BIOSTAR TP35D2-A7 P35 CHIPSET

/ บทความโดย: admin , 20/08/2007 02:26, 2,650 views / view in EnglishEN
«»
Share

 

สวัสดีคับ.. วันนี้ถ้าจะพูดกันถึงเรื่อง Chipset ตัวใหม่ๆ คงหนีไม่พ้น Chipset ตัวใหม่ล่าสุดที่ Intel เพิ่งเปิดตัวออกมาสู่ท้องตลาดกัน คือ Intel P35 หรือที่ใช้ชื่อ Codename ว่า Bearlake ซึ่งเจ้า Bearlake นั้นจะมาแทน Chipset ตัวเก่าอย่าง Intel P965 ส่วนคุณสมบัติที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดก้อคือ เจ้า Bearlake นั้นจะเป็น Chipset ตัวแรกที่ทำออกมาเพื่อ Support Processor ตัวใหม่ของ Intel โดยใช้ FSB1333 และ ขบวนการผลิด .45nm ที่กำลังออกมาในอนาคตอีกด้วย พร้อมด้วย Support Memory แบบ DDR 2 และ DDR 3  ณ. เวลานี้ ทุกท่านคงได้เห็นผ่านๆ สายตากันมาแล้วบ้างกับประสิทธิภาพระหว่าง Chipset P35 กับ P965 นั้นแตกต่างกันอย่างไร แต่ถ้าจะเจาะจงให้ลึกลงไปกว่านี้เกี่ยวกับ Chipset ใหม่อย่าง Bearlake นั้น ทางเจ้าพ่อ Chipset อย่าง Intel ได้แบ่งเจ้า Bearlake นั้นออกเป็น 4 ตัวคือ G33 ,G35 ,P35 และ X38 ทั้งหมดของ Bearlake Serie นั้นจะใช้ขบวนการผลิดแบบ .90nm



G33 และ G35 นั้นเป็น Chipset ที่มีการ Intergrated Graphic Controller ไว้ในตัวคือ X3100 และ X3500 ตามลำดับ ทั้งสองจะ Support กับ Direct X10 ซึ่งจะออกมาเป็นมาตราฐานใหม่ของตระกูล DirectX ในอนาคต และยังจะมาพร้อม Fuction อย่าง HD video playback และ Clear Video Technology


สำหรับเจ้า P35 นั้น Intel ได้วางไว้เป็นระดับ Mainstream ส่วนเจ้า X38 นั้น ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เปิดตัวออกมาสู่ท้องตลาดนั้น Intel ได้วางไว้เป็นระดับสูง ซึ่งจะมี Feature เด็ดอยู่ที่จะใช้ PCI-EXPRESS  2.0 นั้นเอง แต่ยังใช้ Connector แบบเดิมและสามารถใช้งานในส่วนของ DisplayCard ที่เป็น PCI-EXPRESS 1.0 ได้ ข้อดีของ PCI-EXPRESS 2.0 ก้อคงจะเป็นการเพิ่ม Banwidth ในการส่งถ่ายนั้นเอง


มาเข้าเรื่องกันสักที.. ถ้าพูดถึง Mainboard ยี่ห้อ Biostar ในบ้านเรานั้น หลายๆคน คงจะจำกันได้กับ Mainboard Biostar รุ่น Tforce 965PT ซึ่งเคยออกมาเป็นขวัญใจสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด แต่แลกมาด้วยประสิทธิภาพที่คุ้มราคากันสุดๆ และแล้ววันนี้ทาง Biostar ก้อได้ออก Mainboard ที่ใช้ Chipset ของ Intel ตัวใหม่ล่าสุดอย่าง P35 ให้เราได้ใช้งานกันแล้ว ส่วนประสิทธิภาพจะสู้รุ่นก่อนได้หรือป่าวนั้น โปรดติดตามชมกันได้เลยครับ


 


BIOSTAR TP35D2-A7


Package



BIOSTAR TP35D2-A7 นั้นจัดอยู่ในประเภทของ T-Serie Package กล่องมาในรูปแบบสีขาว ส่วนด้านหน้าก้อจะมีการบอกสรรพคุณอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การรับรอง Windows Vista ,การใช้งานเต็มรูปแบบของ CPU แบบ FSB1333 ,และรองรับ CPU Core 2 Quad อย่างเต็มรูปแบบ


 


Board Layout



สำหรับ  Mainboard ตัวนี้ เป็นรุ่นที่ใช้ Northbridge ตัวใหม่ล่าสุดจาก Intel คือ P35 นั้นเอง พร้อมกับ Southbridge ตัวใหม่อย่าง ICH9 เช่นเดียวกัน และใช้ Memory แบบ DDR2 ซึ่งทาง Biostar จะใช้ PCB สีน้ำเงิน เหมือนเช่นเดิม โดยมี Slot Connector ที่มีสีเขียว และเหลือง ตัดกับสี PCB แต่ไม่แน่ใจนะครับว่า Slot ต่างๆ จะเป็น UV Sensitive รึป่าว และทางด้านของ Layout ในการจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆก็จะยังคงอยู่ในมาตรฐาน ATX ทั่วไป และยังคงใช้งานได้ร่วมกับ ซีพียูของ Intel ในแบบของ Socket 775 รุ่นก่อนๆ ได้ทุกโมเดล พร้อมยังรองรับซีพียูรุ่นใหม่ ที่กำลังจะออกมาในอนาคตอีกด้วย 


 



BIOSTAR TP35D2-A7 รุ่นนี้จะมี Slot Memory อยู่ 4 ช่อง เหมือนกับ Mainboard ระดับ Mainstream ทั่วไป แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ใช้ตัวเก็บประจุ แบบ Solid และเรื่องที่น่าเสียดายอีกเรื่องนั้น ทาง Biostar ได้นำเอา ATX Power Connector ย้ายไปอยู่ทาง I/O Panel หลังเคสนั้นเอง ซึ่งส่วนนี้อาจจะเป็นการลำบากสำหรับการเก็บสายไฟภายในเคสให้ดูเรียบร้อย และบางทีสาย ATX Power อาจจะเป็นตัวขวางทางลมสำหรับการระบายความร้อนออกสู่ภายนอกเคสถ้าจัดทางลมไม่ดีก้อเป็นได้ครับ ส่วนสำหรับ Fan Connector ก้อจะมีทั้งหมด 3 ช่องครับ


 


 



สำหรับภาคจ่ายไฟหรือ PWM สำหรับซีพียูนั้น ทาง Biostar ก็ยังไม่ได้ใช้ Solid Capa ทั้งหมด และมีภาคจ่ายไฟทั้งสิ้น 3 เฟส และในส่วนของ L หรือตัวเหนี่ยวนำที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณรบกวนนั้นทาง Biostar  ก็ได้เลือกใช้ L ในแบบ Ferrite เหมือนกับบอร์ดทุกตัวในปัจจุบัน แต่ทาง Biostar นั้นไม่มีชุดระบายความร้อนในส่วนของภาคจ่ายไฟจุดนี้ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเช่นกันสำหรับจุดนี้เพราะเมื่อใช้แรงดันไฟสำหรับซีพียูมากๆ แล้ว ส่วนนี้ก้อร้อนเอาเรื่องอยู่เหมือนกันครับ แต่ก็ยังดีที่ทาง Biostar มีช่องสำหรับให้ยึดใส่ชุดระบายความร้อนมาให้ด้วย


 


 



Slot Memory นั้น ยังคงใช้แบบ DDR 2 จำนวน 4 ช่อง ซึ่งจะใช้สีสะท้อนแสงแบ่งแยกแต่ละ Channel สำหรับความเร็วของ Memory นั้น ก้อจะรองรับได้ตั้งแต่ DDR2-533/667/800/1066 และความจุที่รองรับรวมกันถึง 8GB ส่วนการใช้งาน Memory ถ้าใช้กับซีพียูตัวใหม่อย่าง Serie 6×50 ที่มี FSB1333 นั้น จำเป็นต้องใช้ Memory แบบ DDR2-667 ขึ้นไปนะครับถึงจะใช้งานได้ ถ้าใช้แบบ DDR2-533 นั้น รับรองเปิดไม่ติดครับ


 


 



ส่วน Southbridge ซึ่งจะมาในรหัสใหม่นี้คือ ICH9 และ ICH9R แต่สำหรับ Mainboard ตัวนี้ได้เลือกใช้เป็น ICH9 ธรรมดาซึ่งไม่ใช่ ICH9R ตามหลัง ดังนั้นการใช้งานในส่วน Fuction HDD แบบ RAID ก็ไม่สามารถใช้งานได้ในส่วนตรงนี้ TP35D2-A7 รุ่นนี้จะมีพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ HDD ในแบบ SATA-II 3.0Gbps มาให้ทั้งสิ้น 4 Ports ด้วยกัน นอกจากพอร์ท SATA-II แล้วนั้นก็ยังคงจะมีพอร์ท ATA-133 มาให้อีกหนึ่งพอร์ทเช่นเดียวกัน โดยใช้ JMicron ATA Controller เหมือนกับ Mainboard Socket 775 ทั่วไป


 


 



ในส่วนของ I/O Panel หลังเคสนั้น ก็จะยังคงไม่มีอะไรใหม่แต่อย่างไร แต่ยังเป็นมาตรฐานตามที่เคยพบเห็นกันมา ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย  PS/2 ,Connector ,RJ45 ,6x USB 2.0 ,Serials Port และสุดท้ายกับ Audio jacks แต่น่าเสียดายที่ไม่มี Connector แบบ Optical S/PDIF และ Coaxial S/PDIF Out


 


 




ชิบควบคุมระบบเสียงที่ทาง Biostar ให้มานั้นจะเป็นชิบจาก Realtek ในรหัส ALC888 ซึ่งจะควบคุมระบบเสียงในแบบ 8 Channel และส่วนของ Eternet แบบ Gigabit นั้นก็จะใช้ชิบ RTL8110SC จาก Realtek เช่นกัน


 


 



ในส่วนนี้อาจจะเป็นส่วนที่ถูกใจกับท่านที่ชอบการ overclock  หรือท่านที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบไร้เคสก้อเป็นได้ครับ คือจะมี Switch สำหรับเป็น Power Switch และ Reset Switch เพื่อสะดวกแก่การใช้งาน สำหรับการเปิดหรือปิด โดยไม่ต้องพกไขควงอยู่ใกล้ๆตัวอีกแต่ไปแล้ว อิอิ 


 


Specification












































CPU SUPPORT


  • Intel® Core™2 Extreme Processor
  • Intel® Core™2 Quad Processor
  • Intel® Core™2 Duo Processor
  • Intel® Pentium® Dual-Core Processor
  • Intel® Pentium® D processor
  • Intel® Pentium® 4 Processor
  • Intel® Celeron® D Processor
  • Intel® Celeron® Processor 400 Sequence
  • Support Intel® 45nm CPU
  • FSB
  • Support FSB 800/1066/1333MHz
  • MEMORY
  • Support Dual Channel DDR2 533/667/800/1066 MHz
  • 4 x DDR2 DIMM Memory Slot
  • Max. Supports up to 8GB Memory
  • ※Support DDR2 1066MHz While Using FSB 1333 CPU
  • ※Support DDR2 533MHz While Using FSB 533/1066 CPU
  • EXPANSION SLOT
  • 3 x PCI Slots
  • 1 x PCI-E x1 Slot
  • 1 x PCI-E x4 Slot
  • 1 x PCI-E x16 Slot
  • STORAGE
  • 4 x SATA2 3Gb/s Connector
  • 1 x IDE Connector By JMB368
  • USB
  • 6 x USB 2.0 Port
  • 3 x USB 2.0 Header
  • ETERNET
  • Realtek RTL8110SC - 10/100/1000 Controller
  • AUDIO
  • Realtek ALC888 8+2-Channel HD Audio
  • REAR I/O
  • 1 x PS/2 Mouse
  • 1 x PS/2 Keyboard
  • 6 x USB 2.0 Port
  • 1 x COM Port
  • 1 x RJ-45 Port
  • 6 x Audio Connector
  • INTERNAL I/O
  • 3 x USB 2.0 Header
  • 4 x SATA2 3Gb/s Connector
  • 1 x IDE Connector
  • 1 x Floppy Connector
  • 1 x Front Audio Header
  • 1 x Front Panel Header
  • 1 x CD-IN Header
  • 1 x S/PDIF-IN Header
  • 1 x S/PDIF-OUT Header
  • 1 x CPU FAN Header
  • 1 x North Bridge FAN Header
  • 1 x System FAN Header
  • 1 x Printer Header
  • DIMENSION
  • ATX Form Factor Dimension: 22cm X 30.5cm ( W x L )

  • OS SUPPORT


  • Support Windows 2000 / XP / XP 64 / Vista / Vista 64

  • ACCESSORIES


  • 1 x IDE Cable
  • 1 x FDD Cable
  • 2 x SATA Cable
  • 1 x SATA Power Cable
  • 1 x I/O Shield
  • 1 x CD Driver
  • 1 x User Manual

  •  


     


    ————————————————–

    BIOS



    สำหรับในส่วน BIOS ของ Biostar TP35D2-A7 รุ่นนี้นั้นจะใช้ BIOS ของ Award ซึ่งก้อคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และไม่มี Menu ที่ซับซ้อนซ่อนอยู่ให้เราปวดหัวแต่ประการใด ข้อได้เปรียบของเมนบอร์ดตัวนี้ก้อจะเป็น BIOS ซึ่งไม่เพียงแต่ทาง Biostar เอง ที่จะเป็นคนพัฒนาเพียงผู้เดียว แต่ยังมีบุคคลบางกลุ่มในต่างประเทศที่ใช้เมนบอร์ด ตัวนี้ ต่างช่วยกันปรับเสริมปรุงแต่งให้ BIOS ของ เมนบอร์ดตัวนี้ให้น่าใช้ยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า BIOS โม นั้นเอง การเข้าหน้า BIOS ตัวนี้ก้อเหมือนกับเมนบอร์ดทั่วไปคือกด DEL


     


     



    ผมจะอธิบายถึงในส่วนของ Hardware Monitor กันก่อนครับ ในส่วนนี้นั้นก็จะมีในส่วนของค่ากำลังไฟ อุณภูมิ และความเร็วของรอบพัดลม


    ค่าแรงดันไฟนั้นจะบอกถึง แรงดันไฟที่จ่ายให้ CPU ,Northbridge/Southbridge ,แรงดันไฟ +3.3/+5/+12v ,และ DDR Voltage ตามลำดับ


    ส่วนอุณภูมินั้นก็จะมี อุณภูมิของซีพียู และ Northbridge


    และที่เหลือคงเป็นความเร็วของรอบพัดลมครับในส่วนของ ซีพียู ,Chipset ,และ Chasis ครับ


    ในส่วนนี้นั้นทาง Biostar ก้อทำได้ละเอียดพอสมควรครับ คงเพียงพอต่อการใช้งาน


     


     



    ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของ BIOS เลยก้อว่าได้ คือ Menu Overclock Navigator ซึ่งเป็น Menu สำหรับการปรับความเร็ว และอัตตราการจ่ายไฟของ Hardware ในเมนบอร์ด เห็นภาพขนาดนี้แล้วคงถูกใจหลายๆท่านนะครับ


     


     



    ความเร็ว FSB ก้อมีให้เราปรับได้ตั้งแต่ 266 จนถึง 600MHz กันเลย อูยยยยย..


     


     



    ส่วนด้านการปรับอัตราความเร็วของในส่วน Memory นั้นก้อมี ความเร็วตั้งแต่ 533<1:1> ,667<4:5> และ 800<2:3>


     


     



    ส่วนของ DRAM Configuration นั้นก้อมีให้มาแบบพอสมควร ไม่ชวนให้ปวดหัวแต่อย่างใด แต่อาจจะน้อยไปซักนิดสำหรับระดับ Extreme จริง แต่แค่นี้ผมว่ามันเพียงพอแล้วนะครับ แต่ที่น่าผิดหวังคือส่วนของ CAS Latency ,RAS to CAS ,RAS Precharge นั้นมีแค่ 2 ตัวเลือกคือ 5 กับ 6 เท่านั้น ไม่มีตัวเลือกอื่นให้ปรับได้เลย ซึ่งก้อเป็นที่น่าประหลาดใจ หวังว่าทาง Biostar หรือ บรรดาเหล่า BIOS MOD ต่างๆ จะออก BIOS ใหม่ออกมาแก้ในจุดนี้นะครับ


     


     



    มาดูในส่วนของภาคจ่ายไฟกันบ้าง สำหรับไฟเลี้ยงของ CPU นั้นสามารถปรับได้ถึง +0.787v โดยเพิ่ม Step ละ +0.012 นั้นหมายถึงบวกเพิ่มจากค่า VID ของ CPU นั้นเอง เช่น CPU มีค่า VID 1.325v บวกเพิ่มไปอีก 0.787v นั้นหมายถึง สามารถจ่ายได้ประมาณ 2.0v นั้นเอง คงเพียงพอนะคับ อิอิ


     


     



    อัตราไฟเลี้ยงของแรมนั้น ก็สามารถปรับได้ถึง 2.6v โดยเพิ่มได้ Step ละ 0.1v คงถูกใจสำหรับขา Overclock กันนะครับ


     


     



    ไฟเลี้ยงชิบเซตหรือ MCH ปรับเพิ่มได้สูงสุดที่ 1.55v STEP ละ 0.1v


     


     



    ไฟเลี้ยงในส่วนของ VTT หรือ FSB Termination ปรับเพิ่มได้สูงสุด 1.55v เช่นกันครับ


     


     



    ในส่วนทีเด็ดอีกอย่างคือ Menu CMOS Reload ที่สามารถให้เรา Save/Load ค่า BIOS ของเราเองได้ และยังสามารถ Save ค่า BIOS ตาม สไตล์ของเราได้ถึง 10 Record กันเลย ซึ่ง Fuction แบบนี้จะพบเห็นกันในเมนบอร์ดที่มีราคาแพงๆ กัน


     


     



    ในส่วนของ Menu Integated Memory Test คือมี Program Memtest ไว้ให้สำหรับ Test ความเสถียรภาพ ของ Memory ในเครื่องของเรานั้นเอง เหมือนกับเมนบอร์ด DFI Lanparty ในอดีต

    ————————————————–

    TESTSETUP







































    SYSTEM


    CPU


    Intel Core 2 Duo E6320


    MAINBOARD


    BIOSTAR TP35D2-A7 Bios 521


    MEMORY


    KINGSTON KVR533


    HDD


    WD3200AAKS


    DISPLAY


    8800GTS 320MB 550/1800


    PSU


    AsusTek A-55GA 550w


    COOLING


    AsusTek V60


    SOFTWARE AND DRIVER


    CHIPSET DRIVER


    Intel INF 8.3.0.1013

    DISPLAY DRIVER

    Forceware 162.18
    OS Microsoft Windows XP SP2



     


    CPU-Z



    ในการทดสอบครั้งจะใช้ CPU Core 2 Duo E6320 และจากโปรแกรม CPU-Z ในหน้าของเมนบอร์ดนั้น CPU-Z ก็สามารถแสดงรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องเกือบทั้งหมด ยกเว้นชิบ Manufacture ที่แสดงออกมาเป็น Intel แทนที่จะบอกเป็นชื่อของ Biostar เอง นอกนั้นก้อบอกได้ถูกต้องทั้งหมด


     


     



    ในส่วนของ Memory นั้น ครั้งนี้จะใช้ Memory จาก Kingstom Model KVR533 DDR2-533 ซึ่งเป็น IC-CHIP จาก Micron ตระกูล D9GMH ซึ่งเป็นที่ติดตลาดในบ้านเราในปัจจุบันครับ  โปรแกรม CPU-Z ไม่สามารถแสดงความเร็วของ Memory ได้เพียงอย่างเดียว แต่รายละเอียดอื่นๆ ก็แสดงได้ชัดเจน ส่วนความเร็วและค่า Timing ที่ใช้ในการทดสอบก้อคือ 533MHz CL4-4-4-12


     


     


    EVEREST Ultimate Edition



    โปรแกรม EVEREST Ultimate Edition บอกรายละเอียดของ Northbridge เป็น P35 และ Southbridge ICH9 รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ SubTiming ได้อย่างถูกต้อง


     


     


    SiSoftware Sandra







    สำหรับในส่วนของการทดสอบด้วยโปรแกรม SiSoftware Sandra นั้น ผลการทดสอบก้อเป็นไปตามปกติของ CPU Core 2 Duo Model E6320 และความเร็วของ Memory DDR2-533 4-4-4-12 ครับ แต่ถ้าเทียบกับ Chipset ตัวเก่าของ Intel อย่าง P965 นั้น รู้สึกจะเป็นรองเพียงนิดเดียว ซึ่งถ้าเอาไปใช้งานจริงๆ คงจะไม่เห็นผลที่แตกต่างกันในส่วนนี้


     


     


    Super PI 1M



    การทดสอบความเร็วด้วยโปรแกรม Super PI ที่ 1MB นั้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 27.375 วินาที ก็ยังถือว่าเป็นปกติของ Model Core 2 Duo E6320


     


     


    Cinebench 9.5



    ผลการทดสอบของโปรแกรมอย่าง Cinebench Version 9.5 นั้น จะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ การทดสอบแบบ Multi-Processor จะได้ Score อยู่ที่ 579 CB-CPU และใช้เวลาในการ Render อยู่ที่ 38 วินาที และในส่วนของการทดสอบแบบ Single-Processor นั้น Score ผลออกมาที่ 312 CB-CPU และใช้เวลาในการ Render ทั้งสิ้น 1 นาที 11 วินาที ครับ


     

    ————————————————–

     


    PCMARK 05



     


     


    3DMARK 01



    สำหรับการทดสอบกับโปรแกรม 3D Application ตัวแรกก็คือ โปรแกรม 3DMARK 2001 ซึ่งได้คะแนนอยู่ที่ 36,658 คะแนน


     


     


    3DMARK 03



    การทดสอบด้วยโปรแกรม 3DMARK 2003 ผลที่ออกมาคือ 3DMARK Score อยู่ที่ 30,025 คะแนน และ CPU Score อยู่ที่ 1,226


     


     


    3DMARK 05



    โปรแกรมทดสอบตัวต่อมาคือ 3DMARK 2005 ซึ่งได้คะแนน 3DMARK Score ที่ 11,754 ส่วน CPU Score ก็จบที่ 7,191 คะแนนครับ


     


     


    3DMARK 06



     


     


    AQUAMARK



    AQUAMARK คะแนนรวมอยู่ที่ 110,273 คะแนน GFX อยู่ที่ 21,633 คะแนน และ CPU อยู่ 11,246


    ————————————————–

    OVERCLOCK!!!


    ส่วนตรงนี้คงเป็นส่วนที่สำคัญหรือไฮไลท์ของเมนบอร์ดตัวนี้เลยก็ว่าได้คับ อาจจะเป็นส่วนที่หลายคนตั้งใจติดตามชมถึงความคุ้มค่าว่าเมนบอร์ดตัวนี้จะทำได้ดีแค่ไหน ก่อนอื่นจะขอย้ำถึงเรื่อง System ที่ใช้ในการทดสอบในครั้งนี้ก่อนซีพียูที่ใช้คือโมเดล E6320 และส่วนความเร็ว FSB ที่ใช้ในการทดสอบสำหรับ overclock คือ 515 MHz ความเร็วของซีพียูจะอยู่ที่ 3.6GHz ซึ่งเป็นความเร็วที่สามารถผ่านการทดสอบได้ทุกโปรแกรมและคิดว่าซีพียูตัวนี้น่าจะตันอยู่ที่ FSB ประมาณ 515MHz นั้เอง และการทดสอบครั้งนี้อย่างที่ได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วว่าจะใช้แรมของ Kingston KVR533 Micron GMH ที่เป็นแรมยอดฮิตในตลาดบ้านเราในตอนนี้นั้นเอง ความเร็วแรมที่ใช้ในการทดสอบก็จะอยู่ที่ 515MHz หรือ DDR1030 ,CL 5-5-5-15 ครับ ส่วนการ์ดจอที่ใช้ในการทดสอบคือ nVidia Geforce 8800 gts 320MB ,550/1800 ครับ




    การตั้งค่าแรงดันไฟใน bios นั้นผมจะใช้แรงดันไฟสำหรับซีพียูอยู่ที่ระดับ 1.55v และแรงดันแรมจะใช้ที่ 2.2v นอกนั้นผมจะใช้ auto หมดครับ ดูแล้วมันชั่งง่ายดายซะจริงๆเลย สำหรับการปรับในส่วนต่างๆ ของการ overclock นั้น หลายๆ คนคงจะมีคำถามว่ามันงอแงบ้างไหม ผมตอบได้เลยครับว่าไม่มีการงอแงแต่อย่างใด และในการได้ลองเล่นกับเจ้าเมนบอร์ดตัวนี้ผมยังไม่เคยเจอปัญหาอย่าง bios reset ค่าเดิมหลังจากที่เรา shutdown หรือ restart แต่อย่างใด เป็นอะไรที่ง่ายครับ สำหรับการ overclock ด้วยเมนบอร์ดตัวนี้


    ส่วนปัญหาที่พบนั้นก็จะเป็นในส่วนของการปรับอัตราความเร็วของแรม ซึ่งผมไม่สามารถเลือกปรับอัตรอื่นนอกจาก 533/1:1 ได้เลย เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องหาแรมที่มีความเร็วอื่นๆ ทดสอบกันต่อไปว่าจะแก้ไขในส่วนนี้ได้หรือป่าว


    และสำหรับการทดสอบในครั้งนี้ผมได้ทำการ overclock จาก bios เท่านั้น ไม่ได้มีการใช้ software ใดๆ ในการช่วยปรับความเร็วในส่วนของ Windows เลย ส่วน Software ที่สามารถปรับความเร็วในส่วนของ Windows ได้ก็มีทั้ง Clockgen และ SetFSB โดยใช้ PLL ของ ICS เบอร์ 9LPRS509HGLF ครับ



     


    SetFSB




    และในส่วนของการระบายความร้อน Northbridge นั้น ผมได้ทำการทา Silicone ระบายความร้อนซะใหม่ ซึ่งของเดิมที่ให้มานั้นมันเหมือน หมากฝรั่งสีชมพู ซึ่งผมไม่ชอบเอาซะเลย _ _”


     


     


    CPU-Z on FSB 515MHz



    3.6GHz FSB Speed 515MHz สำหรับเมนบอร์ด Biostar ตัวนี้ แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องที่โปรแกรม CPU-Z นั้น ไม่สามารถบอกความเร็วของแรมได้


     


     


    PCMARK 05 on FSB 515MHz



     


     


    SUPER PI 1MB on FSB 515MHz



    ความเร็วในการคำนวณด้วยโปรแกรม Super Pi 1MB นั้นก็ออกมาในเกณฑ์ปกติของซีพียูระดับ 3.6GHz ซึ่งไม่ค่อยจะแตกต่างกับ P965 ซักเท่าไหร่คับ


     


     


    CINEBENCH 9.5 on FSB 515MHz



    ผลการเทสของ CINEBENCH ก็ออกมาที่คะแนน 1,122 CB-CPU < Multi-Process > และ 603 CB-CPU < Single-Process > ,ส่วนเวลาที่ใช้ก็คือ 19 วินาที และ 37 วินาที ตามลำดับครับ


     


     


    FRITZ+CHESS BENCHMARK on FSB 515MHz



    Fritz+Chess Benchmark ก็ขอมีเอี่ยวกับเค้าซะหน่อย


     


     


    3DMARK 2001 on FSB 515MHz



    62,168 คะแนน ต่างกันเกือบครึ่งกับตอนที่ยังไม่ overclock ,Benchmark ตัวนี้มีผลกับความเร็วของซีพียูเป็นอย่างมาก ไม่ได้อิงกับประสิทธิภาพของ Dispaly Card เพียงอย่างเดียว


     


     


    3DMARK 2003 on FSB 515MHz



    34,295 คะแนนสำหรับ 3DMark Score และ 2291 คะแนนของ CPU Score


     


     


    3DMARK 2005 On FSB 515MHz



    17,796 คะแนนสำหรับ 3DMark Score และ 13,530 คะแนนของ CPU Score


     


     


    3DMARK 2006 on FSB 515MHz



    9,977 3DMark Score และ 3,233 CPU Score ครับ


     


     


    AQUAMARK on FSB 515MHz



    Aquamark นั้น คะแนนรวมอยู่ที่ 201,720 ครับ แรงได้ใจจริงๆ เลยกับ Chipset P35 เนี่ย


     


     


    OTHOS on FSB 515MHz



    การทดสอบความเสถียรของระบบนั้นผมได้ใช้โปรแกรมอย่าง OTHOS ทดสอบแบบ Priority ระดับ 9 และใช้เวลาในการทดสอบไป 1 ชม. ครับ 


     


     


    Conclusion


    สำหรับเรื่องราวของบททดสอบเมนบอร์ด Biostar รุ่น TP35D2-A7 ในวันนี้ ผลของความน่าสนใจจะออกมาถูกใจทุกท่านรึป่าว ก็ขึ้นอยู่กับใจของแต่ละท่านนะครับ บางท่านเห็นแล้วก็ชอบ บางท่านเห็นแล้วอาจจะมองว่าเฉยๆ มันยังไม่แตกต่างกับ Chipset เก่าอย่าง P965 ซักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อถึงเมนบอร์ดตัวนี้คือ ความคุ้มค่าในตัวของมัน เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการความคุ้มค่า แต่เพียบพร้อมไปด้วยประสิทธิภาพที่ดีระดับหนึ่ง ซึ่งค่าตัวของมันที่ออกมาวางขายกันนั้น ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3,600 บาท เท่านั้นเอง ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกที่สุดของ P35 ในตลาดบ้านเรา ณ. เวลานี้เลยครับ อีกจุดหนึ่งที่อยากจะเสนอคือความพร้อมในส่วนของ Fuction สำหรับ overclock นั้น เมนบอร์ด Biostar TP35D2-A7 เองก้อมีเพียงพอในจุดๆ หนึ่ง ไม่น้อยไปและมีเยอะจนปวดหัว ซึ่งน่าจะเหมาะสมสำหรับท่านที่ต้องการ overclock แบบง่ายๆ ไม่ลำบากอะไรมากมายให้ปวดหัวกัน สำหรับท่านที่ต้องการชมoverclock แบบ Extreme ด้วยเมนบอร์ดตัวนี้นั้น ผมเองจะส่งเจ้าเมนบอร์ดตัวนี้ไปให้ท่าน Venom-Crusher ได้ทดสอบกันต่อไปครับ


    ส่วนปัญหาที่พบกับเมนบอร์ด TP35D2-A7 ตัวนี้ ที่พบก็จะมีในส่วนของการปรับอัตราส่วนความเร็วของแรมซึ่งไม่สามารถปรับความเร็วที่นอกเหนือจาก 1:1 ได้เลย เมื่อใช้กับแรมแบบ DDR533 อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะติคือในส่วนของ Program Hardware Monitor นั้น ผมคิดว่ามันน้อยเกินไปและไม่ค่อยละเอียดเรียบง่ายเกินไป ข้อนี้อาจเป็นข้อสำคัญกับท่านที่ชอบใช้งานในส่วนของ Hardware Monitor ครับ แต่สำหรับท่านใดที่ชอบสินค้าที่ถูก แต่แลกมาด้วยประสิทธิภาพที่น่าพอใจ บอกได้คำเดียวเลยคับว่าเมนบอร์ดตัวนี้…. คุ้มครับ


    เอาเป็นว่าครั้งนี้เป็นการทำบทความ it ครั้งแรกในชีวิตของผมเอง ถ้าผิดพลาดกระการใดนั้น ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ หรือท่านใดที่มีปัญหาหรืออยากจะคุยกันในส่วนของเมนบอร์ดตัวนี้ก็ติดต่อมาได้นะครับที่ [email protected] ส่วน ณ. เวลานี้ขอลาไปก่อนครับ


    สวัสดีครับ

    ขอขอบคุณ P’ BUS ที่เอื้อเฟื้อซีพียูสำหรับการทดสอบครั้งนี้ครับ


    ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่

    «ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

    Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
    «»