ASUS X99-A LGA 2011-3 Motherboard Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้พบกับบทความรีวิวเมนบอร์ดรุ่นประหยัดแต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาที่คงต้องใช้คำว่า เพียงพอต่อการใช้งานและเหมาะสำหรับการโอเวอร์คล๊อกมากพอดูครั หลังจากที่ทาง Vmodtech นั้นได้รีวิวเมนบอร์ด LGA 2011-3 จากแบรนด์ต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASUS นั้นเราได้รีวิวไปแล้วถึงสองบอร์ด วันนี้จะเป็นอีกรุ่นครับที่มีชื่อว่า ASUS X99-A มากันสั้นๆห้วนๆแบบนี้เลยแต่อยากบอกว่ามันมีดีพอควรครับสำหรับบอร์ดนี้ ชมรายละเอียดกันก่อนจะไปเข้าสู่การรีวิวประสิทธิภาพครับ
.
Introduction to ASUS X99-A Motherboard
ถึงแม้ว่าเจ้า ASUS X99-A นั้นจะถูกวางตัวมาเป็นเมนบอร์ดราคาไม่สูงนักบนพื้นฐาน 2011-3 แต่ทว่าคุณสมบัติที่อัดแน่นอยู่บนบอร์ดนั้นไม่ได้ต่างจากบอร์ด Performance Flagship อย่าง Rampage V Extreme เลย
ASUS X99-A Appearance
กล่องบรรจุของ ASUS X99-A นั้นมากันแบบง่ายๆเลยครับ บางๆพอแค่ใส่มาไม่ให้มีการกระแทก
ด้านหลังกล่องนั้นก็ได้มีการแจงรายละเอียดของบอร์ดรวมถึงรายละเอียดในจุดต่างๆบนเลย์เอาท์ไว้ด้วยอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดชูโรงอย่าง ASUS O.C. Socket ที่ทางเอซุสบอกไว้ว่ามันได้ถูกเพิ่มพินเข้าไปช่วยให้คุณสามารถโอเวอร์คล๊อกไปได้มากกว่าซ๊อกเก็ตแบบมาตรฐาน
บริดจ์ SLI 2 way, สาย SATA สคู่มือ แผ่น DVD driver รวมถึง Back plate IO สำหรับติดตั้งบอร์ดในเคสครับ มาเท่าที่ต้องการใช้งาน
หน้าตาบอร์ดเต็มสวยงามดุดัน ติดหรูเล็กๆด้วยการเคลือบสีขาวเงาๆบริเวณฮีทซิ้งค์ต่างๆ
บริเวณ Socket PCI Express เจนสามมีมาให้ 6 ช่อง โดยจะเป็น x16 gen3 ทั้งหมด 4 ช่องและ X1 2 ช่อง โดยที่ช่อง M.2 นั้นจะถูกโยกไปอยู่บริเวณด้านล่างของ Sink PCH สำหรับความเร็วในการส่งผ่านอินเตอร์เฟส PCIe นั้นก็จะขึ้นอยู่กับ CPU ครับ โดยหากใส่ 5390K หรือ 5960X เข้าไปนั้น เมื่อใช้งานกราฟฟิกการ์ดสองตัวจะวิ่ง 16+16 สามใบจะวิ่ง 16+16+8 ส่วนถ้าเป็น 28 เลนอยาง 5820K ก็จะวิ่งที่ 16X, 16+8X, 16+8+4X โดยจะต่อได้ทั้งหมด 3-Way
บริเวณล่างสุดของบอร์ดนั้นน่าจะเป็นจุดที่สนใจเป็นพิเศษเนื่องจาก ASUS X99-A นั้นได้ทำการติดตั้งสวิทซ์ ON/OFF และ Reset มาให้รวมถึง Debug LED ซึ่งน่าจะช่วยให้คนที่เล่นนอกเคสสามารถเปิดปิดเครื่องได้อย่างสะดวกสบายครับ
ขวาล่างของบอร์ดนั้นจะเป็นบริเวณที่ติดตั้งบรรดาสวิทซ์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประหยัดพลังงานทั้งหมด และรวมไปถึงพินต่างๆสำหรับต่อไปยัง Front Panel ด้วย
นี่เป็นบริเวณที่ติดตั้งสล๊อด SATA มีมาให้ใช้งานกันเหลือเฟือเลยสำหรับ SATA 6GB และ SATA Express
บริเวณห้องเครื่องหลักของบอร์ดนั้นจะเป็นซ๊อกเก็ตสำหรับใส่ CPU ซ้ายขวาก็จะเป็นช่องเสียบแรม DDR4 ซึ่งสามารถเสียบได้ทั้งหมดแปดแถวและความจุรวมที่รับได้สูงสุดนั้นคือ 64 GB ตรงกลางนั้นมีการเดินฮีทไปท์เชื่อมระหว่างซิ้งค์กลางบอร์ดไปยัง PCH ครับ
ช่องเสียบไฟเข้า CPU แบบแปดพินหัวเดียวรวมถึงบริเวณของอุปกรณ์ในภาคจ่ายๆไฟ CPU ที่จัดกันมาเต็มที่
ด้านหลังของบอร์ดนั้นก็สวยงามครับ
Back Panel ครับ ช่อง USB 3.0 6 ช่อง และ USB 2.0 4 ช่องรวมกันระหว่าง X99 และ ASMedia gigabit lan 1 ช่อง ปุ่มเคลียร์ Bios ส่วนด้านขวามือจะเป็นส่วนของ ภาคเสียงทั้งหมด
.
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 5960X HASWELL-E LGA 2011-3 |
.Motherboard | ..ASUS X99-A |
.Memory | ..KINGSTON Predator 3000 MHz DDR4 4×4GB |
.Graphic Card | ..NVIDIA Geforce GTX 980 SLI |
.Harddisk | ..SSD 128GB |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling ………………………………….. |
.Power Supply | ..Thermaltake Toughpower 1500 Watt |
.Operating System. | ..Windows 8.1 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
สวยงามลงตัวทีเดียว
.
CPUZ Details
Bios ที่ใช้ในวันนี้เป็นเวอร์ชั่นที่ติดตัวมา และในขณะนี้ยังไม่มีตัวอัพเดท ความเร็วที่โอเวอร์คล๊อกได้สำหรับ ASUS X99-A ที่ต้องบอกว่าไม่ได้เค้นมากมายอะไร ด้วยความเร็ว 4.4 GHz
ในส่วนของบัสแรม วันนี้ขอวิ่งที่บัส 3000 เศษๆด้วยแรม Kingston ส่วน Timing ก็เป็นไปตาม SPD ของตัวแรมเอง อันคอร์ประมาณสี่กิ๊กนิดๆ
กราฟฟิกการ์ดวันนี้ได้นำมาร่วมทดสอบหนึ่งการทดสอบเพื่อชมพลังของบอร์ดพอสังเขปด้วย NVIDIA GeForce GTX 980 SLI
.
..
FHD X264 Benchmark
.
SuperPI
.
WinRAR Benchmark
.
.Cinebench R11.5 Benchmark
.
..Cinebench R15 Benchmark
.
AIDA Memory Benchmark
แรมแบนด์วิดท์นี่วิ่งตามบัสและคอนฟิกเลยครับ จ่ายมากคะแนนเยอะทำงานเร็ว
.
3DMark11 Benchmark
.
3DMark Fire Strike
Summary
น่าเสียดายครับเนื่องจากในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ ASUS X99-A นั้นในส่วนของ Bios นั้นยังไม่มีการอัพเดทบนหน้าเว็บของ ASUS แต่เท่าที่ได้ทำการทดสอบนั้นก็ถือว่าใช้ได้ทุกโหมดเลยครับ จุดนึงที่ต้องพิจารณาก็คือในเรื่องของไฟและการรองรับแรม ASUS นั้นได้ทำการปรับแต่งไฟในส่วนของการออโตไว้เป็นอย่างดีเช่นเคย ปรับค่าใน bios เพียงแค่ 3-4 restart ก็สามารถเข้ามาเล่นด้วยความเร็วระดับ 4.4 GHz ได้สบายมาก ซึ่งหากจำกันได้จะเห็นได้ว่า Haswell-E นั้นความเร็วไม่สูงมากและยังติดปัญหาเรื่อง Bios ที่ยังไม่มีการอัพเดทให้รองรับการทำงานบนหลายๆเมนบอร์ดที่ได้รีวิวไป
.
ในเรื่องของการปรับแต่งไฟแรมนั้น VCCSA ที่บัส 3000 นั้นอาจจะต้องเริ่มที่แถวๆ 1.3 ครับ อันนี้ต้องลองพิจารณากันดูอีกครั้งขึ้นอยู่กับแรม บอร์ด และ cpu ด้วย คีย์พ้อยท์อีกตัวก็คือ VCCIN ซึ่งตรงนี้อยากแนะนำให้ลองเล่นซัก 1.88 โวลท์ก็น่าจะเพียงพอและช่วยลดความเสี่ยงของการเสียหายของ CPU ด้วย สรุปแล้วความสามารถของบอร์ดนั้นเพียงพอต่อการใช้งานและรวมถึงมีประสิทธิภาพในการโอเวอร์คล๊อกที่ดีไม่แพ้บอร์ดรุ่นใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นแค่คนใช้งานตามบ้านธรรมดาๆไม่ต้องการโอเวอร์คล๊อกด้วย LN2 หรือไม่ต้องการโมดูล WiFi แล้วละก็ ASUS X99-A ตัวนี้น่าสนใจมากครับ แหม่ ผมอาจจะต้องเสียตังเป็นเจ้าของแล้วละครับงานนี้
.
.
.
..
CHANE
.
.
.
Special Thanks.
ASUS
Kingston
.