ASUS BRT-AC828 AC2600 Dual Wan VPN WiFi Router Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้มี Router รุ่นใหญ่ประสิทธิภาพสูงจากค่าย ASUS มารีวิวให้ได้ชมกันอีกเช่นเคย ASUS BRT-AC828 นั้นเป็น Dual WAN VPN Wifi Router ที่รองรับการใช้งาน WAN สองเส้นหรือง่ายๆก็คือ Internet สองสายเพื่อรองรับการทำงานหรือการต่อเชื่อมผ่านทางอินเตอร์เนตที่ไม่มีการสะดุดด้วยฟังก์ชั่น Failover ที่สามารถสลับไปใช้ Internet อีกตัวนึงได้ทันทีเมื่ออีกไลน์นึงใช้งานไม่ได้และจะทำการสลับมารวมความเร็วอีกครั้งเมื่ออินเตอร์เนตกลับมาเป็นปกติ มีการต่อเชื่อม WiFi คลาส AC2600 กระจายสัญญาณผ่านทางความถี่ 5.0GHz และ 2.4 GHz ได้อีกหนึ่งย่านครับ โดยที่ย่าน 5 GHz สามาระเชื่อมต่อได้ที่ความเร็ว 1734 Mbps และที่ 2.4 GHz ได้ที่ 800 Mbps เลยครับ จุดเด่นอีกจุดคือในตัว ASUS BRT-AC828 นั้นสามารถติดตั้ง SSD แบบ M.2 ได้ด้วย ทำให้ตัว Router นั้นเปรียบเสมือนศูนย์กลางข้อมูลภายในองค์กรเล็กๆได้เลย เรามาชมรายละเอียดกันครับ
.
ASUS BRT-AC828 Appearance
กล่องบรรจุ ASUS BRT-AC828 นั้นใหญ่โตมากครับ น้ำหนักก็ตึงมือเอาเรื่องเลย ด้านกลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้ให้พิจารณาอย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติที่มีมาในตัว
นี่เป็นรูปจากภายในกล่องหลังเปิดฝาขึ้นมาครับ
บรรดาสายทั้งหมดที่มีมาครับ
สิ่งที่แถมมากับกล่องก็จะเป็นแผ่น CD Driver คู่มือ
เสากระจายสัญญาณแบบ 3 dBi dipole จำนวนสี่ต้น
หน้าตาตัว BRT-AC8280 นั้นดุดันและมีขนาดใหญ่ทีเดียว ผมคิดว่าอาจจะใหญ่กว่า Router ของ ASUS ที่เคยผลิตมาครับ ตัวถังด้านบนนั้นออกแบบให้มีเทคเจอร์ที่น่าสนใจมากประกอบกับลวดลายการขึ้นรูปที่แปลกตา พลาสติกตัวถังนั้นแข็งแรงใช้ได้ครับ ด้านล่างและรอบๆตัวถังได้ถูกเจาะช่องระบายความร้อนมาอย่างเต็มที่เลย
ไฟ แสดงผลด้านหน้าซึ่งจะอยู่บริเวณใต้สัญลักษณ์นี้ เรียงจากซ้ายไปขวา ไฟแสดงผลของการเปิด/ปิด Router, ไฟแสดงการเชื่อม Lan ทั้งหมด 8 ช่อง, สัญญาณ Wifi 2.4 GHz, สัญญาณ Wifi 5 GHz, ไฟแสดงสัญญาณอินเตอร์เนตเข้าช่อง 1 และ 2, ไฟแสดงสถาณะเมื่อมีอินเตอร์เนตดาวน์ช่องใดช่องนึง ตามด้วยไฟสัญญาณการต่อเชื่อม SSD แบบ M.2 ภายในเครื่องครับ
ด้านหน้าของ BRT-AC828 จะเป็นพอร์ทพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ USB 3.0 1ช่อง และที่ด้านข้างนั้นจะเป็นปุ่มปลด USB ที่เสียบอยู่ครับ
บริเวณที่ติดตั้งเสากระจายสัญญาณ ก่อนและหลังการติดตั้งครับ แข็งแรงดีด้วยตัวล๊อก
เมื่อประกอบเสาทั้งสี่ต้นเข้ากับ BRT-AC828 มันทำให้เราเตอร์นี้ดูดุดันน่าเกรงขามมาก
ด้านหลังนั้นจะเป็นพอร์ทเชื่อมต่อหลักของเราเตอร์ตัวนี้ จากซ้ายไปขวาก็จะเป็นช่องเสียบ USB 3.0 พร้อมกับปุ่มปลด ถัดมาจะเป็นช่องเสียบเสา ช่องเสียบ Wan 1 และ 2 พอร์ท GIGABIT LAN จำนวน 8 ช่อง ส่วนโซนขวามือจะเป็นปุ่มรีเซต ปุ่มเปิด/ปิดและช่องเสียบไฟเลี้ยงจากอแด๊ปเตอร์
