Cooler Master V6 GT Muscle Cooling 200+W Cooling Solution Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ หลังจากผมห่างหายหน้าไปนานก็กลับมาเจอกันอีกครั้งนะครับ เง้อ และสำหรับวันนี้ผมก็มีฮีตซิงค์เย็นๆมานำเนอรีวิวให้ชมกันอีกหนึ่งรุ่นนะครับ นั่นก็คือ Cooler Master V6 GT นั่นเอง รุ่นใหม่ล่าสุดของ Cooler Master กันเลยนะเนี่ย ไปชมสเป็คต่างๆจากทางผู้ผลิตกันก่อนเลยดีกว่าครับ
More informations >>Click<<
…มากันด้วยการดีไซด์ใหม่หลายอย่างเลยครับ ทั้งการวางท่อทั้ง 12ท่อแนว Double-V เพื่อการแผ่ระบายความร้อนจากท่อไปสู่ฟินที่ดีกว่าการวางแนวอื่นๆของคู่แข่ง เง้อออ ส่วนพัดลมที่แถมมาให้ด้วยครบครันในเซต ใบพัดจะมีลักษณะคล้ายรูปตัว S เพื่ออัตราการตักลมที่ดีขึ้น พร้อนแกนหมุนพัดลมแบบ Decreases sleeve oil-loss ที่ช่วยให้พัดลมอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบเดิมๆอีก 40,000ชั่วโมง และระบบไฟเลี้ยงของพัดลมยังเป็นแบบPWM ที่มีรอบตั้งแต่ 800-2,200รอบต่อนาที ด้วยการปรับแบบ Auto จากเมนบอร์ด แถมท้ายด้วยการดีไซด์แบบผนวกพัดลม 2ตัวเข้าเในตัวถังเดียวกันกับพัดลม ช่วยให้รูปลักษณ์ภายนอกดูกลมกลืนสวยงาม เข้ากันกับตัวเคสได้เป็นอย่างดี แถมท้ายยังมีแถบไฟ LED พาดผ่านกลางซิงค์ด้านบนที่สามารถเปลี่ยนสีได้อีก 3สี งานนี้ไม่ต้องกลัวสีไฟของตัวซิงค์จะไม่เข้ากันกับตัวเคสเลยครับ เพราะไฟ LED ของซิงค์นี้เป็นแบบหล่อเลือกได้ หรือถ้าไฟแยงตาไม่ชอบกดให้ไฟปิดก็ยังได้ด้วย โม้มายาวแล้วไปดูของจริงกันที่หน้าถัดไปดีกว่าครับ
Package Bundle & Appearance
ตัวกล่องแนวโทนสีดำแดง พิมพ์สี่สีสวยสด ลงทุนกันอีกแล้วครับสำหรับ Cooler Master
ชุดยึดที่แถมมามากมาย ยึดได้ทุกๆซ็อคเก๊ตของเมนบอร์ดที่มีขายอยู่ทั่วๆไปในปัจจุบันนี้
มาชมตัวซิงค์กันบ้าง หน้าตาดูสวยงาม พัดลมประกบ 2ด้าน แลดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันกับตัวซิงค์ครับ
หมุนตัวซิงค์ดูกันอีกด้าน ต่างกันแค่ทิศทางลมของพัดลมครับ
ปุ่มโลโก้ Cooler Master มีไว้สำหรับกดเปลี่ยนสีของแถบไฟ LED ไปในตัวครับ กดปุ๊ปเปลี่ยนปั๊บรวดเร็วดั่งตี๋แก่เปลี่ยนสี
ดูด้านบนซิงค์กันชัดๆ แถบใสๆตรงกลางใช่เลยครับซ่อนหลอดไฟ LED สีแดงและน้ำเงินไว้ภายใน
พัดลมที่ให้มาใบจะมีลักษณะสีชาใสรูปตัว S ไม่มีไฟใดๆในตัวพัดลมนะครับ ในภาพจะเป็นด้านที่เป่าอัดลมเข้าตัวซิงค์นะครับ
…ส่วนด้านนี้จะเป็นด้านเป่าลมออกจากตัวซิงค์ อย่าใส่พัดลมสลับด้านเป่าสวนกลับไปอีกทางนะครับ เพราะการออกแบบไปป์แบบ Double-V เขาจะบังคับทิศทางลมไว้เลย ซึ่งผมลองใส่สลับแล้ว ปรากฏว่าร้อนขึ้นมาถึง2-3องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว
…เปลือยพลาสติกครอบออกจะเห็นตัวซิงค์ที่ไม่หนามากมาย และแนวเรียงไปป์แบบ Double-V อย่างชัดเจน ซึ่งภาพนี้ผมยืมมาจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตนะครับ เนื่องจากว่าผมขี้เกียจแกะออกมาถ่ายนั่นเองครับ อิอิกำ
มาดูด้านฐานกันบ้าง จะเป็นฐานทองแดงเคลือบนิเกิลพร้อมกลึงปัดกึ่งเงาครับ
เงางามใช้ได้ครับ แต่ยังไม่ถึงกับเงาเหมือนกระจก
…หัว Molex 4Pins ที่เห็นด้านซ้าย คือสายไฟเลี้ยงสำหรับแถบหลอด LED นะครับ ส่วนด้านขวาคือสายพ่วงพัดลม 2ตัวเข้าด้วยกันให้เป็นหัวเดียว ซึ่งจะแยกกันเสียบหรือเสียบรวมด้วยสายนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวก็ได้นะครับ
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 980X Extreme Edition by P.PEGAZUS @ 4.50 GHz VCore 1.376V. |
.Motherboard | ..GIGABYTE GA-X58A-UD7 |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..PowerColor HD 5870 1GB DDR5 @ 1,070/1,300MHz |
.Harddisk | ..WD1002FAEX 1TB SATA3 |
.CPU Cooler | ..Cooler Master V6 GT & ProlimaTech Mega Shadow @ Ambient 28C |
.Power Supply | ..Antec TPQ-1200 OC Version 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
…วันนี้จะทำการเทสต์กันตามสไตล์ผมอีกเช่นเคยด้วยซีพียูสุดร้อนและแรงแห่งยุคอย่าง Intel Core i7 980X Extreme Edition @ 4.50 GHz ที่ใช้ VCore ขณะฟูลโหลดสุดๆที่ 1.376V. แล้วยังจับมาดวลตัวต่อตัวกันกับซิงค์สุดเย็นตัวหนึ่งแห่งยุคอย่าง ProlimaTech Mega Shadow โดยซิลิโคนที่ใช้ทดสอบในคราวนี้ทั้งหมดจะเป็นของ GELID ในรุ่น GC-Extreme นะครับ งานนี้ V6 GT น้องใหม่ของเราจะไปรอดไหมเนี่ย!!
มาดูการทำงานของแถบไฟสี LED กันบ้าง กดกันที่ปุ่มโลโก้ Cooler Master กันครั้งแรก จัดไปครับ ไฟสีแดงสว่างวาบในทันใด
กดกันครั้งที่สอง จัดกันต่อไปด้วยไฟสีน้ำเงินสดใส
พอกดครั้งที่สามเข้าให้ ไฟสีม่วงก็โผล่ออกมาต่อไป ซึ่งไฟสีม่วงก็คือหลอดไฟสีน้ำเงินกับแดงติดขึ้นมาพร้อมกันนั่นเองครับ
พอกดครั้งที่สี่เข้าให้ จัดไปครับไฟดับ ไปชมผลทดสอบกันต่อเลยดีกว่าครับ ว่างานนี้น้อง V6 GT ของเราจะเอาตัวรอดมั้ย
Cooler Master V6 GT Results
…เทสต์กันด้วยโปรแกรม OCCT หัวข้อที่ซีพียูจะร้อนสุดคือ Small Data Set ที่ 15นาที ค่าความร้อน Maximum โดยรวมสูงสุดที่แสดงใน Real Temp GT จะมีค่าเฉลี่ยออกมาที่ 86.17องศาเซลเซียส ซึ่งค่านี้ผมไม่อยากให้เอามาดูเป็นสาระสำคัญมากนะครับ เพราะมันเป็นค่าความร้อนพีคสูงสุดที่ปลายแหลมของตัวกราฟ ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่แท้จริงของอุณหภูมิที่ทำได้ เนื่องด้วยเหตุนี้นี่เองที่ผมชอบใช้ OCCT ในการเทสต์ซิงค์ ก็เพราะว่า OCCT มันจะ Plot Graph ออกมาให้เราดูเพื่อหาค่าเฉลี่ยที่แท้จริงของอุณหภูมิที่ทำได้นั่นเองครับ ว่าแล้วก็ไปดูกราฟแสดงอุณหภูมิของแต่ละคอร์ซีพียูกันเลยดีกว่าครับ
Core 1 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 87องศาเซลเซียส
Core 2 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 87องศาเซลเซียส
Core 3 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 80องศาเซลเซียส
…Core 4 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 78องศาเซลเซียส ส่วน Core 5 และ Core 6 จะไม่มีนะครับ เพราะ OCCT เป็นโปรแกรมเ่ก่า จะ Support การรายงานผลแค่ 4คอร์เท่านั้น แต่ตอนเทสต์จะเทสต์เต็มทั้ง 6คอร์ FullLoad 100% นะครับ ไม่ใช่เทสต์แค่ 4คอร์แต่อย่างใด
ไปดูค่าของเซนเซอร์แสดงความร้อนของซีพียูบนเมนบอร์ดกันบ้าง จัดกันไปที่ 63.5องศาเซลเซียส เซนเซอร์ตัวนี้เย็นจริงๆ
…VCore ขณะ FullLoad ของเมนบอร์ดที่ผมใช้ในการทดสอบ ผมจะตั้งให้มันดีดขึ้นมาสูงกว่าตอน Idle นะครับ โดยสุดๆจะดีดขึ้นมาที่ 1.38V. เลยครับ แล้วผลที่ออกมานี่ตกลงว่ามันจะร้อนหรือเย็นเราคงจะไม่ทราบเป็นแน่ ถ้าหากว่าไม่มีตัวเปรียบเทียบ ว่าแล้วก็จับเอาซิงค์เทพอย่าง ProlimaTech Mega Shadow มาประกบให้มันรู้ดำรู้แดงกันไปอย่างไม่ประนีประนอมกันเลยดีกว่าครับ
Competitor Results
…โดย ProlimaTech Mega Shadow คราวนี้จะประกบคู่มากับพัดลม VIZO ที่มีรอบพัดลมอยู่ที่ประมาณ 1,800รอบต่อนาที 2ตัวนะครับ ซึ่งที่ใช้พัดลมไม่เหมือนกันในการเทสต์แบบดวลในครั้งนี้ ก็เนื่องจากพัดลมที่แถมมากับซิงค์ Cooler Master V6 GT จะไม่มีวางขายโดยทั่วไป เลยไม่ได้เอาพัดลมคู่นี้มาใส่ให้กับคู่แข่งในคราวนี้นะครับ ไปชมผลกันเลยดีกว่าครับว่ารอบพัดลมที่ต่ำกว่าเล็กน้อย แต่ตัวซิงค์จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยเช่นกัน ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร
…เทสต์กันด้วยโปรแกรม OCCT หัวข้อที่ซีพียูจะร้อนสุดคือ Small Data Set ที่ 15นาทีกันอีกครั้ง ค่าความร้อน Maximum โดยรวมสูงสุดที่แสดงใน Real Temp GT จะมีค่าเฉลี่ยออกมาที่ 85.83องศาเซลเซียส เย็นกว่า Cooler Master V6 GT เฉลี่ยอยู่ที่ 0.34องศาเซลเซียส
Core 1 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 86องศาเซลเซียส เย็นกว่า Cooler Master V6 GT 1องศาเซลเซียส
Core 2 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 88องศาเซลเซียส ร้อนกว่า Cooler Master V6 GT 1องศาเซลเซียส
Core 3 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 79องศาเซลเซียส เย็นกว่า Cooler Master V6 GT 1องศาเซลเซียส
Core 4 อุณหภูมิเฉลี่ยผลจะออกมาที่ 80องศาเซลเซียส ร้อนกว่า Cooler Master V6 GT 2องศาเซลเซียส
…ไปดูค่าของเซนเซอร์แสดงความร้อนของซีพียูบนเมนบอร์ดกันต่อไป จัดกันไปที่ 63องศาเซลเซียส เย็นกว่า Cooler Master V6 GT 0.5องศาเซลเซียส
VCore ก็ยังคงเซตไว้เช่นเดิม สุดๆที่ 1.38V.
…ผลสรุปงานนี้ออกมาปรากฏว่าซิงค์ Cooler Master V6 GT ทำผลงานออกมาได้ดีเหลือเชื่อครับ สูสีกับซิงค์ ProlimaTech Mega Shadow เป็นอย่างมาก โดยค่าความร้อน Maximum เฉลี่ยโดยรวมสูงสุดที่แสดงใน Real Temp GT ซิงค์ ProlimaTech Mega Shadow จะชนะไปเล็กน้อย แต่ค่าความร้อนเฉลี่ยโดยรวมที่แสดงใน OCCT ซิงค์ Cooler Master V6 GT กลับมาทำผลงานดี แซงชนะซิงค์ ProlimaTech Mega Shadow ไปเล็กน้อยอย่างพลิกล็อคเหลือเชื่อเช่นกันครับ แต่ผมคิดว่าอุณหูมิที่ต่างกันเพียงแค่นี้ จริงๆแล้วน่าจะเย็นพอๆกันนั่นแหละครับ เพราะถึงแม้จะเป็นซิงค์ตัวเดียวกันและโหลดความร้อนที่เท่าๆกัน ผลการเทสต์ออกมาแต่ละทียังไม่เท่ากันเลยครับ
…ซึ่งทั้งนี้ถ้าวัดกันที่เฉพาะตัวซิงค์ ผมว่าตัวซิงค์ ProlimaTech Mega Shadow น่าจะชนะนะครับ เพราะว่าใช้พัดลมที่รอบต่ำกว่าในการทดสอบ แต่ก็น่าจะไม่ได้ชนะห่างขาดลอย เพราะรอบพัดลมก็ไม่ได้ต่างกันมากมายครับ
Conclusion
กราฟสรุปผลการทดสอบ
…ก็มาถึงบทสรุปปิดท้ายกันแล้วนะครับสำหรับซิงค์ Cooler Master V6 GT ตัวนี้ ผลการทดสอบก็ออกมาดีเยี่ยมอย่างเหลือเชื่อจริงๆครับ หน้าตาก็สวยงาม แถมมีการแถมพัดลมดีๆมาให้กันอีก 2ตัว กับราคาขายที่ประมาณ 2,000ต้นๆ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมเลยครับสำหรับคนที่มีงบประมาณขนาดนี้ เพราะว่าเฉพาะพัดลม 2ตัวที่แถมมมาถ้าคิดเป็นมูลค่าก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 600-700บาทแล้ว แถมชุดยึดก็ครอบจักรวาล ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดล็อคใดๆเพิ่มอีกแต่อย่างใด สำเร็จรูปพร้อมใช้งานแบบไม่ต้องจ่ายเพิ่มแม้แต่บาทเดียวจริงๆครับ และสำหรับวันนี้ผมขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ
Cooler Master
.
Special Thanks
พี่ Pegazus ที่เอื้อเฟื้อให้ยืมซีพียูสำหรับใช้ในการทดสอบนี้ครับ