AMD Athlon X4 880K Processor Review
Share | Tweet |
สวัสดีทุกๆ ท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ผมมีรีวิวซีพียูในแบรนด์ AMD มาเอาใจสาวกเอเอ็มดีกันแบบต่อเนื่องมาให้ได้ชมกันครับ โดยช่วงนี้ซีพียูทางฝั่งเอเอ็มดีนั้นทยอยกันออกมาหลายรุ่นที่มาพร้อมฮีตซิงค์ระบายความร้อนตัวใหม่ที่ทาง AMD ผลิตกันออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-ถึงมีนาคม โดยผมได้รีวิวให้ท่านได้ชมกันไปบ้างแล้วในวันนี้ผมมีซีพียูตัวใหม่ล่าสุดที่มาพร้อมฮีตซิงค์ระบายความร้อนตัวใหม่ล่าสุดมาให้ท่านได้ชมกันอีกเช่นเคยครับกับ AMD Athlon X4 880K ที่มาพร้อมกับชุดระบายความร้อน AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ซึ่งเป็นฮีตซิงค์ที่ค่อนข้างใหญ่โตเลยครับขนาดก็ใกล้เคียงกับ AMD Wraith Cooler เลยทีเดียว เดี๋ยวรายละเอียดในการทดสอบต่างๆนั้นอยู่ในบทความในวันนี้ครับ เรามาดูในส่วนของตัวซีพียู AMD Athlon X4 880K กันครับ โดยรุ่นนี้ก็ยังคงอยู่กับสถาปัตย์ขนาด 28nm โค๊ดเนม Godavari อยู่เช่นเดิมครับ แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือความเร็วต่างๆเพิ่มขึ้นมาเป็น 4.0Ghz Turbo 4.2Ghz ซึ่งจะมากกว่าในรุ่น AMD Athlon X4 860K อยู่พอสมควรครับ ส่วนซ๊อกเก็ตที่ใช้งานก็ยังเป็น FM2+เหมือนเช่นเคย ก็ถือได้ว่าเป็นซีพียูที่ออกมาขั้นเวลาของ “Ecavator” หรือ “Carrizo” ในแพลตฟอร์ม FM2+ นั่นเองครับ ซึ่งจะมาในรุ่น AMD Athlon X4 845 แต่ถ้านับตอนนี้ก็คือ AMD Athlon X4 880K นั้นแรงสุดในบรรดาซีพียู Athlon X4 ณ เวลานี้นั่นเองครับ ส่วนตัวต่อไปที่มากับสถาปัตย์ใหม่อย่าง “Carrizo” นั้นจะเป็นเช่นไรถ้าถึงเวลาทางวีม๊อดเทคของเราก็จะนำมารีวิวให้ท่านได้ชมกันอย่างแน่นอนครับ แต่ในวันนี้เราไปชมประสิทธิภาพของ AMD Athlon X4 880K กับฮีตซิงค์ตัวใหม่ล่าสุดอย่าง AMD Near Silent Thermal Solution กันก่อนเลยครับว่าจะแรงกันมากน้อยขนาดไหน เดี๋ยวเราไปดูรายละเอียดคร่าวๆของ AMD Athlon X4 880K กันเลยครับ
AMD Athlon X4 880K นั้นเป็นซีพียูในรุ่นท๊อปสุด ณ เวลานี้ครับสำหรับ AMD Athlon X4 ซึ่งจุดเด่นของ AMD Athlon X4 880K อีกเรื่องก็คือราคานั่นเองครับ ซึ่งจะถูกกว่า APU ทั่วๆไปเพราะเป็นซีพียูที่ตัด IGP ออกนั่นเองครับ เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการใช้งานร่วมกับการ์ดจอแยกโดยตรงนั่นเองครับ ส่วนฮีตซิงค์ที่มีมาให้นั้นเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเลยครับ มีชื่อเรียกว่า AMD Near Silent Thermal Solution ซึ่งถ้าดูดีๆแล้วมันก็จะใกล้เคียงกับ AMD Wraith Cooler ครับจะแตกต่างกันที่พัดลมที่ดีไซน์แตกต่างกันเท่านั้นเอง
สำหรับ AMD Athlon X4 880K เป็นซีพียูที่มีความเร็วอยู่ที่ 4.0Ghz Turbo 4.2Ghz ซึ่งตัวฮีตซิงค์นั้นจะใหญ่กว่ารุ่น AMD A10-7860K ที่ผมทำการทดสอบไปค่อนข้างเยอะครับ ส่วนความแรงนั้นจะไปสูสีกับ AMD A10-7870K หรือ AMD A10-7890K นั่นเองครับ
เปรียบเทียบสัดส่วนต่างๆของซีพียูทั้งสามรุ่นก็จะเห็นได้ชัดครับว่าประสิทธิภาพใกล้เคียงกันขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเน้นใช้งานแบบไหน
ตารางเปรียบเทียบสเปคซีพียู AMD Athlon ในรุ่นต่างๆครับ
เราไปชมรูปร่างหน้าตาของ AMD Athlon X4 880K กันต่อเลยครับ
.