ด้านใต้ของเราเตอร์ครับมีการออกแบบรูระบายความร้อนอยู่เต็มพื้นที่เลย และที่แถบทึบๆนั้นจะเป็นฝาครอบที่สามารถถอดออกมาเพื่อติดตั้ง SSD แบบ M.2 ได้ด้วย
Testing Configuration and Method
หล่อเหลาเอาการทีเดียว
การทดสอบนั้น เราใช้ Computer สองตัว ตัวนึงเชื่อมต่อกับ ASUS RT-AC5300 ทางสายแลนเซตเป็น Server ปลายทางเป็นคอมพิวเตอร์ Client อีกตัวที่เชื่อมต่อกับ SYNOLOGY ROUTER RT1900ac <คลิ๊กเพื่อเข้าชมบทความ> ที่ตั้งเป็น Media Bridge คอมพิวเตอร์ทั้งสองตัวใช้ SSD แบบ SATA III ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องนี้จะอยู่ที่ประมาณ 7 เมตรการทดสอบจะใช้โปรแกรมฟรีคือ Jperf ในการทดสอบครับ
.
การ ทดสอบนั้นทำในบ้านปกติเพื่อเปรียบเทียบการใช้งานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอาจจะมีค่าไม่สูงนักเนื่องจากสภาวะแวด ล้อมที่มีสัญญาณรบกวน
ASUS RT-AC5300 Menu
เมื่อทำการเสียบสายทั้งหมดเรียบร้อย หน้าจอ Wizard ของ ASUS จะเด้งขึ้นมาเพื่อให้เราปรับแต่งครับ ตรงนี้เราจะเลือกให้ตัวซ๊อฟแวร์ช่วยหรือเลือกที่จะปรับแต่งเองในรายละเอียดก็ย่อมได้ สำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชิน ผมแนะนำให้ใช้ Wizard นี้ช่วยครับ สะดวกดี
มาดูรายละเอียดของ Menu ของเจ้า ASUS BRT-AC828 กันครับ สำหรับ User Interface นั้นก็ยังเป็น ASUSWRT ที่แสดงผลได้อย่างสวยงามและเข้าใจง่ายมาก หน้านี้เป็นหน้าแรกครับเมื่อล๊อคอินเข้ามา สำหรับวันนี้ใช้ Firmware ตัวปัจจุบันที่อยู่บนหน้าเว็บ ASUS นะครับ 3.0.0.4.380_6947
จุดเด่นของเมนูนั้น จุดนึงคือตัวเราเตอร์สามารถกระจายสัญญาณ WiFi ในโหมด Guest Network ในรูปแบบที่เราเห็นๆกันตามร้านกาแฟหรือโรงแรมเลยครับ
สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างละเอียดเลยทีเดียวว่าอยากให้ User เจอรายละเอียดแบบไหนในขณะเชื่อมต่อ
เราสามารถจำกัดการเชื่อมต่อเฉพาะ Facebook ก็ได้ครับ จริงๆแล้วส่วนใหญ่แขกที่ขอแชร์ WiFi ก็น่าจะเป็นประเภที่ใช้งานโซเชียลเนตเวอร์คส่วนใหญ่ ในอนาคตคาดว่าจะมีฟังก์ชั่นสำหรับ Line หรือ IG เพิ่มเข้ามาก็เป็นได้ครับ
ในส่วน AI Protection
หน้าการปรับแต่ง Firewall ใน Router
เมนูนี้เป็นการมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไคลเอนท์ที่ต่อเชื่อมกับวงเนตเวอร์คนี้อยู่
หน้าจัดการการใช้งาน Internet จาก sim ผ่าน USB ครับ
หน้านี้เป็นหน้าที่เราสามารถปรับแต่งการใช้งาน Wireless ภายในวงได้ครับ
หน้าจัดการการทำงาน VLAN
หน้านี้เป็นหนาที่เราสามารถบริหารจัดการการเข้าถึง Storage ที่เสียบใช้งานครับ ทั้ง USB และ SSD M.2 หากเราเสียบใช้งาน
หน้าปรับแต่งอินเตอร์เนตขาเข้า
หน้านี้ไว้สำหรับการจัดการและบริหารการใช้งานแบนด์วิทท์ของ User หรือ Client ที่เชื่อมต่อภายในวง
หน้านี้เป็นส่วนของ Admin ครับ อย่างที่ทราบว่า Wireless Router นั้นสามารถปรับแต่งตัวมันเองให้เป็น Wireless Router Mode หรือ Access Point อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานครับว่าเราตั้งค่าการใช้งานแบบไหน
Routing Performance
.
