ASUS ROG Strix X299-E Gaming II Motherboard Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรานำเอามาเธอร์บอร์ดที่ใช้ชิพเซต X299 บนซ๊อกเก็ต LGA 2066 ตัวแรงจากแบรนด์ ASUS มารีวิวให้ได้ชมกันอีกรุ่นนึง โดยวันนี้จะเป็นบอร์ดที่มีชื่อว่า ASUS ROG Strix X299-E Gaming II คุณสมบัติหลักๆของบอร์ดรุ่นนี้ก็จะเป็นบอร์ดที่ออกแบบมาให้ความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกได้อย่างยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการโอเวอร์คล๊อกได้อย่างดี มาพร้อมกับ WiFi 6 (802.11ax), LAN 2.5 Gbps, USB 3.2 Gen 2 และเรื่องของแสงสีที่สามารถทำงานเชื่อมต่อและสอดคล้องกับอุปกรณ์ต่างๆมากมายเช่นกราฟฟิกการ์ด แรม หรือว่าจะเป็นสายไฟ RGB ภายนอก โดยทั้งหมดนี้สามารถสั่งงานผ่านทาง ASUS AURA SYNC นั่นเอง เรามาชมรายละเอียดรวมถึงสมรรถนะของบอร์ดตัวแรงกันเลยครับ
.
.
.
Motherboard Appearance
กล่องบรรจุ ROG Strix X299-E Gaming II นั้นจะมีขนาดค่อนไปทางใหญ่ตามขนาดมาเธอร์บอร์ด สีสรรออกแบบมาด้วยโทนสีเทาเข้มตัดกับสีดำ ด้านหลังก็จะมีรายละเอียดสำคัญๆของบอร์ดอธิบายมาให้เข้าใจกันครับ
เปิดกล่องมาก็จะพบกับตัวบอร์ดหน้าตาน่าเกรงขามสุดๆ
บรรดาสาย และอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงคู่มือ แผ่น Driver ที่แถมมาให้ในกล่อง
หน้าตาบอร์ด ROG Strix X299-E Gaming II แบบเต็มๆครับด้วยขนาด ATX ปกติ เลย์เอาท์บนบอร์ดนั้นมาแบบเรียบหรูดูดี สีสรรที่เลือกใช้นั้นก็สวยงามด้วยพื้นดำตัดกับสีบนอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างลงตัว
พอร์ทเชื่อมต่อแบบ PCIe 3.0 x16 ที่มีมาให้ 3 ช่อง รวมถึง x4 และ x1 มาให้อย่างละช่อง การเชื่อมต่อกับการ์ดนั้นก็ขึ้นอยู่กับเลน CPU ด้วยครับ สามารถดูรายละเอียดได้ในคู่มือเลย ด้านภาคของเสียงนั้นก็ออกแบบมาเป็นอย่างดีด้วย SupremeFX 8-Channel High Definition Audio CODEC S1220A
พอร์ทการเชื่อมต่อแบบ SATA III นั้นจะมีมาให้แปดช่องครับ สำหรับ M.2 นั้นจะมีมาให้สามช่อง ซึ่งสองช่องแรกจะรองรับเฉพาะกับ M.2 PCIE 3.0 x4 ส่วนอีกช่องจะรองรับทั้ง M.2 SATA และ M.2 PCIE ครับ
บริเวณโซนกลางซึ่งเป็นโซนของซ๊อกเกตซีพียูและช่องเสียบแรม จะมี LiveDash OLED ที่จะคอยแสดงสถานะการบู๊ตและเมื่อเข้ามายังวินโดว์แล้วก็จะเปลี่ยนมาแสดงความร้อน CPU แรมนั้นรองรับการทำงานตามรายละเอียด้านล่างนี้ครับ
(Intel® Core™ i9 10000 X-Series CPU)
8 x DIMM, Max. 256GB, DDR4 4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3866(O.C.)/3800(O.C.)/3733(O.C.)/3600(O.C.)/3466(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2933/2800/2666/2400/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory
(Intel® Core™ i9 9000/7000 and i7 9000 X-Series CPU)
8 x DIMM, Max. 256GB, DDR4 4266(O.C.)/4133(O.C.)/4000(O.C.)/3600(O.C.)/3400(O.C.)/3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2800(O.C.)/2666/2400/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory
บอร์ดนี้ต้องการไฟเลี้ยง CPU แบบ PCIe แบบ 8 พินจำนวนสองหัว รวมถึงในรูปจะเห็นชุดระบายความร้อนของ VRM ซึ่งภายในนั้นจะมีฮีทไปท์ขนาด 8 มมพัดลมและ stacked fin heatsink ที่จะช่วยยกระดับการระบายความร้อนภายใต้สภาวะการใช้งานโหดๆได้มากครับ
ที่ฝาครอบชุด I/O ด้านหลังจะมีโลโก้ที่สามารถเรืองแสงได้ด้วยนะครับซึ่งจะสามารถสั่งเปลี่ยนสีเปลี่ยนเอฟเฟกการเรืองแสงได้ด้วย
ด้านหลังของบอร์ดก็จะไม่มีฝาครอบมาให้นะ จะมีก็ตรงตรงบริเวณมอสเฟตช่วยบาลานซ์ความร้อนและป้องกันการแอ่นงอด้วย
พอร์ทเชื่อมต่อด้านหลังครับ
- 1 x LAN (RJ45) port(s)
- 4 x USB 2.0 (one port can be switched to USB BIOS Flashback®)
- 1 x Optical S/PDIF out
- 5 x Audio jack(s)
- 1 x Anti-surge 2.5G LAN (RJ45) port
- 1 x Wi-Fi antenna port(s)
- 1 x USB BIOS Flashback® Button(s)
- 2 x USB 3.2 Gen 1 (up to 5Gbps) ports Type-A
- 4 x USB 3.2 Gen 2 (up to 10Gbps) ports (Type-A + USB Type-CTM)
.
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 9800X |
.Motherboard | ..ASUS ROG Strix X299-E Gaming II |
.Memory | ..GSkill F4-4133C19-8 GTZA 8GB x 2 |
.Graphic Card | ..ASUS GeForce RTX 2080 Super |
.Harddisk | ..Plextor M9PEG 512GB <Review> |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling………………………………….. |
.Power Supply | ..Corsair RM850X 850 Watt |
.Operating System. | ..Windows 10 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
ภาพขณะทำการทดสอบสวยงามครับ
.
CPUZ Details
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าวันนี้เรานำเอา CPU Intel Core i7-9800X นั้นเป็น CPU ที่มี 8 คอร์ ทำงานทั้งหมด 16 Thread บนพื้นฐานสถาปัตยกรรมขนาด 14nm โดยวันนี้บนบอร์ดนี้ ผมสามารถปรับแต่งได้ที่ ตัวคูณ 48, BCLK 100 ได้ความเร็วที่ 4.8 GHz ไฟ 1.35 โวลท์
มาเธอร์บอร์ดวันนี้ผมได้ใช้ Bios เวอร์ชั่น 0401 ซึ่งเป็นตัวล่าสุด
แรมเซตที่ DDR4 3,200 MHz นะครับ และ Uncore ที่ 3.2 GHz
.
GPU เป็น ASUS GeForce RTX 2080 Super ครับ
.
BIOS
.
.
SuperPI Suites
ผ่านไปทั้งซีรีย์อย่างราบรื่น ความร้อนสูงสุดที่ 85 องศาเซลเซียส
.
FHD X264 Benchmark
ผลคะแนนที่ได้นั้นอยู่ที่ 61 fps ความร้อนจะสูงสุดที่ 83 องศาครับ ก็ถือว่าไม่ร้อนทะลุนักด้วยหม้อน้ำสี่ตอนและห้องแอร์ 27 องศาเซลเซียส
.
WinRAR Benchmark
..
AIDA Cache and Memory Benchmark
.
CPUZ Benchmark
.
.
.Cinebench R11.5 Benchmark
.
.Cinebench R15 Benchmark
.
.Cinebench R20 Benchmark
.
Corona 1.3 Benchmark
เรนเดอร์ใช้เวลาประมาณ 1 นาที 39 วินาทีครับ
.
.
3DMark 11
.
3DMark Fire Strike Benchmark
.
Time Spy
ขับดันพลังกราฟฟิกการ์ดได้เหลือเฟือจริงๆครับ
..
Conclusion
ทั้งหมดนี้คือความสามารถในการใช้งาน Motherboard ASUS ROG Strix X299-E Gaming II เมื่อจับคู่กับ CPU Core i7 9800) และกราฟฟิกการ์ด ASUS GeForce RTX 2080 Super ครับ มาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้แม้จะไม่ใช่รุ่นสูงสุดแต่ก็สามารถโอเวอร์คล๊อกได้อย่างง่ายดายและไม่เค้นมาก ซึ่งก็ให้ผลที่ดีมากบน Benchmark ต่างๆที่ผ่านไปได้ด้วยดีและแน่นอนว่ามีเสถียรภาพในการทำงานด้วย และหากต้องการดันขึ้นไปอีกก็สามารถทำได้ครับแต่ต้องพิจารณาชุดระบายความร้อนให้ดีด้วยเพราะ ASUS ROG Strix X299-E Gaming II นั้นมีตัวเลือกให้ปรับไม่ต่างจากบอร์ด Extreme เลย
.
พอร์ทการเชื่อมต่อนั้นมีมาให้มากมายครับถือเป็นอีกบอร์ดรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีอัดแน่นมาให้ สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายด้วยความเร็วสูงมากไม่ว่าจะเป็น WiFi 6 (802.11ax), LAN 2.5 Gbps, USB 3.2 Gen 2 และยังมี M.2 มาให้ถึงสามช่องด้วย ด้านแสงสีนั้นก็แน่นอนว่าตามสมัยนิยมเลย สามารถเลือกปรับแต่งสีสรรและเอฟเฟกบนโลโก้ที่ฝาครอบ I/O ด้านหลังได้ผ่านทาง AURA Sync รวมถึงสามารถสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆที่เสียบบนบอร์ดเช่นกราฟฟิกการ์ด สาย RGB นอกทำงานสอดคล้องกันทั้งระบบก็ได้ด้วย
.
สำหรับราคานั้นผมยังไม่มีข้อมูลนะครับ แต่ถ้าอ้างจากตัวเก่านั้นราคาจะอยู่ที่ 12000-13000 ได้ ตัวใหม่นี้คงไม่หนีกันเท่าไหร่ครับ
.
.
.
..
CHANE
.
.
.
Special Thanks.
ASUS
.