Asus O!Play TV Pro Review
Share | Tweet |
.
Testing
ทดลองกันแบบง่ายๆนะครับ ด้วยจอ SONY Full HD และ multi-channel Home theather ของ sony เช่นกัน โดยจะปล่อยเอาท์พุทจาก Asus O!Play TV Pro ด้วย optical ไปยังชุด Hometheater SONY ครับ เปิดใช้งานเครื่องโดยกดปุ่มที่เป็นลักษณะแถบสีฟ้าตรงกลางเครื่องเลย
บรรยากาศขณะทำการทดลองเล่น Asus O!Play TV Pro ครับ
เมื่อเปิดสวิทซ์เจ้า Asus O!Play TV Pro แล้ว จะเห็นเมนูแบบนี้ปรากฏขึ้นมากครับ โดยหน้าหลักของเมนูนี้จะประกอบไปด้วยตัวเลือกทั้งหมด 9 หัวข้อดังนี้ครับ DTV, Schedule REC, Movies, Music, Photo, Online Media, NAS, File Manager และ Setup
เมนูแรกที่เราควรจะเข้ามาก็คือ setup เพื่อตั้งค่าการใช้งานต่างๆให้เหมาะกับชุดของเรา
ตัวเลือกในการตั้งค่าก็จะเป็นไปตามรูปด้านบนครับ
มาลองดูเมนูที่น่าสนใจกันบ้าง หน้านี้จะเป็น Online Media ซึ่งก็จะมี Link ต่างๆที่น่าสนใจให้เราเลือกเข้าไปใช้งาน โดยทั้งนี้ต้องเสียบสายแลนด้วยนะครับ และถ้าจะให้สะดวกจริงๆ ต่าจะต้องหาเมาส์กับคีย์บอร์ดมาใช้งานด้วย ตอนทดสอบผมเลือกใช้งานทั้งเมาส์และคีย์บอร์ดแทนการป้อนต้วอักษรด้วยรีโมทครับ แฮะๆ ไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่นัก ในส่วนของ app หรือว่า link นั้นก็จะมีมาให้เลือกเล่นมากมายครับเช่น Acetrax, Dailymotion, Flickr, Internet Radio, Picasa, Podcast, RSS News, Radio, Yahoo Finance, Yahoo Weather, Youtube Leanback, YouTube, Youtube XL
ผมลองเขามาที่ Youtube ดูครับ ตัวเลือกก็เข้าใจไม่ยากเลยเห็นมั๊ยครับ
ลองเลือกวีดีโอที่ทางเว็บเราอัพโหลดมาดู ก็สบายๆครับไม่พบปัญหาอะไร แต่ก็มีบ้างที่จะช้ากว่าการเปิดบนคอมพิวเตอร์ปกตินะครับ
ผมลองเข้ามาที่หน้า internet tv ดูบ้าง ถ้าใครมีเวลาและเป็นเจ้าของอยู่ละก็ แนะนำให้ลองๆเปิดดูนะครับ
ใช้เวลาโหลดนิดนึง ความเร็วก็ตามเนตที่เราใช้งานอยู่
ดูได้ตามปกติเลยครับ เหมือนดูจากคอมเลย
ฟังเพลงจากเนตได้ด้วยนะ
ถ้าคุ้นเคยกับการฟังอินเตอร์เนตเรดิโอแล้วละก็ ไม่ยากเลยครับ และเนื่องจากแต่ละสถานีนั้นออกอากาศสัญญาณมาด้วยคุณภาพที่ต่างกัน ผลการรับฟังก็อาจจะให้ความแตกต่างกันด้านคุณภาพด้วยครับ
Asus O!Play TV Pro นั้นจะมีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า NAS อยู่ด้วย แต่เสียดายว่าเวลาในการทดลองเล่นนั้นน้อยไปนิดครับ ตามรายละเอียดที่เห็นบนหน้าจอและสเปกคือ มันสามารถดาวน์โหลดบิต หรือว่าดาวน์โหลดจากเซอร์เวอร์เข้ามาไว้ในตัว HDD ในตัวเครื่องได้เหมือนๆกับ NAS ทั่วๆไปครับคิดว่าไม่น่าจะยากแน่นอน ผมลองเข้ามาในเมนู file manager และเข้าไปยัง external HDD ที่ผมนำไปเสียบไว้ที่ USB 3.0 ดูเพื่อที่จะชมการแสดงผลชื่อไฟล์ต่างๆและจะเลือกชมภาพยนต์ดู สำหรับฟอร์แมทของไฟล์ที่รองรับนั้นก็มากมายครับ ตามที่ ASUS แจ้งไว้ก็จะมีดังนี้
Video : MPEG1, MPEG2, MPEG4, RM, RMVB, VC-1, H.264, H.264 MVC(3D), XVID
Video File Extension : TRP, MP4, MOV, AVI, ASF, WMV, MKV, FLV, TS, MTS, M2TS, BD-iso, DAT, MPG, VOB, ISO, M1V, M2V, M4V
Audio : APE, MP2, MP3, WAV, AAC, OGG, FLAC, AIFF, Dolby Digital Plus, DTS digital Surround, Dolby True HD (Passthrough), Dolby True HD (Decoding), Tag ID3, MS-ADPCM/LC-AAC/HE-ACC/COOK/RA-Lossless
Image : JPEG, BMP, PNG, GIF, TIFF
Subtitle : SRT, SUB, SMI, SSA, ASS, TXT, idx+sub
ชื่อหนังก็จะแสดงได้ตามรูปบนเลย เดี๋ยวผมจะลองดูหนังที่เป็น 720p ดูครับว่าจะเป็นอย่างไร
อ่า ภาพชัดเจนครับ เหมือนดูกับคอมปกติทั่วไปเลย
และแน่นอนว่า มันสามาระเลือกซับไตเติ้ลได้จากการกดปุ่มบนรีโมทครับ ซึ่งพอเข้ามาที่เมนูซับแล้วเราก็จะสามารถเลือกขนาดตัวอักษร ภาษาที่มีให้เลือก สี ทิศทางของตัวอักษรได้จากเมนูนี้ครับ
โอเค ซับขึ้นมาแล้ว เยี่ยมเลย
.