ASUS ROG MAXIMUS XI EXTREME Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรานำเอามาเธอร์บอร์ดตัวแรงบนชิพเซต LGA 1151 จากแบรนด์ ASUS มารีวิวให้ได้ชมกันอีกรุ่นนึง โดยวันนี้จะเป็นบอร์ดเบอร์ใหญ่สุดที่มีชื่อว่า ASUS ROG MAXIMUS XI EXTREME คุณสมบัติหลักๆของบอร์ดรุ่นนี้ก็จะเป็นบอร์ดที่ออกแบบมาให้ความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกได้อย่างยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการโอเวอร์คล๊อกได้อย่างดีที่สุดเท่าที่ ROG ทำได้ จริงๆแล้วบอร์ดรุ่นนี้ก็จะมีคุณสมบัติต่างๆเหมือนๆกับรุ่นรองลงไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแสงสี พอร์ทการเชื่อมต่อที่พร้อมสรรพสำหรับการใช้งานแบบไม่ขาดตกบกพร่องเลย โดยที่จุดเด่นน่าจะเป็นเรื่องของแสงสีตามสมัยนิยมที่สามารถทำงานเชื่อมต่อและสอดคล้องกับอุปกรณ์ต่างๆมากมายเช่นกราฟฟิกการ์ด แรม หรือว่าจะเป็นสายไฟ RGB ภายนอก โดยทั้งหมดนี้สามารถสั่งงานผ่านทาง ASUS AURA SYNC นั่นเอง เรามาชมรายละเอียดรวมถึงสมรรถนะของบอร์ดตัวแรงกันเลยครับ
.
.
.
Motherboard Appearance
กล่องบรรจุ ASUS ROG MAXIMUS XI EXTREME นั้นจะมีขนาดค่อนไปทางใหญ่ตามขนาดมาเธอร์บอร์ด สีสรรออกแบบมาด้วยโทนสีเทาเข้มตัดกับสีดำ ด้านหลังก็จะมีรายละเอียดสำคัญๆของบอร์ดอธิบายมาให้เข้าใจกันครับ
เปิดกล่องมาก็จะพบกับตัวบอร์ดหน้าตาน่าเกรงขามสุดๆ
บรรดาสาย และอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงคู่มือ แผ่น Driver ที่แถมมาให้ในกล่อง
หน้าตาบอร์ด ROG MAXIMUS XI EXTREME แบบเต็มๆครับ เลย์เอาท์บนบอร์ดนั้นมาแบบเรียบหรูดูดี สีสรรที่เลือกใช้นั้นก็สวยงามด้วยพื้นดำตัดกับสีบนอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างลงตัว
จุดเด่นที่เห็นบนบอร์ดนี้ก็คือพอร์ทเชื่อมต่อแบบ PCIe ที่มีมาให้ 3 ช่อง รองรับการทำงาน NVIDIA® 2-Way SLI™ Technology และ AMD 3-Way CrossFireX™ Technology และภายใต้ฮีทซิ้งค์ด้านขวามือนั้นจะเป็นช่องเสียบ M.2 จำนวนสองช่อง ซึ่งหนึ่งช่องในนั้นจะรองรับทั้ง M.2 SATA และ M.2 PCIe ส่วนอีกช่องจะรองรับ M.2 PCIe อย่างเดียว ตรงนี้สามารถตรวจสอบได้จากคู่มือนะครับ
พอร์ทการเชื่อมต่อแบบ SATA III นั้นจะมีมาให้หกช่องครับ และที่ตรงระหว่างแผ่นรอง PCB ด้านล่างกับตัว PCB นั้นจะเห็นว่ามีพลาสติกใสๆ ซึ่งตรงนั้นจะเป็นจุดที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้นะ
บริเวณโซนกลางซึ่งเป็นโซนของซ๊อกเกตซีพียูและช่องเสียบแรม และบรรดาปุ่มควบคุมต่างๆ แรมนั้นรองรับการทำงานได้ 4 x DIMM, Max. 64GB, DDR4 4400(O.C)/4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory ส่วนช่อง DIMM 2 นั้นมีเอาไว้เพื่อใส่ SSD แบบ M.2 PCIe 3.0 X4 แต่ต้องติดตั้งกับอุปกรณ์เสริมก่อนนะครับ
บอร์ดนี้ต้องการไฟเลี้ยง CPU แบบ PCIe แบบ 8 พินจำนวนสองหัว
บริเวณจอแสดงผล DEBUG Code บริเวณเหนือฝาครอบพอร์ทเชื่อมต่อด้านหลัง นอกจากโค๊ด Debug แล้ว มันยังแสดงถึงรายละเอียดของแต่ละโค๊ดที่ขึ้นอยู่ด้วย แจ่มมาก
ด้านหลังของบอร์ดก็จะมีฝาครอบมาตรงบริเวณที่มีแสงเปล่งออกมาได้ครับ
พอร์ทเชื่อมต่อด้านหลังครับ
- 1 x HDMI
- 1 x LAN (RJ45) port(s)
- 4 x USB 3.1 Gen 2 (red)1 x Type-C+3 x Type-A
- 6 x USB 3.1 Gen 1 ,
- 1 x Optical S/PDIF out
- 1 x Clear CMOS button(s)
- 1 x USB BIOS Flashback Button(s)
- 1 x ASUS Wi-Fi Module
- 5 x LED-illuminated audio jacks
- 1 x AQC-111C 5G LAN port
.
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i9 9900K LGA 1151 Coffee Lake |
.Motherboard | ..ASUS ROG MAXIMUS XI EXTREME |
.Memory | ..GSkill F4-4133C19-8 GTZA 8GB x 2 |
.Graphic Card | ..ASUS GeForce RTX 2070 |
.Harddisk | ..Plextor M9PEG 512GB <Review> |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling………………………………….. |
.Power Supply | ..Corsair RM850X 850 Watt |
.Operating System. | ..Windows 10 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
ภาพขณะทำการทดสอบสวยงามครับ
.
CPUZ Details
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าวันนี้เรานำเอา CPU Intel Core i9-9900K นั้นเป็น CPU ที่มี 8 คอร์ ทำงานทั้งหมด 16 Thread บนพื้นฐานสถาปัตยกรรมขนาด 14nm ใช้ชิบเซต Z390 โดยวันนี้บนบอร์ดนี้ ผมสามารถปรับแต่งได้ที่ ตัวคูณ 50 BCLK 100 ได้ความเร็วที่ 5.0 GHz ไฟ 1.38 โวลท์
มาเธอร์บอร์ดวันนี้ผมได้ใช้ Bios เวอร์ชั่น 0602 ซึ่งเป็นตัวล่าสุด
แรมเซตที่ DDR4 4,000 MHz นะครับ และ Uncore ที่ 4.8 GHz
.
GPU เป็น ASUS GeForce RTX 2070 ครับ
.
ASUS AURA SYNC RGB
ซอฟแวร์ ASUS AURA SYNC RGB นั้นก็มีมาให้ใช้งานเหมือนเดิมครับสามารถซิงค์การทำงานกับบรรดาอุปกรณ์ที่รองรับ AURA SYNC ได้อย่างสมบรูณ์แบบครับ
สวยงามแบบแสงสีไม่มากไม่น้อยไป
.
Bios
Bios หน้านี้จะเป็นหน้าแรกที่แสดงผลแบบ EZ Mode ซึ่งช่วยให้การปรับแต่งทำได้อย่างง่ายๆ แต่ถ้าต้องการปรับแต่งแบบละเอียดก็เพียงแค่กดปุ่ม F7 เพื่อเข้าสู่ Advanced Mode ด้านล่าง
เมื่อเข้าสู่ Advanced Mode หน้าตาก็จะประมาณนี้
โหมดการปรับแต่งค่าการโอเวอร์คล๊อกต่างๆนั้นก็จะไม่ต่างกับมาเธอร์บอร์ดตระกูล ROG ของ ASUS เลย
หน้านี้จะเป็นหน้าสำหรับการปรับแต่งอุปกรณ์เสริมต่างๆบนบอร์ดครับ
.
.
SuperPI Suites
ผ่านไปทั้งซีรีย์อย่างงดงาม
.
FHD X264 Benchmark
ผลคะแนนที่ได้นั้นอยู่ที่ 65.6 fps ความร้อนจะสูงสุดที่ 91 องศาครับ ก็ถือว่าไม่ร้อนทะลุนักด้วยหม้อน้ำสี่ตอนและห้องแอร์ 27 องศาเซลเซียส
.
WinRAR Benchmark
.
AIDA Cache and Memory Benchmark
.
CPUZ Benchmark
.
.
.Cinebench R11.5 Benchmark
.
.Cinebench R15 Benchmark
.
Corona 1.3 Benchmark
เรนเดอร์ใช้เวลาประมาณ 1 นาที 32 วินาทีครับ
.
.
3DMark Vantage
.
3DMark 11
.
3DMark Fire Strike Benchmark
.
Time Spy
ขับดันพลังกราฟฟิกการ์ดได้เหลือเฟือจริงๆครับ
..
.
Unigine 2 Superposition Benchmark
.
Full HD - Assassin’s Creed Origins
เฟรมเรทได้เฉลี่ยที่ 102 เฟรมต่อวินาทีครับสำหรับ Assassin’s Creed Origins
.
Full HD - FarCry 5
สำหรับ Farcry 5 ก็จะเล่นได้ที่เฟรมเรทเฉลี่ย 133 ครับ ลื่นๆ
Full HD - Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands
74.46 นั้นเป็น FPS บนโหมด Ultra ของ Tom Clancy’s Ghost Recon Wildlands บนชุดทดสอบนี้
.
Summary
ทั้งหมดนี้คือความสามารถในการใช้งาน Motherboard ASUS ROG MAXIMUS XI EXTREME เมื่อจับคู่กับ CPU Core i9 9900K และกราฟฟิกการ์ด ASUS GeForce RTX 2070 ครับ เช่นเคยครับ มาเธอร์บอร์ดรุ่น Extreme นั้นเป็นบอร์ดที่สามารถที่จะโอเวอร์คล๊อกได้อย่างง่ายดายบนพื้นฐานความสามารถของ CPU และแรมที่เรามี โดยความสามารถของการโอเวอร์คล๊อกในขั้นที่สูงขึ้นมันก็มีฟังก์ชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการให้กับมือหนักๆได้เช่นเคยครับ โดยรวมแล้วการโอเวอร์คล๊อกนั้นก็ยังเป็นจุดเด่นของบอร์ด Extreme นี้เช่นเคย ส่วนความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บนั้น เอซุสก็ต่อยอดการเชื่อมต่อโดยเราสามารถต่อ SSD แบบ M.2 ลงบนบอร์ดได้สองตัว และยังสามารถต่อผ่าน DIMM-2 ได้อีก 1 ช่องด้วย แสงสีบนบอร์ดนั้นก็ตามสมัยนิยมครับ อาจจะไม่ได้แพรวพราวบนทุกๆซอกมุมบนบอร์ดแต่เท่าที่มีนั้นถือว่าเป็นการสร้างความน่าสนใจได้อย่างพอดีๆไม่มากจนทำให้เคสกลายเป็นโรงลิเกไฟ หากจะมองในแง่ความคุ้มค่าก็คุ้มครับกับการโอเวอร์คล๊อกที่ง่ายดาย ไม่ต้องฝืนอะไรเลยกับการปรับแต่งไปที่ 5.0 GHz และหาก CPU และแรมใครที่มีความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกเยอะๆ มันก็จะสามารถผลักดันขึ้นไปได้อีกแบบไม่ยากเย็น ตรงจุดนี้ขาโอเวอร์คล๊อกน่าจะรู้กันดีกับบอร์ด Extreme ในตระกูล ROG ครับ น่าประทับใจมาก
.
.
.
..
CHANE
.
.
.
Special Thanks.
ASUS
.