ASUS LYRA TRIO AC1750 Dual Band Mesh WiFi System Review
Share | Tweet |
Introduction
สวัสดีครับ วันนี้มาพบกับรีวิวอุปกรณ์ด้านเนตเวอร์จากค่าย ASUS กันอีกเช่นเคยครับ ASUS Network นี้ถือว่าเป็นแบรนด์ที่มีหลากหลายรุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุมเลยครับ เราได้รับระบบ WiFi มาเซตนึงครับ มันมีชื่อน่ารักๆว่า ASUS Lyra Trio มันเป็นอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ที่สามารถกระจายสัญญาณได้ในรูปแบบ Mesh หรือเครือข่ายแบบใยแมงมุมนั่นเอง เราสามารถนำเอาตัวกระจายสัญญาณที่มีมาในชุดนั้นไปวางตามจุดต่างๆของบ้านเพื่อลดจุดอัพสัญญาณได้ เมื่อเราเคลื่อนที่ไป อุปกรณ์มือถือของเราก็จะจับกับ lyra ตัวที่ใกล้ที่สุดโดยอัตโนมัติ ด้วยระบบ Mesh นี้จะช่วยให้การท่องอินเตอร์เนตของเรานั้นไม่ขาดช่วงและได้ความเร็วเต็มที่มากกว่าการกระจายสัญญาณจากจุดที่ไกลๆเพียงจุดเดียวครับ
.
ASUS Lyra นั้นสามารถกระจายสัญญาณได้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5400 ตารางฟุต ด้วยสอง Band บนคลาส AC1750 ที่จะเชื่อมต่อได้สูงสุดที่ 1300 เมกกะบิทต่อวินาที การเชื่อมต่อเครือข่ายนี้สามารถทำได้โดยเชื่อมต่อ lyra ทั้งหมดผ่านทาง WiFi หรือจะเชื่อมต่อผ่านทางสายแลนหากมีพื้นที่และสามารถเก็บสายได้เรียบร้อย ซึ่งจะสามารถเพิ่มความสามารถในการกระจายสัญญาณได้สูงสุดเลยครับ
.
..
Package Appearance
กล่องบรรจุ ASUS Lyra นั้นออกแบบมาให้สวยงามด้วยโทนสีขาวแกมฟ้า รายละเอียดพื้นฐานมีแสดงไว้ที่ทั้งด้านหน้าและหลังกล่อง
อุปกรณ์ คู่มือที่มากับแพกเกจครับ
ตัวอุปกรณ์ ASUS Lyra Trio มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ในเซตจะมีมาให้สามตัว ตัวถังมีสีขาวคลิบฟ้า สวยงามน่ารักมากทีเดียว โดยภายในโดมสามเหลี่ยมนี้จะมีเสาสัญญาณซ่อนอยู่นะครับ
ด้านใต้ก็จะมีการเจาะรูระบายความร้อนเอาไว้เต็มพื้นที่ และจะมีปุ่ม Pair เพื่อทำการจับคู่เชื่อมต่อกับตัวอื่นๆได้อย่างง่ายดาย
พอร์ทเชื่อมต่อก็จะมีมาในลักษณะที่เห็น พอร์ท Lan สีเหลืองนั้นจะเอาไว้เชื่อมต่อในกรณีที่เราเซตเครือข่ายผ่านทางสายในลักษณ์ Access Point ส่วนข่อง Lan/Wan สีฟ้านั้น จะเอาไว้สำหรับตัวหลักตัวเดียว คือเชื่อมสายที่มีอินเตอร์เนตจากเราเตอร์มายังช่องนี้ครับ
.
Setup
วันนี้ผมทำการทดสอบความเร็วโดยใช้ความเร็วอินเตอร์เนตบ้าน ทดสอบวาง ASUS Lyra Trio ตามจุดต่างๆของบ้านแล้วเดินไปทดสอบความเร็วด้วย Speedtest ครับ
เริ่มต้นนี้ ขอให้เราทำการดาวน์โหลด App ASUS Lyra มาติดตั้งบนอุปกรณ์มือถือของเราก่อนครับ โดยมีรองรับทั้งระบบ Android และ iOS สามารถคลิ๊กดาวน์โหลดได้ที่นี่
เมื่อเราดาวน์โหลดมาเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเลือกเอา Lyra หนึ่งตัวมาทำการตั้งค่าเป็นตัวหลักก่อน โดยเสียบไฟจากอแด๊ปเตอร์ เสียบสายแลนจากเราเตอร์มายังช่อง WAN ย้ำว่าช่อง WAN นะครับ หลังจากนั้นรอจนกระทั่งไฟสัญญานนิ่ง แล้วให้เข้าไปที่ app เลย
ตัว app จะพบกับ lyra ตัวแรกที่เราเชื่อมต่อเอาไว้ครับ และ lyra ก็พร้อมที่จะเริ่มใช้งานแล้วเพราะเราเสียบสายแลนที่มีอินเตอร์เนตเข้ามาด้วย หลังจากนั้นให้ทำการกดปุ่ม pair ที่ตัว lyra ตัวนี้ และตัวที่สอง เพื่อทำการเชื่อมเครือข่าย หลังจากนั้นก็ pair ตัวแรกกับตัวที่สามต่อได้เลย ซึ่ง lyra ตัวที่สองและสามนี้ให้วางกระจายตามจุดต่างๆในพื้นที่ที่ต้องการให้อินเตอร์เนตครอบคลุมครับ ซึ่งในระหว่างที่ทำการ pair นี้ ตัว app ก็จะมีข้อความแนะนำตลอดเวลา ไม่ยากเลย
ในรูปบนนั้น ผมได้ทำการเชื่อมต่อ lyra ทั้งสามตัวเข้าด้วยกันแล้วนะครับ โดยตัวแรกนั้นวางอยู่ในห้องนอน ตัวที่สองและสามจะอยู่ที่ห้องโถง อีกตัวจะอยู่ในห้องครัว ในรูปนี้ผมเชื่อมต่อกับ lyra ในห้องนอนอยู่นะครับ
ลองทดสอบความเร็วอินเตอร์เนตในห้องก็จะได้ความเร็วดังรูปครับที่ 85.5/47 download/upload ใกล้หน่อยเลยแรง
.
ขยับออกมาที่ห้องโถ่งครับ ความเร็วก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ค่าอัพโหลดไม่ตกเลย โดยห้องโถ่งนี้จะมีระยะประมาณห้า-หกเมตร กำแพงชั้นเดียว
.
ผมเดินออกมาที่หลังบ้านซึ่งห่างจากเราเตอร์ตัวหลักและ lyra ตัวหลักประมาณ 15 เมตรในแนวทะแยง มีผนังห้องกันอยู่สี่ผนัง เป็นที่ที่ผมใช้ทดสอบความทะลุทะลวงในบทความก่อนๆซึ่งถือว่าหินมาก ตัวโทรศัพท์มือถือจับกับ lyra ที่อยู่ในห้องครัวครับตามรูป ได้ความเร็วไม่ต่างจากตอนที่อยู่ในบ้านเลย
ผมลองสลับกลับมาให้โทรศัพท์จับสัญญาณจาก router ตัวหลักของผมแล้วทำการทดสอบซ้ำที่เดียวกัน จะเห็นครับว่า Netgear R7000 นั้น สามารถส่งและรับสัญญาณได้อ่อนกว่า Asus Lyra ที่ใช้เครือข่ายใยแมงมุมแบบนี้อย่างชัดเจน
.
Conclusion
จากการทดสอบนั้นก็เห็นได้ชัดครับว่า ASUS Lyra Trio นั้นเป็นเครือข่าย WiFi ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก มันสามารถเชื่อมโยงการกระจายสัญญาณ WiFi ได้ดีมาก ดีกว่าเราเตอร์แรงๆเพียงตัวเดียว เสียดายครับที่บ้านผมไม่ใหญ่ ไม่อย่างนั้นน่าจะเห็นความสามารถของ Lyra ได้ชัดเจนกว่านี้ แต่เท่าที่เห็นก็ถือว่าผมสามารถใช้งานอินเตอร์เนตได้แรงแทบทุกจุดในบ้านด้วยสปีดเท่าๆกันเลยทีเดียว ตอนนี้ผมยังไม่เห็นราคาจำหน่ายของ Lyra Trio นะครับ แต่คาดว่าน่าจะต่ำกว่า AC2200 Tri-band whole-Home Mesh ที่อยู่ที่ 17000 โดยประมาณ ทางเลือกอื่นอาจจะมีครับเช่นการใช้เราเตอร์ตัวตั้งแต่พันกว่าบาทขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันแบบ Access Point แต่ก็อีกครับ เราต้องมาทำการเลือกที่จะเชื่อมต่อกับ Access point ตัวใดตัวนึงที่อยู่ใกล้ๆ ความสบายตรงนี้จะไม่มี รวมถึงหน้าตาที่สวยงามหรูหรากว่าอุปกรณ์จากแบรนด์อื่นๆ แค่นี้ก็เป็นต่อละครับ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละท่านนะครับ ฝากไว้เป็นตัวเลือกทีดีสำหรับ WiFi Mesh System ตัวนี้ ASUS Lyra Trio
.
.
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS