ASUS ZenWiFi AC (CT8) Triband Mesh WiFi System Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรากลับมาชมบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คจาก ASUS กันอีกรุ่นนึงครับ ในยุคที่ Wireless AC นั้นถือเป็นมาตรฐานทั่วๆไป การตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท๊บเบล็ท หรือโน๊ตบุ๊คนั้น ส่วนใหญ่ในรุ่นมาตรฐานจะรองรับการเชื่อมต่อแบบ Wireless AC ครับ การใช้งานในบ้านหรือจะเป็นที่พักอาศัยนั้น บางครั้งเราจะเจอปัญหาว่าบางจุด บางส่วนของบ้านนั้นไม่สามารถรับส่งสัญญาณได้เต็มที่นัก อาจจะดู youtube ไม่ลื่นไหลเป็นต้น การขยายสัญญาณเครือข่ายในบ้านนั้น ปัจจุบันทาง ASUS มีระบบ WiFi Mesh System ซึ่งการทำงานของมันนั้นจะง่ายมาก แค่เรามียูนิตหลักที่อาจจะเรียกว่า Wifi Router หรือ Mesh Router แล้วก็หาอีกยูนิตนึงที่สามารถทำงานในหน้าที่ตัวกระจายสัญญาณหรือ Node มาต่อเชื่อมเพื่อให้ขอบเขตการกระจายสัญญาณนั้นกว้างขึ้น โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรกับอุปกรณ์โทรศัพท์ของเราเลย เดินไปตรงไหนของบ้าน ใกล้ Router ตัวไหน มันก็จะจับสัญญาณตัวนั้น ตัวที่ใกล้ที่สุดให้เรา โดยบางชุดนั้นอาจจะมีการผนวกเอา Router สองยูนิตเข้าไว้ในเซตหรือจะเป็นอุปกรณ์เบ็ดเสร็จที่ออกมาเฉพาะอย่างเช่น ZenWiFi AC รุ่น CT8 แบบนี้ก็ได้ ตัว CT8 นี้จะมีเราเตอร์มาให้สองตัว ทำงานบน Tri band หรือสามย่านความถี่บนคลาส AC3000 หรือ 802.11ac โดยที่ย่านความถี่ 2.4 GHz นั้นจะสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุด 400 Mbps และ 5.0-1 GHz สูงสุดที่ 867 Mbps และที่ย่าน 5.0-2 จะได้สูงสุดที่ 1733 Mbps ครับ อุปกรณ์ภายในนั้นได้ติดตั้งโพรเซสเซอร์ที่มีสี่คอร์เอาไว้ มี Flash ขนาด 128 เมกกะไบท์ และมี Ram 256 เมกกะไบท์ โดยได้ถูกออกแบบมาให้สามารถปล่อยสัญญาณครอบคลุมพื้นที่บ้านขนาดใหญ่ถึงประมาณ 5400 ตารางฟุตเลยทีเดียวครับ
.
สำหรับ ASUS ZenWiFi นั้นจะมีวางจำหน่ายอยู่สองรุ่นนะครับคือ CT8 เซตนี้กับ XT8 ซึ่งจะเป็น AX Mesh Router ที่ทางเว็บไซด์เราได้เคยรีวิวไปแล้ว สามารถชมได้จากที่ลิ้งค์นี้ >>ASUS ZenWiFi (XT8) Tri Band Mesh WiFi 6 System Review<<
.
.
...
.
Appearance
กล่องบรรจุ ASUS ZenWiFi CT8 นั้นมีขนาดปานกลางด้วยโทนสีเทาครับ สบายๆที่เน้นให้ดูผ่อนคลาย ด้านกลังกล่องนั้นก็มีการอธิบายคุณสมบัติหลักเอาไว้ให้พิจารณาอย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติที่มีมาในตัว
คู่มือการติดตั้งและบรรดาสายต่างๆ ASUS ที่มากับเซตนี้
ตัว ZenWiFi CT8 นั้นจะมีลักษณะสี่เหลียมผืนผ้าทรงตั้งดังรูปที่เห็นครับ ภายในตัว CT8 มีเสาติดตั้งอยู่โดยออกแบบให้มีการวางองศาที่สามารถกระจายสัญญานได้ดี
ภาพจากด้านข้างครับมีการเซาะร่องระบายความร้อนเอาไว้ในทิศทางแนวดิ่งครับ ที่ด้านหน้าใต้โลโก้ ASUS จะเป็นไฟแสดงผล
ที่ด้านใต้ฐานของตัว ZenWiFi CT8 นั้นจะมีปุ่ม WPS และ ปุ่ม Reset ด้วย
ที่ด้านบนของตัว CT8 นั้นก็จะมีการขึ้นรูปไว้เพื่อช่วยระบายความร้อนที่แผ่ขึ้นมาจากด้านในตัวถังครับ
ด้านหลังนั้นจะเป็นพอร์ทเชื่อมต่อหลักของ ZenWiFi CT8 โดยจากซ้ายไปขวาจะมีช่องเสียบไฟเลี้ยง สวิทซ์เปิด/ปิด ช่องเสียบ USB 3.1 gen1 ถัดมาจะเป็นพอร์ท Gigabit LAN จำนวนสามพอร์ท และก็เป็นพอร์ท Wan เพื่อนำสัญญาณจาก ONU มาเสียบ ซึ่งพอร์ทนี้จะรองรับความเร็ว 1 Gbps ครับ
.
Testing
เริ่มต้นแนะนำให้ทำการรีเซตระบบก่อนครับ หลังจากนั้นก็เข้าไปที่ web browser แล้วพิมพ์ว่า router.asus.com
MENU
เราสามารถตั้งค่าของ ZenWiFi XT8 ได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว
หน้าตาก็จะเหมือนกับ router ของ asus รุ่นอื่นๆครับ ง่ายแต่สามารถควบคุมได้สมบูรณ์แบบ
การตั้งค่า AiMesh นั้นก็สามารถตั้งได้บนเว็บ บราวเซอร์แบบดั้งเดิมก็ได้นะครับ รายละเอียดต่างๆจะดูเข้าใจและมากมายกว่าทำบน application ที่มือถือ
โหมดการทำงานก็สามารถเลือกได้จากแท๊บ administration เช่นเคย ซึ่ง ZenWiFi XT8 นั้นสามารถทำงานได้สามโหมดก็คือ Wireless router/AiMesh Router, Access Point, Repeater, Media Bridge และ AiMesh Node ถ้ามีการใช้งานระบบ AiMesh แบบเต็มระบบ
.
.
Testing
ผมลองทดสอบความเร็วอินเตอร์เนตที่บริเวณ Router นะครับ ได้ความเร็วที่ 574/324 Mbps บนโทรศัพท์มือถือ iPhone XS max
เดินออกมาที่มุมห้องกินข้าวด้านนอก ซึ่งจะมีผนังปูนกั้นอยู่สองผนัง ระยะห่างประมาณ 10 เมตร เทสความเร็วได้ที่ 342/201 Mbps ซึ่งถ้ามองว่าความเร็วมันตกลงไปก็ใช่ครับแต่หากมองว่าด้วยกำแพงสองชั้นแบบนี้ความเร็วตกแค่นี้ผมถือว่าดีแล้วนะหากเทียบกับเราเตอร์ตัวอื่นๆที่เคยเทสมา แต่ก็อย่างว่าครับ เรามีระบบ AiMesh แล้ว ต้องแรงกว่านี้สิ
และหลังจากที่ผมได้เพิ่ม AiMesh node เข้าไป เทสความเร็วอินเตอร์เนตที่เดิม ความเร็วกลับมาใกล้เคียงกับตอนเทสกับ Router ตัวหลักเลย สำหรับการติดตั้ง Node เข้าไปในระบบนั้น ผมขอนำเอาวิธีการติดตั้งจากบทความ XT8 มาให้ชมกันนะครับ เพราะวิธีเหมือนกันเลย
.
Installation Guide
เสียบไฟเลี้ยงเข้าตัวที่ทำหน้าที่เป็น node เลย
ดาวโหลด app Asus Router จาก market ของมือถือของคุณ จะเจอหน้านี้นะครับ ให้กด Add Node ที่กลางจอ
กด Get Started เพื่อทำการค้นหา node
เมื่อเจอแล้วก็กดไปที่ตัว node เลย
ระบบก็จะทำการติดตั้ง node เข้ากับวง Mesh ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 วินาทีครับ หลังจากนั้นก็กด Done เรียบร้อย
เราจะเห็นตัว Node เพิ่มขึ้นมาในระบบอีกตัวนึงแล้วครับ
.
.
.
Conclusion
สำหรับมุมมองของผมต่อ ASUS ZenWiFi CT8 นั้นก็ถือเป็น Mesh WiFi ที่ดีมากครับ ด้วยหน้าตาที่ดูสวยงามมาด้วยโทนสีที่สามารถเข้ากันได้กับบ้านแทบทุกสไตล์ การติดตั้งนั้นง่ายมากถ้าหากเทียบกับ Mesh System ของ ASUS เองที่ผมได้เคยรีวิวมา การเชื่อมต่อนั้นราบรื่นง่ายดาย ใช้เวลาน้อยสมกับที่เกิดมาเป็นเซตเดียวกัน เมื่อทำการติดตั้งและวาง Node ไว้ในบริเวณอีกมุมนึงของบ้าน ความเร็วที่ได้จากการทดสอบความเร็วอินเตอร์เนตนั้นถือว่าดีมาก ไม่ต่างจากที่เทสขณะที่เชื่อมต่อตรงๆกับ Router ตัวหลักเลย ซึ่งแน่นอนว่าหากบ้านของคุณนั้นมีขนาดเกิน 70 ตารางวาขึ้นไปนี่ผมว่าสบายเลย สองชั้นก็ไม่น่ามีปัญหาครับกับสัญญาณที่เห็นนี้
.
ราคาที่ผมเห็นบน Lazada นั้นมีที่ประมาณ 11000-12000 บาทครับ โดยทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางที่น่าพิจารณาคือใช้ ASUS RT-AX3000 สองตัวสำหรับทำเป็น AiMesh System ครับ ราคาจะอยู่ที่แถวๆ 12000-13000 ซึ่งแพงกว่านิดหน่อยแต่จะได้ Wireless AX หน้าตาที่เป็นเราเตอร์นั่นละครับ ลองพิจารณาดูกับความสามารถของ CT8 ซึ่งดีพอสมควรครับหากใครกำลังมองหาชุด Wifi สำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติด้าน AiMesh ที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น
.
.
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS