ASUS EA-AC87 Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ พบกับรีวิวอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูงกันอีกครั้งนึง ทาง ASUS นั้นเพิ่งเปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่ซึ่งมันเป็น Media Bridge และ Access Point ในตัวเดียวที่ทำงานบนย่านความถี่ 5 GHz ในคลาส AC 1800 ครับ ชื่อรุ่นว่า EA-AC87 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยขยายพื้นที่ไร้สายในวงที่กว้างขึ้นและมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากขึ้นด้วย เรามาชมรายละเอียดกันเลยครับ
.
> ASUS EA-AC87 SPECIFICATION <
รองรับการทำงานบนทุก OS
.
ASUS EA-AC87 Appearance
กล่องบรรจุ ASUS EA-AC87 นั้นสวยงาม โชว์คุณสมบัติการเชื่อมต่อระดับ 1800 เมกกะบิทต่อวินาทีบนย่าน 5 GHz
คุณสมบัติของตัว EA-AC87ที่ข้างกล่อง
ด้านหลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้พร้อมทั้งการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รับสัญญาณอีกรุ่นนึงให้เห็นถึงความต่างรวมถึงคำแนะนำในการเลือกอุปกรณ์มาทำงานร่วมกันด้วยครับ
นี่เป็นรูปจากภายในกล่องครับ
สิ่งที่แถมมากับกล่องเซตแรกก็จะเป็นแผ่น CD Driver คู่มือแผ่นพับ เสาช่วยการรับ/ส่งสัญญาณจำนวนสี่ต้น
หน้าตาตัว ASUS EA-AC87 นั้นดุดันและมีขนาดใหญ่กว่าสองฝ่ามือ ตัวถังนั้นเป็นพลาสติกเงางามสีดำ ด้านบนจะเป็นพลาสติกที่มีการขึ้นลายด้วยเทคเจอร์เท่ห์ตามสไตล์ Router จาก ASUS จากบริเวณนี้จะเห็นปุ่มที่สำคัญๆอยู่คือสวิทซ์เลือกโหมดการทำงานของ EA-AC87 ว่าจะให้ทำงานในโหมด Media Bridge หรือ Access Point ถัดไปจะเป็นปุ่ม WPS ช่วยในการจับคู่อุปกรณ์ ปุ่มเปิด/ปิด ไฟ LED บนหน้าปัด ขวาสุดจะเป็นปุ่มรีเซต โดยที่จะขนาบไปด้วยจุดเชื่อมต่อเสากระจายสัญญาณจำนวนสองจุดครับ
ด้าหลังของตัว EA-AC87 นั้นจะเป็นพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ โดยตัวมันนั้นสามารถกระจายเป็น LAN ได้จำนวนห้าช่องด้วยกันแบบกิ๊กกะบิทแลน รวมถึงสวิทซ์เปิด/ปิดและช่องเสียบไฟเลี้ยงแบบ DC ที่รับมาจากอแดปเตอร์ด้วย
เมื่อประกอบเสาเสร็จ หน้าตาดูดีทีเดียวนะครับ
อีกมุมนึงเมื่อติดตั้งเสาแล้ว
Testing Configuration
เมื่อทำการติดตั้งและต่อเชื่อมไฟแล้วจะพบกับความสวยงามแบบในรูปเลย
ในการทดสอบ EA-AC87 นั้นกระทำโดยทดสอบโดยโปรแกรม LAN speed test จาก Laptop ไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านทางความถี่ 5 GHz โดย Router ที่ใช้จะเป็น ASUS RT-AC66U ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบระหว่างการใช้ WiFi card ในตัว Laptop เทียบกับการเชื่อมต่อผ่านทาง EA-AC87
.
ASUS EA-AC87 เป็นอุปกรณ์ประเภท Media Bridge และ Access Point บนย่าน AC 1800 5 GHz โดยในโหมด Media Bridge นั้นจะทำงานเชื่อมโยงกับ Router ในลักษณะการรับสัญญาณ WiFi มาแล้วเปลี่ยนเป็น LAN โดยที่ความแตกต่างของ Media Bridge กับ Repeater นั้นก็คือ Media Bridge นั้นหลังจากรับสัญญาณในย่าน AC จาก Router และจะส่งความเร็วเต็มที่ด้วยการเชื่อมต่อแบบ Ethernet (LAN Cable) ไปยังลูกข่ายที่อยู่ในวง ซึ่งความเร็วในการเชื่อมต่อและธรูพุทที่ลูกข่ายได้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับทำเลการติดตั้งและระยะห่างระหว่าง Media Bridge กับตัว WiFi Router ด้วย
.
แต่ Repeater นั้นสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้ทั้ง Lan และ WiFi โดยการรับส่งสัญญาณต้นทางจาก Router ทว่าความเร็วในการเชื่อมต่อนั้นจะเหลือแค่ครึ่งเดียวเนื่องจากครึ่งนึงต้องเสียไปกับการรับส่งสัญญาณไม่มาระหว่าง Router แทนที่จะส่งและรับทั้งหมดไปยังเครื่องลูกข่ายของตัวเอง
.
