BIOSTAR TP35D2-A7 P35 CHIPSET
Share | Tweet |
สวัสดีคับ.. วันนี้ถ้าจะพูดกันถึงเรื่อง Chipset ตัวใหม่ๆ คงหนีไม่พ้น Chipset ตัวใหม่ล่าสุดที่ Intel เพิ่งเปิดตัวออกมาสู่ท้องตลาดกัน คือ Intel P35 หรือที่ใช้ชื่อ Codename ว่า Bearlake ซึ่งเจ้า Bearlake นั้นจะมาแทน Chipset ตัวเก่าอย่าง Intel P965 ส่วนคุณสมบัติที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดก้อคือ เจ้า Bearlake นั้นจะเป็น Chipset ตัวแรกที่ทำออกมาเพื่อ Support Processor ตัวใหม่ของ Intel โดยใช้ FSB1333 และ ขบวนการผลิด .45nm ที่กำลังออกมาในอนาคตอีกด้วย พร้อมด้วย Support Memory แบบ DDR 2 และ DDR 3 ณ. เวลานี้ ทุกท่านคงได้เห็นผ่านๆ สายตากันมาแล้วบ้างกับประสิทธิภาพระหว่าง Chipset P35 กับ P965 นั้นแตกต่างกันอย่างไร แต่ถ้าจะเจาะจงให้ลึกลงไปกว่านี้เกี่ยวกับ Chipset ใหม่อย่าง Bearlake นั้น ทางเจ้าพ่อ Chipset อย่าง Intel ได้แบ่งเจ้า Bearlake นั้นออกเป็น 4 ตัวคือ G33 ,G35 ,P35 และ X38 ทั้งหมดของ Bearlake Serie นั้นจะใช้ขบวนการผลิดแบบ .90nm
G33 และ G35 นั้นเป็น Chipset ที่มีการ Intergrated Graphic Controller ไว้ในตัวคือ X3100 และ X3500 ตามลำดับ ทั้งสองจะ Support กับ Direct X10 ซึ่งจะออกมาเป็นมาตราฐานใหม่ของตระกูล DirectX ในอนาคต และยังจะมาพร้อม Fuction อย่าง HD video playback และ Clear Video Technology
สำหรับเจ้า P35 นั้น Intel ได้วางไว้เป็นระดับ Mainstream ส่วนเจ้า X38 นั้น ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เปิดตัวออกมาสู่ท้องตลาดนั้น Intel ได้วางไว้เป็นระดับสูง ซึ่งจะมี Feature เด็ดอยู่ที่จะใช้ PCI-EXPRESS 2.0 นั้นเอง แต่ยังใช้ Connector แบบเดิมและสามารถใช้งานในส่วนของ DisplayCard ที่เป็น PCI-EXPRESS 1.0 ได้ ข้อดีของ PCI-EXPRESS 2.0 ก้อคงจะเป็นการเพิ่ม Banwidth ในการส่งถ่ายนั้นเอง
มาเข้าเรื่องกันสักที.. ถ้าพูดถึง Mainboard ยี่ห้อ Biostar ในบ้านเรานั้น หลายๆคน คงจะจำกันได้กับ Mainboard Biostar รุ่น Tforce 965PT ซึ่งเคยออกมาเป็นขวัญใจสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด แต่แลกมาด้วยประสิทธิภาพที่คุ้มราคากันสุดๆ และแล้ววันนี้ทาง Biostar ก้อได้ออก Mainboard ที่ใช้ Chipset ของ Intel ตัวใหม่ล่าสุดอย่าง P35 ให้เราได้ใช้งานกันแล้ว ส่วนประสิทธิภาพจะสู้รุ่นก่อนได้หรือป่าวนั้น โปรดติดตามชมกันได้เลยครับ
BIOSTAR TP35D2-A7
Package
BIOSTAR TP35D2-A7 นั้นจัดอยู่ในประเภทของ T-Serie Package กล่องมาในรูปแบบสีขาว ส่วนด้านหน้าก้อจะมีการบอกสรรพคุณอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การรับรอง Windows Vista ,การใช้งานเต็มรูปแบบของ CPU แบบ FSB1333 ,และรองรับ CPU Core 2 Quad อย่างเต็มรูปแบบ
Board Layout
สำหรับ Mainboard ตัวนี้ เป็นรุ่นที่ใช้ Northbridge ตัวใหม่ล่าสุดจาก Intel คือ P35 นั้นเอง พร้อมกับ Southbridge ตัวใหม่อย่าง ICH9 เช่นเดียวกัน และใช้ Memory แบบ DDR2 ซึ่งทาง Biostar จะใช้ PCB สีน้ำเงิน เหมือนเช่นเดิม โดยมี Slot Connector ที่มีสีเขียว และเหลือง ตัดกับสี PCB แต่ไม่แน่ใจนะครับว่า Slot ต่างๆ จะเป็น UV Sensitive รึป่าว และทางด้านของ Layout ในการจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆก็จะยังคงอยู่ในมาตรฐาน ATX ทั่วไป และยังคงใช้งานได้ร่วมกับ ซีพียูของ Intel ในแบบของ Socket 775 รุ่นก่อนๆ ได้ทุกโมเดล พร้อมยังรองรับซีพียูรุ่นใหม่ ที่กำลังจะออกมาในอนาคตอีกด้วย
BIOSTAR TP35D2-A7 รุ่นนี้จะมี Slot Memory อยู่ 4 ช่อง เหมือนกับ Mainboard ระดับ Mainstream ทั่วไป แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ใช้ตัวเก็บประจุ แบบ Solid และเรื่องที่น่าเสียดายอีกเรื่องนั้น ทาง Biostar ได้นำเอา ATX Power Connector ย้ายไปอยู่ทาง I/O Panel หลังเคสนั้นเอง ซึ่งส่วนนี้อาจจะเป็นการลำบากสำหรับการเก็บสายไฟภายในเคสให้ดูเรียบร้อย และบางทีสาย ATX Power อาจจะเป็นตัวขวางทางลมสำหรับการระบายความร้อนออกสู่ภายนอกเคสถ้าจัดทางลมไม่ดีก้อเป็นได้ครับ ส่วนสำหรับ Fan Connector ก้อจะมีทั้งหมด 3 ช่องครับ
สำหรับภาคจ่ายไฟหรือ PWM สำหรับซีพียูนั้น ทาง Biostar ก็ยังไม่ได้ใช้ Solid Capa ทั้งหมด และมีภาคจ่ายไฟทั้งสิ้น 3 เฟส และในส่วนของ L หรือตัวเหนี่ยวนำที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณรบกวนนั้นทาง Biostar ก็ได้เลือกใช้ L ในแบบ Ferrite เหมือนกับบอร์ดทุกตัวในปัจจุบัน แต่ทาง Biostar นั้นไม่มีชุดระบายความร้อนในส่วนของภาคจ่ายไฟจุดนี้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเช่นกันสำหรับจุดนี้เพราะเมื่อใช้แรงดันไฟสำหรับซีพียูมากๆ แล้ว ส่วนนี้ก้อร้อนเอาเรื่องอยู่เหมือนกันครับ แต่ก็ยังดีที่ทาง Biostar มีช่องสำหรับให้ยึดใส่ชุดระบายความร้อนมาให้ด้วย
Slot Memory นั้น ยังคงใช้แบบ DDR 2 จำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะใช้สีสะท้อนแสงแบ่งแยกแต่ละ Channel สำหรับความเร็วของ Memory นั้น ก้อจะรองรับได้ตั้งแต่ DDR2-533/667/800/1066 และความจุที่รองรับรวมกันถึง 8GB ส่วนการใช้งาน Memory ถ้าใช้กับซีพียูตัวใหม่อย่าง Serie 6×50 ที่มี FSB1333 นั้น จำเป็นต้องใช้ Memory แบบ DDR2-667 ขึ้นไปนะครับถึงจะใช้งานได้ ถ้าใช้แบบ DDR2-533 นั้น รับรองเปิดไม่ติดครับ
ส่วน Southbridge ซึ่งจะมาในรหัสใหม่นี้คือ ICH9 และ ICH9R แต่สำหรับ Mainboard ตัวนี้ได้เลือกใช้เป็น ICH9 ธรรมดาซึ่งไม่ใช่ ICH9R ตามหลัง ดังนั้นการใช้งานในส่วน Fuction HDD แบบ RAID ก็ไม่สามารถใช้งานได้ในส่วนตรงนี้ TP35D2-A7 รุ่นนี้จะมีพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ HDD ในแบบ SATA-II 3.0Gbps มาให้ทั้งสิ้น 4 Ports ด้วยกัน นอกจากพอร์ท SATA-II แล้วนั้นก็ยังคงจะมีพอร์ท ATA-133 มาให้อีกหนึ่งพอร์ทเช่นเดียวกัน โดยใช้ JMicron ATA Controller เหมือนกับ Mainboard Socket 775 ทั่วไป
ในส่วนของ I/O Panel หลังเคสนั้น ก็จะยังคงไม่มีอะไรใหม่แต่อย่างไร แต่ยังเป็นมาตรฐานตามที่เคยพบเห็นกันมา ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย PS/2 ,Connector ,RJ45 ,6x USB 2.0 ,Serials Port และสุดท้ายกับ Audio jacks แต่น่าเสียดายที่ไม่มี Connector แบบ Optical S/PDIF และ Coaxial S/PDIF Out
ชิบควบคุมระบบเสียงที่ทาง Biostar ให้มานั้นจะเป็นชิบจาก Realtek ในรหัส ALC888 ซึ่งจะควบคุมระบบเสียงในแบบ 8 Channel และส่วนของ Eternet แบบ Gigabit นั้นก็จะใช้ชิบ RTL8110SC จาก Realtek เช่นกัน
ในส่วนนี้อาจจะเป็นส่วนที่ถูกใจกับท่านที่ชอบการ overclock หรือท่านที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบไร้เคสก้อเป็นได้ครับ คือจะมี Switch สำหรับเป็น Power Switch และ Reset Switch เพื่อสะดวกแก่การใช้งาน สำหรับการเปิดหรือปิด โดยไม่ต้องพกไขควงอยู่ใกล้ๆตัวอีกแต่ไปแล้ว อิอิ
Specification
CPU SUPPORT | |
FSB | |
MEMORY | |
EXPANSION SLOT | |
STORAGE | |
USB | |
ETERNET | |
AUDIO | |
REAR I/O | |
INTERNAL I/O | |
DIMENSION | |
OS SUPPORT | |
ACCESSORIES |