Behind the scene : Ultimate Project V
Share | Tweet |
สวัสดีครับแฟนๆ Ultimate Project ทั้งหลาย หลังจากที่ Ultimate Project 5 ได้คลอดออกไปเป็นที่เรียบร้อย เรียกเสียงกรี้ดกร้าดจากแฟนๆความบ้าคลั่งได้พอสมควร คราวนี้เราก็มาดูเบี้องหลังการถ่ายทำโปรเจ็คระดับโลกของพวกเรากันครับ
SetUP our system
เริ่มต้นจาก วันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา ผม และท่าน Venom-Crusher ก็ได้นัดกันไป ทรมาณน้อง Core2 Extreme 6800 กัน ด้วย “น้ำแข็งแห้ง” โดยได้โทรสั่งผ่านบริการ Dry ice Delivery ครับ สั่งมาทั้งหมด 10 กิโลกรัม สิบก้อนนั้นเอง
ก่อนอื่นก่อนใด เราก็มาประกอบ System ที่จะใช้ขับเคลื่อนความมันส์ในวันนี้กันครับ ซึ่งเดี้ยวผมจะนำภาพ และ ขั้นตอนการประกอบ ท่อสำหรับเล่น Dice มาให้ดูกันแบบจะจะเลยครับ เผื่อท่านใดอยากจะแรงมั่ง จะได้ทำตามกันได้ครับ
ก่อนอื่นก่อนใด มาดูรูปร่างหน้าตาของตัวเป็นๆ กับเจ้าท่อนรกนี้กันก่อนครับ เวลาไปสั่งกลึงทองแดง จะได้สั่งกันถูก ลักษณะก็เป็นแบบนี้แหละครับ ความสูง 30 เซนติเมตร โดยประมาณครับ
อันนี้บริเวณฐานที่สัมผัสกับซีพียูครับ โดยเอาแผ่นทองแดงหนาประมาณ1ซม. เชื่อมตะกั่วเข้ากับท่อ แล้วให้โรงกลึงกลึงให้ตามภาพค่ากลึงประมาณ100-150บาทเท่านั้น แล้วขัดให้เงา แต่หลายๆท่านก็คงจะเริ่มคิดกันแล้วว่า เอ อย่างนี้มันจะยึดกับเมนบอร์ดยังไงล่ะ
ก่อนอื่น เรามาทำฐานยึดกันครับ จะทำมาจากอะไรก็ได้ไม่ว่ากัน แต่เราใช้เขียงพลาสติกหนาประมาณ1ซม.มาตัดทำครับ เจาะรูตรงกลางไว้สำหรับร้อยท่อ DICE ให้ทะลุผ่านไปได้ แล้วบริเวณรอบๆรูวงกลม ก็ให้ทำการเจาะรูให้เข้ากับซอกเก็ตแบบต่างๆครับ งานนี้ เราก็ได้นำขาล็อกของ WB จาก TT มาทาบ ใส่ได้ตั้งแต่ 939 ,775 ยันซอกเก็ต A กันเลยทีเดียวครับ และถ้าจะเพิ่มรูสำหรับSocket AM2 ก็เอาขนาดตามนี้ไปเลยครับ 48X96 มม.ครับ รับรองเป๊ะ
หลังจากนั้นก็ตัดท่อ PVC ความกว้างขนาดที่พอที่จะสวมเข้าไปแบบนี้ได้ครับ สูงขึ้นมาจากบริเวณฐานที่สัมผัสซีพียูระดับนึงซักประมาณอย่าให้ยาวเกินน็อตร้อยบอร์ดที่เราเตรียมไว้ ตัวท่อจะไปยึดปลายท่อตรงบริเวณที่เราทำบ่ารับไว้พอดีครับ แล้วตัวท่อPVC.เองก็จะกลายเป็นตัวรองรับที่ยึดที่ทำจากเขียงพลาสติกที่ทำไว้ร้อยน็อตกับซอกเก็ตครับ ก็จะได้แบบในรูปเลย
สำหรับการติดตั้ง ก็ใช้เกลียวยาวยึดเข้ากับเมนบอร์ดดังรูปครับ แล้วก็ไขๆให้แน่น เท่านั้นแหละครับ แต่จริงๆแล้วในการใช้งานจริง เราจะไม่ใช้แบบนี้ครับ ก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงๆเราต้องมีการหุ้มเข้ากับท่อฟองน้ำเคลือบผิวมันแบบที่ใช้กับท่อแอร์ครับ(ผมก็เรียกไม่ถูกแฮะ)
พอจัดการหุ้มเรียบร้อยก็จะออกมาเป็นแบบนี้ครับ ตรงบริเวณฐาน ให้มีเป็นแผ่นๆ ไว้สำหรับปิดบริเวณซอกเก็ตออกมาด้วยครับ ซึ่งถ้ามองจากด้านใต้แล้ว ก็จะออกมาเป็นดั่งรูปต่อไปนี้ครับ
ให้ทำแบบนี้ครับ คว้านรูไว้นิดนึงไว้สำหรับหน้าสัมผัสซีพียูกับตัวทองแดงเป็นพอครับ ที่ทำให้มันปิดมิดชิดแบบนี้ก็เพราะว่า ป้องกันการควบแน่นของไอน้ำในอากาศกับอุปกรณ์บริเวณรอบๆซีพียูที่จะถูกเจ้าท่อนี่แช่แข็งเอาครับ ซึ่งหากใช้วิธีนี้ในการติดตั้งแล้ว จะสามารถทำให้ระบบของเรา สามารถรันได้กว่า 6 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ แต่มีข้อแม้ว่า ระหว่าง 6 ชั่วโมงนี้เราจะต้องมีน้ำแข็งแห้งเพียงพอต่อความต้องการ และต้องมีการซับเหงื่อบริเวณรอบๆท่อที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบริเวณรอบๆด้วยครับ
พอติดตั้งเสร็จแล้ว บริเวณฐานก็จะเป็นแบบนี้ครับ แนะนำให้นำเทปพันสายไฟพันไว้รอบๆด้วยเลย อากาศจะได้ไม่เข้าไปครับ แล้วบริเวณฐานเนี่ย เวลาใช้งานจริงๆ ให้นำพัดลม 120MM แบบว่ามีลมพอประมาณ ไม่ต้องรอบสูงมาก วางไว้บริเวณฐานครับ (วางตั้ง) โดยตั้งให้เป็นทิศทางที่พัดลมสามารถดูดอากาศออกจากบริเวณฐาน จะช่วยทำให้ไม่มีไอน้ำมาจับบริเวณฐานได้ครับ ส่วนด้านบนถ้าไอน้ำจับ ก็เอาผ้าซับเอาก็แล้วกัน อิอิ หรือลองต่อให้พัดลมสูงเท่าท่อแล้วดูดลมออกจากท่อก็ได้นะครับ ลองไปทำกันดู
SetUP Complete … Here we Go….
สังเกตเห็นอะไรบนถุงน้ำแข็งแห้งของเรามั้ยครับ (คงไม่เห็น) ดูรูปต่อไปกัน
มันออกจะขัดๆกับโปรเจ็คเราสักหน่อยมั้ยครับเนี่ย (ผมว่างานนี้ท่าทางบริษัทน้ำแข็งแห้ง จะเป็นปรปักษ์กับพวกเราซะแล้วครับ) ฮ่าๆๆ “ไม่…นำน้ำแข็งแห้งมาเป็นอุปกรณ์ในการเล่นสนุก”
ฮ่าๆ เบื้องหลังความแรง ต้องเล่นสนุกกันแบบนี้ครับ (เขาห้าม เราก็จะทำ) สักพักนึง ลุงวีน่อมเราก็บอกว่า นี่คุณๆ ผมให้คุณมาช่วยทำมาหากินนะ ไม่ใช่เอาน้ำแข็งแห้งผม ไปเล่นสนุกแบบนั้น
แต่ก่อนที่ผมจะไปช่วยแกทำมาหากินได้ ผมก็ต้องทำการใส่ถุงมือให้เรียบร้อยก่อนครับ เพราะว่าตัวน้ำแข็งแห้งเองนั้น มีอุณหภูมิติดลบกว่า 70 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว โดยน้ำแข็งแห้ง 1 กิโลกรัม(ขนาด 6×6 นิ้ว) จะห่อหุ้มด้วยกระดาษแบบในรูปนี้ครับ ถ้าใส่กระดาษแบบนี้ ถือได้ซักพักนึง จะเริ่มรู้สึกว่า มันเหนอะๆติดมือ เพราะว่ามันเย็นมากครับ ทำให้เซลล์ผิวหนังบางส่วนบนมือตายไปนิดนึง ส่วนถ้าใครจะลองจับด้วยมือเปล่าๆ อย่าได้ริลองครับ จับได้แปปเดียว มีสิทธิลวกมือได้ แสบเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่รุนแรงเหมือน LN2 อิอิ (ขานั้น โดนแล้วมือด้วนเลย) อาการนี้ ฝรั่งเขาเรียกว่า “Cold Burning” ครับ
แต่ก่อนที่จะแรงกันได้ การที่ใส่แต่น้ำแข็งแห้งลงไปในท่ออย่างเดียวนั้น ไม่สามารถที่จะแช่แข็งซีพียูของเราได้ครับ เราต้องนำสารเคมีที่มีชื่อเรียกว่า ACETONE(อะซิโตน) สูตรเคมีก็ตามรูปเลยครับ ซึ่งมันเป็นของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำ และจุดเยือกแข็งก็ต่ำมาก มาเป็นตัวนำความร้อนไปสู่ท่อทองแดง โดยเราได้ทำการเติม ACETONE ลงไปในท่อทองแดง โดยตวงไว้ประมาณ ครึ่งถ้วยกาแฟครับ ใส่ลงไปในท่อทองแดง หลังจากนั้นจึงใส่น้ำแข็งแห้งตามลงไป ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสเพื่อการนำพาความร้อนที่ดีระหว่างท่อทองแดงกับตัวน้ำแข็งแห้งครับ แต่ถ้าใครจะพลิกแพลงเอาสารอย่างอื่นที่มีคุณสมบัติเดียวกันนี้มาใช้ก็ได้เช่นกันครับ
เคล็ดลับอยู่ที่ น้ำแข็งแห้ง ต้องเต็มตลอดเวลาครับ อิอิ ตลอดระยะเวลากว่า 6ชั่วโมงในการทดสอบ ผมต้องวิ่งเติมน้ำแข็งแห้งตลอดเลยครับ
งานนี้ Power By คาราบาวแดง ครับ
และหลังจากการแช่แข็งน้อง Core2 X6800 ก็มีควันหลงมาอีกนิดๆหน่อยๆครับ เรื่องมันก็มีอยู่ว่า น้ำแข็งแห้งที่อัดวันนี้ มันดันเหลือซะนี่ หึหึ แล้วไงอ่ะ ทิ้งไว้มันก็เปล่าประโยชน์ครับ ผมก็เลยเอากลับบ้านมา ลองเล่นกะไอ้นู๋ของผมมั่ง(อย่าคิดลึกนะ) และมันคือ Athlon 64 3000+ Venice เจ้าเก่าของผมเองครับ
ครั้นจะว่าไปก็ไม่มีอะไรมาก เพราะน้ำแข็งแห้งจากที่อัดโปรเจ็คสุดโหดที่ผ่านมา เราเหลือเพียงแค่ 3กิโลนิดๆเองครับ ซึ่งผมก็ขนกลับบ้านโดยใส่ท้ายรถไว้กับลังโฟมที่ใส่ผักสดไว้ด้วย ก็ยังพอใช้ได้ครับ พอกลับบ้านมาถึง ก็รีบลุกลี้ลุกลน Setup ระบบเร่งด่วนครับ แต่ก็ต้องปัดฝุ่นกันบานเลย
ต่อจากนี้ไป ก็ไว้ดูกันขำขำก็แล้วกันครับ ผมไม่ได้เทสอะไรจริงจัง ไว้สักเท่าไหร่ น้ำแข็งก็เหลือน้อยมากแล้ว
System Info :
CPU | AMD Athlon 64 3000+ <Venice> |
RAM | ROX Hynix DT-D43,BT-D43 512*2mb |
Mobo | DFI Lanparty UT nF4-D @ SLI |
VGA | Leadtek Geforce 6200TD |
PSU | Delta 450watt ATX2.0 |
เล่นกับแบบนี้แหละครับ อัดมันหน้าระเบียงเลย งานนี้อาจจะผิดสูตรไปหน่อย เพราะน้ำแข็งแห้งเราน้อย มีแค่ 3โลกว่าๆเอง เลยไม่ได้กรอกให้เต็มท่ออยู่ตลอดเวลาครับ
จากสำนักงานเขต มาบ้าน อุปกรณ์ก็จะแตกต่างกันไปครับ งานนี้ผมเลือกใช้ ถุงมือสำหรับจับถือกระทะ หรือหม้อ ร้อนๆมาเป็นเครื่องป้องกันการลวกของน้ำแข็งแห้ง และค้อน สำหรับทุบปูน มาทุบน้ำแข็งแห้งครับ
Startup ด้วยอุณหภูมิ -41c ครับ
เซิฟๆกันรอบแรกครับกับการอัดหน้าระเบียง ในตอนนี้ผมใช้ Hynix DT-D43 ซึ่งอัดให้ตายยังไง มันก็ไปไม่เกินบัส 270 ครับ มันจึงยังไม่ถึงที่สุด
และหลังจากนั้นก็เกิดเหตการไม่คาดฝันครับ ผมกำลังเดินไปหยิบ BT-D43 ของผมอีกคู่นึงมา ฝนก็ เทลงมา ซะอย่างนั้น ทีนี้ทำไงล่ะครับ เก็บกันแทบไม่ทัน ดีนะที่มันไม่เป็นอะไรอิอิ
พอถอดท่อออกมาก็มีสภาพแบบนี้แหละครับ หลังฝนตก จริงๆแล้วก่อนหน้านี้ เครือ่งผมดับไปสองครั้ง เพราะว่า ผมซีลกันตรงบริเวณสลอตแรมไม่ดีพอ จึงทำให้น้ำรั่วซึมออกมาโดนแรม ทำให้มันช็อตแล้วดับไป สำหรับวันนี้ ผมก็สิ้นหวังเต็มทน เก็บของเรียบร้อย แล้วก็เข้านอนทันทีครับ และเก็บน้ำแข็งแห้งไว้มาอัดในอีกวันนึงถัดมา ช่วงเวลาบ่ายๆ
งานนี้ก็ซัดดิบครับ ไม่มีกรวย(หาไม่เจอ) น้ำแข็งก็ไม่เต็มท่อครับ เพราะว่าเหลือน้อยเต็มทน ผมแช่ไว้ในช่อง Freze ของตู้เย็นที่บ้านครับ แต่งานนี้ไม่มีดับแน่นอน เพราะผมซีลรอบๆซีพียูดีกว่าเมื่อวันก่อนที่อัดหน้าระเบียงไปครับ
และนี่ก็คือค่าสูงสุดที่ผมอัดได้ ไว้ดูขำขำ ครับ กับแรม BT-D43 ไฟ 3.4 CL 3-4-4-8
ส่วนอันนี้ขำยิ่งกว่าครับ ไว้ดูเล่นๆ คลายเครียด แบบว่าเทสอะไรไม่ได้ พอเก็บไฟล์ เสร็จ กำลังจะเปิด SuperPI ก็ค้างไปซะงั้น
แต่หลังจากอัดเสร็จแล้วสิครับ เริ่มมีปัญหานิดหน่อย อิอิ
คราวนี้พอดึงท่อออกมา มันก็หลุดออกมา จึ้กกก หุหุ แล้วพอสิบวินาทีผ่านไป สภาพก็เป็นแบบนี้ครับ และเนื่องจากผมปลด seal บนบอร์ดก่อนดึงออก สักพักน้ำก็เจิ่งนองบนเมนบอร์ดครับ เพราะโดนไออุ่น และไอน้ำในอากาศอย่างเฉียบพลัน
ดูกันจะจะ กับวัตถุลึกลับ “ซีพียูแช่แข็ง”
แล้วก็เล่นสนุกเล็กๆน้อยๆกับน้ำแข็งแห้งที่เหลืออยู่ครับ “สวรรค์ในห้องน้ำ” อิอิ
สำหรับวันนี้ผมก็ขอลาไปเพียงเท่านี้ก็แล้วกันนะครับ ไว้พบกันใหม่ในบทความมันส์ๆครั้งหน้านะคร้าบ สวัสดีครับ
ขอขอบคุณ :
เวบไซต์ OVERCLOCKZONE.COM
เวบไซต์ PC-CM.COM
ร่วมวิจารณ์ บทความนี้ คลิ้กที่นี่