.
MENU
วิธีการติดตั้งขั้นแรกก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรครับ ผมเพียงแค่เสียบสายแลนเข้าไปยัง Laptop หรือคอมพิวเตอร์ หน้า Quick Setup ก็จะโผล่ขึ้นมาแบบนี้ แต่หากต้องการความสะดวก ให้เราทำการดาวน์โหลดโปรแกรมช่วยได้จาก >> ASUS Device Discovery Utility <<
หลังจากนั้นเราก็ทำการค้นหาสัญญาณที่ถูกปล่อยออกมาจาก Router
ล๊อคอินครับ
รอทำการเชื่อมต่อซักครู่
เรียบร้อยแล้ว
หน้าตาหลักๆครับ หลังทำการเชื่อมมต่อแล้ว ตัว EA-AC87 นั้นสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยความเร็ว 878 เมกกะบิทต่อวินาทีบนย่าน 5 GHz นะครับ
LAN Speed Test
5 GHz Direct to AC66U |
. | Lan connected EA87 to AC66U |
ผมเริ่มต้นด้วยการนำเอาผลการทดสอบโดยโปรแกรม LAN SPEED TEST ผ่านทาง Wireless Adapter บน Macbook Pro ไปยัง ASUS RT-AC66U เทียบกับผ่านทาง EA87 ไปยัง AC66U โดย MBP นั้นสามารถเชื่อมต่อที่ความเร็ว 450 Mb/s ส่วนเมื่อผ่าน EA-AC87 จะเป็น LAN Gigabit ครับ
ไฟแสดงการทำงานครับ
.
TEST Result
Distance and Obstruction | 5 GHz Direct to AC66U | . | Lan connected EA87 to AC66U |
1.5 Meter | |||
15 Meters + 2 Wall | |||
30 Meters + 4 Walls |
- เมื่อทำการทดสอบในระยะ 1.5 เมตรจาก Router ตัว Wireless adapter บน Laptop นั้นสามารถเขียน/อ่านได้มากกว่าโดยมีธรูพุท (ธรูพุท = ปริมาณข้อมูลที่รับ/ส่งเทียบกับหน่วยเวลา) ที่ประมาณ 20.27 Mb/s หรือประมาณ 2.5 เมกกะไบท์ต่อวินาทีและเขี่ยนที่ 304 Mb/s หรือ 38 เมกกะไบท์ต่อวินาที
- เมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้นความสามารถในการเขียน/อ่านนั้นก็ลดลงอย่างเห็ได้ชัด โดยที่หากเชื่อมต่อ Laptop ผ่าน EA87 นั้นแทบไม่ตก
- และเมื่อทำการทดสอบที่ระยะ 30 เมตร ผนังสี่ชั้นจาก Laptop ถึง Router ก็จะเห็นเลยครับว่าตัว EA87 นั้นสามารถช่วยให้ความสามารถไม่ตกเลย
Conclusion
เสียดายครับที่ไม่สามารถทำการเชื่อมต่อ ASUS EA-AC87 จากระยะที่ไกลกว่านี้ได้เนื่องจากว่าเราทำการรีดประสิทธิภาพสูงสุดในการเชื่อมต่อจึงเลือก Media Bridge นั่นเอง
.
จากที่ได้ทำการเทสนั้นจะเห็นได้ชัดเลยครับว่า หากพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ WiFi นั้นถึงจุดที่อ่อนแรงเต็มที่ แล้วเราทำการเพิ่ม ASUS EA-AC87 เพื่อทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกเป็น LAN ให้ลูกข่ายต่อนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความแรงนั้นยังใช้งานได้ไม่ต่างจากรับตรงๆ จาก Router หรือว่าจะเป็นทางเลือกที่ถ้าตัว Router เองนั้นเป็นรุ่นเก่าที่มีการกระจาย WiFi ในย่าน N เราอาจจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้เพียงแค่เล่นอินเตอร์เนต ส่วนสัญญาณจาก EA87U ก็อาจจะแชร์ให้อีกวงที่ต้องการใช้งานข้อมูลในวงแลนเพื่อความรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือว่าจะกระจายต่อได้เฉพาะ LAN เท่านั้นครับ หากต้องการให้กระจายเป็น WiFi เราต้องปรับโหมด EA87 เป็น Access Point ความเร็วก็จะตกลงไปตามมาตรฐาน ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและอาจจะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ กำลังหาแนวทางการปรับปรุงระบบการสื่อสารไร้สายในบ้านครับ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมากที่เดียวสำหรับก้าวต่อไปของ ASUS AC Band
.
.
* ความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่างตัว Laptop ถึง Router นั้นไม่ใช่ความเร็วที่รับส่งข้อมูลจริงและอาจจะไม่ได้เท่าตามมาตรฐานเนื่องจากมีการใช้งานสัญญาณร่วมระหว่างทดสอบ
** ธรูพุท = ปริมาณข้อมูลที่รับ/ส่ง เทียบกับหน่วยเวลา
.
.
ขอบคุณที่ติดตามครับ
เชน
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS