ASUS X99 DELUXE-II LGA 2011-3 Motherboard Full Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ หลังจากที่เมื่อวันที่ 31 พค ที่ผ่านมานั้น ทางเว็บไซด์ Vmodtech ของเราได้ทำการเปิดตัวและผลการทดสอบ CPU รุ่นใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel Core i7-6950X Broadwell-E บนพื้นฐาน Socket LGA 2011-3 ครับ และเมื่อมีการเปิดตัว CPU เจนเนอร์เรชั่นใหม่ออกมา บอร์ดรุ่นใหม่ซึ่งอาจจะเป็นไมเนอร์เชนจ์ก็จะออกตามมาด้วยครับ ในวันนี้เรานำเอามาเธอร์บอร์ดของแรงตัวกลางที่อัดแน่นไปด้วยประสิทธิภาพและประโยชน์การใช้สอยที่ชื่อ ASUS X99 DELUXE-II มารีวิวให้ได้ชมกันอย่างเต็มๆ มาชมกันเลยครับ
.
Package Appearance
กล่องบรรจุ ASUS X99 DELUXE-II นั้นจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ครับ ด้านหล้าและด้านหลังกล่องมีการนำเสนอรายละเอียดของบอร์ดเอาไว้ค่อนข้างเยอะ
ฝาข้างกล่องนั้นสามารถเปิดขึ้นมาได้ครับ โดยที่ฝานั้นจะมีรายละเอียดแต่ละจุดที่เด่นๆของบอร์ด ASUS X99 DELUXE-II นำเสนอไว้ด้วย
อุปกรณ์ที่มากับกล่องทั้งหมดก็มากมายตามสไตล์ DELUXE ครับ
บรรดาสายต่างๆ
อุปกรณ์ เสริมสำหรับต่อพ่วงที่หลักๆก็จะมี ThunderboltEX, อะแด๊ปเตอร์แปลง ASUS HYPER M.2 X4 mini แล้วก็ FAN Extension Card รวมถึงเสา WIFI แบบ 3T3R อีกหนึ่งชิ้น
ThunderboltEX นั้นติดตั้งโดยการเชื่อมต่อทาง PCIe X4 ช่องเชื่อมต่อก็จะมี USB 3.1 Type C หนึ่งช่อง Type A แบบมาตรฐานหนึ่งช่อง และขวาสุดเป็น Thunderbolt
FAN Extension Card นั้นเอาไว้ช่วยให้เราจัดระเบียบสายต่อไฟยังพัดลมหรือว่าจะเซนเซอร์ไปยังจุด ต่างๆได้ง่ายครับ ไม่ต้องต่อเชื่อมสายระโยงระยางพาดผ่านเมนบอร์ดแต่อย่างใด ASUS เค้าเตรียมไว้ให้แล้ว
Motherboard Appearance
หน้าตาบอร์ดแบบเต็มๆครับ จริงๆแล้วแทบไม่ต่างจากเดิมซักเท่าไหร่แต่ถ้าดูให้ดีแล้วมีการปรับปรุงในหลายๆจุด
สล๊อด เชื่อมต่อแบบ PCIe Gen 3 จำนวนห้าช่อง รองรับการเชื่อมต่อ SLI หรือ CrossFire ได้สี่ใบครับ ในรุ่นใหม่นี้ ASUS ได้ทำการปรับปรุงคุณภาพของสล๊อดเชื่อมต่อที่เรียกว่า ASUS SafeSlot ที่มีความแข็งแรงทนต่อการบิดในขณะติดตั้งหรือเสียบใช้งาน
ด้านล่างนั้นจะเป็นบริเวณสวิทซ์เปิด/ปิด ปุ่มรีเซต ไฟดีบัก ส่วนด้านขวามือจะเป็นช่องเสียบไปยัง front panel ครับ
หนึ่งใน การปรับปรุงที่น่าจะมีประโยชน์ในการเล่นเกมส์ก็คือพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์ด้าน เสียง ไฮท์ไล์คือมีการติดตั้ง Premium Japanese-made audio capacitor ซึ่งจะช่วยให้เสียงที่จากเมนบอร์ดนี้มีความใสสะอาดครับ
ด้านข้างของบอร์ดจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บครับ เป็นพิเศษบนบอร์ด ASUS X99 DELUXE-II คือ มีการติดตั้งพอร์ทเชื่อมต่อแบลบ U.2 NVMe มาให้สองช่องเลยครับ นอกจากนั้นแล้ว SATA Express นั้นก็ยังมีให้เลือกใช้ และแน่นอนว่ามีพอร์ด SATA III มีให้เลือกใช้งานได้เหมือนเดิม ด้านขวาสุดในภาพจะเป็นช่องเสียบแบบ M.2 ซึ่งเมื่อติดตั้งที่สล๊อดนี้ต้องติดตั้งแบรคเก็ตประคองการ์ดด้วยนะครับ
บริเวณโซนที่ติดตั้งแรม ซี่ง ASUS X99 DELUXE-II นั้นรองรับแรมแบบควอดชาแนล 8 x DIMM, Max. 128GB, DDR4 3333(O.C.)/3300(O.C.)/3200(O.C.)/3000(O.C.)/2800(O.C.)/2666(O.C.)/2400(O.C.)/2133 MHz Non-ECC, Un-buffered Memory
ด้านบนของบอร์ดจะเป็นที่เสียบไฟเลี้ยง CPU แบบแปดพินหนึ่งหัวและสี่พินอีกหนึ่งหัวครับ
Back IO นั้นก็มีช่องเสียบให้ใช้งานเหลือเฟือ
จากซ้ายสุดในภาพเป็นปุ่ม Bios Flashback
ช่องเสียบ GIGABIT LAN สองช่องควบคุมโดย Intel® I218V, 1 x Gigabit LAN Controller(s) และ Intel® I211-AT, 1 x Gigabit LAN
ช่องเสียบ USB 3.0 จำนวนสี่ช่อง
ช่องเสียบ USB 2.0 จำนวนสี่ช่อง
ช่องเสียบ USB 3.1 type A สามช่อง Type C หนึ่งช่อง
Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac คบาด AC1300
และขวาสุดในรูปเป็นบริเวณช่องเชื่อมต่อด้านเสียง
ด้านหลัง ของบอร์ดก็โล่งๆครับ แต่จุดนึงที่เชื่อมโยงกับ ASUS Safeslot ก็คือ บริเวณสล๊อดแรมนั้นได้มีการบัดกรีเข้ากับเมณบอร์ดด้วยครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดการบิดของของช่องเสียบด้วย
.
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 6950X BROADWELL-E LGA 2011-3 |
.Motherboard | ..ASUS X99 DELUXE-II |
.Memory | ..DDR4 4×4GB |
.Graphic Card | ..NVIDIA Geforce GTX 1080 |
.Harddisk | ..Plextor M6S 512GB <Plextor Support> |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling ………………………………….. |
.Power Supply | ..Thermaltake Toughpower 1500 Watt |
.Operating System. | ..Windows 10 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
.
CPUZ Details
ความเร็วของ CPU ที่ใช้ทดสอบในวันนี้นั้นเกิดจากการปรับตัวคูณที่ 35 Bus Strap 125 BCLK 124.6 ได้ความเร็ว CPU ที่ 4.36 GHz แรมเซตให้มีความเร็วปานกลางที่บัส 2990 MHz โดยค่านี้สามารถผ่านการทดสอบทุกอย่างสมบูรณ์แบบครับ
.
รายละเอียดต่างๆของชุดทดสอบวันนี้ก็ผ่านไป มาชมผลการทดสอบกันเลยครับ
.
.
SuperPI Suites
.
.
FHD X264 Benchmark
.
WinRAR Benchmark
.
.Cinebench R11.5 Benchmark
.
.Cinebench R15 Benchmark
.
AIDA Memory Benchmark
.
CPUz Benchmark
.
3DMark Vantage
..
3DMark11 Benchmark
.
.3DMark Fire Strike Benchmark
ขับดันพลังกราฟฟิกการ์ดได้เหลือเฟือจริงๆครับ
.
ASUS AURA Lighting Control
ซ๊อฟแวรที่ออกแบบมาเพื่อปรับแต่งแสงสีบนบอร์ดครับ ตัวซ๊อฟแวร์นั้นสามารถเลือกปรับแต่งแสงและเอฟเฟกบนจุดต่างๆของบอร์ดได้อย่างอิสระหรือว่าจะให้มันทำงานสอดคล้องกันไปก็ได้เช่นกัน
จุดเด่นอีกจุดคือ บอร์ดนั้นออกแบบมาให้มีช่องเสียบสายไฟ RGB ภายนอก และสามารถควบคุมได้จาก AURA Lighting Control ได้ด้วยครับ
เราสามารถเลือกเอฟเฟกการแสดงผลของไฟได้หลากหลาย
.
…
Summary
หากมองถึงในแง่ของการโอเวอร์คล๊อกนั้น แม้ว่าผลงานด้าน MHz นั้นอาจจะดูว่าน้อยไปซักหน่อยเมื่อเทียบกับเจนก่อน แต่จากที่ผมได้ทดลองปรับใน Bios ดูแล้ว ผมว่ามันยังมีบางจุดที่น่าจะติดๆขัดๆอยู่ครับ ตรงนี้ไม่ว่ากันเพราะในอนาคตอันใกล้นี้ Bios ตัวที่สามารถดึงประสิทธิภาพด้าน Overclock นั้นคงจะออกมาอย่างแน่นอน และเมื่อมองถึงผลงานของแรมแบบ DDR4 ที่มีความเร็วเกือบๆ 3,000 MHz ง่ายดายบน Bios ตัวแรก ผมปรับ Timing แบบหลวมๆในการทดสอบนี้จะเห็นได้ว่า Memory Bandwidth นั้นมีความต่างอย่างเห็นได้ชัดครับว่าประสิทธิภาพนั้นสูงกว่า และอีกเช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้น่าจะได้เห็นการลากแบบสุดๆจาก Bios ที่ทีมงานของ ASUS ที่ขึ้นชื่อด้านนี้อยู่แล้วน่าจะออกมาให้เห็นอีกในไม่ช้า รวมถึง OC Socket ที่เป็นลิขสิทธิ์ของ ASUS นั้นก็สร้างความแตกต่างได้เหมือนเดิมจาก Uncore ที่สามารถลากขึ้นไปได้ 3.6 GHz
.
องค์ประกอบอีกอย่างในบทความนี้ที่จะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้นั่นก็คือ Motherboard ASUS X99 DELUXE-II ที่ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านแสงสีและคุณสมบัติต่างๆมากมาย ซึ่งจากผลงานและรูปลักษณ์แล้วผมคงต้องให้ผ่านแบบไม่มีข้องสงสัยครับ ความสวยงาม ความเรียบร้อย รวมถึง Feature ที่อัดแน่นอยู่ในบอร์ดอย่างมากมาย
.
สำหรับบทความเปิดตัวครั้งนี้นั้นก็คงพอจะเป็นคำตอบสำหรับความแรงของ CPU เจนเนอร์เรชั่นล่าสุดของอินเทลบนแพลทฟอร์มที่ใหญ่สุดของ Desktop ได้เป็นอย่างดี รวมถึงประสิทธิภาพของมาเธอร์บอร์ด ASUS X99 DELUXE-II ที่ยังคงรักษามาตรฐานที่สูงไว้ได้อย่างไม่มีข้อสงสัยครับ พบกันบทความต่อไป
.
..
CHANE
.
.
.
Special Thanks.
ASUS and INTEL
.