ASUS RT AC-59U V2 - AC1500 Dual Band WiFi Router Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คกันอีกรุ่นนึงจากแบรนด์ ASUS ครับ Wireless AC กลายมาเป็นตัวเลือกที่ถือเป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบันด้วยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือราคาของตัวเราเตอร์ที่ไม่แพงมากครับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาและอุปกรณ์ต่างๆในยุคนี้ที่ก็รองรับ wireless ac กันแทบทั้งหมดแล้ว สำหรับ ASUS RT AC-59U V2 นั้นเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเดทระบบเนตเวอร์คภายในบ้าน ซึ่งเป็นตัวที่อัพเกรดขึ้นมาจาก ASUS RT AC-59U เดิม หลักๆนั้นก็จะเป็นที่โหมดการทำงานที่รองรับการเป็น AiMesh Router ได้ หรือว่าจะเอาไปเพิ่มเพื่อเป็นจุดขยายพื้นที่ wifi ที่เรียกว่า AiMesh Node ก็ได้เช่นกัน พื้นฐานของ ASUS RT AC-59U V2 นั้นเป็น Wireless Router คลาส AC1500 ที่เป็น Dual Band พร้อมกับ MU-MIMO ที่พร้อมจะช่วยให้เราสามารถเล่นภาพยนต์ 4K ไม่ว่าจะจาก Youtube หรือ Netflix ผ่านทางไร้สายได้อย่างราบรื่น
.
ASUS RT AC-59U V2 นั้นเป็น Wireless Dual-Band ที่รองรับการเชื่อมต่อสูงสุดที่ 802.11ac สองย่านความถี่คือ 2.4 GHz ได้สูงสุด 600 Mbps และ 5 GHz สูงสุดที่ 867 Mbps ตัว ได้ติดตั้ง Flash ขนาด 32 เมกกะไบท์ และมี Ram 128 เมกกะไบท์ ดูจากสเปกพื้นฐานแล้วก็น่าจะพอใช้งานได้กับบ้านหลังใหญ่ๆเลยครับ
.
.
...
Appearance
กล่องบรรจุ ASUS RT AC-59U V2 นั้นมีขนาดปานกลางด้วยโทนสีแบบใหม่ครับ สบายๆที่เน้นให้ดูผ่อนคลาย ด้านกลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้ให้พิจารณาอย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติที่มีมาในตัว
คู่มือการติดตั้งและบรรดาสายต่างๆ ASUS ที่มากับเซตนี้
ตัว RT AC-59U V2 นั้นจะมีลักษณะมาตรฐานแบนๆ ตัวเล็กๆ มีเสาแบบ 5dBi จำนวนสีเสารอบๆตัว router ครับ
ภาพจากด้านข้างครับ
เทคเจอร์บนตัวเราเตอร์นั้นยังเป็นลักษณะเดิมที่สวยงาม และที่ด้านหน้านี้จะมีไฟแสดงการทำงานของจุดต่างๆซึ่งก็จะมี ไฟแสดงผลการทำงาน ไฟแสดงการเชื่อมต่อพอร์ทแบน 1-4 พอร์ทแสดงว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เนต ไฟแสดงผลการเชื่อมต่อ WiFi ย่าน 2.4 และ 5.0 GHz และขวาสุดจะเป็นไฟแสดงสถานะการเชื่อมต่อ USB ครับ
ด้านหลังนั้นจะเป็นพอร์ทเชื่อมต่อหลักของ ASUS RT AC-59U V2 โดยจากซ้ายไปขวาจะมีช่องเล็กๆสำหรับ reset ปุ่มเปิดตัวเครื่อง ช่องเสียบไฟเลี้ยง ช่องเสียบ USB 2.0 ปุ่ม WPS ถัดมาจะเป็นช่อง wan และ gigabit lan ทั้งหมด 4 ช่องครับ
.
Testing
เริ่มต้นแนะนำให้ทำการรีเซตระบบก่อนครับ หลังจากนั้นก็เข้าไปที่ web browser แล้วพิมพ์ว่า router.asus.com
.
MENU
เราสามารถคอนฟิกจาก setup wizard นี้ได้เลยครับ
หน้าตาก็จะเหมือนกับ router ของ asus รุ่นอื่นๆเลย
โหมดการทำงานก็สามารถเลือกได้จากแท๊บ administration เช่นเคย ซึ่ง ASUS RT AC-59U V2 นั้นจะมีโหมดด้าน AiMesh เพิ่มขึ้นมา รวมกับโหมดความสามารถเดิมสามโหมดก็คือ Wireless router, Access Point, และ Media Bridge และสิ่งที่เพิ่มมาคือ AiMesh Router mode และ AiMesh Node นั่นเอง
.
App Installation
สำหรับวันนี้ผมจะทำการต่อเชื่อม RT AC-59U V2 เข้ากับ ASUS RT-AX3000 นะครับ โดยจะให้ AX3000 นั้นทำงานในโหมด AiMesh Router ส่วน AC-59U V2 นั้นเข้าไปเสริมเป็น Node
ขั้นแรกให้เราเข้ามาใน app Asus Router ก่อนครับ
ก่อนหน้านี้ให้ทำการเซตอัพ RT AC-59U V2 ให้เป็น AiMesh node ก่อนด้วยนะครับ กลับมาที่ app ให้กด Add Node เพื่อค้นหา V2 เมื่อค้นหาเจอแล้วก็ให้ add ได้เลยแล้วก็รอซักพักนึง
เพื่อทำการเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อย ตัว app ก็จะแสดงผลดังรูปด้านบนครับ
กลับมาที่หน้าหลักของ app Asus Router ก็จะเห็นว่ามี RT AC-59U V2 ต่อพ่วงอยู่กับ AX3000 เรียบร้อย
หลังจากเสร็จแล้วก็สามารถนำเอาตัว RT AC-59U V2 ไปวางไว้ยังจุดที่อับสัญญาณ wifi ภายในบ้านเพื่อเพื่มพื้นที่กระจายสัญญาณ wifi ได้
.
Performance and Conclusion
.
5.0 GHz
ทดสอบในย่าน 5.0 GHz ก็จะเชื่อมต่อได้ที่ 866 Mbps
ความเร็วในการดาวน์โหลด/อัพโหลดได้ที่ 454/392 เมกกะบิตต่อวินาทีครับ
.
2.4 GHz
ที่ย่าน 2.4 ผมสามารถเชื่อมต่อได้ที่ 216 เมกกะบิตต่อวินาทีนะครับ
ความเร็วในการดาวน์โหลด/อัพโหลดบนย่าน 2.4 ได้ที่ 118/83 เมกกะบิตต่อวินาทีครับ
.
USB Transfer Speed
ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลจากเครื่องไปยังพอร์ท USB 2.0 นั้นจะได้ที่ประมาณ 3-6 เมกกะไบท์ต่อวินาทีครับ
.
ASUS RT AC-59U V2 นั้นก็ถือเป็น Wireless Router ระดับเริ่มต้นที่สามารถทำผลงานได้ดีมากครับ จากที่เห็นความเร็วในการเชื่อมต่อบนย่าน 5.0 GHz แล้วต้องบอกเลยว่า สามารถสตรีมมิ่งหนังแบบ 4K มายังจอแสดงผลได้อย่างสบายๆเลยครับซึ่งในระหว่างการทดสอบนี้ ที่่บ้านก็ได้ชมภาพยนต์ 4K ไปบ้างก็เห็นว่าราบรื่นสบายๆเลย ด้านความเร็วบนย่าน 2.4 GHz นั้นก็อยู่ในระดับปกติ ซึ่งก็ถือเป็นความเร็วที่สามารถใช้งานได้ครับ และได้ทำการทดลองเขียนไฟล์เข้าไปยัง USB flash drive ที่เสียบเชื่อมต่อไว้บนเราเตอร์ก็เห็นครับว่า ความเร็วอาจจะน้อยไปซักหน่อย ก็ถือว่าพอใช้งานได้แล้วกัน จุดเด่นอีกอย่างที่เพิ่มขึ้นมาให้ V2 ก็คือ มันสามารถรองรับการทำงานในรูปแบบ AiMesh ไม่ว่าจะทำงานในโหมด AiMesh Router หรือจะเป็น Node ช่วยในการกระจายสัญญาณก็ได้ สามารถทำงานร่วมกับ Router รุ่นใหม่ๆของ Asus ได้อย่างง่ายดายครับ จะเห็นได้ครับว่าบทความนี้ผมเชื่อมต่อกับ RT AX3000 เซ็ตระบบง่ายมาก
.
สำหรับราคาขายผมยังไม่เห็นนะครับเพราะน่าจะเพิ่งเปิดตัว แต่ดูแล้วไม่น่าจะแพงมากครับ เหมาะครับสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดระบบการเชื่อมต่อไร้สายภายในบ้านเป็น Wireless AC และวางแผนที่จะอัพเกรดพื้นที่สัญญาณ wifi ให้ครอบคลุมบ้านหลังใหญ่หรือว่าพื้นที่ที่มีจุดอับมากๆ ด้วย ASUS AiMesh ครับ
.
.
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS