AMD Athlon X4 860K Processor Review
Share | Tweet |
สวัสดีทุกๆ ท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันนี้พบกับผมอีกครั้งกับรีวิวซีพียูในฝั่งของทาง AMD ซึ่งก็จะพบหน้าพบตากันตลอด ในช่วงนี้เมนบอร์ดของทาง AMD ในซ๊อกเก็ต FM2+ นี่ออกมากันมากครับทั้งมีฟีเจอร์แรงๆดีไซน์สวยๆก็เยอะ มีหลายๆท่านถามผมมาเยอะเหมือนกันว่าจะหันไปเล่นแพล็ตฟอร์ม FM2+ นี่จะเวิร์คไหม?เพราะเห็นเมนบอร์ดออกมาในแต่ละรุ่นน่าสนใจมากๆแต่ติดตรงที่ซื้อซีพียูตัวท๊อปๆมาแล้วก็ไม่ได้ใช้กราฟฟิกออนซีพียูที่มาด้วยเพราะเน้นใช้การ์ดจอแยกเป็นหลัก นี่คือปัญหาของบรรดาแฟนๆ AMD ที่หลงรักแพลตฟอร์ม APU หรือ FM2+ ในวันนี้ทาง AMD มีซีพียูในซ๊อกเก็ต FM2+ ที่ไม่มีกราฟิกออนซีพียูแต่ประสิทธิภาพนั้นแรงเทียบเท่าบรรดาซีพียูตัวท๊อปๆของรุ่นเลยทีเดียวครับนั่นก็คือ รุ่น AMD Athlon X4 860K ซึ่งอยู่ในซีรี่ย์ APU หรือ A-Series ซึ่งเป็นซีพียูที่ออกแบบมาให้ใช้งานในแพลตฟอร์ม FM2+ ครับ โดยเราจะค่อนข้างคุ้นหูเป็นอย่างดีสำหรับชื่อ AMD Athlon ในรุ่นที่ผ่านๆมาซึ่งเป็นตำนานเลยก็ว่าได้ครับ สำหรับ AMD Athlon X4 860K ยังอยู่ในสถาปัตย์ Stramroller X86 ครับ โดยมีโค๊ดเนมซีพียูคือ “Kaveri” ซึ่งสเปคหรือความเร็วอะไรต่างๆจะเหมือนกับ AMD A10-7850K แต่จะแตกต่างกันตรงที่ AMD Athlon X4 860K นั้นไม่มี IGP หรือกราฟฟิกออนซีพียูนั่นเองครับ ถ้าจะมองแล้ว AMD Athlon X4 860K ก็คือซีพียูในแพล็ตฟอร์ม FM2+ ที่ออกแบบมาให้ใช้การ์ดจอแยกนั่นเองครับและมีจุดเด่นตรงที่ราคาจะต่ำกว่า AMD A10-7850K แต่ประสิทธิภาพของซีพียูนั้นเท่ากันนั่นเองครับ ผมอธิบายคร่าวๆแบบนี้หลายๆท่านคงมองออกนะครับว่า AMD Athlon X4 860K นั้นผลิตมาเพื่อจุดประสงค์อะไร เอาเป็นว่าเราไปดูรายละเอียดคร่าวๆของสถาปัตย์กันสักเล็กน้อยนะครับ ก่อนจะไปชมรีวิวแบบละเอียดโดยในบทความนี้ผมนำคอนฟิกการโอเวอร์คล๊อกมาแจกให้ทุกท่านได้รับชมกันด้วยครับ
ด้านการประมวลผลซึ่งใช้สถาปัตย์ “Steamroller” ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ AMD A10-7850K โค๊ดเนม Kaveri ครับโดยสเปกต่างๆจะเท่ากันทั้งหมดโดยความเร็วซีพียูอยู่ที่ 3.7Ghz Turbo 4.0Ghz โดยจำนวนคอร์ทั้งหมด 4คอร์ แคสทั้งหมด 4MB ค่า TDP อยู่ที่ 95W ครับ
กราฟเทียบประสิทธิภาพการทำงานของซีพียู AMD Athlon X4 860K ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งทั้งเกมส์มิ่ง กราฟฟิก 3D และการประมวลผลต่างๆ
AMD Athlon™ X4 Quad-Core Processors & AMD Athlon™ X2 Dual-Core Processors
ตารางเปรียบเทียบสเปคซีพียูในรุ่นต่างๆครับ
เราไปชมรูปร่างหน้าตาของ AMD Athlon X4 860K กันต่อเลยครับ
.
AMD Athlon X4 860K Appearance
กล่องก็ยังคงเป็นทรงเดียวกับ APU ทั่วไปครับสีดำสนิทมีโลโก้ AMD Athlon ชัดเจนเด่นชัด
ด้านหลังกล่องบอกรายละเอียดต่างๆของตัวซีพียูครับ
อุปกรณ์ที่ให้มาก็มีตัวฮีตซิงค์ คู่มือ ตัวซีพียู และสติ๊กเกอร์สวยงาม
ตัวพัดลมก็ยังคงเป็นทรงเดียวกับซีพียู A-Series ครับ ไม่แตกต่างกัน ซ๊อกเก็ตที่รองรับก็ตั้งแต่ FM2 , FM2+
ฮีตซิงค์เป็นอลูมิเนียมที่มีหน้าคอนแทคโดยตรงฉาบด้วยซิลิโคนที่มีมาให้พร้อมใช้งานครับ
ขนาดซีพียู AMD Athlon X4 860K ก็เท่ากับซีพียูในรุ่น FM2+ ทั่วไปครับสถาปัตย์ที่ใช้ก็ยังเป็น “Steamroller” X86 ขนาด 28nm เช่นเดิมครับ สามารถใช้งานกับซ๊อกเก็ต FM2+ ได้ทุกเมนบอร์ดที่รองรับการทำงานเช่นเคย
ด้านหลังก็ยังคงใช้ขาเป็นหน้าคอนแทคยังเป็นขาซ๊อกเก็ตชุบทองครับ ซ๊อกเก็ต FM2+ เมนบอร์ดที่ใช้ยังคงเป็น FM2+ เท่านั้นครับ
เราไปชมรายละเอียดในการทดสอบกันต่อเลยครับ
...
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU |
..AMD Athlon X4 860K Supported by AMD Thailand |
.Thermal Grease | ..GELID GC-ETREME |
.Motherboard | . GIGABYTE G1 Sniper A88X |
.Memory | ..Team XAtreem LV Series 2400 |
.Graphic Card | . SAPPHIRE NITRO R7 370 |
.Harddisk | ..OCZ Vector 150 |
.CPU Cooler | ..Air Cooling / Cooler Master Hyper D92 @ Ambient 34C |
.Power Supply | ..Thermaltake 1500W |
.Operation System | ..Windows 8.1 Pro 64-bit |
รายละเอียดต่างๆของระบบที่ใช้ทดสอบกันในวันนี้ครับ ซีพียูเป็น AMD Athlon X4 860K ตัวใหม่ล่าสุดจากAMD ครับ Supported by AMD Thailand ครับผม…
บรรยากาศขณะทดสอบในห้องอุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส ด้วยฮีตซิงค์พัดลมครับหรือเรียกง่ายๆวันนี้ออนแอร์ทดสอบกันไปเลยครับ
CPU-Z
AMD Athlon X4 860K
AMD Athlon X4 860K TURBO
ในค่าความเร็วเดิมๆ Default ของ AMD Athlon X4 860K นั้นค่าจะอยู่ที่ Core Speed 3.7Ghz Turbo Core 4.0Ghz DRAM 2133Mhz ครับ โดยการทำงานจะเป็น 3ระดับคือ 1.โหมด Cool & Quit คือระบบประหยัดพลังงานซีพียู 2.โหมดปกติความเร็วจะอยู่ที่ 3.7Ghz 3.โหมด Turbo ความเร็วจะอยู่ที่ 4.0Ghz ตามลำดับครับ บัสแรมวันนี้ผมใช้ตามค่าสเปกที่เคลมกันเอาไว้ที่ 2133Mhz ครับ
Overclock 4.6Ghz
สำหรับโหมดโอเวอร์คล๊อกวันนี้จัดกันเต็มๆที่ความเร็ว 4.6Ghz กันเลยทีเดียวครับออนแอร์แบบใช้งานได้จริงอย่างมีเสถียรภาพตลอดการทดสอบ โดยคอนฟิกไบออสต่างๆผมทำเป็นแนวทางไว้ให้ท่านได้ดูหรือลอกคอนฟิกหน้าไบออสเอาไว้ใช้งานกันในหน้าถัดไปนะครับ
GPU-Z
สำหรับค่ากราฟฟิกการ์ดเดิมๆวันนี้ใช้ SAPPHIRE NITRO R7 370 ตัวแรงซึ่งเป็นเซ็ตคู่ที่ผมมองว่าเข้ากันดีกับ AMD Athlon X4 860K เป็นอย่างมากครับ เดี๋ยวเรารู้กันครับว่ามันเหมาะสมกันมากน้อยขนาดไหนกับความแรงของ SAPPHIRE NITRO R7 370 ตัวนี้
เราไปชมหน้าคอนฟิกไบออสกันต่อเลยครับ
Bios Config
คอนฟิกใช้งานในความเร็ว 4.6Ghz ออนแอร์ด้วยระบบฮีตซิงค์แต่งอย่าง Cooler Master Hyper D92 ในระดับกลางๆเซ็ตกันง่ายๆครับ ใช้งานกันได้อย่างมีเสถียรภาพในห้องธรรมดาที่ไม่ได้เปิดแอร์ อุณหภูมิห้องอยู่ที่ 28-30องศาฯตามสภาพการใช้งานจริงๆครับ คอนฟิกต่างๆตามด้านล่างเลยครับเซ็ตติ้งกันง่ายๆไม่ได้มีอะไรซับซ้อน
เราไปชมผลทดสอบในหน้าต่อไปกันเลยครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
SuperPI 1M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
SuperPI 32M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
HyperPI 32M 4Thread
Overclock 4.6Ghz
เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับซีพียูคู่แข่งอย่าง Intel Pentium G3258 แล้วนั้น ผลทดสอบ SuperPI ก็ยังคงเป็นรองซีพียูอินเทลอยู่เช่นเดิมครับสำหรับแพลตฟอร์ม AMD แต่ถ้าพูดถึงแล้วนั้นซีรี่ย์ของ AMD APU นั้นจะทำเวลาได้ดีกว่า FX อยู่หน่อยๆนะครับ สำหรับผลทดสอบในการโอเวอร์คล๊อกความเร็ว 4.6Ghz ชุดทดสอบ SuperPI1MB จบไปที่ 16.00วินาที ส่วน SuperPI 32MB จบไป14นาที 26.814วินาที , ส่วน HyperPI32MB ก็ผ่านหมดแรงแบบนิ่งๆใช้งานกันได้จริงอย่างมีเสถียรภาพครับ
AIDA64 Extreme
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ค่าการ อ่านของเมนโมรี่โดยเทสแบบเดิมๆจะอยู่ที่ 21Kครับ ที่บัสแรม 2133 CL 10-11-11-24 40 2T ส่วนผลโอเวอร์คล๊อกจะอยู่ที่ 22K ก็เพิ่มขึ้นมาเล้กน้อยครับในบัสที่เท่ากัน
ไปดูผลทดสอบด้านอื่นๆกันต่อเลยครับ
wPrime2.09 , CPUMark99 MaxxMem & Fritz Chess Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ในผลทดสอบ Fritzchess Benchmark ผลคะแนน AMD Athlon X4 860K นั้นทำได้ดีกว่าคู่แข่งค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวครับ โดยผลคะแนนจะไปสูสีกับ AMD A10-7850K นั่นเองครับ
สำหรับ Winrar ผลทดสอบ Multithreading นั้น AMD Athlon X4 860K ทำผลงานได้ดีกว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวครับ เพราะจำนวนคอร์ที่มากกว่านั่นเอง
X264 FHD
Overclock 4.6Ghz
X264 ก็ยังทำผลงานได้ดีกว่าเช่นเดิมครับ ทั้งค่าเดิมๆและโอเวอร์คล๊อกทิ้งคู่แข่งค่อนข้างมากเลยทีเดียวครับ
เราไปชมผลทดสอบในการเรนเดอร์และ Open GL จาก Cinebench Series กันต่อเลยครับ
Cinebench 10
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 11.5
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 15
Overclock 4.6Ghz
Cinebench ทุกซีรี่ย์ในการเรนเดอร์ทั้ง 4หัว AMD Athlon X4 860K นั้นทำผลงานได้ดีกว่าชัดเจนครับคะแนนค่อนข้างห่าง แต่เมื่อเรนเดอร์ที่หัวเดียวแล้วนั้นประสิทธิภาพของ Intel Pentium G3258 นั้นดีกว่าทุกการทดสอบครับ สรุปง่ายๆคือเมื่อเทียบประสิทธิภาพทั้งหมดทุกหัวแล้วนั้น AMD Athlon X4 860K นั้นแรงกว่าเยอะครับ แต่ถ้าวัดกันหัวต่อหัวแล้ว Intel Pentium G3258 นั้นทำได้ดีกว่าครับ
LuxMark v2.0
Overclock 4.6Ghz
Luxmark OpenCL คะแนนก็แรงใช้ได้ โอเคเลยครับ
PCMark 7
Overclock 4.6Ghz
PCMark7 นั้นคะแนนออกมาแรงใช้ได้ครับ 5013 คะแนนเลยทีเดียว
3DMark Vantage
Overclock 4.6Ghz
3DMark Vantage อยู่ที่ 17727คะแนน แรงใช้ได้เลยครับ
3DMark11
Overclock 4.6Ghz
3Dmark11 ซึ่งคะแนนอยู่ที่ 6467คะแนน แรงครับไม่ธรรมดา
3DMark 2013
Overclock 4.6Ghz
Fire Strike กดไป 4511คะแนนแรงดีจริงๆครับ
Unigine Heaven 4.0 Benchmark
Overclock 4.6Ghz
Unigine Valley 1.0 Benchmark
Overclock 4.6Ghz
Unigine Heaven ,Valley ก็ใช้ได้ครับ ไม่ถึงกับลื่นไหลมากแต่ก็โอเคครับ
เราไปชมผลทดสอบของเกมส์กันบ้างครับ
FARCRY4
FARCRY4 อยู่ที่ 52-55เฟรมเรต แรงดีเลยครับกับคอนฟิกระดับ High รันได้ลื่นไหลในระดับนึงกันเลยทีเดียว
The Witcher 3: Wild Hunt
The Witcher 3: Wild Hunt เฟรมเรตอยู่ที่ 41-43เฟรมเรต ก็ใช้ได้ครับ
Middle-earth: Shadow of Mordor
AMD Athlon X4 860K
Overclock 4.6Ghz
Middle-earth: Shadow of Mordor อยู่ที่ 51-70เฟรมเรต แรงเยี่ยมเลยครับ
Total War: ROME II
AMD Athlon X4 860K
Overclock 4.6Ghz
Rome totalwar ก็ทำผลงานได้เยี่ยมครับ อยู่ที่ 67-79เฟรมเรต แรงลื่นไหลดีมากๆครับ
METRO LAST LIGHT
AMD Athlon X4 860K
Overclock 4.6Ghz
METRO LAST LIGHT เฟรมเรตอยู่ที่ 38เฟรมเรต โอเคในระดับนึงครับ
เราไปชมผลทดสอบอื่นกันต่อเลยครับ
AMD Athlon X4 860K / AMD RADEON R9 290
เรามาชมผลทดสอบกับการ์ดรุ่นใหญ่ๆกันบ้างครับ มาดูกันครับว่า AMD Athlon X4 860K นั้นเมื่อใช้งานกับกราฟฟิกการ์ดในรุ่นใหญ่ๆจะสามารถเค้นประสิทธิภาพความแรงได้หรือไม่ ไปชมกันเลยครับ
สำหรับกราฟฟิกการ์ดที่นำมาทดสอบก็คือ AMD RADEON R9 290 นั่นเองครับ
GPU-Z
3DMark Vantage
3DMark Vantage ก็แรงเยี่ยมเลยครับ อยู่ที่ 21760คะแนน
3DMark11
3DMark11 ก็แรงเช่นกันครับ อยู่ที่ 9023คะแนน
3DMark 2013
3DMark 2013 ก็แรงเยี่ยมทุกการทดสอบครับ
Unigine Heaven 4.0 ก็แรงครับ อยู่ที่ 48เฟรมเรต
Unigine Valley 1.0 ก็แรงครับ อยู่ที่ 53เฟรมเรตกันเลยทีเดียว
Overclock 4.6Ghz DRAM 2400Mhz
มาถึงช่วงทดสอบส่งท้ายกันครับ ในการเล่นบัสแรมที่ความเร็ว 2400Mhz ซึ่งประสิทธิภาพในการโอเวอร์คล๊อกแรมก็ทำได้ไม่ต่างจาก AMD A10-7850K หรือบรรดาซีพียูในซีรี่ย์ 7XXX ครับ เราไปชมกันครับเมื่อปรับบัสแรมที่ความเร็ว 2400Mhz แล้วประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
CPU-Z
โอเวอร์คล๊อกใช้งานกันที่ความเร็ว 4.6Ghz บัสแรม 2400Mhz กันแบบเต็มๆ ประสิทธิภาพการโอเวอร์คล๊อกก็ทำได้เท่ากันกับรุ่นในแพลตฟอร์ม FM2+ เช่นเดียวกันครับ
Cinebench R10
Cinebench R11.5
Cinebench R15
PCMark7
3DMark Vantage คะแนนพุ่งมาที่ 8650คะแนนกันเลยทีเดียว แรงจัดจริงๆ
3DMark11 คะแนนอยู่ที่ 2952คะแนนเลยครับ แรงขึ้นมาจากเดิมเลยทีเดียว
3DMark Fire Strike
ทุกผลทดสอบก็แรงเยี่ยม ผ่านพ้นกันไปได้สบายๆครับ
เราไปชมผลสรุปในช่วงสุดท้ายกันต่อเลยครับ
Conclusion
ก็มาถึงบทสรุปครับกับการทดสอบ AMD Athlon X4 860K ที่วันนี้ทำผลงานได้ดีเลยทีเดียวครับ แม้ว่าจะยังเป็นสถาปัตย์เดิม (Stramroller X86) ขนาด 28nm โค๊ดเนม Kaveri ซึ่งสเปคนั้นแทบไม่ต่างจาก AMD A10-7850K จะต่างกันตรงที่ไม่มี IGP ในตัวเท่านั้นเองครับ อีกทั้งประสิทธิภาพความแรงก็ใกล้เคียงกันครับ โดยจุดเด่นที่ทาง AMD ผลิตออกมาก็คือในเรื่องของราคาที่ไม่สูงมากอีกทั้งตอบสนองความต้องการของบรรดาสาวก AMD ที่ใช้เมนบอร์ด FM2+ ที่ต้องการซีพียูมาใช้งานกับกราฟฟิกการ์ดแยกนั่นเองครับ โดยในผลทดสอบนั้นจะเห็นได้ชัดเลยครับว่าประสิทธิภาพนั้นแรงไม่ต่างจาก AMD A10-7850K เลยครับหรือถ้านำไปเทียบกับซีพียูคู่แข่งที่มีราคาใกล้เคียงกันอย่าง Intel Pentium G3258 แล้วนั้น AMD Athlon X4 860K ก็จะมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าครับเพราะจำนวนคอร์ที่มากกว่า 4คอร์ทำให้การใช้งานในการเรนเดอร์หรืองานด้านกราฟฟิกทำออกมาได้ดีกว่าโดยรวม แต่ถ้าเทียบกันหัวต่อหัวแล้วนั้นก็จะเป็นรอง Intel Pentium G3258 อยู่บ้างครับ แต่ในการใช้งานจริงเราก็ใช้งานกันทุกคอร์อยู่แล้วก็ถือว่า AMD Athlon X4 860K นั้นประสิทธิภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด มาดูในส่วนของการโอเวอร์คล๊อกกันบ้างครับ ถือว่าทำได้ดีไม่ต่างจากบรรดาซีพียู FM2+ ครับ โดยโอเวอร์คล๊อกกับซิงค์ลมแต่งในระดับกลางๆอย่าง Cooler Master Hyper D92 ก็สามารถใช้งานได้อย่างสบายๆที่ความเร็ว 4.6Ghz อย่างมีเสถียรภาพตลอดการทดสอบตามที่ผมได้ตั้งคอนฟิกเอาไว้ในไบออสให้ท่านได้ชมกันครับ สำหรับผลทดสอบด้านกราฟฟิกเมื่อนำการ์ดจอในระดับกลางอย่าง SAPPHIRE NITRO R7 370 มาทดสอบร่วมด้วย ผลที่ออกมาทำได้ดีเยี่ยมเลยครับทั้งผลทดสอบ 3DMark ก็ทำคะแนนได้ดีรวมไปถึงผลทดสอบเกมส์ต่างๆก็สามารถปรับใช้งานในระดับ High ความละเอียด Full HD 1080P ได้อย่างลื่นไหลสบายๆครับ ถือได้ว่าเป็นซีพียูที่ทำออกมาให้ใช้งานร่วมกับกราฟฟิกการ์ดแยกได้กับราคาที่ไม่แพงเลยครับกับแพล็ตฟอร์ม AMD APU ในซ๊อกเก็ต FM2+ ในราคาที่ไม่เกินสามพันบาทกับประสิทธิภาพการทำงานผมมองว่าเล่นได้สบายๆครับกับเกมส์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเมื่อใช้การ์ดจอแยกในระดับกลางๆอย่าง SAPPHIRE NITRO R7 370 หรือจะเป็นกราฟฟิกการ์ดในระดับ Hi End ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันครับ เอาเป็นว่าใครกำลังจะเล่นซ๊อกเก็ต FM2+ แต่อยากใช้งานการ์ดจอแยก AMD Athlon X4 860K ตอบโจทย์ท่านได้แน่นอนกับความแรงซีพียูในระดับหัวแถวของ AMD APU ในราคาที่แสนจะคุ้มค่าจริงๆครับถือไปสามพันบาทมีทอน โดยราคาวางจำหน่ายทั่วไปอยู่ที่ 2XXXบาทปลายๆเท่านั้น คุ้มค่าคุ้มราคาแบบนี้สาวก AMD ไม่ควรพลาดครับอีกทั้งเมนบอร์ดในแพล็ตฟอร์ม FM2+ นี่เยอะแยะมากมายน่าเล่นกันแทบทุกยี่ห้อ สำหรับในวันนี้ผมก็ขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่กับรีวิวอุปกรณ์ใหม่ๆที่อัพเดทให้ได้รับชมกันทุกวันที่ Vmodtech.com สวัสดีครับ
..
…
…
ขอบคุณที่ติดตาม
Dodge Vmodtech
.
Special Thanks.