AMD FX-8350 Processor Review
Share | Tweet |
…FX 8350 อย่างที่เราทราบกันดีแล้วว่า นี่เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่สองของ Processor หรือ CPU ที่ในตระกูล FX ภายใต้โค๊ดเนม Vishera ซึ่งถ้ามองกันในรายละเอียดแล้วเนี่ย โครงสร้างนั้นแทบจะไม่ต่างจากเจนเนอร์เรชั่นก่อนที่มีขนาด 32 นาโนเมตร ซึ่งโปรเซสเซอร์แต่ละคอร์นั้นจะมี Piledriver ยูนิตเป็นโมดูลอยู่ ซึ่งอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆว่า โมดูล Piledriver แต่ละยูนิตนั้นจะมี AMD64 CPU อยู่สองคอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจำนวนที่มีมาใน 8350 นั้นจะมี Piledriver ทั้งหมดสี่หน่วยรวมเป็นจำนวนคอร์ทั้งหมด 8 คอร์ตามรูปของ Die ด้านล่าง
Vishera Processor die
ภายในของ FX-8350 นั้น จะมีจำนวนทรานซิสเตอร์ประกอบอยู่จำนวนทั้งหมดประมาณ 1.2 พันล้านตัว ซึ่งมันยังรวมเอา Memory Controller เข้าไว้ด้านในด้วย สามารถเห็นและทำความเข้าใจได้จากภาพด้านล่าง
ความแตกต่างในด้านการออกแบบของรุ่นใหม่นี้ จะเห็นได้ว่าในแต่ละโมดูลนั้นจะแชร์คอมโพเน้นท์ที่รวมไปถึง front-end (fetch and decode), floating-point unit, data prefetch unit, และ cache L2 ขนาด 2MB ซึ่งการที่โมดูล Piledriver ที่แชร์ได้นั้นทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะรวมเอาคอร์ที่มากขึ้นบนขนาด die ที่เล็กลง และยังจะสามารถเบ่งพลังของ floating-point unit ได้มากกว่า นั่นจะมีผลให้เค้นประสิทธิภาพได้มากเท่าที่เป็นไปได้ มันทำให้ AMD สามารถทำคอร์โปรเซสเซอร์ที่มีจำนวนคอร์ในลักษณะ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16
PileDriver แปดคอร์นั้น ได้ถูกทำการผลิตโดย GlobalFoundries บนพื้นฐาน 32 นาโนเมตร SOI (Silicon-On-Insulator) ขนาดขอมันใกล้เคียงกับ CPU A-Series APUs ที่ออกแบบมาสำหรับ Mainstream Laptops มันมีขนาด 315 ตารางมิลลิเมตร และมีทรานซิสเตอร์ประมาณ 1.2 พันล้านตัว ตัว Processor นั้นสามารถใช้งานได้กับชิพเซต 900 ที่มีอยู่บนมาเธอร์บอร์ดในปัจจุบัน
Piledriver CPU Core
Piedriver นั้นเป็นการพัฒนาในเจนเนอร์เรชั่นที่สองต่อจาก Bulldozer ซึ่งภายใน Piledriver คอร์นั้นใช้งาน Trinity APUs ที่ใหม่กว่า, AMD กล่าวกว่า พวกเค้าได้ทำการทวีค CPU core เล็กน้อยเพื่อให้มันสามารถแสดงศักยภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น หนึ่งในการพัฒนา Vishera ก็คือ Turbo Core 3.0 ที่เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดขึ้นมา ในเทอร์โบโหมดนั้น มันสามารถปรับความเร็วของคอร์ขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วมากเมื่อพลังงานที่ใช้และอุณหภูมิยังอยู่ในสภาวะปกติ ซึ่งโดยปกติแล้ว ความเร็วในโหมดเทอร์โบจะไปได้ประมาณ 4.2 GHz
Caches
มองในด้านของการพัฒนา Cache นั้น กล่าวได้ไม่เต็มปากนักครับว่ามีการพัฒนาจาก Bulldozer ไปมาก แต่มันก็เปลี่ยนแปลงจาก Phenom II หรือ Athlon II อย่างมากมายมหาศาลเลย กล่าวง่ายๆก็คือ ในแต่ละคอร์นั้นจะมี cache level 1 จำนวน 128 KB, 16 KB/Core x8 Data cache 64-byte cacheline, 4-way associative, write-through ซึ่งโครงสร้างของ L1 cache นั้นจะสามารถว่างและใช้งานได้ 64KB, 2-way associative with a 64-byte cacheline x4.
สำหรับ SKUs จำนวนแปดคอร์นั้น จะมี L2 ความจุ 8 เมกกาไบท์ จาก 2 เมกต่อหนึ่งโมดูล ในส่วนของ L3 นั้น AMD ได้ออกแบบให้มีการแชร์ L3 8 เมกกาไบท์นั้นกับทั้งสองคอร์ใน Piledriver โมดูล (ในหนึงโมดูลจะมีสองคอร์) จะมี L3 จำนวน 2 เมกกาไบท์
New Instruction sets (compilers)
Bulldozer นั้นได้เพื่มชุดคำสั่งใหม่ที่บางคำสั่งนั้นมีอยู่บนทั้ง CPU ของ AMD และ intel เช่น SSE, encryption, และ AVX สำหรับ floating-point operations นอกเหนือจากนั้นแล้ว AMD ก็ยังใส่ชุดคำสั่งที่เป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบโดย AMD คือ FMA4 สำหรับ HPC applications และ XOP สำหรับ numeric, multimedia, and audio/radio applications ข่าวดีก็คือเราได้เห็นว่า FX-8350 นั้นรองรับชุดคำสั่ง AVX, AVX 1.1, FMA3 and AES ได้เป็นอย่างดีด้วย
Processor SKUs
สำหรับ FX CPU เจนเนอร์เรชั่นที่สองนั้น เราจะเห็น AMD วางจำหน่ายอยู่สองรุ่น สองในสี่จะเป็น CPU ที่มีแปดคอร์ อีกสองรุ่นจะเป็นหกและสี่คอร์
รุ่นที่เร็วและแรงที่สุดนั้นคือ FX-8350 มีเบสคล๊อกที่ 4.0 GHz และสามารถเร่งความเร็วสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4.2 GHz มี cache L2 จำนวน 8MB และมี TDP ที่ 125 วัตต์ ส่วนรุ่นรองลงมาอย่าง FX-8250 นั้นจะเหมือนกันแต่ความเร็วจะน้อยกว่าที่เบสคล๊อก 3.5 GHz และสูงสุดด้วย Turbo 4.0 GHz
สำหรับรุ่นหกคอร์นั้นจะมี FX-6300 ซึ่งเบสคล๊อกจะอยู่ที่ 3.5 GHz และสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4.1 GHz มี L2 6MB (L2 1MB/each core) สำหรับตัวล่างสุดนั้นจะเป็น FX-4300 ที่มีจำนวนคอร์ทั้งหมดสี่คอร์ เบสคล๊อกที่ 3.8 GHz และสามารถปรับไปสูงสุดด้วย Turbo ที่ 4 GHz และมี cache 4MB
Turbo Core 3.0
คุณสมบัติที่น่าสนใจนี้เริ่มต้นมีตั้งแต่ใน AMD Phenom II Hexacore Processor ต่อเนื่องมายัง Bulldozer, LIano & Trinity และปัจจุบัน Vishera Piledriver ก็ได้รวมเอาคุณสมบัตินี้เอาไว้ด้วย ซึ่ง AMD Turbo Core นั้นจะทำให้ความเร็วของคอร์ใน CPU นั้นปรับขึ้นลงได้อย่างอิสระจากเบสคล๊อคในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้การพัฒนาก็มาถึงเวอร์ชั่นที่สามแล้ว
อะไรคือ Scorpius?
