AMD UNLOCKED FX PROCESSOR : World’s first 8 core desktop processor
Share | Tweet |
…สวัสดีครับสมาชิก Vmodtech.com ทุกท่าน สำหรับวันนี้ถือเป็นวันดีที่ทาง AMD จะได้ทำการเปิดตัว Processor รุ่นใหม่ล่าสุดที่ได้ทำการบ่มเพาะวิจัยมายาวนานมาก เนื่องจากว่า Processor ใหม่รุ่นนี้ จะเป็นการปฏิวัติสถาปัตยกรรมโครงสร้างใหม่แบบยกชุดที่แท้จริงนั่นเองครับ ซึ่งในคราวนี้น่าจะเป็นที่น่าพอใจสำหรับแฟนคลับเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่านี่เป็นการเปิดตัว Processor 8 หัวตัวแรกของโลกสำหรับ Desktop กันเลย เริ่มแรกผมก็ขอแนะนำเจ้าตัว AMD FX Processor ซึ่งผมจะเรียกชื่อง่ายๆตามโค๊ดเนมซึ่งทาง AMD ตั้งมาว่า Bulldozer หรือว่าเจ้ารถไถที่เราคุ้นๆกันแบบไทยๆนั่นเองครับ
สำหรับ AMD FX Platform นั้นจะประกอบด้วย AMD FX Processor, AMD 9-Series Motherboard, และรวมไปถึง AMD Radeon HD 6000 Series เข้าไปด้วย ซึ่ง AMD FX Processor นั้นคาดหวังไว้ว่าจะสามารถยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพของตัว CPU ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการพัฒนาอัตราการบริโภคพลังงานในน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย
โดยที่เจ้า Bulldozer CPU ทุกตัวนั้นไม่ได้ล๊อคตัวคูณซึ่งแน่นอนครับว่ามันจะสามารถ Overclock ได้ ซึ่งนั่นก็เป็นจุดขายจุดนึงที่ AMD ได้ทำการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อตลาด Extreme User ที่ค่อนข้างมากในปัจจุบัน นอกเหนือจากเทคโนโลยีล่าสุดที่สุดยอดแล้ว ความคุ้มค่าก็จะยังคงเป็นจุดเด่นของ AMD เหมือนดังในอดีตที่เป็นมาด้วย
จากตารางที่ 1.1 นั้นจะเป็น Model ที่จะทำการเปิดตัวในคราวนี้ทั้งหมดครับ ซึ่งก็แน่นอนว่ารุ่นใหญ่สุดก็คือ FX-8150 ซึ่งจะมี Base Clock หรือ Default Clock ที่ 3.6 GHz แปดหัวแท้เต็มๆ L2 และ L3 ขนาดใหญ่ถึง 8 MB และยังสามารถบู๊ต MHz ขึ้นไปด้วย Turbo Mode ได้อีกสองสเต๊ปตามโหลดที่ใช้งาน ณ ช่วงเวลานั้นๆด้วย ที่น่าสนใจสำหรับผมก็คือ TDP 125W นี่ละครับ ก็ต้องดูกันต่อไป
ในส่วนของ Chipset นั้นก็จะมีสามเซตหลักๆโดยที่ SouthBridge จะเป็นตัวเดียวกันคือ SB950 ส่วน Chipset หลักก็จะแบ่งเป็น 990FX, 990X, และ 970 ซึ่งความแตกต่างของสามตัวนี้หลักๆก็คงจะเป็นในส่วนของ PCI Express Lane นั่นเองครับ
และแน่นอนครับว่า หากต้องการให้ Bulldozer วิ่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วนั้น Graphic Card ในซีรีย์ Radeon 6000 จะเหมาะที่สุด
มาดูในส่วนรายละเอียดของ AMD FX Platform กันบ้าง Bulldozer นั้นผลิตขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมขนาด 32 นาโนเมตร หรือว่า nm บน socket AM3+ รองรับ Memory ตั้งแต่บัส 1333-1866 MHz กันเลย ในส่วนของ Chipset หลักนั้น PCI Express ก็จะยังเป็น Gen 2 อยู่ครับ
สำหรับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ AMD FX Platform ก็ดัง Diagram ด้านบนครับ ส่วนด้านล่างจะเป็นโครงสร้างภายใน Processor หรือว่า CPU ครับ
ในส่วนของโครงสร้างภายใน Processor ที่ AMD ได้ทำการเพิ่มเติมขึ้นมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ในการใช้งานเป็นอย่างมากครับ แต่ถ้าสังเกตจาก Diagram ดีๆจะพบว่า ซีพียูรุ่นนี้ จะมี Bulldozer Modules หลักๆอยู่ 4 Modules โดยในแต่ละ Modules จะมี CPU Core อยู่ 2คอร์ และจะมีการแชร์ L1 Cache inst และ L2 Cache ร่วมกันใน 1 Modules เดี๋ยวเราต้องมาชมกันครับว่าการออกแบบใหม่แบบนี้ จะทำให้ประสิทธิภาพที่ได้เป็นอย่างไร
SSE 4.1 และ 4.2 ก็จะสามารถพบได้บน Bulldozer ครับซึ่งถ้ามองในแง่ของการใช้งานของ User นั้นก็น่าจะเป็นประโยชน์มากในเรื่องของ Video Encoding, AVX ที่ช่วยในการคำนวน Floating Point หรือว่าจะเป็นงานในส่วนของ CPU Computing ซึ่งทาง Intel มีนั้น วันนี้ AMD ก็มีเรียบร้อยแล้ว ยังไม่รวม FMA4 ซึ่งมีจุดเด่นกับงานด้าน HPC application และ XOP ซึ่งเป็นจุดขายของ AMD ที่จะช่วยในการคำนวนตัวเลข, งานด้าน Multimedia รวมถึง Algorithms ที่ถูกใช้งานด้าน audio และ radio งานนี้มาเหนือคู่แข่งพอควรครับ เค้ามีเราก็มี แถมยังมีในส่วนที่เค้าไม่มีอีกด้วย
มาถึงส่วนที่ทาง AMD FX Processor อยากพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องของ Turbo Core Technology กันบ้างครับ ในส่วนของ Turbo Core Technology นั้นจะมีความสามารถในสองส่วนสำหรับตอบสนองความต้องการของงานที่เราทำในขณะนั้นๆครับ
สำหรับ MAX Core นั้น โดยสรุปก็จะทำงานร่วมกับ AMD Power Manager เมื่อระบบต้องการหรือว่ารันงานหลายๆ Thread นั้น ระบบทำการบู๊ตความเร็วให้กับคอร์ทั้งแปดคอร์ครับ ซึ่งนั่นจะมีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับไฟล์หนัง แปลงไฟล์ บีบอัดและคลายไฟล์ ดังจะเห็นได้ว่าผลของ Max Core เมื่อระบบ Turbo Core ทำงานนั้นสูงกว่าปกติถึง 4-6% เลยทีเดียว นี่แค่สถานะที่ไม่ได้ทำการ Overclock นะครับ
สำหรับในส่วนของ MAX Frequency นั้น ก็จะทำงานร่วมกับ AMD Power Manager ด้วยเช่นกัน โดยที่การบู๊ต Turbo เมื่อรัน Application ที่ต้องการนั้น ตัวความเร็ว CPU จะถูกบู๊ตขึ้นสูงขึ้นไปอีกระดับนึงแต่ว่าจะเป็นการบู๊ตจำนวนคอร์เพียงครึ่งเดียวของจำนวนคอร์ทั้งหมดครับ เรียกว่าระบบจัดการพลังงานของ AMD FX Processor นั้นชาญฉลาดมากๆครับสำหรับงานทั่วๆไป แล้วยิ่งถ้ามองในส่วนของผลที่ได้รับจาก MAX Frequency นั้น เห็นได้ชัดเลยครับคือ 5-12% กันเลยทีเดียว แรงงงง
มาถึงเรื่องของ Class หรือระดับของ CPU ใน FX Processor Series นั้น เทียบให้ชนกับ CPU ของอีกค่ายนึงกันดังรูปด้านล่างครับ
ตามรูปที่ทาง AMD ส่งมาให้นั้น รุ่นสูงสุดของซีรีย์ FX นั้นจะต่ำกว่ารุ่นสูงสุดของ Intel Core i7 2600K ตัวที่แรงที่สุดของ Intel ณ ปัจจุบันครับ แต่ก็จะเห็นได้ว่า AMD คาดหวังจะให้ชนกับ Core i5 ซึ่งก็น่าจะเป็น 2500K, 2500 มากกว่าครับ ส่วน APU ในซีรีย์ต่างๆนั้นก็ได้ถูกวางระดับไว้อย่างที่พวกเราได้ทราบๆกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
ครับ สำหรับเทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั้น ผมถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ของวงการ Processor เลยทีเดียว ในส่วนของบทความหลังจากนี้นั้นก็จะนำเจ้า Bulldozer มากทำการเทสต์ แบบเต็มๆทั้ง Default และ Overclock ให้ได้ชมกันนะครับ ส่วนจะแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าจะสมหวังกับผู้ที่รอคอยมากน้อยแค่ไหน ตามมาเลยครับ
Reviewer’s Sample Kit Appearance
Reviewer’s Sample Kit มากันในกล่องกระดาษแข็งสีดำขนาดยาวเกือบเมตร อลังการครับ
เริ่มดูส่วนประกอบต่างๆด้านในกล่องกันเลยนะครับ เริ่มจากกล่องของซีพียูตัวขายจริงกันก่อนครับ
เป็นกล่องเหล็กเคลือบสีสวยงาม เหมาะแก่การสะสมดีครับ
เดี๋ยวเรามาดูข้อความต่างๆรอบๆกล่องกันดูนะครับ
มีภาษาไทยในสิบกว่าภาษาที่ด้านหลังกล่องด้วยครับ ทาง AMD ให้ความสำคัญกับพี่น้องชาวไทยเราดีจริงๆเลย ภูมิใจ
ให้ชมกันครบทุกข้อความบนกล่องแล้วครับ ไปชมส่วนอื่นกันต่อเลย
…มาเธอร์บอร์ดที่ให้มาร่วมทำการทดสอบคราวนี้ ก็คือสุดยอดมาเธอร์บอร์ดจาก ASUS ในรุ่นล่าสุดที่ใช้ชิปเซตรุ่นท็อปอย่าง 990FX ซึ่งก็คือรุ่น CROSSHAIR V FORMULA ที่ทางเราได้เคยทดสอบไปก่อนหน้านี้นั่นเองครับ
รายละเอียดต่างๆของมาเธอร์บอร์ดเทพนี้ ชมได้จากบทความ Asus Crosshair V Formula Review กันได้เลยครับ
ยังมีแถมหัวเข็มขัดยักษ์สวยงามมาให้เป็นที่ระลึกด้วยครับสำหรับชุดคิตนี้
…เปรียบเทียบหน้าตาซีพียูระหว่าง Phenom II AM3 กับ FX AM3+ จะเห็นได้ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่ง CPU FX รุ่นที่ผมได้รับมาจะเป็นรุ่นท็อป FX-8150 กันเลยนะครับ งานนี้แรงสุดๆในตระกูล FX แน่ๆ
ส่วนขาพินซีพียูด้านหลังก็จะต่างกันเล็กน้อย โดยใน AM3+ จะมีขาเพิ่มขึ้นมาจากที่สังเกตดูก็ 2 ขาครับ
SYSTEMS | |
.CPU | ..AMD FX-8150 |
.Motherboard | ..ASUS Crosshair V Formula |
.Memory | ..G.Skill SNIPER PC14900 CL9D-8GBSR 4GB*2 Dual Channel |
.Graphic Card | ..ASUS HD 6990 4GB GDDR5 @ 950/5,840MHz |
.Harddisk | ..WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..RAIDMAX RX-1000AE 1000W |
.Operation System | ..Windows 7 Enterprise 32-bit (Patch to see memory <128GB) |
รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบคราวนี้ครับ
ทดสอบกันง่ายๆที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 25 องศา และระบบระบายความร้อนด้วยน้ำธรรมดา ไม่มีเอาท่อแอร์มาเป่าหม้อน้ำเช่นเคย
Default Settings
ที่เห็นนี่คือค่า Default ที่ทาง AMD ตั้งมาจากโรงงานนะครับ จะเห็นว่าความเร็วที่แสดงมีอยู่ 4 ค่าความเร็ว ตามการทำงานของ Turbo Technology ซึ่งจะกล่าวอีกทีในหน้าถัดๆไป
และเมื่อท่านใช้งานร่วมกันกับกราฟฟิคการ์ดจาก AMD ไดรเวอร์ของกราฟฟิคการ์ดก็สามารถใช้ Overclock CPU แบบง่ายๆได้ทันที สะดวกสบายครับ
Overclocked Settings
(Click ScreenShot to Validate Link)
5GHz ไม่ใช่เรื่องยากครับ สำหรับซีพียูเทพ 32nm รุ่นนี้
System Properties in AIDA64 Extreme Edition
ดูรายละเอียดต่างๆกันครบถ้วนแล้ว ก็ไปลุยกันต่อเลยครับ
AMD Turbo Core Technology Test
Load 1 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 2 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 3 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 4 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 5 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 6 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 7 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
Load 8 Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
ขอกล่าวถึงเทคโนโลยี Turbo ของซีพียูรุ่นนี้สักเล็กน้อยนะครับ จากภาพแสดงการทดสอบจะเห็นได้ว่าการทำงานจริงทำได้อย่างยอดเยี่ยมมาก สัญญาณนาฬิกาผันเปลี่ยนไปตามงานที่ได้รับดีจริงๆ งานน้อยๆ 1-2 Threads ก็เร็วมากแบบคงที่ถึง 4.2GHz จริงๆ งานมากก็ลดความเร็วลง เพื่อรักษาค่า TDP ไว้ ไม่ให้กินไฟและมีความร้อนมากจนเกินไป เยี่ยม
LinX 0.6.4 Problem size 15500 Memory used 1846MB (All of 32-bit OS) 20Loops
Default
(Click ScreenShot to Enlarge)
(Click ScreenShot to Enlarge)
ระบายความร้อนด้วยน้ำธรรมดา อุณหภูมิออกมาเย็นมากครับ อุณหภูมิสูงสุดอยู่แค่ 46 องศาเซลเซียสเพียงเท่านั้น
Overclock
(Click ScreenShot to Enlarge)
(Click ScreenShot to Enlarge)
ผ่านกันไปด้วยดีแบบนิ่มๆ 20รอบ โดยอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 78องศาเซลเซียสที่ไฟ VCore 1.596V.-1.604V. นะครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
Default
(Click ScreenShot to Enlarge)
Overclock
(Click ScreenShot to Enlarge)
ส่วนการทดสอบความเสถียรขั้นต่ำของเว็บไซต์เรา ด้วย SuperPI 32M 8Threads ก็ต้องผ่านกันแบบสบายๆครับที่ความเร็วนี้
WinRAR3.91 ,wPrime2.00 ,CPUMark99 & Fritz Chess
Default
เดิมๆ winrar ก็ทะลุ 4,000 KB/s แล้ว Multithreads แรงจริงๆ
Overclock
พอ Overclock แล้วก็ยิ่งแรงเข้าไปกันใหญ่
CINEBENCH R9.5
Default
Overclock
CINEBENCH R10
Default
Overclock
CINEBENCH R11.5
Default
Overclock
…Cinebench 11.5 ดูแล้วอย่าพึ่งตกใจมากนะครับ ที่เห็นผลกราฟแท่งๆ จะเป็นผลที่ผม Overclock CPU รุ่นต่างๆแล้วเซฟเก็บไว้ในโปรแกรม ซึ่งบางที่จะบอกความเร็ว CPU ไม่ตรงกับความจริง ดันไปบอกเป็น Default ซะอย่างนั้น
PCMark 05
Default
Overclock
PCMark Vantage
Default
Overclock
แรงแบบไม่มีคำบรรยายเลยครับ
AIDA64 Extreme Edition
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
Default
Overclock
CPU Queen
Default
Overclock
CPU PhotoWorxx
Default
Overclock
CPU ZLib
Default
Overclock
CPU AES
Default
Overclock
แรงครับกับ AES ระดับ Hardware
CPU Hash
Default
Overclock
แรงเหนือชั้นสำหรับ AMD ครับ ในหัวข้อเทสต์นี้
FPU VP8
Default
Overclock
FPU Julia
Default
Overclock
FPU Mandel
Default
Overclock
FPU SinJulia
Default
Overclock
3DMark 03
Default
Overclock
3DMark 05
Default
Overclock
3DMark 06
Default
Overclock
3DMark Vantage
Default
Overclock
3DMark 11
Default
Overclock
แรงกันน่าดูชมครับ สำหรับตระกูล 3DMark HD 6990 แรงจริงๆ
Unigine Heaven Benchmark 2.1
SETTINGS
เซตกันไปสุดๆครับ
Results
Default
Overclock
แรงครับ
AMD FX-8150 @ 5.26GHz Results!!
(Click ScreenShot to Validate Link)
ส่งท้ายกันด้วยความเร็ว 5.26GHz แบบไม่เสถียร แต่พอเทสต์ได้ครับ
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปของการทดสอบซีพียู AMD UNLCOKED FX PROCESSOR FX-8150 ตัวนี้กันแล้วนะครับ ก็ขอบอกว่าเป็นซีพียู AMD ที่ออกสเป็คมาเอาใจแฟนคลับได้อย่างถูกใจเลยครับ ทั้ง CPU Core ที่มีเยอะถึง 8 คอร์มากที่สุดในเดสก์ท็อปซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ อีกทั้งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่สูงลิบลิ่วแซงคู่แข่ง แถมเวลา Overclock ก็ทะลุ 5GHz กันได้แบบเสถียรๆ สุดท้ายยังเล่นกับความเร็วของหน่วยความจำได้แบบสุดๆ แม้แต่แรมคู่ 8GB ก็ยังอัดทะลุความเร็วระดับ 2,100-2,200MHz ได้อย่างสบายและเสถียร แต่กลับมาติดปัญหาสุดท้ายที่ประสิทธิภาพความแรงต่อสัญญาณนาฬิกากลับทำออกมาได้ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับซีพียูระดับใกล้เคียงกันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ ซึ่งถ้ามีการปรับปรุงไดรเวอร์หรือไบออสของมาเธอร์บอร์ดให้รองรับซีพียูรุ่นนี้ให้มากกว่านี้ ก็มีความเป็นไปได้ครับที่ประสิทธิภาพความแรงต่อสัญญาณนาฬิกาจะทำได้ดีกว่านี้ในอนาคต กับราคาขายในไทยที่น่าจะเปิดตัวกันที่วางกันไว้ว่าจะไม่แพงเกินไปกว่า 2600K ของทางคู่แข่ง ผมคิดว่าก็ไม่แพงจนเกินไปนักนะครับเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของมันที่ทำได้ในรูปแบบ Multithreads และสำหรับวันนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้นะครับ แล้วพบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