AMD Athlon X4 880K Appearance
กล่องนั้นเป็นตัวทดสอบส่งตรงมาจาก AMD Thailand ครับ มาพร้อมกับชุดฮีตซิงค์ใหม่ล่าสุดอย่าง AMD Near Silent Thermal Solution
ตัวซีพียูก็ยังเป็นแพลตฟอร์ม FM2+ ในสถาปัตย์ขนาด 32nm โค๊ดเนม “Godavari” ครับ มีอัตราการบริโภคไฟอยู่ที่ 95W ความเร็วของซีพียูอยู่ที่ 4.0Ghz Turbo 4.2Ghz บัสแรม 2133Mhz ตามลำดับ
ด้านหลังก็เป็นซ๊อกเก็ต FM2+ ชุบทองเหมือนกับในรุ่นก่อนหน้าครับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ตัวฮีตซิงค์นั้นเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดมีชื่อเรียกว่า AMD Near Silent Thermal Solution ฟังจากชื่อก็น่าจะรู้ละครับว่าเงียบเกือบจะสนิทโดดเด่นในเรื่องเสียงรบกวนแน่ๆ ตัวฮีตซิงค์ทำจากอลูมิเนียมคลีบบางประกอบด้วยท่อฮีตไปป์ 4ท่อ ฝั่งละ 2ท่อครับ ดูแล้วขนาดใหญ่พอๆกับ AMD Wraith Cooler เลยทีเดียว ตัวพัดลมนั้นเป็นพัดลมใหญ่เลยครับดูแล้วหนาครับมีตราโลโก้ AMD สวยงามเลยทีเดียว
ด้านข้างก็หนาพอสมควรครับ ประกอบด้วยฮีตซิงค์อลูมิเนียมเป็นคลีบบางๆสองชั้น
ด้านข้างก็จะเป็นขาล๊อกครับ ใส่ได้หมดทั้ง FM2 /FM2+ /AM3 /AM3+ สบายๆครับ
ดูแล้วมันก็เท่าๆกับซิงค์แต่งในรุ่นเล็กๆไปหากลางเลยครับ ประสิทธิภาพการโอเวอร์คล๊อกจะทำได้ดีแค่ไหน ในบทความมีให้ชมแบบเต็มๆครับ
หน้าสัมผัสนั้นเป็นทองแดงผิวเรียบโดยตรงครับไม่มีเคลือบสีเงินเอาไว้ หน้าสัมผัสนั้นใหญ่ครับต่อเข้ากับฮีตไปป์โดยตรงในการดึงความร้อน
เราไปชมรายละเอียดในการทดสอบกันต่อเลยครับ
...
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU |
..AMD Athlon X4 880K Supported by AMD Thailand |
.Thermal Grease | ..GELID GC-ETREME |
.Motherboard | . GIGABYTE G1 Sniper A88X |
.Memory | ..Team XAtreem LV Series 2400 |
.Graphic Card | . AMD RADEON R9 290 Crossfire |
.Harddisk | ..OCZ Vector 150 |
.CPU Cooler | ..AMD Near Silent Thermal Solution / Water Custom Cooling / Stock Cooling AMD Athlon X4 860K @ Ambient 25-28C |
.Power Supply | ..Thermaltake 1500W |
.Operation System | ..Windows 10 64-bit |
รายละเอียดต่างๆของระบบที่ใช้ทดสอบกันในวันนี้ครับ ซีพียูเป็น AMD Athlon X4 880K ตัวใหม่ล่าสุดจากAMD ครับ Supported by AMD Thailand ครับผม…
บรรยากาศขณะทดสอบในห้องอุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ด้วยฮีตซิงค์ที่มากับตัวซีพียูและชุดน้ำของผมครับ
CPU-Z
AMD Athlon X4 880K
ในค่าความเร็วเดิมๆ Default ของ AMD Athlon X4 880K นั้นค่าจะอยู่ที่ Core Speed 4.0Ghz Turbo Core 4.2Ghz NB 1600Mhz DRAM 2133Mhz ครับ โดยการทำงานจะเป็น 3ระดับคือ 1.โหมด Cool & Quit คือระบบประหยัดพลังงานซีพียู 2.โหมดปกติความเร็วจะอยู่ที่ 4.0Ghz 3.โหมด Turbo ความเร็วจะอยู่ที่ 4.2Ghz ตามลำดับครับ อัตราการบริโภคไฟอยู่ที่ 95W ไม่แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ครับ
Overclock 4.6Ghz
สำหรับโหมดโอเวอร์คล๊อกวันนี้จัดกันเต็มๆที่ความเร็ว 4.6Ghz ครับ บัสแรมกดเต็มๆที่ DDR3 2512Mhz 10-12-12-24-44 2T 1.7v ตลอดการทดสอบใช้งานได้จริงอย่างมีเสถียรภาพ
GPU-Z
สำหรับกราฟฟิการ์ดวันนี้เป็นการ์ดจอแยกนะครับเพราะ AMD Athlon X4 880K นั้นจะไม่ใช่ APU นะครับจะไม่มี IGP โดยเป็น AMD RADEON R9 290 Crossfire กันสองใบครับ
AIDA64 Info
เราไปชมผลทดสอบในหน้าต่อไปกันเลยครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
SuperPI 1M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
SuperPI 32M 1Thread
Overclock 4.6Ghz
HyperPI 32M 4Thread
Overclock 4.6Ghz
สำหรับผล ทดสอบ SuperPI1MB จบไปที่ 17.796วินาที ส่วน SuperPI 32MB จบไป15นาท58.393ี วินาที , ส่วน HyperPI32MB ก็ผ่านหมดแรงแบบนิ่งๆใช้งานกันได้จริงอย่างมีเสถียรภาพครับทั้งในแบบเดิมๆ และโอเวอร์คล๊อกครับ
AIDA64 Extreme
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ค่าการอ่านของเมนโมรี่โดยเทสแบบเดิมๆจะอยู่ที่ 19Kครับ ที่บัสแรม 2133 CL 9-11-11-24 40 2T ส่วนผลโอเวอร์คล๊อกจะอยู่ที่ 23K ก็เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยครับในบัสที่เท่ากัน โดยก็ยังอยู่ในมาตรฐานเดียวกับบรรดา APU เจนฯล่าสุดกันครับ
ไปดูผลทดสอบด้านอื่นๆกันต่อเลยครับ
wPrime2.09 , CPUMark99 MaxxMem & Fritz Chess Benchmark
Overclock 4.6Ghz
ในผลทดสอบ Fritzchess Benchmark คะแนนนั้นอยู่หัวแถวกันเลยครับ สำหรับ Winrar ผลทดสอบ Multithreading นั้น ก็แรงดีเลยครับอยู่ที่ 3640KB/s แรงมากครับเมื่อเทียบกับบรรดาซีพียูในกลุ่มเดียวกัน
X264 FHD
Overclock 4.6Ghz
X264 ก็ยังทำได้ดีครับทั้งค่าเดิมๆและโอเวอร์คล๊อกอยู่ที่ 13.65fps และ 15.27fps แรงอยู่หัวแถวกันเลยทีเดียวครับ
เราไปชมผลทดสอบในการเรนเดอร์ จาก Cinebench Series กันต่อเลยครับ
Cinebench 10
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 11.5
Overclock 4.6Ghz
Cinebench 15
Overclock 4.6Ghz
Cinebench ทุกซีรี่ย์ในการเรนเดอร์ทั้ง 4หัวนั้นก็ทำคะแนนได้ดีมากครับครับ แรงอยู่ในระดับหัวแถวของ AMD APU กันเลยทีเดียวครับ
เราไปชมผลทดสอบด้าน 3D กันต่อเลยครับ
PCMark 7
Overclock 4.6Ghz
PCMark7 นั้นคะแนนออกมาแรงครับ 5325 คะแนนเลยทีเดียว
PCMark 8
Overclock 4.6Ghz
PCMark 8 ก็แรงครับอยู่ที่ 3807คะแนน
3DMark11
Overclock 4.6Ghz
3Dmark11 คะแนนอยู่ที่ 10652คะแนน แรงเยี่ยมเลยครับ
3DMark 2013
Overclock 4.6Ghz
Fire Strike กดไป 9659คะแนนกับพลัง AMD RADEON R9 290 Crossfire
Unigine Heaven 4.0
Unigine Valley 1.0
Unigine Heaven 4.0 และ Valley 1.0 คะแนนก็ออกมาแรงลื่นไหลดีเลยทีเดียวครับ
เราไปชมผลทดสอบของเกมส์กันบ้างครับ
Grand Theft Auto V
GTA V อยู่ที่ 44-58เฟรมเรต กันเลยทีเดียวครับกับคอนฟิกแบบเปิดสุดหมด ใช้การ์ดจอแยกไม่มีปัญหาครับกับประสิทธิภาพของซีพียู AMD Athlon X4 880K ปั่นพลังด้านกราฟฟิกได้อย่างแน่นอน
Ashes of the Singularity
Ashes of the Singularity เกมส์ใหม่ๆก็ยังไม่ค่อยเท่าไหร่ครับ อาจเป็นเพราะตัวซีพียูหรือป่าว เพราะตัวเกมส์นั้นยังเป็น BETA อยู่นะครับ อาจยังดึงประสิทธิภาพในบางจุดออกมาไม่หมด ดูไว้พอเป็นแนวทางนะครับ
DiRT Rally
Dirt Rally อยู่ที่ 52เฟรมเรต แรงสุดๆแบบเปิดคอนฟิกเต็มสุดครับ รันได้แรงลื่นไหลแน่นอน
Tom Clancy’s Rainbow Six Siege
Tom Clancy’s Rainbow Six Siege ผลทดสอบ 1080P อยู่ที่ 53-72กว่าเฟรมเรตครับ แรงแบบสุดๆ ในคอนฟิกที่จัดเต็ม
Middle-earth: Shadow of Mordor
Middle-earth: Shadow of Mordor ก็แรงกันแบบสุดๆครับ อยู่ที่ 82เฟรมเรตใรคอนฟิกที่ปรับสุดหมด รันกันได้สบายๆครับ
เราไปชมผลทดสอบอื่นกันต่อเลยครับ
AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink
เรามาชมประสิทธิภาพของ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ในการโอเวอร์คล๊อกใช้งานกันครับว่าจะทำงานได้ดีขนาดไหนกับฮีตซิงค์ที่แถมกับซีพียูจะถูกใจสาวก AMD กันหรือไม่ เราไปชมกันเลยครับว่าจะโอเวอร์คล๊อกใช้งานกันได้ดีในระดับไหน
AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink
CPU-Z
มาชมกันครับกับผลการโอเวอร์คล๊อกกับฮีตซิงค์เดิมๆอย่าง AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ที่สามารถพามาได้ไกลถึงที่ความเร็ว 4.6Ghz NB 2000Mhz บัสแรม DDR3 2400Mhz กันแบบเต็มๆ และในค่าใช้นี้ก็สามารถใช้งานกันได้จริงๆนะครับ ไม่ได้กดกันเอามันส์แต่ใช้งานกันไม่ได้ ซึ่งดูแล้วมันก็สามารถทำได้ในจุดของลิมิตของบรรดา APU กันเลยครับที่สามารถกดกันที่ 4.6-4.7Ghz ในการใช้งานกันได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งถ้าในความเร็วนี้จะต้องใช้บรรดาฮีตซิงค์แต่งระดับกลางๆขึ้นไปครับถึงจะเอาอยู่ แต่ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink นั้นพามาได้สบายๆและใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพ เราไปชมผลทดสอบกันเลยครับ
SuperPI 1MB
SuperPI 32MB
HyperPI 32MB 4Core
ผลทดสอบ SuperPI และ HyperPI32 ผ่านหมดแบบนิ่งๆครับ เสถียรกันระดับนึงเลยทีเดียวครับ ไม่ธรรมดาจริงๆสำหรับ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ตัวนี้ ลากได้ไกลพอๆกับบรรดาชุดน้ำหรือฮีตซิงค์แต่งแพงๆเลยครับ คุ้มจริงๆ
Cinebench ก็เรนเดอร์กันได้ดีเยี่ยมครับ ความเร็วไม่มีตกคะแนนไม่มีร่วงให้เห็นครับ ถือว่าฮีตซิงค์ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink เอาอยู่สบายๆครับ
ผลด้านกราฟฟิกก็แรงเยี่ยมครับคะแนนแรงตามประสิทธิภาพไม่มีตกเช่นกันครับ เยี่ยมยอดจริงๆ
Overclock 4.7Ghz With Water Cooling
ผมลองกดใช้งานที่ความเร็ว 4.7Ghz ในระบบน้ำก็โอเคครับในการโอเวอร์คล๊อก แต่ถ้าถามว่าใช้ฮีตซิงค์ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink นั้นทำได้ไหม ตอบว่าได้นะครับแต่ไม่นิ่งครับ ต้องขยับชุดระบายความร้อนขึ้นไปอีกครับ เราไปชมผลทดสอบเล็กๆไว้เป็นแนวทางครับกับความเร็ว 4.7Ghz ของ AMD Athlon X4 880K สามารถใมช้งานได้นิ่งๆกับ HyperPi32MB ครับ
HyperPI 32MB
Temparature Test Result
AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink
AMD Athlon X4 860K Stock Heatsink
เรามาชมผลทดสอบฮีตซิงค์ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink กันบ้างครับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวเด่นของรีวิวในวันนี้อีกตัวเลยครับ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Near Silent แปลแบบง่ายๆก็คือใกล้ความเงียบหรือพูดง่ายๆมันเกือบจะเงียบเลยก็ว่าได้นั่น เองครับ แล้วในส่วนของเรื่องการระบายความร้อนล่ะมันทำได้ดีมากน้อยขนาดไหน โดยวันนี้ผมนำฮีตซิงค์ AMD Athlon X4 860K ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้านี้มาทดสอบเทียบเคียงประสิทธิภาพให้ท่านได้ชมกันครับ โดยสเปกที่เคลมเอาไว้สำหรับ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink เมื่อใช้งานกับ AMD Athlon X4 880K ทาง AMD เคลมเอาไว้ที่ไม่เกิน 72องศาฯครับ เรามาชมกันครับว่ามันจะจริงหรือป่าว อันนี้ผมคิดว่าน่าจะดูจาก TMPIN2 นะครับ เดี๋ยวเราเทียบกันเลยครับว่าฮีตซิงค์ตัวใหม่กับตัวเก่าจะเย็นต่างกันมากน้อยขนาดไหน ไปชมกันเลยครับ
Temparature
AMD Athlon X4 860K Stock Heatsink
AMD Thermal Solution Heatsink
ผมทดสอบ Prime95 ไป 13นาทีกว่าๆทั้งสองฮีตซิงค์ผลปรากฎว่า AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ทำได้ดีอย่างมากครับ ฟูลโหลดอยู่ที่ 92องศาฯเท่านั้น ส่วนฮีตซิงค์เดิมๆนั้นอยู่ที่ 112องศาฯครับ ในค่า Package Temp แต่ถ้าผล Tempin2 นั้น AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ฟูลโหลดอยู่เพียงแค่ 56องศาฯเท่านั้นครับ ส่วนฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้าอยู่ที่ 77องศาฯกันเลยทีเดียว ต่างกันเยอะมากๆเลยทีเดียวครับ เรียกได้ว่าเรื่องความเย็นนี่ทำได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆครับเมื่อเทียบกับฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้านี้ อีกทั้งในเรื่องเสียงรบกวนก็สมกับที่ทางเอเอ็มดีการันตีไว้ครับว่าเงียบจริง โดยในการทดสอบไม่ว่าจะฟูลโหลดหนักๆเสียงพัดลมนี่แทบไม่ได้ยินเลยครับเงียบมากๆ ยิ่งถ้าเป็นฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้าที่มีฮีตไปป์มาด้วยสาวก AMD คงทราบกันดีว่าของเค้าดังจริงๆในการทำงานฟูลโหลด ก็ถือได้ว่า AMD ทำการบ้านมาดีครับในเรื่องของการระบายความร้อน แต่ถามว่าซีพียูมันร้อนขนาดต้องใช้ฮีตซิงค์ตัวใหม่มาระบายเลยหรอ อันนี้ผมตอบแทนสำหรับท่านที่เพิ่งติดตามซีพียูเอเอ็มดีนะครับคือในรุ่นก่อนๆซิงค์เดิมๆก็เอาอยู่ครับไม่ได้ร้อนอะไรมากมายครับเพียงแต่ในรุ่นนี้ทาง AMD จัดฮีตซิงค์ที่มีคุณภาพมาให้รวมไปถึงความเงียบและความเย็นเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเหมือนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานมากกว่าครับที่จะไปเสียตังค์ซื้อฮีตซิงค์แต่งมาใช้งาน โดยฮีตซิงค์ AMD Near Silent Thermal Solution Heatsink ตัวนี้ก็สามารถโอเวอร์คล๊อกกันได้อย่างสบายๆตามที่ผมทดสอบให้ท่านได้ชมกันไปแล้วนั่นเองครับ
เราไปชมผลสรุปในช่วงสุดท้ายกันต่อเลยครับ
Conclusion
ก็มาถึงบทสรุปครับกับการทดสอบ AMD Athlon X4 880K ที่วันนี้ทำผลงานได้ดีเยี่ยมเลยครับสมกับเป็นซีพียูในระดับหัวแถวของแพลตฟอร์ม AMD FM2+ ครับถือเป็นซีพียูในตระกูล AMD Athlon ที่แรงที่สุด ณ เวลาปัจจุบันเลยก็ว่าได้ครับกับประสิทธิภาพในการทดสอบที่วันนี้สามารถเรียกประสิทธิภาพกับการ์ดจอทั้งสองใบอย่าง AMD RADEON R9 290 ทั้งสองใบออกมาได้อย่างน่าพอใจครับกับซีพียูในระดับกลางๆของเอเอ็มดี ในส่วนของการทดสอบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ เรนเดอร์ กราฟฟิกต่างๆก็ทำคะแนนออกมาได้น่าพอใจครับไม่ว่าจะเป็นการทดสอบแบบเดิมๆหรือโอเวอร์คล๊อก ซึ่งความเร็วเดิมๆก็ให้กันมาเยอะพอสมควรเลยครับกับความเร็วเริ่มต้นที่ 4.0Ghz Turbo 4.2Ghz บัสแรม 2133Mhz ถ้าเทียบกับซีพียูก่อนหน้านี้อย่าง AMD Athlon X4 860K นั้นอยู่ที่ 3.6Ghz Turbo 4.0 ก็ขยับความแรงขึ้นมาค่อนข้างเยอะครับ แต่จุดเด่นของ AMD Athlon X4 880K ในวันนี้ก็คือชุดฮีตซิงค์ระบายความร้อนอย่าง AMD Near Silent Thermal Solution ที่วันนี้ออกแบบมาเอาใจสาวกเอเอ็มดีกันแบบจัดเต็มจริงๆครับทั้งความสวยงามรวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ใช้งานกันได้อย่างดีเยี่ยมครับ สามารถโอเวอร์คล๊อกกันไปที่ความเร็ว 4.6Ghz ได้อย่างสบายๆใช้งานได้จริงอย่างมีเสถียรภาพครับ สำหรับผลทดสอบในเรื่องของการระบายความร้อนเมื่อทำการเปรียบเทียบกับฮีตซิงค์รุ่นก่อนหน้าของ AMD Athlon X4 860K ปรากฏว่าทำได้ดีกว่าเดิมเป็นอย่างมากครับไม่ว่าจะเป็นผลฟูลโหลดหรือไอเดิลซึ่งต่างกันถึง 20กว่าองศาฯกันเลยทีเดียวครับ ส่วนเรื่องของเสียงรบกวนนั้นไม่เป็นปัญหาเลยครับแม้จะฟูลโหลดทำงานกันเต็มที่เสียงรบกวนที่ออกมาแทบไม่มีเลยครับ ถ้าเป็นฮีตซิงค์ในรุ่นก่อนหน้าที่มีฮีตไปป์อยู่ด้วยแล้วนั้นฟูลโหลดออกมาทีเสียงพัดลมนั้นจะดังมากๆเลยครับ แต่สำหรับ AMD Near Silent Thermal Solution ตัวนี้ทำได้อย่างยอดเยี่ยมครับสมกับชื่อ Near Silent จริงๆ สำหรับในวันนี้ผมก็คงสรุปได้ว่า AMD Athlon X4 880K รุ่นนี้เป็นซีพียูตัวท๊อปที่ออกมาตอบสนองแฟนๆ AMD ที่ใช้งานแพลตฟอร์ม FM2+ แต่เน้นการใช้งานการ์ดจอแยกเป็นหลักแบบไม่พึ่ง APU นั่นเองครับกอรปกับความแรงที่ออกแบบมาตอบสนองความต้องการในแบบเดิมก็แรงกันถึง 4.2Ghz และมีฮีตซิงค์ระบายความร้อนรุ่นใหม่อย่าง AMD Near Silent Thermal Solution ให้แบบครบๆโดยท่านไม่ต้องเสียตังค์ไปซื้อฮีตซิงค์ตัวใหม่มาใช้งานนั่นเองครับ ถือได้ว่าเป็นซีพียูเอเอ็มดีที่คุ้มค่าตัวนึงในต้นปี 2016 อีกตัวเลยก็ว่าได้ครับ ผมมองว่าแฟนๆเอเอ็มดี FM2+ ไม่ควรพลาดครับถ้าจะอัพเกรดซีพียูแรงๆและได้ฮีตซิงค์คุณภาพเยี่ยมสวยงามไว้ใช้งาน AMD Athlon X4 880K รุ่นนี้ตอบโจทย์ของท่านได้อย่างแน่นอนครับ โดยราคาวางจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 94ดอลล่าสหรัฐฯครับ ซึ่งถ้าตีเป็นเงินไทยแบบง่ายๆจะอยู่ประมาณ 3XXXบาทต้นๆครับ ถ้ามาราคาไม่เกินสี่พันผมว่าคุ้มมากๆครับแต่ก็ต้องดูอีกทีครับมาไทยแล้วจะเปิดที่ราคาเท่าไหรกันแน่ สำหรับในวันนี้ผมก็ขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่กับรีวิวอุปกรณ์ใหม่ๆที่อัพเดทให้ได้รับชมกันทุกวันที่ Vmodtech.com สวัสดีครับ
..
…
…
ขอบคุณที่ติดตาม
Dodge Vmodtech
.
Special Thanks.