5.0 GHz
Upload / Download
ผลการดาวน์โหลดนั้นได้ความเร็วที่ 500 เมกกะบิทต่อวินาทีครับ
ย่าน 5.0 กิ๊กนี่อัพโหลดอยู่ที่ 499 Mbps เลยครับ แรงสุดๆ
.
2.4 GHz
Upload / Download
ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลย่าน 2.4 GHz ครับ ฝั่งดาวน์โหลดจะได้ที่ 148 Mbps
ขาอัพโหลดได้ที่ 116 Mbps
.
USB Sharing Speed
ทดลองเสียบ USB Storage ที่ด้านหน้าของตัว ASUS BRT-AC828 ผลความเร็วการอ่านเขียนจะอยู่ที่ 11.95/13.87 เมกกะไบท์ต่อวินาทีครับ
.
SSD M.2 Installation
ผมทดลองเปิดฝาครอบด้านหลังเพื่อทำการติดตั้ง SSD M.2 ให้ดูเป็นตัวอย่าง
การติดตั้งง่ายดายครับ หลังจากเปิดตัวเราเตอร์อีกครั้งก็สามารถเข้าไปเซตค่าต่างๆได้จากเมนู File Sharing เลย ผมไม่ได้ทำการทดสอบความเร็วมาให้ชมกันนะครับเนื่องจาก SSD M.2 ของผมน่าจะมีปัญหาเล็กน้อย
Conclusion
ASUS BRT-AC828 นั้น ถือเป็น Router รุ่นใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้านกับองค์กรขนาดเล็กได้อย่างเหมาะสม ด้วยคุณสมบัติ DUAL WAN ที่สามารถเสียบใช้งานอินเตอร์เนตได้สองสายพร้อมรองรับฟังก์ชั่น Failover ที่จะช่วยให้ธุรกิจคุณไม่ขาดช่วงสามารถสลับไปใช้ Internet อีกไลน์นึงได้ทันทีเมื่ออีกไลน์นึงใช้งานไม่ได้และจะทำการสลับมารวมความเร็วอีกครั้งเมื่ออินเตอร์เนตกลับมาเป็นปกติ มีการต่อเชื่อม WiFi คลาส AC2600 กระจายสัญญาณผ่านทางความถี่ 5.0GHz และ 2.4 GHz ได้อีกหนึ่งย่านครับ โดยที่ย่าน 5 GHz สามาระเชื่อมต่อได้ที่ความเร็ว 1734 Mbps และที่ 2.4 GHz ได้ที่ 800 Mbps เลยครับ จุดเด่นอีกจุดคือในตัว ASUS BRT-AC828 นั้นสามารถติดตั้ง SSD แบบ M.2 ได้ด้วย ทำให้ตัว Router นั้นเปรียบเสมือนศูนย์กลางข้อมูลภายในองค์กรเล็กๆได้เลย
.
่ความเร็วในการเชื่อมต่อย่าน 5.0 GHz นั้นทำได้ถึง 500 Mbps ทั้งขาดาวน์โหลดและอัพโหลด ความเร็วในย่าน 2.4 GHz ก็ได้ที่ประมาณร้อยกว่าเมกกะบิทต่อวินาทีด้วยเสถียรภาพที่ค่อนข้างดีครับ ความร้อนเมื่อใช้งานในห้องปรับอากาศนี่แทบไม่มี เสถียรภาพในการใช้งานนั้น ผมไม่พบปัญหาใดๆ น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากครับสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกหา Router คลาสสูงๆซักตัวมาใช้ในองค์กรขนาดเล็กๆที่ให้ความสำคัญต่อการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตที่ไม่ขาดช่วงรวมถึงสามารถติดตั้งพื้นที่จัดเก็บแบบ SSD M.2 ภายในตัวได้ ตรงนี้จะช่วยให้การใช้งานนั้นครอบคลุมและตอบสนองทุกความต้องการของคุณได้เลยครับ
.
.
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS