Asus SABERTOOTH P67 : Review
Share | Tweet |
—– Introduction & Specifications —–
^_^ มาแล้วครับ กับวันเสาร์สุดสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ตรากตรำทำงานกันมาทั้งสัปดาห์ ช่างเหน็ดเหนื่อย และเมื่อยล้าเสียเหลือเกินสำหรับคนที่ต้องใช้แรงงานอย่างผม วันนี้วันหยุดสุดสัปดาห์เรามารีเร๊กซ์ผ่อนคลายกับวันสบายๆ ด้วยการดูรีวิวอีกหนึ่งเมนบอร์ดจากค่าย Asus รุ่น SABERTOOTH P67 ซึ่งทางเวปฯ จัดมาเป็นลำดับคิวที่ 23 กันดีกว่า SABERTOOTH P67 เป็นเมนบอร์ดในซีรีย์ TUF (The Ultimate Force) ของค่าย Asus จัดได้ว่าเป็นเมนบอร์ดสำหรับกลุ่ม Power Users แล้วถ้า Users ที่ไม่มี Power ในการจับจ่ายอย่างผมคงหมดสิทธิเป็นเจ้าของแน่ๆ เลย เอิ้กๆๆ อิอิกำจริงๆ นี่ก็เพิ่งจะต้นเดือนเอง…ดูจากรูปลักษณ์หน้าตาแล้ว ผมว่ามันคงแรงแน่ๆ เลย รอช้าอยู่ไย รีบๆ เช็คสเปค อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน แล้วคลิกดูหน้าต่อไปเลยครับ… : )
Click >>> รายละเอียดจากเวปผู้ผลิต
—– Package & Bundle —–
เริ่มต้นเราก็มาดูกล่องผลิตภัณฑ์กันก่อนเลยครับ ตัวกล่องของ Asus SABERTOOTH P67 พิมพ์ออฟเซต 4 สี อย่างสวยงาม แต่ผมคนนอกวงการสื่อสิ่งพิมพ์ นับสีบนกล่องทีไรได้เกิน 4 สีทุกที เง้อ อิอิกำ…ลวดลายบนกล่องประมาณว่าเป็นพื้นผิวของโลหะพวกอลูมิเนียม เห็นเป็นเสี้ยนๆ สีออกโทนดำ-เทา ดูแล้วเท่ห์จริงๆ : )
ด้านหลังกล่อง Asus SABERTOOTH P67 ตัวนี้ บอกคุณสมบัติพื้นฐานของตัวเมนบอร์ดบอร์ด รุ่นนี้อย่างคร่าวๆ เหมือนเช่นเมนบอร์ดเกือบทุกรุ่นของ Asus
แง้มฝากล่องออกมาอีก 1 ชั้น จะเห็นรายละเอียด และคุณสมบัติของตัวเมนบอร์ด มีเนื้อหาให้อ่านอีกเพียบเลยครับ : )
ได้เห็นตัวเมนบอร์ดเสียที มีแผ่นฝาพลาสติตใสๆ ครอบทับอีก 1 ชั้น แน่นหนาและแข็งแรงจริงๆ สำหรับการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ของ Asus
เอาแผ่นฝาพลาสติกออกแล้ว ได้จับตัวเป็นๆ ของ Asus SABERTOOTH P67 กันเสียที เอิ้กๆๆ จับตัวจริงของจริงแล้ว กิเลสของความอยากได้เริ่มแว๊บเข้ามาในหัวสมอง อีกแล้ว !!!
อุปกรณ์ที่บันเดิลมาให้ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด แต่ครบถ้วนและพอเพียงกับการใช้งานจริงๆ ครับ
—– Motherboard Appearance —–
แกะกล่องกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเก็บไว้ให้ดีน๊ะครับ เผื่อวันหน้าบอกขายต่อราคาจะได้ไม่ตกมากนัก เง้อ ! เปิดกล่องออกมาเห็นลุคใหม่ของนวัตกรรมเมนบอร์ด จริงๆ ดูแล้วช่างแปลกตามาก กับการมีแผ่นพลาสติกปิดตัวแผงเมนบอร์ดโดยครอบคลุมเกือบเต็มพื้นที่ โดยเว้นช่องว่างในส่วนของตัวซ๊อกเก็ต CPU และช่องสล๊อตต่างๆ เท่านั้น ผมลองเอานิ้วดีดดู และพิจารณาแล้วว่าเจ้าแผ่นที่ปิดอยู่นี้เป็นพลาสติก ไม่ใช่แผ่นอลูมิเนียมอย่างแน่นอน นี่ถ้าวัสดุแผ่นปิดตัวแผงวงจรเมนบอร์ดในส่วนนี้เป็นแผ่นอลูฯ คงดูไฮโซขึ้นอีกเป็นกอง เอิ้กๆๆ…เดิมทีผมเข้าใจว่านอกจากความสวยงามของเจ้าแผ่นปิดตัวนี้ที่ทำให้ดูดี มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ผมยังจินตนาการไปว่ามันคงช่วยป้องกันน้ำลายแตกฟองของผมกระเด็นใส่ ในขณะที่กำลังโม้อยู่กับสมาชิกในครอบครัวช่วงที่เซตอัพระบบอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้ เอิ้กๆๆ…เพราะที่ผ่านมา System ที่ผมทดสอบมักจะวางเปลือยอยู่นอกเคสเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในจุดนี้ถึงมันไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางตรง แต่อย่างน้อยมันก็เข้าข่ายประโยชน์ที่ผมได้รับเหมือนกัน เง้อ…อิอิกำ เรื่องจริงๆ มีอยู่ว่ามันคงออกแบบมาให้คอนโทรลทิศทางลมที่เป่าแผ่ออกมาจากตัว Stock Heatsink ของ CPU ให้ช่วยกระจายลมไปใต้แผ่นปิดแผ่นนี้ ทำให้ตัวเมนบอร์ดได้รับอานิสงค์ลม (ร้อน) จากพัดลม Stock Heatsink CPU หรือเปล่า? ที่ช่วยกระจายลมระบายความร้อนให้กับแผงวงจรเมนบอร์ด SABERTOOTH P67 ตัวนี้นั่นเอง…โอ้ว! ซาร่า กับจอร์ช ผมว่ามันยอดมากเลย 555+ หันมามองในส่วนของ Heatsink ภาคจ่ายไฟกันดูบ้าง รูปทรงตัว Heatsink มองจากด้านหน้าตัดของมัน จะทำเป็นทรงตัวอักษร X (สีเขียวตอง) และซิ้งประกบข้างๆ ตัว X เป็นสีเขียวขี้ม้าเข้ม…ตัว X ผมคาดเดาอีกแล้วว่ามันคงหมายถึง eXtreme แปลเป็นไทยได้ว่า “สุดปลายทาง หรือหนักหน่วงรุนแรง” อะไรทำนองนี้ล่ะครับ แต่ที่แน่ๆ มันคงไม่ใช่ X ที่หมายถึงหนังคูณของอาจารย์ leim อย่างแน่นนอน 555+ ดูๆ ไปก็สวยงามดีครับ ^_^
หมุน…ดูความงามกัน 4 ทิศทางเลยครับ : )
พลิกหงายดูด้านหลังราบเรียบโล่งเตียน โทนสีของแผงวงจรออกสีน้ำตาลเข้มตามแบบฉบับของ Asus มันช่างแตกต่างจากด้านหน้าเสียจริงๆ แผงยืดซ๊อกเก็ตด้านหลังใช้ของ LOTES ครับ สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้…
โอ้โห !!! แผง I/O ช่องเสียบด้านหลังมีให้เพียบเลย ครบทุกช่องเสียบทันกับยุคสมัยปัจจุบันอย่างแท้จริง ขาดเพียง ช่อง VGA กับ DVI ที่ไม่มีมาให้อยู่แล้วสำหรับเมนบอร์ดตัวใหญ่ๆ แบบนี้ เอิ้กๆๆ อิอิกำ…แล้วจะเอาไปทำอะไร ควักสตางค์จ่ายค่าเมนบอร์ดตัวแรงๆ ราคาแพงๆ ไปแล้ว VGA แยกฯ ประเภท GTX5xx หรือ HD6xxx คงไม่ใช่อุปสรรคที่จะจัดมาอีกซักตัว ใช่ม๊า….. ? : )
—– Test Setup —–
ชุดทดสอบกับ Asus SABERTOOTH P67 วันนี้ก็ยังคงต้องใช้ Intel Core i5 2500K เป็นตัวขับเคลื่อนเช่นเดิม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าตอนนี้ผมมี CPU ตัวนี้อยู่ตัวเดียว เอิ้กๆๆ ระบบระบายความร้อนก็ยังคงใช้ Megahalems Cooling ในห้องปรับอากาศ 27 องศาC แค่นี้ก็แรงได้แล้วในการจัดเซตแบบง่ายๆ ส่วน Memory จัด Patriot Sector5 Memory หรือเมื่อแปลเป็นไทยแล้ว หมายถึงแรมผู้รักชาติ เข้ากับยุคสมัยนี้เสียจริงๆ เป็นแรม PC3-19200 หรือ บัสแรม 2400 นั่นเอง เดี๋ยวเรามาดูกันว่าเสียบลงไปแล้ว มันจะออกตัววิ่งไปได้สักแค่ไหน ส่วน VGA ก็เป็น Sparkle GTX580 มีแต่ของแรงๆ ทั้งน้านนนน…ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นของชาวบ้าน ยืมเค้ามาเทสเกือบทั้งหมด มีเป็นสมบัติตัวเองไม่กี่ชิ้นหรอกครับ เอิ้กๆๆ อิอิกำ จริงๆ ชมรายละเอียด เช็คสเปคเครื่องทดสอบ พร้อมดูภาพประกอบเรียกน้ำย่อยกันแล้ว เราไปเทสกันเลยดีกว่า ครับ…. : )
ระบบทดสอบ (System Test) | |
CPU | Intel Core i5 2500K |
CPU Cooling | Prolima Tech Megahalems [+Fan 2700 rpm] |
Motherboard | Asus SABERTOOTH P67 |
Memory | Patriot Sector5 PC3-19200 [2048x2] |
VGA | Sparkle GTX 580 |
Harddisk | 1.) Intel X25-M SSD [80GB] 2.) Samsung 103UJ [1TB] |
Power Supply | Tagan BZ800 (800w) |
Air Condition | LG 9500BTU @ 27c |
O/S | Windows 7 Ultimate SP1 [x86] |
BIOS Config
หน้าตา BIOS ของ Asus SABERTOOTH P67 ตัวนี้ ใช้ BIOS แบบ EFI Bios (EFI = Extensible Firmware Interface) พูดแบบภาษาที่ชาวบ้านแบบเราๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ รูปลักษณ์ภายใน BIOS เป็นแบบกราฟฟิค สามารถใช้เม้าส์คลิกเลือกรายละเอียดได้ก็เท่านั้นเอง เอิ้กๆๆ และรายละเอียดของค่าที่ผม Config ลงไปสำหรับการทดสอบ หากใครมีอุปกรณ์แวดล้อมของระบบเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ก็สามารถนำไปทดลองใช้ได้เลย ครับ : )
CPUZ Information
วันนี้ Core i5 2500K ผมเซตอัพให้วิ่งที่ 5.04GHz (105.1×48) ค่า BCLK เขี่ยให้ไปอยู่ที่ 105.1MHz ทั้งนี้เพื่อจะเอาบัสแรมให้วิ่งซัก 2240MHz ค่า CL9.10.9.27.1T vDimm 1.65v พอดีเป๊ะ…ที่อัตราทด 1:8 เห็นแบบนี้แล้วคงแรงน่าดูเลย : )
GPUZ Information
—– Stabilities Test —–
จัดไปเทสแรกกับ HyperPi32M All Cores เพื่อวัดความพร้อมของระบบว่าไม่มีเอ๋อเหรอ !!! อย่างแน่นอน ที่ 105×48 @5.04GHz กับบัสแรม 2240MHz ตลอดการทดสอบ
อันนี้ LinX All Problem Size รอดสันดอนผ่านมาได้แบบจี๊ดๆ มันร้อนเหลือเกิน จุด Peak สุดมี 90 องศาC ให้เห็น (นี่ขนาดแช่ห้องแอร์+อุปกรณ์อยู่นอกเคสแล้วน๊ะ) เห็นแล้วสงสาร My CPU จริงๆ ค่า GFlops จัดไป 72.xx ดูทุก loop แล้วเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีเป๋ไปเป๋มาให้เห็น แรงเหลือหลายจริงๆ
—– SuperPi 1M&32M Single Core —–
วิ่งเร็วดีครับสำหรับ Pi1M และ 32M แบบ Single Core ถ้าเป็น 5GHz สมัยก่อน ความเร็วที่ได้คงไม่ได้ขนาดนี้ แน่นอน เง้อ !
—– Winrar, Fritz Chess, CPUMark99 & PCMark05 —–
รวมมิตรเบนมาร์คฯ ดูคะแนนที่ได้จาก CPU เจนฯ ใหม่ของ Intel อย่าง Sandy Bridge แถมได้เมนบอร์ดฯ ดีๆ อย่าง Asus SABERTOOTH P67 คะแนนพุ่งน่าดู เห็นแล้วตื่นตาตื่นใจดีครับ
—– CINEBENCH Rx.x Series —–
จัดไป 3 เวอร์ชั่น กันเลยครับ สำหรับ CINEBENCH Rx.xx
—– AIDA64 Benchmark —–
AIDA64 เบนมาร์คฯ ตัวนี้มีหลายหัวข้อรูดดูกันยาวๆ เลยครับ
—– 3DMark xx Benchmark —–
3D2k xx เบนมาร์คฯ มาวัดพลัง GTX580 วิ่ง 930/2250 MHz แรงทุกเม็ด บนเบนมาร์ค 3D2k xx กันทุกตัวเลยครับ
—– Conclusion! —–
เข้าสู่หน้าสุดท้ายกันแล้วครับ แจ่มจริงๆ กับ Asus SABERTOOTH P67 ตัวนี้ ขนาดพลังขับเคลื่อนเซตอัพให้วิ่งเพียง 5.04GHz @105×48 ถึงแม้สปีดโดยภาพรวมวิ่งเพียงแค่ 5.04GHz เท่านั้น แต่แลกกับ BCLK ระดับ 105MHz ทั้งนี้เพื่อจะดันให้ Memory วิ่งที่ความเร็ว 2240MHz โดย CPU Intel Core i5 2500k ตัวที่ผมใช้นี้ เคยใช้งานกับเมนบอร์ดฯ รุ่นอื่นๆ มาหลายรุ่นเท่าที่เคยใช้งานมา ส่วนใหญ่ค่า BCLK ที่สามารถเล่นได้ทำได้เพียง 103MHz เท่านั้น แต่มาเจอกับ SABERTOOTH P67 สามารถดันค่า BCLK ได้ถึง 105MHz เลยทีเดียว และมันยังสามารถทดสอบเบนมาร์คฯ ตัวโหดๆ เช่น HyperPi32M All Core หรือ LinX All Problem Size ได้อย่างราบรื่น แถมตัว SABERTOOTH P67 นี้ ยังมีหน้าตาที่ดูแปลกแหวกแนว สวยงามไม่ซ้ำแบบเหมือนใครๆ และ Memory รุ่นต่างๆ ที่มีบัสแรม 2000 ขึ้นไป ผมลองเสียบลงไป 2-3 ชุดเท่าที่มีอยู่ มันสามารถรันที่อัตราทดแรม 1:8 ได้อย่างง่ายดาย สำหรับการรีวิว Asus SABERTOOTH P67 ตัวนี้ ผมถูกใจมันมาก เล่นง่าย ไม่งอแง หน้าตาสวย แต่มีข้อสังเกตุเพิ่มเติมอีกนิดนึงว่า เมื่อมันหน้าตาสวยงาม ฟีเจอร์ที่ติดมาให้ครบถ้วน และดูเหมือนว่าตัว Asus SABERTOOTH P67 จะวางอยู่ในตำแหน่งสินค้าเกรดพรีเมี่ยม สำหรับ Powers User ดังนั้นคาดว่าค่าตัวอาจสูงกว่า P67 ตัวอื่นๆ อยู่บ้าง ก็ฝากเป็นอีก 1 ตัวเลือก สำหรับเมนบอร์ดคิว 23 ที่รองรับ CPU โค้ดเนม Sandy Bridge จากค่าย Asus ครับ…
Special Thank : Asus (Thailand) เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