ASUS ROG Rapture GT-BE98 Quad-band WiFi 7 (802.11be) Gaming Router Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมบทความอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คจากแบรนด์ ASUS กันครับ และวันนี้จะเป็นการรีวิวเราเตอร์มาตรฐานใหม่ล่าสุดคือ WiFi 7 (802.11be) ซึ่งเป็นตัวแรกของเราเลยครับ โดยเรากำลังพูดถึง ROG Rapture GT-BE98 เราเตอร์รุ่นนี้จะเป็นเราเตอร์ระดับสุดของ ASUS การเชื่อมต่อนั้นสามารถปล่อยสัญญาณได้แบบ Quad Band หรือสี่แบนด์เลยนะครับ โดยตัวเราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE25000 ultimate BE performance: 1376+5764+5764+11529 Mbps ซึ่งสามารถแบ่งย่านและความเร็วได้ตามนี้
- 2.4GHz BE: 4×4 (Tx/Rx) 4096 QAM 20/40 MHz, up to 1376 Mbps
- 5G-1Hz BE: 4×4 (Tx/Rx) 4096 QAM 20/40/80/160 MHz, up to 5764 Mbps
- 5G-2Hz BE: 4×4 (Tx/Rx) 4096 QAM 20/40/80/160 MHz, up to 5764 Mbps
- 6GHz BE: 4×4 (Tx/Rx) 4096 QAM 20/40/80/160/320 MHz, up to 11529 Mbps
ตัวฮาร์ทแวร์นั้นตัวโพรเซสเซอร์จะเป็นแบบสองคอร์ มีความเร็วที่ 2.6 GHz, เมมโมรี่แบบ DDR4 ขนาด 2 กิ๊กกะไบท์ และมีแฟลช 256 เมกกะไบท์ หัวใจหลักดีมาหนักหน่วงมากเลยครับ ตัวเราเตอร์นี้รองรับการส่งผ่านแบบ high data rate ด้วย 4096-QAM และมีแบนด์วิดท์ให้เลือกได้ที่ 20/40/80/160/320 MHz โดย 160 MHz จะอยู่บนย่าน 5GHz ส่วน 320 จะอยู่บนย่าน 6GHz
.
สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น ที่พอร์ท WAN จะมีสองพอร์ท โดยจะเป็นพอร์ทแลนแบบ 10G และ 2.5G อย่างละช่องโดยเลือกให้เป็นพอร์ท WAN หรือ Lan ก็ได้ครับ ส่วนพอร์ท LAN จะมีทั้งหมด 5 พอร์ท โดยจะเป็นกิ๊กกะบิท และ 10G อย่างละช่อง และจะมี 2.5G อีกสามช่องครับ โดยรวมแล้วอลังการมาก เราค่อยๆชมรายละเอียดกันเลย
.
.
.
.
Package Appearance
กล่องบรรจุ ROG Rapture GT-BE98 นั้นมีขนาดใหญ่แต่แปลกตรงมาในทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงตั้ง
ภายในกล่องก็จะมีอแด๊ปเตอร์จ่ายไฟและสายแลนอีกหนึ่งเส้นพร้อมกับคู่มือแผ่นพับอีกหนึ่งชุด
ตัว ROG Rapture GT-BE98 นั้นจะมีลักษณะแปดเหลี่ยมแบนๆวางตัวถังในแนวนอน การขึ้นรูปตัวถังสวยงามและมีขนาดเล็กเพียง 350.4 x 350.4 มิล น้ำหนัก 2 กิโลกรัม
ที่บริเวณไฟแสดงการทำงานจากซ้ายไปขวานะครับจะเป็นไฟแสดงผลการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตที่มาจาก onu ถัดไปจะเป็นไฟแสดงสถานะเมื่อเชื่อมต่อพอร์ท LAN 10G ถัดไปจะเป็นไฟแสดงเมื่อเสียบพอร์ท LAN ถักไปจะเป็นกลุ่มไฟแสดงการปล่อยสัญญาณ WiFi ครับ
ตรงกลางจะเป็นไฟ LED Logo ROG ครับ ขนาดยังไม่ได้เสียบไฟเข้ายังรู้สึกได้ถึงพลังเลยละ
ที่มุดด้านขาง มีเทคเจอร์รวมถึงมีการเจาะช่องระบายอากาศเอาไว้พอสมควรเลย
ถัดมาอีกมุมก็จะเป็นส่วนของไฟเลี้ยงและพอร์ท USB ซึ่งจะมีมาให้สองช่องจะเป็น USB 3.2 Gen1 และ USB 2.0 โดยพอร์ท USB นี้จะรองรับการเชื่อมต่อแบบ 4G/5G Mobile tethering และเป็น Media server พร้อมๆกับ Download Master ด้วย
สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น ที่พอร์ท WAN จะมีสองพอร์ท โดยจะเป็นพอร์ทแลนแบบ 10G และ 2.5G อย่างละช่องโดยเลือกให้เป็นพอร์ท WAN หรือ Lan ก็ได้ครับ ส่วนพอร์ท LAN จะมีทั้งหมด 5 พอร์ท โดยจะเป็นกิ๊กกะบิท และ 10G อย่างละช่อง และจะมี 2.5G อีกสามช่องครับ สเปกโหดเหลือเกินนนนน
....
.
Setup
ขณะทำการเซตระบบของ ROG Rapture GT-BE98 โดยวันนี้เราจะทำการเทสร่วมกับ ASUS PCE-BE92BT ซึ่งเป็น WiFi 7 PCI-E Adapter ที่เสียบอยู่กับคอมพิวเตอร์ตัวนึงทำหน้าที่เป็น Client เชื่อมต่อไร้สายไปยังเราเตอร์ที่ทดสอบที่ต่อกับคอมพิวเตอร์อีกตัวนึงรันเป็น server ครับ
.
สำหรับระบบปฏิบัติการ windows ที่รองรับการทำงานของ WiFi 7 ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดนั้นก็คือเวอร์ชั่น 24H2 ซึ่งเวอร์ชั่นก่อนหน้าก็สามารถใช้งานได้แต่ความเร็วและเสถียรภาพอาจจะลดลง ซึ่งผมเองยังเป็นเวอร์ชั่นเก่ากว่าด้วยซึ่งอาจจะทำให้ความเร็วไม่สุดนัก
.
Setup
เรามาดูขั้นตอนการติดตั้งกันนะครับ ก่อนอื่นเราล๊อกอินเข้ามาหน้าติดตั้งนี้ก่อน
เมื่อเราเซตค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้ามาที่หน้าหลักตามที่เห็นซึ่งเป็นอินเตอร์เฟส ASUSWRT ที่คุ้นเคยกันดี
แน่นอนว่า เราเตอร์รุ่นใหม่ของ ASUS นั้นก็จะมีฟังก์ชั่น AiMesh มาให้ด้วย
หน้านี้จะเป็นหน้าการตั้งค่าของ WiFi ครับ อย่างที่ได้แจ้งไว้ในหน้าแรกแล้วว่า เราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE25000 ultimate BE performance: 1376+5764+5764+11529 Mbps สามารถปล่อยสัญญาณได้สี่แบนด์ โดยเราสามารถปรับแต่งได้ที่หน้า Wireless นี้
เมนูการใช้งานในหมู่ USB ครับ
หน้านี้ก็จะเป็นหน้าหลักที่เราสามารถจะปรับโหมดการทำงานของเราเตอร์ ROG Rapture GT-BE98 ตัวนี้ หรือว่าจะทำการอัพเดทเฟิร์มแวร์ก็ทำที่หน้านี้
.
.
Testing result
.
Result of 6 GHz
การเชื่อมต่อนั้นสามารถจับได้ที่ 1.4 กิ๊กกะบิทต่อวินาที
ผลของความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลทางย่าน 6 GHz ขา upload นั้น สูงครับที่เฉลี่ย 509 เมกกะบิทต่อวินาที โหดหนึ่งละ
ด้าน download จะได้ที่ 762 Mbps โหดสอง โหดมาก
.
Result of 5 GHz
การเชื่อมต่อที่ย่าน 5 GHz นั้นสามารถเชื่อมกันได้ที่ 2.8 กิ๊กกะบิตต่อวินาที
ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลด้านอัพโหลดนั้นได้ที่ 462 เมกกะบิตต่อวินาทีซึ่งเป็นความเร็วมาตรฐานบนการใช้งานแบบบ้านๆของเรา
ขาดาวโหลดสามารถทำได้ที่ 711 เมกกะบิตต่อวินาที ก็โหดมากอยู่ดี
..
.
Conclusion
จากการทดลองเล่น ROG Rapture GT-BE98 ถือว่าเป็นเราเตอร์ที่มีลูกเล่นมากมายรวมถึงแสงสีและเอฟเฟกนะครับ สำหรับการเชื่อมต่อนั้นผมลองอยู่หลายช่องทาง โดยการให้ได้ความเร็วสูงสุดนั้นเราต้องเสียบใช้งานพอร์ทแลน 10G ครับ จะได้ความเร็วสูงสุดเกือบๆ 800 เมกกะบิตต่อวินาที ซึ่งอีกไม่เท่าไหร่ก็จะเท่ากับการส่งผ่านข้อมูลผ่านสายแลนแบบกิ๊กกะบิทแล้วนะครับนั่น อีกเรื่องนึงก็คือ การที่จะได้ความเร็วสูงระดับนี้ นอกจากเราเตอร์ที่เป็น WiFi 7 แล้ว เราจำเป็นต้องมี adapter หรือ USB WiFi 7 เสียบใช้งานด้วยนะ คือทั้งต้นทางและปลายทางต้องเป็น WiFi 7 ทั้งคู่ และ Windows 11 ต้องเป็นเวอร์ชั่น 24H2
ด้วยขนาดที่ใหญ่ของมัน ลองเทียบกับเมาส์และคีย์บอร์ดดูก็ได้ครับว่ามันมีขนาดใหญ่ขนาดไหน คือเอาเรื่องเลยละ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีพื้นที่ติดตั้งให้มันมากซักหน่อยนะครับ ยิ่งเรานำไปใช้งานกับงานที่มีผู้ใช้งานผ่านเราเตอร์นี้พร้อมๆกันมากๆ และมีการส่งผ่านข้อมูลพร้อมๆกัน มันก็จะร้อน ต้องมีพื้นที่ให้มันครับเดี๋ยวความเร็วมันจะดร๊อปซ๊ะเปล่าๆ
.
ตอนนี้เราเตอร์ ROG Rapture GT-BE98 ยังไม่มีเพราะน่าจะต้องใช้เวลาอีกนิด แต่ราคาที่วางเอาไว้คือที่ 799 เหรียญสหรัฐ ประมาณสามหมื่นพร้อมกาแฟเซเว่นอีกแก้วประมาณนั้น แพง แต่มันก็มีทุกอย่างที่ของระดับท๊อปต้องมีครับ ใครมีระบบใหญ่ๆ มีผู้ใช้งานเยอะๆ ต้องการส่งผ่านความเร็วไร้สายระดับสูง มีความรู้ความเข้าใจในระบบ network และ windows เพียงพอ ผมว่าเหมาะสมมากครับ
.
.
.
.
.
ขอบคุณที่ติดตาม
CHANE
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS