AMD “Fusion Launch in Thailand”

/ บทความโดย: Venom-Crusher , 24/02/2011 12:23, 1,256 views / view in EnglishEN
«»
Share

anp 2301 l AMD “Fusion Launch in Thailand”

เอเอ็มดีเปิดยุค ชิพนวัตกรรมใหม่ “Fusion APU” ในประเทศไทย

-   พันธมิตรด้านเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิคของเอเอ็มดี พาเหรดเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดีไซน์ใหม่มากกว่า 35 รุ่น   ที่ออกแบบระบบให้ใช้แพลตฟอร์มใหม่ “Fusion” ของเอเอ็มดี

-   การปฏิวัติสู่ยุค “ชิพเดียว” นำมาซึ่งการสร้างปรากฎการณ์แห่งการนำเสนอ ประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่, ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบให้บางเบา, แบตเตอรี่ทำงานต่อเนื่องได้ 24 ชั่วโมง และหมดปัญหาเครื่องโน้ตบุ๊คร้อน แม้จะถูกใช้งานตลอดทั้งวัน

anp 2092 l AMD “Fusion Launch in Thailand”

กรุงเทพ - 23 กุมภาพันธ์ 2554 - เอเอ็มดี ได้ใช้เวทีงาน “ฟิวชั่น ลอนช์ อินไทยแลนด์” ในวันนี้ เปิดตัว ตัวประมวลผลอัตราเร่งตระกูลใหม่สำหรับตลาดประเทศไทย โดยเป็นตัวประมวลผลที่รวมสมรรถนะการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้นกว่าตัวประมวลผลทุกรุ่น ซึ่งเคยมีมาในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เข้ามาอยู่ในชิพตัวเดียว

ทั้งนี้ ตัวประมวลผลในตระกูล “Fusion APUs” ของเอเอ็มดี เป็นชิพที่ได้รับการออกแบบให้รวมเอาซีพียู และ      ชิพกราฟฟิคเข้าไว้ด้วยกัน บนเทคโนโลยีตัวประมวลผลแบบมัลติ-คอร์ (x86), DirectX®11 ที่ทรงพลังใน           การประมวลผลภาพกราฟฟิค และความเร็วในการประมวลแบบขนาน เพิ่มสมรรถนะการเล่นวิดีโอความละเอียดสูง และระบบการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง ซึ่งสามารถเร่งความเร็วของข้อมูลจากตัวประมวลผลต่างๆ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยจำนวนคอร์

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลของ Fusion APUs ยังรวมไปถึง การเล่นไฟล์วิดีโอต่อเนื่องแบบไม่มีปัญหาภาพสะดุดอีกต่อไป, พลังในการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ที่จะรับมือกับแอพพลิเคชั่นที่ต้องการความเร็วในการประมวลผลสูงๆ, การแสดงผลกราฟฟิคที่สมจริงด้วย DirectX®11 และอายุการทำงานของแบตเตอรี่ที่ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

anp 2149 l AMD “Fusion Launch in Thailand”

เอเอ็มดี ยังย้ำด้วยว่า ภายในครึ่งแรกของปี 2554 นี้ จะมีผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่รองรับชิพตระกูล Fusion ออกสู่ตลาดมากกว่า 35 รุ่น โดยคาดว่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก ได้แก่ เอเซอร์, อัสซุส, เดลล์,     ฟูจิตสึ, เอชพี, เลอโนโว, เอ็มเอสไอ, ซัมซุง, โซนี่ และโตชิบา เตรียมประกาศแผนทำตลาดเครื่องรุ่นใหม่ๆ ในกลุ่มนี้ ที่จะมอบทั้งความคุ้มค่าด้านการใช้งาน ในราคาที่เอื้อมถึงได้

นายจักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เอเอ็มดี กล่าวว่า “ชิพตระกูล Fusion ของเอเอ็มดี จะเป็นตัวเปิดศักราชเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคคลยุคที่ 3 สำหรับคนไทยและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้านในประเทศไทย ที่ขณะนี้มีอัตราการใช้อินเตอร์เกินกว่า 25% และจำนวนผู้เป็นเจ้าของพีซีเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีจะเปิดโอกาสให้คนไทยได้ใช้งานวีดีโอและกราฟฟิคประสิทธิภาพสูงที่จับกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่ในตลาดในปีนี้ และปีต่อๆไป”

HD 2.0 Everywhere

ปัจจุบัน คอนเทนท์ความละเอียดสูงเข้ามาอยู่ในทุกที่ ตั้งแต่วิดีโอบนยูทูบ, การเล่นเกมที่รองรับ DirectX®11 ไปจนถึงบลู-เรย์ และคนทั้งโลกก็กำลังใช้วิธีการต่างๆ เพื่อเข้าถึงความเพลิดเพลินของคอนเทนท์รูปแบบนี้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีของแพลตฟอร์ม VISION Engine จากเอเอ็มดี, การรวมกันของสุดยอดสมรรถนะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ชิพ Fusion APU ของเอเอ็มดี, การแสดงผลภาพและกราฟฟิคที่มีสีสันสดใส และสมจริงยิ่งขึ้น โดยแพลตฟอร์ม VISION Engine ของเอเอ็มดี เป็นการผสานรวมเพื่อสมรรถนะที่ดียิ่งขึ้นของ:

  • ศักยภาพในการประมวลผลกราฟฟิคของ DirectX® 11
  • พลังการประมวลผลแบบคู่ขนานเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของแอพพลิเคชั่น
  • ฟีเจอร์ UVD3 ที่ช่วยให้การถอดรหัสไฟล์วิดีโอทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยกราฟฟิคการ์ดตัวใหม่ AMD RadeonTM HD 6800
  • สมรรถนะของกราฟฟิคไดร์ฟเวอร์ที่อัพเกรดได้ทุกเดือน จนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้าน การแสดงผลภาพ

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้งแพลตฟอร์ม VISION Engine และซอฟต์แวร์จากพันธมิตรของเอเอ็มดี จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้น, ประสบการณ์ใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องการ, เพลิดเพลินกับการเล่นไฟล์วิดีโอความละเอียดสูง 1080p, การทำงานของเครื่องเงียบและไม่สะดุด;   ด้วยมาตรฐานการประมวลผลวิดีโอความละเอียดสูง; คอนเทนท์ 2D ที่สามารถแปลงเป็นภาพ 3 มิติได้; แม้กระทั่งการดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่มีการใช้กราฟฟิคมากๆ ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว; ใช้งานคอนเทนท์ความละเอียดสูงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย; รวมถึงการเล่นเกม 3มิติ ด้วยความละเอียดสูงระดับ HD ก็ทำได้อย่างรวดเร็วและสมจริง

anp 2000 l AMD “Fusion Launch in Thailand”

Personal Supercomputing

ส่วนใหญ่แล้ว ประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์มักเชี่อมโยงกับเรื่องของซอฟต์แวร์ และแม้กระทั่งทุกวันนี้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็ยังถูกสกัดกั้นจากธรรมชาติของข้อมูลจากการประมวลผลของซีพียู และชิพกราฟฟิคที่แยกออกจากกัน อย่างไรก็ตาม ชิพตระกูล Fusion APUs ของเอเอ็มดี ได้ทลายอุปสรรคดังกล่าวออกไป และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ของพลังการประมวลผลแบบขนานในชิพกราฟฟิค - อัตราความเร็วในการประมวลผลคำสั่งเลขทศนิยมที่สูงกว่า 500 GFLOPS ของชิพ APU รุ่น A-Series ในชื่อ “Llano” ที่กำลังจะเปิดตัว - ซึ่งจะนำสมรรรถนะในการทำงานระดับเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ลงมาสู่การใช้งานคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน รองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นแบบเรียลไทม์ได้หลากหลายขึ้น ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องในระดับเดียวกันรุ่นก่อนๆ

AMD AllDayTM Power

  • นอกจากนี้ เทคโนโลยี Fusion ของเอเอ็มดี ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานต่อเนื่องของแบตเตอรี่ได้นานเพิ่มขึ้นอีก 10 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น คุณสมบัติใหม่ด้านการประหยัดพลังงาน ในการออกแบบ การทำงานบนชิพตัวเดียวนี้ ช่วยให้แบตเตอรี่ทำงานได้นานยิ่งขึ้นแม้ในระหว่างที่ใช้โปรแกรมแสดงไฟล์ภาพและเสียง และแม้แต่ยามที่เพลิดเพลินไปกับคอนเทนท์ความละเอียดสูง

การใช้พลังงาน และสมรรถนะ : E-Series, C-Series and A-Series APUs

แพลตฟอร์มกินไฟต่ำสำหรับปี 2554 (ชื่อรหัสเดิม “Brazos”) จะช่วยให้เข้าถึงประสบการณ์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน โดยประเดิมด้วยการนำเสนอผ่านชิพ APU 2 รุ่นสำหรับ : E-Series และ C-Series. โดยเป็นซีพียู สถาปัตยกรรมใหม่บน x86 คอร์ที่ใช้ชื่อรหัสว่า “Bobcat” ซึ่งถือว่าเป็น x86 คอร์ใหม่ตัวแรกนับตั้งแต่ปี 2546 และได้รับการออกแบบเพื่อเน้นสมรรถนะเครื่องในกลุ่มพกพา

Low Power APUs

Model

TDP

Core Count

Frequency

E-Series (ชื่อรหัสเดิม: “Zacate”)

สำหรับโน้ตบุ๊คเมนสตรีม, ออล-อิน-วัน, และเครื่องตั้งโต๊ะรุ่นบาง

E-350

18 W

2

1.6 GHz

E-240

18 W

1

1.5 GHz

C-Series (ชื่อรหัสเดิม: “Ontario”)

สำหรับเน็ตบุ๊คความละเอียดสูง และดีไซน์ใหม่ๆ ในอนาคต

C-50

9 W

2

1.0 GHz

C-30

9 W

1

1.2 GHz

แพลตฟอร์มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนสตรีมในปี 2554 ในเบี้องต้นนี้มุ่งไปที่เรื่องของสมรรถนะ รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และโน้ตบุ๊คระดับเมนสตรีม ใช้ชิพ APU บนสถาปัตยกรรมการผลิต 32nm รุ่น A-Series ที่ชื่อว่า “Llano” ซึ่งรองรับจำนวนคอร์ x86 สูงสุดได้ถึง 4 คอร์ พร้อมทั้ง DirectX®11 กำหนดวางจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2554 และจะเห็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิพรุ่นนี้ออกสู่ตลาดได้ช่วงกลางปี

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

  • แวะไปที่ AMD Fusion website สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD Fusion APUs
  • อ่านข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ AMD Fusion ได้ที่ http://blogs.amd.com/fusion/
  • เข้าไปดูการสาธิตประสิทธิภาพของ AMD Fusion APUs ได้ที่ AMD Unprocessed YouTube Channel
  • เกาะติดทุกข่าวสารของ AMD ผ่านทวิตเตอร์ได้ที่  @AMD_Unprocessed

เกี่ยวกับ AMD

AMD (NYSE: AMD) คือผู้คิดค้นนวัตกรรมการออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ที่นำสู่ยุคใหม่แห่งประสบการณ์ดิจิตอลอันมีชีวิตชีวาด้วยหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูง AMD Fusion Accelerated Processing Units (APUs) เทคโนโลยีกราฟิกและการประมวลผล AMD ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์มากมาย รวมถึง PCs เครื่องเล่นเกม และเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยผลักดันโลกอินเตอร์เน็ตและโลกธุรกิจให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ http://www.amd.com

คำเตือน

เอกสารฉบับนี้มีข้อความที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งอาจจะมีข้อความเกี่ยวกับแผนการของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกำหนดเวลาแผนการเปิดตัวของแพลตฟอร์ม AMD Fusion รวมถึงคุณสมบัติและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ของเราซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย Private Securities Litigation Reform Act ปี 1995 ข้อความที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตจะใช้คำว่า “จะ” “อาจจะ” คาดว่า” “เชื่อว่า”              ”มีแผนการ” “มีจุดประสงค์” “โครงการ” และคำอื่นๆ ที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ผู้ลงทุนโปรดทราบว่าข้อความที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตในเอกสารฉบับนี้นั้นจัดทำขึ้นโดยความเชื่อ สมมติฐาน และการคาดการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงวันที่นำเสนอเอกสารฉบับนี้เท่านั้น และอาจมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างกับการคาดการณ์ในปัจจุบัน ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างการคาดการณ์และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงนั้นจะรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะเพียงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้: ความเป็นไปได้ที่การกำหนดราคา การตลาด และส่วนลดชุดผลิตภัณฑ์ การตั้งค่ามาตรฐาน การปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และกิจกรรมต่างๆ ของ Intel Corporation ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ AMD อาจทำให้ AMD ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้; AMD ไม่สามารถพัฒนา เปิดตัว หรือวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ในจำนวนและสัดส่วนที่ตลาดต้องการ; บุคคลที่สามของ AMD ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตามเวลาและมาตรฐานที่กำหนดด้วยการใช้วิธีการผลิตและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ; บุคคลที่สามของ AMD ไม่สามารถส่งเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงต่อเวลาโดยสอดคล้องกับแผนค่าใช้จ่ายของ AMD; AMD อาจไม่สามารถรักษาระดับการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็นต่อการคงไว้ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน; ความต้องการต่อผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคนั้นลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบันและส่งผลกระทบต่อความต้องการต่อผลิตภัณฑ์ของ AMD; ลูกค้าอาจหยุดซื้อผลิตภัณฑ์ของ AMD หรือมีความต้องการน้อยลง; บุคคลที่สามอาจไม่พัฒนาหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์ของ AMD AMD อาจต้องการเงินทุนเพิ่มเติมและอาจจะไม่สามารถเพิ่มเงินทุนได้บางส่วนหรือทั้งหมด; อาจมีตัวแปรที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในการเจริญเติบโตและความต้องการของตลาดต่อผลิตภัณฑ์ AMD และเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์และชุดผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีอยู่ในช่วงหนึ่งหรือมีการลดลงของความต้องการ; การด้อยความสามารถในการได้มาซึ่งความสามารถทางการผลิตหรือส่วนประกอบเพื่อตอบสนองความต้องการของผลิตภัณฑ์ AMD หรือการใช้ประโยช์ได้ไม่เต็มที่ของ GLOBALFOUNDRIES;  ผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองหรือเศรษฐกิจในระดับนานาชาติต่อการขายหรือการผลิต; หรือการที่ GLOBALFOUNDRIES นั้นประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่คาด ผู้ลงทุนโปรดพิจารณารายละเอียดของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในเอกสารของ Securities and Exchange Commission ของบริษัท รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะเพียงแต่รายงานประจำไตรมาสในFrom 10-Q สำหรับไตรมาสที่สิ้นสุดในวันที่ 25 กันยายน 2010

__________________________

AMD โลโก้ AMD Arrow และชุดเครื่องหมายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของ Advanced Micro Devices, Inc. ชื่ออื่นๆ นั้นใช้เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นและอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของที่แท้จริง OpenCLและโลโก้ OpenCL เป็นเครื่องหมายการค้าของ Apple Inc. ใช้โดยการอนุญาตจาก Khronos

________________________

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»