มันเป็นชื่อทางการค้าซึ่งโค๊ดเนม Scorpius นั้นเป็นชื่อของแพลทฟอร์มที่ได้รวมเอาชิ้นส่วนสำคัญๆเอาไว้สามชิ้น ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้บนชิพเซตซีรีย์ 9 บนมาเธอร์บอร์ด โดยที่คอมโพเนนท์เหล่านั้นจะประกอบไปด้วย CPU Fx Series, AMD Radeon HD 6000/7000 กราฟฟิกการ์ด และชิพเซตซีรีย์ 9
Socket AM3+
Processor ในซีรีย์ FX นั้นจะมีพื้นฐาน Socket AM3+ บนชิพเซตซีรีย์ 9 แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำงานบนมาเธอร์บอร์ดที่ใช้ชิพเซตซีรีย์ 8 ซึ่งบรรดาผู้ผลิตก็ได้ประกาศรายชื่อของมาเธอร์บอร์ดที่รองรับการทำงานของ AM3+ Multi-core Processor แต่บางบอร์ดอาจจะต้องมีการอัพเดทไบออสด้วย หลังจากนั้นก็สนุกกับความสามารถของ processor 32 นาโนเมตรตัวใหม่ที่เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่สองได้แล้ว
AMD FX-8350 Processor Appearance
หน้าตาซีพียูตัว Engineer Sample ที่เราได้รับมาทำการทดสอบในคราวนี้นะครับ
…มาเธอร์บอร์ดที่ให้มาร่วมทำการทดสอบคราวนี้ ก็คือสุดยอดมาเธอร์บอร์ดจาก ASUS ในรุ่นล่าสุดที่ใช้ชิปเซตรุ่นท็อปอย่าง 990FX ซึ่งก็คือรุ่น CROSSHAIR V FORMULA ที่ทางเราได้เคยทดสอบไปก่อนหน้านี้นั่นเองครับ
งานนี้แรงกันแบบอัพเกรดไม่ต้องเปลี่ยนบอร์ดใหม่กันเลยครับ แค่เริ่มก็ประหยัดแล้ว
ส่วนกราฟฟิคการ์ด ก็มากันแรงครบเซ๊ต AMD ไปกับ ASUS ROG Matrix HD7970 Platinum 3GB GDDR5
SYSTEMS | |
.CPU | ..AMD FX-8350 |
.Motherboard | ..ASUS Crosshair V Formula |
.Memory | ..AVEXIR CORE Series DDR3-2666C11 8 GB kits |
.Graphic Card | ..ASUS ROG Matrix HD7970 Platinum 3GB GDDR5 @ 1,260/7,200MHz |
.Harddisk | ..SSD OCZ Vertex4 128 GB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..antec 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 64-bit |
รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบคราวนี้ครับ
ทดสอบกันง่ายๆที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 25 องศา และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำธรรมดา
Overclocked Settings
(Click ScreenShot to Validate Link)
งานนี้เอาเบาะๆกันที่ 4.9GHz ไปก่อนนะครับ
แรมชิป Hynix จะไม่ค่อยถูกโรคกับ AMD อย่างที่ทราบกันนะครับ แต่ก็ลากกันไปได้พอสมควรครับที่ DDR3 2183 9-11-11-28
กราฟฟิคการ์ดวิ่งกันสุดโหดหน่อยนะครับที่ 1,260/7,200MHz เพราะว่าของเขาแรงจริง
System Properties in AIDA64 Extreme Edition
ดูรายละเอียดต่างๆกันครบถ้วนแล้ว ก็ไปลุยกันต่อเลยครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
ในส่วนการทดสอบความเสถียรขั้นต่ำของเว็บไซต์เรา ด้วย SuperPI 32M 8Threads ก็ผ่านกันแบบสบายๆครับที่ความเร็วนี้
WinRAR4.20 ,wPrime2.09 ,CPUMark99 & Fritz Chess
แรงครับกับการทดสอบ Winrar แบบ Multi Threads เกือบหมื่นกันเลยทีเดียว
X264 FHD Benchmark
งานนี้แรงกว่า 3570K ที่ราคาแพงกว่าเล็กน้อยมากครับ ส่วนถ้าเทียบกับ 3770K ที่ราคาแพงกว่ามากก็สูสีครับที่ความเร็วเท่าๆกัน
CINEBENCH R9.5
แรงมากครับ Multi Threads ระดับ 6 วินาที
CINEBENCH R10
30 วินาทีก็จบแล้ว สำหรับ Multi Threads แรงงงง
CINEBENCH R11.5
CPU Multi Threads แรงเทพระดับ 8.47 pts กันเลยทีเดียว คุ้มค่าคุ้มราคากันสุดๆ
PCMark 05
PCMark Vantage
PCMark 7
แรงใช้ได้เลยครับ พลังต่อ MHz ดีขึ้นอย่างชัดเจน
AIDA64 Extreme Edition
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
CPU Queen
CPU PhotoWorxx
CPU ZLib
CPU AES
CPU Hash
แรงเหนือชั้นสำหรับ AMD ครับ ในหัวข้อเทสต์นี้
FPU VP8
FPU Julia
FPU Mandel
FPU SinJulia
แรงกันระดับหัวแถว แซงซีพียูที่แพงกว่ามากไปหลายตัวหลายรุ่นเลยครับ
3DMark 03
ทะลุ 120K ด้วย GPU เดี่ยวๆแล้วววว AMD สู้ๆ
3DMark 05
3DMark 06
3DMark Vantage
ไม่ธรรมดาเลย เกือบ 33K แล้ว สำหรับ 3DMark Vantage
3DMark 11
แรงกันน่าดูชมครับ สำหรับ 3DMark 11
Unigine Heaven DX11 Benchmark 3.0
SETTINGS
เซตกันไปสุดๆครับ
Results
แรงสุดยอดครับ 3770K อัดไป 5GHz ที่กราฟฟิคการ์ดตัวเดียวกันความเร็วเดียวกันก็ได้ราวๆนี้เลยครับ
Game Benchmark
Aliens VS. Predator DX11 Benchmark
ถึงจะออกมานานแล้ว แต่ก็ยังคงกราฟฟิคโหดอยู่เช่นเคยครับสำหรับเกมส์นี้
Average FPS : 116.1 แรงพอๆกับ 3770K อัดไป 5GHz ที่กราฟฟิคการ์ดตัวเดียวกันความเร็วเดียวกันเลย
DIRT3 DX11
SETTINGS
เซตกันแบบสุดๆ หมดทุกหัวข้อครับ
แรงลื่นนนน
Lost Planet 2 DX11
SETTINGS
เซตโหดๆกันตามภาพเลยครับ
ก็ยังแรงลื่นนน
METRO 2033 DX11
SETTINGS
เซตกับสุดขอบหมดเช่นเดิมครับ กับเกมส์ DX11 สุดโหดแห่งยุคนี้
ก็ยังเล่นได้แม้ปรับสุดหมดครับ
Chinese Unreal Engine 3 DirectX 11 Benchmark
Default Settings @ 1,920 X 1,200
ก็ยังคงลื่นนนน
Resident Evil 5 DX10
SETTINGS
เซตกันสุดๆหมดทุกหัวข้อครับ
แรงลื่นไม่มีสะดุดกันเช่นเคย
Sniper Elite V2 DX11
ลองเกมส์ DX11 โหดๆกันบ้าง เซตกันแบบ Ultra นะครับ ที่ 1,920 X 1,200
แรงเท่ากับตอนเล่นกับ 3770K ที่ 5GHz เป๊ะๆเลยครับ
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปของการทดสอบซีพียู AMD UNLCOKED FX PROCESSOR FX-8350 ตัวนี้กันแล้วนะครับ ก็ขอบอกว่าเป็นซีพียู AMD ที่ออกสเป็คมาเอาใจแฟนคลับได้อย่างถูกใจเลยครับ ทั้ง CPU Core ที่มีเยอะถึง 8 คอร์มากที่สุดในเดสก์ท็อปซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ อีกทั้งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่สูงลิบลิ่วแซงคู่แข่ง ในระดับที่สูงถึง 4.0-4.2GHz แถมเวลา Overclock ก็ทะลุ 4.9GHz กันได้แบบเสถียรๆ สุดท้ายยังเล่นกับความเร็วของหน่วยความจำได้แบบสุดๆ แม้แต่แรมคู่ 8GB ก็ยังอัดทะลุความเร็วระดับ 2,100-2,200MHz ได้อย่างสบายและเสถียร แถมประสิทธิภาพความแรงต่อสัญญาณนาฬิกาก็ทำขึ้นมาได้ดีกว่าเดิมพอสมควร เมื่อเทียบกับซีพียูในตระกูล Bulldozer ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ความร้อนก็น้อยลงกินไฟก็ลดลงจากรุ่นแรก แถมราคาเปิดตัวก็แสนคุ้มค่าที่ 195 USD ซึ่งคาดว่าราคาเปิดตัวในไทยน่าจะอยู่ในระดับ 6,000-7,000 บาท ราคามาเธอร์บอร์ดที่ Supported และ Overclock ได้ ก็ไม่แพงมากมายตั้งแต่ระดับราคาที่ 2,XXX บาท ก็แรงกันได้แล้ว งานนี้ AMD เขามาดีมาถูกเอาใจแฟนๆดีจริงๆ ผมว่าน่าเล่นดีครับ Highly Recommend จากใจผมกันไปเลยครับงานนี้ และสำหรับวันนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้นะครับ แล้วพบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