ASUS ZenWiFi BT10 BE18000 Tri-band WiFi 7 Mesh System Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมบทความอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คจากแบรนด์ ASUS กันอีกเช่นเคยครับครับ และวันนี้จะเป็นการรีวิว Mesh เราเตอร์มาตรฐานใหม่ล่าสุดคือ WiFi 7 (802.11be) ASUS ZenWiFi BT10 เราเตอร์รุ่นนี้จะเป็นเราเตอร์ระดับสูงของ ASUS การเชื่อมต่อนั้นสามารถปล่อยสัญญาณได้แบบ Tri Band หรือสามแบนด์ครับ โดยตัวเราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE18000: 688 Mbps ที่ 2.4 GHz, 5,764 Mbps ที่ 5.0 GHz และ 11,529 Mbps ที่ย่าน 6 GHz ครับ สามารถครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,000 ตารางฟุต
.
ตัวฮาร์ทแวร์นั้นตัวโพรเซสเซอร์จะเป็นแบบสี่คอร์ มีความเร็วที่ 2.0 GHz, เมมโมรี่ขนาด 2 กิ๊กกะไบท์ และมีแฟลช 256 เมกกะไบท์ ฮาร์ทแวร์มาโหดมากเลยครับ ตัวเราเตอร์นี้รองรับการส่งผ่านแบบ high data rate ด้วย 4096-QAM และมีแบนด์วิดท์ให้เลือกได้ที่ 20/40/80/160/320 MHz สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น จุดเด่นที่สุดคือพอร์ท 10 Gbps สองพอร์ท ซึ่งพอร์ทแรกจะเป็น WAN/LAN และ 10G LAN ที่เหลือจะเป็นกิ๊กกะบิท
.
.
.
.
Package Appearance
กล่องบรรจุ ASUS ZenWiFi BT10 นั้นมีขนาดกลาง รายละเอียดด้านหลังกล่องอธิบายคุณสมบัติต่างๆ
ภายในกล่องก็จะมีอแด๊ปเตอร์จ่ายไฟและสายแลนอีกหนึ่งเส้นพร้อมกับคู่มือแผ่นพับอีกหนึ่งชุด
ตัว ASUS ZenWiFi BT10 นั้นจะมีลักษณะดีไซน์แบนๆวางตัวถังในแนวตั้ง การขึ้นรูปตัวถังสวยงามและมีขนาดเล็ก 159 x 72 x 186 มิลลิเมตร
ด้านข้างมีเทกเจอร์สวยงาม มีการระบายความร้อนเป็นอย่างดี
ด้านข้างมีเทกเจอร์สวยงาม มีการระบายความร้อนเป็นอย่างดี
สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อ WAN นั้นจะมีให้เลือกทั้งพอร์ท 10 Gbps และ 1 Gbps ที่เป็นสีฟ้านะครับ เราเลือกได้ ส่วนพอร์ทแลน ก็จะมีแบบ 10 G ให้หนึ่งพอร์ท การใช้งานก็คือ หากอินเตอร์เนตของเรา แพกเกจต่ำกว่า 1 Gbps ก็ให้เลือกเสียบช่อง WAN/Lan1 ที่เป็นกิ๊กกะบิท แล้วใช้สองพอร์ทที่เป็น 10G เอาไว้ใช้สื่อสารภายในวงแลนเผื่อเราต้องการผ่านดาต้าที่มีความเร็วสูงกว่าหนึ่งกิ๊กกะบิทได้ครับ
....
.
Setup
สำหรับการติดตั้งนั้น สามารถชมตัวอย่างได้ในบทความนี้นะครับ >> ASUS ZenWiFi BQ16 BE25000 Quad Band WiFi 7 Mesh Router Review <<
นี่คือหน้าแรกของ app ASUS Router app ครับ ในกรณีนี้จะเห็นมี client ต่ออยู่กับระบบอยู่สองอุปกรณ์นะครับ
ผมได้ทำการทดลองเทสความเร็วอินเตอร์เนตบนมือถือ iphone 14 Pro max ได้ความเร็วประมาณนี้
หลังจากนั้น ผมได้เดินไปที่หลังบ้านซึ่งมีผนังกั้นอยู่สามชั้นหนาๆเลย ทดลองเช็คความเร็วอินเตอร์เนตเห็นได้ครับว่าความเร็วทั้งในการดาวโหลด และอัพโหลดลดลงอย่างมาก
ผมเลยนำเอา node อีกตัวไปวางไว้ในห้องนั้นแล้วเปิดให้ระบบเชื่อมต่อ สัญญาณที่ได้รับนั้นอยู่ในเกณฑ์ Great เลย ผ่านการเชื่อมต่อแบบ MLO หรือ Multi Link Operation
เมื่อตัวโทรศัพท์เชื่อมต่อกับ node ที่อยู่ใกล้ๆแทนที่จะไปจับกับตัวหลัก ผลเทสความเร็วแทบจะกลับมาที่เดิมเหมือนกับเทสใกล้ๆเลยครับ
.
..
.
Conclusion
จากการทดลองเล่น ASUS ZenWiFi BT10 ถือว่าเป็นเราเตอร์ที่มีลูกเล่นมากมายรวมถึงติดตั้งง่ายมากครับ น่าจะมาจาก Firmware ที่ได้ทำการปรับแต่งมาดีแล้ว เลยทำให้การเซตระบบง่ายด้วยๆวิธีที่ผมได้อธิบายไปแล้วในหน้าก่อนๆ การใช้งานก็ง่ายครับ เมื่อติดตั้งแล้วก็นำเอาเราตัว node ไปวางไว้ในพื้นที่ที่ห่างจากเราเตอร์ตัวหลัก ในบริเวณที่เป็นจุดอับที่ความเร็วตก แค่นี้เองครับ ระบบก็จะเลือกให้อุปกรณ์เราจับกับ node เองโดยอัตโนมัติเลยครับ เราไม่ต้องทำอะไร ความเร็วในการดาวโหลด/อัพโหลดก็จะกลับมาใกล้เคียงกับเมื่ออุปกรณ์มือถือเราจับกับเราเตอร์ตัวหลักเลย
.
ตอนนี้เราเตอร์ ASUS ZenWiFi BT10 ยังไม่มีวางขายในบ้านเราน่าจะต้องใช้เวลาอีกนิด ซึ่งน่าจะเป็นเราเตอร์ระดับมาตรฐานที่เป็นการอัพเกรดที่ดีที่สุดด้วยงบประมาณที่สมเหตุผลครับ
.
.
.
.
.
ขอบคุณที่ติดตาม
CHANE
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS