Asus G70s
Share | Tweet |
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีก หลังจากวีมอดเทคได้เปิด section สำหรับ Notebook และ Gadget ไปได้ไม่นาน วันนี้ ผมก็มีสุดยอด Notebook ตัวชูโรงจากทาง Asus มาให้ได้ชมกันครับ
สำหรับ วันนี้โน๊ตบุ๊กที่เราได้รับมาจากทาง Asustek นั้นเป็นเครื่องขนาดใหญ่ กลุ่ม Desktop Replacement ขนาดจอ 17 นิ้ว ซึ่งมันก็จะ ค่อนๆไปทางกลุ่ม Mobile Gaming ด้วย กับ G70s นั้นเองครับ ซึ่งเจ้า G70s นั้นก็เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งในซีรียส์ ROG (Republic of Gamers) สำหรับคอเกมสุดโหดนั้นเอง
รูปทรงเมื่อครั้งแรกพบที่ผมได้สัมผัส G70s นั้น บอกได้เลยครับว่า Asus แต่ละรุ่น เชื้อไม่ทิ้งแถวจริงๆ จากการสังเกตุผมคิดว่า G70 ได้รับแรงบรรดาลใจมาจาก Asus ในรุ่น Lamboghini อย่างแน่นอนครับ ลักษณะเส้นสายค่อนข้างคล้ายคลึงกัน (ในความรู้สึกของผมนะ) สิ่งที่โดดเด่นในดีไซน์ของ G70 นอกจากจะเป็นลายเส้นที่ดูดุดัน แต่ยังคงมีความโค้งมนอยู่ในตัวแล้ว คงจะเป็นแสงไฟ LED ที่ทำออกมาเป็นลายเส้นให้อารมณ์ดูคล้ายรถสปอร์ตระดับหรูด้วยครับ
CPU | Intel Core 2 Duo “Penryn” T9300 2.5 GHZ |
Chipset | Intel PM965 |
Graphics | nVidia Geforce 8700M GT x2 SLI |
Ram | DDR2 4096mb |
HDD | SATAII 320gbx2 5400rpm |
OPD | Blue-Ray & DVD-RW |
Display | 17″ WXGA |
Wireless | Intel WifiLink 4900 IEEE802.11B/G/N |
จะสังเกตุได้ว่าตัวเสป็คนั้นยังคงใช้ชิปเซ็ต PM965 (และ SLI ได้แบบงงๆอีก) ซึ่งไม่ใช่แพลตฟอร์ม Centrino 2 ครับ แต่ก็ถือว่ามีความแรงที่ใกล้เคียงกับ Centrino 2 มากๆ ด้วยซีพียู Penryn ที่มีความเร็วสูงถึง 2.5 Ghz แต่ว่า FSB ยังคงอยู่ที่ 800mhz เท่านั้นครับ ส่วนฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้ยังคงเป็นแบบ 2.5นิ้ว 5400rpm แต่ติดตั้งมาให้ถึงสองตัว (ไม่ได้ set RAID 0 มาให้)
มาดูดีไซน์โดยรวม อย่างที่ผมได้กล่าวไปในตอนแรกครับ ว่ามีลายเส้นที่ดูมีความเป็นรถสปอร์ตหรูหรา ตัวบอดี้วัสดุคล้ายอะลูมิเนียม และในบางจุดจะดูเหมือนเป็นลายคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยครับ ส่วนตัวคีย์บอร์ดนั้น เนื่องจากจอ 17 นิ้วอันแสนจะกว้างของ G70 ทำให้มีเนื้อที่มากพอที่จะเพิ่มในส่วนของ NumPad แบบใน PC แต่การวางเลย์เอาท์ของ Numpad ยังคงต้องทำความคุ้นเคยกับมันสักเล็กน้อยครับ เพราะมันไม่เหมือนกับคีย์บอร์ดมาตรฐานใน PC
ของแถมในกล่องน่าสนใจมากครับ เพราะว่ามีเมาส์ RAZER รุ่น Copperhead แถมมาให้ด้วย (ไม่ธรรมดาซะแล้ว) แต่ว่าประทับตรา Asus พร้อมกับโลโก้ ROG มาครับ และนอกจากนี้ยังมีเสาสำหรับ TVTuner ในเครื่อง นอกจากนี้ยังมีผ้าเช็ดรอยนิ้วมือ (ซึ่งผมว่ามันเกิดยากกว่าพวกเครื่องพลาสติกเงาๆ) แถมมาให้อีกด้วยครับ
นอกจากนี้บริเวณรอบๆคีย์บอร์ด ยังมีลูกเล่นเสริมเพิ่มเติมให้สำหรับคอเกมส์อีกด้วยครับ โดยมี Hotkey ให้เซ็ตเล่นกันถึง 5 ปุ่มด้วยกัน และรวมไปถึงลูกศร 4 ทิศทาง ที่สามารถใช้แทนปุ่มขึ้นลงซ้ายขวาบนคีย์บอร์ดได้ และจอแบบ OLED แสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่องได้ ไม่ว่าจะเป็น Load CPU หรือแบตเตอร์รี่ หรืออีเมลได้ ควบคุมจากโปรแกรม Direct Console ที่มีแถมมาให้ในตัวเครื่องแล้วครับ
บริเวณ Console ด้านบนใกล้จอ OLED ก็ยังมีปุ่มปรับโหมดการทำงานของเครื่อง หรือปุ่มสำหรับปิดการใช้งาน ทัชแพดได้อีกด้วยครับ ทัชแพดใช้งานสะดวกดีครับ และเมื่อแตะปุ่ม “Mode” ทัชแพดตัวนี้ก็จะเปลี่ยนสภาพตัวเองกลายเป็น Media console ในทันใด ตรงนี้ต้องขอตินิดนึงตรงที่ถ้าใครใช้ทัชแพดบ่อยๆ มือมักจะไปจิ้มโดนปุ่ม Mode ได้ง่ายๆครับ
บริเวณที่ประดับด้วยไฟ LED นั้นสามารถเซ็ตการส่องสว่างของไฟได้จากโปรแกรม Direct Console อีกเช่นกันครับผม ดูๆไป ผมก็คิดว่า ไอ่ไฟสีแดงๆสองอันนั้น ดูๆไปก็เหมือนไฟหน้าของรถยนต์เลยทีเดียวครับ
ซ้ายมือ มี Audio Port SDcardreader USBx2 TVtuner RJ11 และ RJ45 รวมไปถึงสวิชเปิดปิด Wireless อยู่ในฝาปิดที่มีระบบล็อคคล้ายๆแม่เหล็กครับ ส่วนด้านขวามือก็จะเห็นไดร์ฟ Blueray อยู่ใต้สลอต mini PCIexpress
รูระบายความร้อนขนาดใหญ่ด้านหลัง พอร์ต HDMI และ VGA out มีมาให้ครบครันดีครับ นอกจากนี้ยังมี eSATA อีกด้วย สมกับเป็นโน๊ตบุ๊กสมัยใหม่ดีแล้วครับ
ฝาด้านหลัง จะพบช่องลมขนาดใหญ่ และลองเปิดฝาดู พบว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นของค่าย WD ครับ
;
แบตเตอร์รี่ 14.8โวลต์ 5200มิลลิแอมป์ ครับ
System Config. & Batterry Meter
รายละเอียดตัวเครื่อง
มันแปลว่า 1 ชั่วโมง 19 นาทีครับ สำหรับการใช้งานในโหมด Quiet Office ที่จะ Limit ตัวคูณอยู่ที่ 6 เท่านั้น
Overclocking (Turbo mode)
สองโหมดการทำงานพิเศษใน Direct Consoleที่จะทำการ Overclock ซีพียูไป ดังรูปครับผม (เล็กน้อยเท่านั้นครับ)
Raw Performance
Super PI 1m 18วินาที ก็ถือว่าเทียบๆกะ Centrino 2 ได้สบายๆครับ อิอิ เพราะเป็นซีพียูตัวเดียวกันนั้นเอง
ภาพมันฟ้องครับ อิอิ
เร็วเกินคาดครับสำหรับ WD ในตัว G70s Seek time แค่ 16 ms เองครับ แถม Burst Rate ก็ดูตัวเลขสะใจมากๆครับ เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์5400rpm โน๊ตบุ๊กกันเองอยู่หลายตัวครับเท่าที่เคยผ่านมือมานะครับ
Synthetic Benchmark.
Sisoftware Sandra 2009
ผลออกมาเป็นปกติครับ ไม่ได้หนี Centrino 2 มากนัก เพราะซีพียูก็เป็น Penryn เหมือนกัน อิอิ
Everest Ultimate Edition
โปรแกรม Synthetic Benchmark ตัวนี้ สามารถบอกได้ละเอียด และดูง่ายกว่า Sisoft นิดหน่อยครับ แต่ไม่สามารถทดสอบหัวข้อจำพวก HDD หรือดู ความสามารถในการคำณวนของซีพียูเป็น mFLOPS ได้
ผลการทดสอบอันนี้น่าจะทำให้ดูแล้วเห็นภาพมากขึ้นนะครับ เพราะมีตัวเปรียบเทียบเยอะเหลือเกิน ผล Memory Bandwidth อาจจะดูไม่มากเท่าพวก ชิป MP45 แต่ก็ถือว่าดีครับ
PCmark 05 วัดประสิทธิภาพจำพวกการเข้ารหัสวีดีโอ บีบอัดไฟล์ หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน
ดูคะแนนแล้วรู้สึกสะใจ แรงกว่า Centrino 2 หลายๆตัวด้วยซ้ำครับ อิอิ อานิสงส์ SLI และฮาร์ดดิสก์สุดแรงจาก WD นั้นเอง
3Dmark Series
วัดประสิทธิภาพในการเล่นเกมกราฟฟิคโหดๆ…
3Dmark03
นี่โน๊ตบุ๊กนะครับท่านผู้อ่าน อิอิ ทะลุสองหมื่นไปอย่างง่ายดาย
3Dmark05
นี่ก็ทะลุหมื่นนึงด้วยพลัง SLI
3Dmark06
สำหรับคะแนน 3Dmark คงจะพอบอกได้ครับว่า 8700M GT บนโน๊ตบุ๊ก ถึงแม้จะเป็นแรม 128bit แต่เมื่อ SLI กันแล้ว ก็สามารถทำผลงานได้ไม่เลวเลยทีเดียว
แต่ปัญหาก็มีอยู่บ้างครับ เพราะว่า 8700M GT ที่ Asus นำมาใช้ ไม่มีไดร์เวอร์ที่ทาง nvidia จัดให้ดาวโหลด กล่าวคือต้องรับไดร์เวอร์และอัพเดตต่างๆผ่านทาง Asus เท่านั้นนั้นเอง ซึ่งตอนระหว่างที่ผมทำการทดสอบ พบว่า วินโดวส์วิสต้าที่ผมใช้ไม่ใช่รุ่น SP1 (เขาลงมาให้แบบนี้) ผมพบปัญหา SLI หลุด คะแนนตก บ่อยครั้งมากครับที่ผมปิดโปรแกรมแล้วเปิดใหม่ ต้องทำการรีสตาร์ตเครื่อง และเซ็ตใหม่ ถึงจะหาย ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเป็นปัญหา ไม่ที่ Windows ก็เป็นที่ตัวไดร์เวอร์นั้นเอง ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องเล็กครับ เพราะหากคุณแก้ปัญหาเองไม่ได้ สำหรับ Notebook Computer สามารถติดต่อผู้แทนจำหน่ายให้จัดการกับปัญหาจุกจิกเหล่านี้ได้ไม่ยากมากนักครับ
สรุป
G70s ในสายตาของผม ผมคิดว่ามันเริ่มที่จะไม่แตกต่างอะไรจาก Desktop แล้วครับ แต่ราคา อาจจะทิ้ง Desktop ที่มีประสิทธิภาพคล้ายๆกันมากไปสักหน่อย ผมพยายามตรวจสอบราคาจากเว็บไซต์ต่างๆ พบว่าจาก notebook spec เป็นราคารุ่นท๊อปของ G70s (ไม่ใช่ซีพียพู T9300) อยู่ที่ 9xxxx ครับ
สิ่งที่น่าประทับใจและถือเป็นข้อดีคือ รูปลักษณ์การออกแบบ และงานประกอบที่ถือว่าเนี๊ยบสไตล์โน๊ตบุ๊กราคาแพง ลายเส้นมีความโดดเด่นไม่จำเจดีครับ ดุดัน และโฉบเฉี่ยว ไฟ LED ที่ประดับสามารถเซ็ตตามใจชอบได้ ลูกเล่นแพรวพราว จอขนาดใหญ่ถึง 17 นิ้ว ที่ถึงแม้จะมีน้ำหนักมากไปหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับโน๊ตบุ๊กสำหรับงาน Home Entertainment ประสิทธิภาพจากการ์ดจอ SLI กัน ทำออกมาได้ดีมาก ความร้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีช่องลมขนาดใหญ่
ข้อเสียคงจะเป็นที่ จุกจิกตรงไดร์เวอร์มากไปนิดหนึ่ง และน้ำหนักที่มาก ทำให้มีปัญหาในการพกพาได้ครับ
สำหรับวันนี้ ก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ…
ขอขอบคุณ AsusTek ประเทศไทย
ร่วมวิจารณ์บทความ คลิกที่นี่