ASUS RT-BE58U Dual-band BE3600 WiFi 7 Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมบทความอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คจากแบรนด์ ASUS กันครับ และวันนี้จะเป็นการรีวิวเราเตอร์มาตรฐานใหม่ล่าสุดคือ WiFi 7 (802.11be) โดยเรากำลังพูดถึง ASUS RT-BE58U เราเตอร์รุ่นนี้จะเป็นเราเตอร์ระดับมาตรฐานของ ASUS การเชื่อมต่อนั้นสามารถปล่อยสัญญาณได้แบบ Dual Band หรือสองแบนด์ครับ โดยตัวเราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE3600: 688 Mbps ที่ 2.4 GHz และ 2882 Mbps ที่ 5.0 GHz
.
ตัวฮาร์ทแวร์นั้นตัวโพรเซสเซอร์จะเป็นแบบสี่คอร์ มีความเร็วที่ 2.0 GHz, เมมโมรี่ขนาด 1 กิ๊กกะไบท์ และมีแฟลช 256 เมกกะไบท์ หัวใจหลักดีมาหนักหน่วงมากเลยครับ ตัวเราเตอร์นี้รองรับการส่งผ่านแบบ high data rate ด้วย 4096-QAM และมีแบนด์วิดท์ให้เลือกได้ที่ 20/40/80/160 MHz สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น มีพอร์ท 2.5 Gbps หนึ่งช่องที่สามารถเลือกได้ว่าจะให้เป็นพอร์ท WAN หรือจะให้เป็น LAN ที่เหลือก็เป็นกิ๊กกะบิทครับ
.
.
.
.
Package Appearance
กล่องบรรจุ ASUS RT-BE58U นั้นมีขนาดกลาง รายละเอียดด้านหลังกล่องอธิบายคุณสมบัติต่างๆ
ภายในกล่องก็จะมีอแด๊ปเตอร์จ่ายไฟและสายแลนอีกหนึ่งเส้นพร้อมกับคู่มือแผ่นพับอีกหนึ่งชุด
ตัว ASUS RT-BE58U นั้นจะมีลักษณะดีไซน์แบนๆวางตัวถังในแนวนอนแบบที่คุ้นเคย การขึ้นรูปตัวถังสวยงามและมีขนาดเล็กเพียง 238 x 193 x 59 มิล น้ำหนัก 461 กรัม น้ำหนักเบา
หน้าตาได้ถูกออกแบบให้ต่างจากซีรีย์ก่อนๆครับ มีเทคเจอร์ที่แปลกตาออกไป
ด้านข้างมีเทกเจอร์สวยงาม มีการระบายความร้อนเป็นอย่างดี
สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น พอร์ท 1 Gbps สี่พอร์ททางซ้ายมือในรูป ถัดมาจะเป็นพอร์ท 2.5 Gbps ที่มีสีฟ้า ซึ่งพอร์ท 2.5 G นี้เราสามารถเลือกให้มันเป็นพอร์ท WAN ก็ได้ครับในกรณีที่อินเตอร์เนตคุณมากกว่า 1 กิ๊ก แต่ถ้าหากไม่ ก็แนะนำให้ปรับพอร์ทนี้เป็น LAN จะดีกว่าครับ เพราะว่าในตอนนี้ พอร์ทแลนบนบอร์ดส่วนใหญ่ก็มาเป็น 2.5G กันหมดแล้ว ถัดมาทางขวามือก็จะเป็นพอร์ท USB 3.2 Gen 1 ช่องเสียบไฟเลี้ยง ปุ่มเปิด/ปิด และขวาสุดจะเป็นปุ่ม reset และ WPS สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบง่าย
....
.
Setup
ขณะทำการเซตระบบของ ASUS RT-BE58U โดยวันนี้เราจะทำการเทสร่วมกับ ASUS PCE-BE92BT ซึ่งเป็น WiFi 7 PCI-E Adapter ที่เสียบอยู่กับคอมพิวเตอร์ตัวนึงทำหน้าที่เป็น Client เชื่อมต่อไร้สายไปยังเราเตอร์ที่ทดสอบซึ่งเชื่อมต่อกับมินิพีซี ผ่านทาง ASUS USB-C2500 ซึ่งเป็น USB A to 2.5G Lan รันเป็น server ครับ
.
สำหรับระบบปฏิบัติการ windows ที่รองรับการทำงานของ WiFi 7 ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดนั้นก็คือเวอร์ชั่น 24H2 ซึ่งเวอร์ชั่นก่อนหน้าก็สามารถใช้งานได้แต่ความเร็วและเสถียรภาพอาจจะลดลง ซึ่งผมเองยังเป็นเวอร์ชั่นเก่ากว่าด้วยซึ่งอาจจะทำให้ความเร็วไม่สุดนัก
.
Setup
เรามาดูขั้นตอนการติดตั้งกันนะครับ ก่อนอื่นเราล๊อกอินเข้ามาหน้าติดตั้งนี้ก่อน
เมื่อเราเซตค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้ามาที่หน้าหลักตามที่เห็นซึ่งเป็นอินเตอร์เฟส ASUSWRT ที่คุ้นเคยกันดี วันนี้ผมต่อแลนให้เป็นพอร์ท 2.5G นะครับ บน Firmware เวอร์ชั่นล่าสุดบนหน้าเว็บไซด์ของเอซุส ณ วันนี้
แน่นอนว่า เราเตอร์รุ่นใหม่ของ ASUS นั้นก็จะมีฟังก์ชั่น AiMesh มาให้ด้วย
หน้านี้จะเป็นหน้าการตั้งค่าของ WiFi ครับ อย่างที่ได้แจ้งไว้ในหน้าแรกแล้วว่า เราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE3600: 688 Mbps ที่ 2.4 GHz และ 2882 Mbps ที่ 5.0 GHz
หน้าเมนู Administrationก็จะเป็นหน้าหลักที่เราสามารถจะปรับโหมดการทำงานของเราเตอร์ ASUS RT-BE58U ตัวนี้ หรือว่าจะทำการอัพเดทเฟิร์มแวร์ก็ทำที่หน้านี้
.
.
Testing result
.
Result of 5 GHz
การเชื่อมต่อนั้นสามารถจับได้ที่ 2.8 กิ๊กกะบิทต่อวินาที
ผลของความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลทางย่าน 5 GHz ฝั่ง Client นั้น สูงครับที่เฉลี่ย 1.74 กิ๊กกะบิทต่อวินาที โอ้ว พระเจ้า
ด้านฝั่ง Server จะได้ที่ 1.55 กิ๊กกะบิทต่อวินาที โอ้วพระเจ้า อีกรอบ แรงทั้งอัพทั้งดาวน์ แรงกว่าเสียบสายแล้วครับ ณ ตอนนี้
.
..
.
Conclusion
จากการทดลองเล่น ASUS RT-BE58U ถือว่าเป็นเราเตอร์ที่มีลูกเล่นมากมายรวมถึงการเชื่อมต่อที่สามารถส่งผ่านความเร็วทางไร้สายได้เท่าๆกับการเสียบสายแล้วครับ โดยความเร็วที่เราทำได้ในวันนี้คือ 1.75/1.55 Gbps เลยละครับ แต่การที่จะได้ความเร็วสูงระดับนี้ นอกจากเราเตอร์ที่เป็น WiFi 7 แล้ว เราจำเป็นต้องมี adapter หรือ USB WiFi 7 เสียบใช้งานด้วยนะ คือทั้งต้นทางและปลายทางต้องเป็น WiFi 7 ทั้งคู่ และ Windows 11 ต้องเป็นเวอร์ชั่น 24H2 ถึงจะได้ความเร็วและฟังก์ชั่นการทำงานครบถ้วนตามความสามารถของ WiFi7 แต่หากใช้วินโดว์ที่เป็นออฟฟิเชียลตอนนี้ก็เร็วครับหากต้นทางและปลายทางเป็น BE เหมือนอย่างที่ได้ในบทความนี้
.
ตอนนี้เราเตอร์ ASUS RT-BE58U ยังไม่มีวางขายในบ้านเราน่าจะต้องใช้เวลาอีกนิด ซึ่งน่าจะเป็นเราเตอร์ระดับมาตรฐานที่เป็นการอัพเกรดที่ดีที่สุดด้วยงบประมาณที่สมเหตุผลครับ
.
.
.
.
.
ขอบคุณที่ติดตาม
CHANE
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS