ASUS RT-AC87U Limited Edition Dual-Band Wireless Gigabit Router Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ ต่อเนื่องกับบทความทดสอบเราเตอร์ความเร็วสูงตัวท๊อปกันอีกซักบทความครับ จริงๆแล้วรุ่นนี้นั้นจะเป็นรุ่นพิเศษที่ทำสีสรรให้ต่างจากรุ่นมาตรฐานเท่านั้น ส่วนฟังก์ชั่นอื่นๆนั้นก็จะเหมือนเดิมครับ ผมเลยนำมาทดสอบใหม่หมดด้วยวิธีการทดสอบที่น่าจะมองเห็นภาพและช่วยในการตัดสินใจได้ไม่มากก็น้อย
.
สำหรับ ASUS RT-AC87U Limited Edition นั้นมันเป็น Wireless Router AC2400 รุ่นใหม่ล่าสุดจาก ASUS ที่สามารถกระจายสัญญาณ Wifi ได้ในแบบ AC ความถี่รวม 2334 Mbps (Mega-bit-per-second) ทั้งย่าน 2.4 600 Mbps และ 5.0 GHz 1734 Mbps รองรับการทำงานตามมาตรฐาน 802.11ac
.
> ASUS RT-AC87U SPECIFICATION <
.
ASUS RT-AC87U Product Appearance
กล่อง บรรจุ AC87U นั้นใหญ่โตมากครับ น้ำหนักก็ตึงมือเอาเรื่องเลย ด้านกลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้ให้พิจารณาอย่างชัดเจนเลย ยังไม่รวมสีสรรของตัวเราเตอร์ที่จี๊ดมาก
นี่เป็นรูปจากภายในกล่องครับ
สิ่ง ที่แถมมากับกล่องเซตแรกก็จะเป็นแผ่น CD Driver คู่มือแผ่นพับ และที่เห็นสี่เสาด้านบนนั่นก็คือเสากระจายสัญญาณสี่ต้นที่ได้ถูกออกแบบมา พร้อมกับ AC87U ที่ถือเป็น Router รุ่นแรกที่ออกแบบการกระจายสัญญาณแบบ 4×4 MU-MIMO และประกอบกับเทคโนโลยี Beamforming ที่จะช่วยส่งสัญญาณอย่างชาญฉลาดไปยังอุปกรณ์ไร้สายต่างๆได้อย่างเต็มที่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5000 ตารางฟุต หรือประมาณ 465 ตารางเมตร
สาย GIGABIT Lan หนึ่งเส้น Adapter พร้อมหัวปลั๊กแบบ Universal ที่สามารถเปลี่ยนให้เหมาะกับ Type ของประเทศต่างๆได้
หน้าตาตัว AC87U นั้นดุดันและมีขนาดใหญ่กว่า Router ของ ASUS ที่เคยผลิตมาครับ ตัวถังด้านบนนั้นออกแบบให้มีเทคเจอร์ที่น่าสนใจมากประกอบกับลวดลายการขึ้นรูปและสีสรรเฉพาะของรุ่นลิมิเตด อิดิชั่นที่โดดเด่นเป็นพิเศษ
ไฟ แสดงผลด้านหน้าซึ่งจะอยู่บริเวณใต้สัญลักษณ์นี้ เรียงจากซ้ายไปขวา ไฟแสดงผลของการเปิด/ปิด Router, สัญญาณ Wifi 5GHz, สัญญาณ Wifi 2.4GHz, ตามด้วยไฟสัญญาณการต่อเชื่อมพอร์ทแลนแบบกิ๊กกาบิทสี่ช่องด้านหลัง ไฟแสดงสัญญาณอินเตอร์เนตเข้าและสุดท้ายขวาสุดคือไฟแสดงสัญลักษณ์การต่อ เชื่อมกับอุปกรณ์อื่นด้วยวิธี WPS
หงาย AC87U ขึ้นมาจะเห็นปุ่มอยู่สองโซนซ้าย/ขวา ด้านซ้ายนั้นจะมีสองปุ่มคือปุ่ม เปิด/ปิดไฟ LED แสดงผล ด้านขวาคือสวิทซ์ เปิด/ปิด การกระจายสัญญาณ WiFi ด้านขวานั้นจะเป็นพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ USB 3.0 ครับ
หงายด้านล่างของ AC87U ก็จะเห็นการออกแบบให้ตัวถังนั้นถูกยกขึ้นช่วยระบายความร้อน
ด้าน หลังของ Router นั้นก็จะเป็นบรรดาพอร์ทเชื่อมต่อต่างๆ เสาสัญญาณสี่ต้นนั้นจะเชื่อมต่อสี่ช่องเสียบสีทองด้านหลังนี้ ช่อง USB 2.0 ด้านซ้ายสุดนั้นสามารถเชื่อมต่อกับ USB Storage ต่างประกอบกับการใช้งาน Softwareในเครื่องหรือจะเป็น Printer sharing และยังสามารถใช้เสียบ USB 3/4G ก็ได้ด้วย ถัดมาด้านขวาจะเป็นช่องเสียบสายแลนที่รับสัญญาณ Internet จาก Modem ครับ ช่องสีเหลืองจะเป็น Lan Port แบบ Gigabit สี่ช่อง ปุ่ม Reset ปุ่มเปิด/ปิดไฟเข้า Router และด้านขวาสุดจะเป็นช่องเสียบไฟจาก Adapter
เมื่อประกอบเสาทั้งสี่ต้นเข้ากับ ASUS RT-AC87U มันทำให้เราเตอร์นี้ดูดุดันน่าเกรงขามมาก
Testing Configuration and Method
เมื่อทำการติดตั้งและต่อเชื่อมไฟแล้วจะพบกับความสวยงามแบบในรูปเลย ไฟแสดงผลด้านหน้านั้นจะเป็นสีฟ้าและจะสว่างตามการใช้งานที่ได้เชื่อมต่อหรือเลือกใช้
.
การทดสอบนั้น เราใช้ Computer สองตัว ตัวนึงเชื่อมต่อกับ ASUS RT-AC87U Limited Edition ทาง สายแลนเซตเป็น Server ปลายทางเป็นคอมพิวเตอร์ Client อีกตัวที่เชื่อมต่อกับ ASUS RT-AC88U ที่ตั้งเป็น Media Bridge คอมพิวเตอร์ทั้งสองตัวใช้ SSD แบบ SATA III ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องนี้จะอยู่ที่ประมาณ 7 เมตรและมีกำแพงขวางหนึ่งชั้น การทดสอบจะใช้โปรแกรมฟรีคือ Jperf ในการทดสอบครับ
.
การ ทดสอบนั้นทำในบ้านปกติเพื่อเปรียบเทียบการใช้งานในชีวิตประจำวัน ดังนั้นความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอาจจะมีค่าไม่สูงนักเนื่องจากสภาวะแวด ล้อมที่มีสัญญาณรบกวน
ASUS RT-AC87U Menu
มาดูรายละเอียดของ Menu ของเจ้า AC87U กันครับ สำหรับ User Interface นั้นก็ยังเป็น ASUSWRT ที่แสดงผลได้อย่างสวยงามและเข้าใจง่ายมาก หน้านี้เป็นหน้าแรกครับเมื่อล๊อคอินเข้ามา กระบวนการติดตั้งและเซตอัพขั้นแรกนั้น เราต้องทำการเชื่อมสาย Lan จาก Modem เข้ามายังช่อง WAN สีฟ้าด้านท้ายก่อน หลังจากนั้นเลือกที่ Quick Internet Setup มันจะช่วยพาคุณเข้าไปติดตั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตครับ ไม่ยากและเหมือนกับ Router ASUS รุ่นก่อนๆเลย
หน้านี้จะเป็น Application ที่น่าในใจครับ ตัว ASUS RT-AC87U นั้นรองรับการแชร์ไฟล์ที่อยู่ใน USB storage ที่เสียบไว้ผ่านทางอินเตอร์เนตได้ มันสามารถเป็น Media Server ได้ มันรองรับการติดตั้ง Network Printer Server มันสามารถเสียบ USB 3/4G เพื่อกระจายอินเตอร์เนตได้ มันมีฟังก์ชั่น Time Machine ที่ช่วยในการตั้งเวลาการ Backup ระบบได้ และสุดท้าย มันสามารถโหลดบิทปิดเครื่องได้
เมนูที่น่าสนใจตรงนี้คือ AiCloud 2.0
หน้านี้เป็นส่วนของการติดตั้งแต่ปรับแต่งค่า WiFi ทั้งย่าน 2.4 และ 5.0 GHz ครับ
หน้านี้เป็นการตั้งค่า Internet
หน้านี้เป็นส่วนของ Admin ครับ อย่างที่ทราบว่า Wireless Router นั้นสามารถปรับแต่งตัวมันเองให้เป็น Wireless Router Mode หรือ Access Point หรือ จะเป็นเพียงแค่ Media Bridge ทำหน้าที่เฉพาะด้านความพันเทิง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานครับว่าเราตั้งค่าการใช้งานแบบไหน ถ้าสเกลเล็กๆอย่างใช้ตามบ้านนี่ ผมว่า AC87U เอาอยู่ทุกสถานการณ์
หน้านี้เป็นส่วนของ Network Tools ทั้งหมด
Routing Performance
.
GIGABIT LAN Upload / Download
นิ่งมากสำหรับ up/down ทาง gigabit lan ครับ
.
GIGABIT LAN Simultaneous
นิ่งเหมือนกันครับเมื่อมีการทั้ง up และ down พร้อมๆกัน ธรูพุธรวมอยู่ที่ 1126 Mbps ทะลุกิ๊กกะบิทไปเลย
.
2.4 GHz
เริ่มต้นด้วยการทดสอบทาง Wireless ย่านความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อ จะได้ความเร็วในการเชื่อมต่อที่ประมาณ 288.5 Mbps
.
Upload / Download
อัพโหลดอยู่ที่ 124 ส่วนดาวน์โหลดจะได้ที่ 177 Mbps ครับสำหรับธรูพุธ
.
Simultaneous
ธรูพุธรวมเมื่อดาวน์โหลดและอัพไปพร้อมๆกัน แกว่งไม่มากนะครับเท่าที่เห็น รวมแล้วอยู่ที่ 190.5 Mbps เลย
.
5.0 GHz
ความเร็วบนย่าน 5.0 GHz ที่มีการเชื่อมต่อสุดเหยียดที่ 1300 Mbps
.
Upload / Download
ย่าน 5.0 กิ๊กนี่อัพโหลดอยู่ที่ 460 ส่วนดาวน์โโหลดพุ่งขึ้นไปที่ 509 Mbps เลยครับ แรงสุดๆ
.
Simultaneous
ธรูพุธรวมเมื่อดาวน์โหลดและอัพไปพร้อมๆกันบนย่าน 5 กิ๊กอัตรารวม 700 Mbps แรงสุดๆ
.
USB 3.0 Performance
ทดสอบการ เขียนและอ่านไฟล์ที่เสียบผ่านช่อง USB 3.0 โดย Flash Drive USB 3.0 ขนาด 32GB ครับ ความเร็วในการอ่าน/เขียนอยู่ที่ 15.79/59.78 เมกกะไบท์ต่อวินาที ไม่เลวเลยครับ
.
Wireless Throughput Result
สำหรับผลการทดสอบนั้น ผมได้พล๊อตเป็นกราฟออกมาให้เห็นภาพง่ายๆให้ได้ชมกัน
Conclusion
ASUS RT-AC87U Limited Edition นั้นถือเป็น Router สองแบนที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่ค่อนข้างเด่นในด้านการรับส่งพร้อมๆกันครับ มันจะช่วยตอบสนองความต้องการของการอัพเกรดความเร็วของระบบเน็ตเวอร์ในบ้านหรือในองค์กรเล็กๆได้เป็นอย่างดีเลย ย่าน 2.4 ก็ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการท่อกว้างๆสำหรับปริมาณข้อมูลใหญ่ๆเช่นอินเตอร์เนตหรือว่าเล่นหนังภายในวงแลน ส่วนย่าน 5.0GHz นั้นก็เอาไว้ทำงานรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อมกับเซอร์เวอร์หรือ NAS ครับ ท่อใหญ่รองรับข้อมูลได้มากและรับส่งได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งความเร็วของ LAN นั้นก็ถือเป็นจุดเด่นครับ ความเร็วนั้นนิ่งมาก นิ่งกว่า Router ที่เคยเทสมาทั้งหมด ลองพิจารณาดูครับว่าชอบประสิทธิภาพกับหน้าตาหรือเปล่า
.
สำหรับความเห็นผม Highly Recommended ครับ
.
.
.
.
.
ขอขอบคุณ