เฉยๆกับฮีตซิงค์ AMD THERMAL SOLUTIONS ของเค้าดีครับผมให้ผ่านครับ
Temparature Test Result
เรามาชมผลทดสอบในเรื่องของอุณหภูมิกันบ้างครับ ซึ่งผมต้องบอกก่อนว่า APU นั้นจะโชว์ได้ไม่ตรงเท่าไหร่เพราะติดในเรื่องของ IGP เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเราจะเช็คได้จาก Package Temp ที่พอจะสามารถดูกันได้เปรียบเทียบนะครับ เดี๋ยวเราไปดูกันครับว่าเมื่อเอาซิงค์ใหม่ล่าสุดอย่าง AMD Thermal Solution Heatsink มาทดสอบเทียบกับฮีตซิงค์ในรุ่นเก่าอย่าง AMD Stock Heatsink ที่อยู่ในซีพียู AMD A10-7850K ผลจะต่างกันมากน้อยขนาดไหน เราไปชมกันเลยครับ
Temparature
Stock Heatsink A10-7850K
AMD Thermal Solution Heatsink
ผมทดสอบ Prime95 ไป 5นาทีกว่าๆทั้งสองฮีตซิงค์ผลปรากฎว่า AMD Thermal Solution Heatsink ทำได้ดีกว่าชัดเจนครับ ฟูลโหลดอยู่ที่ 88องศาฯเท่านั้น ส่วนฮีตซิงค์เดิมๆนั้นอยู่ที่ 91องศาฯครับ หลายๆท่านสงสัยว่าทำไมมันสูงจังซึ่งผมนำเรียนไปแล้วว่าอุณหภูมิของ APU อาจโชว์ไม่ตรงความเป็นจริง ซึ่งความจริงต้องลบลงไปอีกเยอะครับ แต่ในค่าของตัวนี้ก็สามารถนำมาเช็คได้เช่นกันสำหรับในส่วนของ APU ครับ ถือว่าทำผลงานได้ดีกว่าฮีตซิงค์เดิมเยอะเลยครับ ทั้งในการโอเวอร์คล๊อกใช้งานกันได้สบายๆที่ความเร็ว 4.4Ghz บัสแรม 2400Mhz คุ้มค่าจริงๆครับ
Power Consumption
มาดูในส่วนของอัตราการบริโภคไฟครับกันครับซึ่ง AMD A10-7860K นั้นมีอัตราการบริโภคไฟอยู่ที่ 65W ครับ เราไปชมกันครับว่าเมื่อทำงานกันเต็มที่แล้วจะอยู่ที่เท่าไหร่ โดยในการทดสอบผมทดสอบกับโปรแกรม Prime95 นี่แหละครับ ไปชมกันเลยครับ
Idle
Fulload
Idle นั้นทำได้ดีมากครับอยู่เพียงแค่ 36W เท่านั้นถือว่าต่ำมากจริงๆ ส่วน Fulload แล้วนั้นอยู่ที่ 123W ซึ่งก็จะไปใกล้เคียงกับ AMD A10-7850K ครับ แทบไม่หนีกันเลย จุดเด่นก็คงอยู่ที่ระบบ Cool & Quit นี่แหละครับที่ช่วยประหยัดลงไปเยอะครับในสถานะ Idle ก็ถือว่าโอเคครับ
เราไปชมผลสรุปในช่วงสุดท้ายกันต่อเลยครับ
Conclusion
ก็มาถึงบทสรุปครับกับการทดสอบ AMD A10-7860K ที่วันนี้ทำผลงานได้ดีเลยทีเดียวครับ แม้ว่าจะยังเป็นสถาปัตย์เดิม (Stramroller X86) ขนาด 28nm โค๊ดเนม Godavari ซึ่งสเปคการทำงานของ AMD A10-7860K นั้นจะใกล้เคียงกับ AMD A10-7850K และ 7800 ครับ ที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นจะมีในส่วนของค่า IGP ที่เพิ่มขึ้นเป็น 753Mhz กับการบริโภคไฟที่ต่ำกว่าเพียง 65W ครับ โดยความแรงหรือประสิทธิภาพต่างๆก็ใกล้เคียงกันครับ แต่จุดเด่นจริงๆของ AMD A10-7860K ก็คือเจ้าฮีตซิงค์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง AMD THERMAL SOLUTIONS ที่ทำผลงานได้ดีจริงๆครับทั้งการดีไซน์ออกแบบที่เรียกได้ว่าสวยงามกว่าฮีตซิงค์ในรุ่นเดิมครับ แม้จะมองว่ามันก็คล้ายๆกับฮีตซิงค์ในรุ่นของ FX ที่มีท่อฮีตไปป์ก็ไม่แปลกครับ แต่ทาง AMD ก็ยอมที่จะให้ฮีตซิงค์ดีๆมาใช้กับซีพียูตระกูล APU ที่สำคัญเรื่องเสียงรบกวนนี่แทบไม่มีครับเงียบมากๆแม้จะเจอโหลดหนักๆก็ตาม ส่วนในเรื่องของประสิทธิภาพอันนี้ดีขึ้นมากกว่าเดิมแน่นอนครับสามารถโอเวอร์คล๊อกใช้งานได้สบายๆด้วยฮีตซิงค์ AMD THERMAL SOLUTIONS ที่ความเร็ว 4.4Ghz NB 2000Mhz บัสแรม 2400Mhz ได้อย่างมีเสถียรภาพเลยครับ ซึ่งถ้าเป็นฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้านี้ผมทำได้แค่ 4.2Ghz แบบนิ่งๆเท่านั้นเองครับ ถือได้ว่าการระบายความร้อนและการใช้งานจริงในจุดนี้ AMD แก้ปัญหามาได้ดีครับ ในส่วนของการทดสอบในเรื่องของเกมส์มิ่งถ้าเป็นเกมส์กินสเปคเยอะๆคงยังไม่ผ่านครับอาจจะต้องหาการ์ดจอในระดับกลางๆอย่างเช่น AMD R7 360 /370 หรือนำเอาการ์ดจอมา Cossfire เพิ่มอย่าง AMD R7 240/250 น่าจะเหมาะสมกว่าครับ ด้วยพลังซีพียู AMD A10-7860K 4Core สามารถขับเคลื่อนได้สบายอย่างแน่นอนสำหรับเกมส์ที่กินสเปคสูงๆในระดับความละเอียด 1080P เซ็ตคอนฟิกให้เหมาะสมผ่านแน่นอนครับ แต่สำหรับเกมส์ออนไลน์ตามที่ผมได้ทดสอบและทาง AMD ได้แนะนำอย่าง Counter Strike : Global Offensive หรือ DOTA2 นั้นเล่นได้อย่างสบายครับด้วย APU ในตัว สามารถปรับความละเอียดในระดับ 1080P ได้สบายๆครับแต่ต้องลดคอนฟิกลงมาในระดับปานกลางไปหาต่ำรับรองว่าลื่นไหลดีมากครับ สำหรับการทดสอบในวันนี้คงทำให้ท่านเห็นแล้วว่า AMD A10-7860K ตัวนี้เป็นซีพียูในระดับ Entry Level ที่ให้ฮีตซิงค์รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีประสิทธิภาพอย่าง AMD THERMAL SOLUTIONS พร้อมทั้งราคาก็ไม่สูงมากแต่ก็สามารถใช้งานด้านความบันเทิงเล่นเกมส์ออนไลน์ ออฟไลน์ ที่ไม่กินสเปกมากนักหรือสามารถใช้งานด้านกราฟฟิกเรนเดอร์กันได้ในระดับนึงครับ เหมาะสำหรับคนงบจำกัดที่เน้นการใช้งานทั่วไปครับแต่ก็สามารถต่อยอดอัพเกรดความแรงหาการ์ดจอระดับกลางๆมาใส่เพิ่มก็สามารถแรงกับบรรดาเกมส์ที่กินสเปกได้แล้วครับหรือท่านจะนำเอาการ์ดจอ AMD R7 240/250 มาต่อ Crossfire ก็แรงขึ้นเช่นกันครับ ผมมองว่าเป็นซีพียู APU ที่คุ้มค่าตัวนึงเลยทีเดียวครับ ในส่วนของราคาวางจำหน่ายอยู่ที่ 108ดอลล่าสหรัฐฯ แต่ถ้าดูจากราคาตรงนี้คิดแบบง่ายๆจะตกอยู่ราวงๆ 3พันบาทกว่าๆครับถือว่าไม่แพง แต่ถ้ามาไทยแล้วจะเปิดอยู่ที่เท่าไหร่นั้นยังไม่แน่ชัดครับต้องดูกันอีกทีนึง สำหรับในวันนี้ผมก็ขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่กับรีวิวอุปกรณ์ใหม่ๆที่อัพเดทให้ได้รับชมกันทุกวันที่ Vmodtech.com สวัสดีครับ
..
…
…
ขอบคุณที่ติดตาม
Dodge Vmodtech
.
Special Thanks.