ASUS RT-AC3200 Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ ต่อเนื่องกับรีวิวอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูงกันอีกครั้งนึง ทาง ASUS นั้นเพิ่งเปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่ซึ่งมันเป็น Tri-Band Wireless-AC3200 Gigabit Routeer ออกมาสู่ตลาดผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งเจ้า AC3200 นั้นเป็น Wireless Router ที่ปล่อยสัญญาณไร้สายคลาส AC บนความถี่ 2.4 GHz 600 Mbps และ 5 GHz 1.3 Mbps อีกสองช่อง ซึ่งทำให้ ASUS RT-AC3200 นั้นเป็น Router รุ่นเรือธงของค่ายไปอย่างไม่ต้องสงใสครับ นอกเหนือจากที่จะมีการกระจายสัญญาณไร้สายแบบโหดร้ายแล้ว ฟังก์ชั่นการทำงานอื่นๆนั้นก็ยังคงหลากหลายและตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วไปได้อย่างเหลือเฟือเลยทั้งการสตรีมหนัง หรือการโยนไฟล์ การจัดการไฟล์ในวงแลนด้วยความเร็วสูงครับ เรามาชมรายละเอียดจากหน้าเว็บไซด์ ASUS กันก่อน
.
> ASUS RT-AC3200 SPECIFICATION <
รองรับการทำงานบนทุก OS
.
ASUS RT-AC3200 Appearance
กล่องบรรจุ ASUS RT-AC3200 นั้นสวยงาม โชว์คุณสมบัติการเชื่อมสามแบนด์
ด้านหลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้พร้อมทั้งการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รับสัญญาณอีกรุ่นนึงให้เห็นถึงความต่างรวมถึงคำแนะนำในการเลือกอุปกรณ์มาทำงานร่วมกันด้วยครับ
นี่เป็นรูปจากภายในกล่องครับ
สิ่งที่แถมมากับกล่องเซตแรกก็จะเป็นแผ่น CD Driver คู่มือแผ่นพับ เสาช่วยการรับ/ส่งสัญญาณจำนวนหกต้น
หน้าตาตัว ASUS RT-AC3200 นั้นดุดันและมีขนาดใหญ่โตที่สุดเท่าที่ ASUS เคยทำมา ตัวถังนั้นเป็นพลาสติกเงางามสีดำ ด้านบนจะเป็นพลาสติกที่มีการขึ้นลายด้วยเทคเจอร์เท่ห์ตามสไตล์ Router จาก ASUS
บริเวณด้านหน้านั้นจะเป็นไฟบอกสถานะต่างๆครับ
บริเวณที่ติดตั้งเสาด้านข้างทั้งสองฝั่ง
ด้านใต้ตัวถังนั้นมีการเซาะร่องเพื่อระบายความร้อนไว้เต็มพื้นที่ทีเดียว ส่วนด้านบนนั้นซ้ายจะเป็นสวิทซ์ เปิด/ปิด ไฟแสดงผลและการกระจายสัญญาณไร้สาย ส่วนด้านขวามือนั้นจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อ USB แบบ 3.0
ด้านหลังนั้นจะมีช่องสำหรับติดตั้งเสาอีกสี่เสา จากซ้ายไปขวาจะเป็นช่องเสียบ USB 2.0 ซึ่งสามารถเสียบ Printer ได้ ปุ่ม WPS ปุ่ม reset ช่อง WAN ช่อง GIGABIT LAN 4 ช่อง ปุ่มเปิด/ปิด และช่องเสียบไฟเลี้ยงที่ด้านขวาสุด
เมื่อติดเสาแล้วอลังการมากๆครับ สเปกเจาะเข้าไปอีกนิดนั้น ในย่านความถี่ 2.4 GHz จะใช้ Broadcom BCM43602 ส่วนย่าน 5 GHz จะเป็น Broadcom BCM43602 มีแรมขนาด 256 MB และ Flash Memory 128 MB
Testing Configuration
ในการทดสอบ RT-AC3200 นั้นกระทำโดยทดสอบโดยโปรแกรม LAN speed test จาก Laptop ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเซอร์เวอร์ผ่านทางความถี่ 5 GHz อีกช่องนึงจะเป็นจาก Desktop ที่อยู่ห่างไปอีกห้องและทำการเชื่อมต่อโดย RT-EA87 บนโหมด Media Bridge ผ่านทาง 5 GHz อีกย่าน
.
.
MENU
วิธีการติดตั้งขั้นแรกก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรครับ ผมเพียงแค่เสียบสายแลนเข้าไปยัง Laptop หรือคอมพิวเตอร์ หน้า Quick Setup ก็จะโผล่ขึ้นมาแบบนี้ ในการติดตั้งเบื้องต้นได้เลยครับ โดยที่คุณสมบัติการทำงานนั้นจะแสดงให้เห็นในหน้าแรกๆนี้เลย
ตรงนี้จะเป็นการปรับแต่งในส่วนของ Wireless
เมื่อติดตั้งค่าพื้นฐานแล้ว ตัว Browser จะนำเรามาสู่หน้าหลักของ RT-AC3200 ตรงนี้ ซึ่งหน้าตาจะเหมือนๆกับ Router อื่นๆของ ASUS เองเลย
ในหน้า Trafic Analyzer นั้นมีส่วนที่หน้าสนใจครับ คือตัว Router นั้นสามารถวิเคราะห์เว็บไซด์ที่ผู้ใช้งานเรียกผ่าน หรือจะเป็น App ที่เรียกใช้งานผ่านทาง Router ได้ด้วย
หน้านี้เป็นการตรวจสอบการวิ่งเข้า/ออกของการส่งผ่านข้อมูล
ตัว AC3200 นั้นจะสามารถทำงานได้สามโหมดคือ Wireless Router ซึ่งเป็นโหมดพื้นฐาน AP และ Media Bridge
หน้านี้เป็นการปรับแต่การเชื่อมต่ออินเตอร์เนตครับ
หน้านี้เป็นการปรับแต่งในส่วนของการกำหนดสิทธิการใช้งานสัญญาณไร้สายทั้งสามย่านครับ โดยที่จะเลือกเปิดหรือปิดก็ได้
LAN Speed Test
5 GHz from MBP to AC3200 |
. | 5 GHz from PC to AC3200 Via EA87 |
ผมเริ่มต้นด้วยการนำเอาผลการเชื่อมต่อระหว่าง MBP ไปยัง AC3200 และจาก PC ไปยัง AC3200 ผ่านทาง EA87 มาให้ชม MBP นั้นสามารถเชื่อมต่อที่ความเร็ว 450 Mb/s ส่วน EA87 จะเชื่อมต่อได้ที่ประมาณ 1170 Mbps
ไฟแสดงการทำงานครับ
.
TEST Result
* การทดสอบนั้นแบ่งเป็นสามขั้นตอนนะครับ คือใช้ LAN Speed Test เชื่อมต่อกับเซอร์ที่ SSD Drive
** ธรูพุท = ปริมาณข้อมูลที่รับ/ส่งเทียบกับหน่วยเวลา
*** การทดสอบนี้ไม่ได้เป็นการเปรียบเทียบความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง MBP เทียบกับ PC แต่จะเป็นการทดสอบธรูพุทในสถานะที่ต่างกันเพื่อประเมินข้อดีของการมี 3 ย่านความถี่
.
- เมื่อทำการทดสอบการเชื่อมต่อแต่ละตัวบนความถี่ 5 GHz แยกกัน ทาง MBP นั้นสามารถเขียน/อ่านได้ธรูพุท ที่ประมาณ 16/302 เมกกะบิทต่อวินาที หรือประมาณ 2/38 เมกกะไบท์ต่อวินาที ส่วนด้าน PC นั้นทำได้ที่ 292/428 Mbps หรือประมาณ 36.5/53.5 เมกกะไบท์ต่อวินาที
- เมื่อทดสอบการเชื่อมต่อพร้อมกันทั้งสองย่านความถี่ บน MBP นั้นมีความเร็วในการอ่านลดลงประมาณ 6% การเขียนนั้นลดลงประมาณ 5.3% ส่วนฝั่ง PC นั้นการเขียนลดลงประมาณ 6% เช่นกันแต่การอ่านไม่ต่างครับ
- ทดลองทดสอบการเชื่อมต่อพร้อมๆกันบนย่านความถี่เดียวกันครับ ฝั่ง MBP นั้นเห็นได้ชัดครับว่าธรูพุทในการเขียน/อ่านนั้นลดลงที่ประมาณ 6.6 และ 7% ตามลำดับ ส่วน PC นั้นก็ลดลงเช่นกันที่ 5.8/13.2% เขียนอ่าน
Conclusion
ผลดีของการใช้ Router ที่มีสามย่านความถี่นั้นก็คือ เมื่อมีผู้ใช้งานหลายอุปกรณ์ และแต่ละอุปกรณ์มีการใช้งานหรือส่งผ่านข้อมูลไร้สายพร้อมกันแล้ว การมีย่านความถี่ที่มากกว่านั้นทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลนั้นสูงกว่าเราเตอร์ที่มีย่านเดียวถึงประมาณเกือบ 7 เปอร์เซนต์ทีเดียวครับ นอกเหนือจากนั้นแล้ว ความสามารถในตัว ASUS RT-AC3200 นั้นก็พกพามาให้มากมายสมกับเป็น Router รุ่นเรือธงของค่าย รวมถึงพื้นที่ในการกระจายสัญญาณที่กว้างเพียงพอที่จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 77 ตารางวาได้สบายๆ เรียกว่าเล่นอินเตอร์เนตไม่ตกเลยว่ากันอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นการสตรีมมิ่งหนังหรือโยนไฟล์ก็อาจจะต้องพิจารณาทำในบริเวณที่ใกล้ๆ Router ซักนิดเพื่อความเร็วที่สูงกว่า ฝากไว้พิจารณาแล้วกันครับสำหรับ ASUS RT-AC3200
.
.
.
ขอบคุณที่ติดตามครับ
เชน
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS