Corsair A50 AIR Series Review
Share | Tweet |
สวัสดีกันอีกแล้ว อ้าวสิ้นเดือนแล้วนิ พรุ่งนี้หวยออกด้วยอืม ว่าแล้วต้องรับนอนแต่ก่อนจะนอoเอา ซิงค์เท่ๆมารีวิวให้ชมกันก่อนครับ วันนี้ผมมาพร้อมกับ Corsair A50 โดยปกติแล้ว Corsair เราจะได้ยินกันมากเรื่องแรม และ PSU นะครับวันนี้มาดูชุดระบายความร้อนกันบ้างว่าจะเป็นอย่างไรครับ
ตัวกล่องเน้นสีดำ ดูถึกๆดีครับ
ด้านหลังกล่องโชว์กราฟให้เห็นถึงความสามารถการระบายความร้อนของ Corsair A50 ก่อนที่จะตัดสินใจในการเลือกซื้อครับ
รองรับสำหรับ Socket Intel LGA775, Intel LGA1366, Intel LGA 1156, AMD socket AM2 และ AMD socket AM3
Specifications
Model | CAFCA50 |
Heatsink dimensions | 159.5mm x 124.6mm x 81.2mm |
Fan Dimensions | 120mm x 25mm |
Fan speed | Selectable 1,600 or 2,000 RPM |
Air flow | 50 - 61 CFM |
Static pressure | 1.8 - 2.3 mm H20 |
Noise level | 26 - 31.5 dBA |
Box Contents
- Corsair Air Series A50 CPU Cooler
- Multi-platform mounting kit
- Thermal compound
- Quick Start Guid
แกะกล่องกันออกมาเลยครับ สูงยาวเขาดีจริงๆครับ
ท่อนำความร้อนเป็นแบบทองแดง 3 เส้น แต่ก็นับเป็น 6ท่อในการดึงความร้อนนะครับ ของใหม่เงาแว๊บจริงๆ
ฟินเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ อืมงานเขาเนียนมากๆครับ
โอโห ด้านบนเป็นสีดำ เท่มากๆครับ
ออกแบบตามหลักกลศาสคร์ของใหลหรือปล่าวเนีย อิอิ
ปั้มโลโก้ Corsair ไว้เรียบร้อย แบบนี้เลียนแบบยากครับ
ดูอีกมุม เหมือนระยะห่างระกว่างฟิน กับฐานจะห่างมากเลยนะครับเนีย
ออกแบบมาแนวนี้เป็นที่นิยมจริงๆ
สวยงาม เงาแว๊บเลยครับ เย็นแน่ๆ
ลืมมีของอีกนี้ ที่มากับกล่อง
กล่องมีมาด้วยมีอะไรแกะเลยดีกว่า
ครับอุปกรณ์ในการยึดครบเซ็ตเลยครับ แถมด้วยพัดลมอีก 1 ตัวด้วย
พัดลมประกอปมาให้เรียบร้อยเลยครับ
แม้แต่พัดลมก็ต้อง Corsair
มาดูชุดในการทดสอบกันบ้างครับ
SYSTEMS | |
.CPU | Intel Core I3 530 |
.Motherboard | Biostar T5 XE |
.Memory | G.Skill DDR3 |
.Graphic Card | Galaxy 465 |
.Harddisk | WD 320GB |
.CPU Cooler | Corsair A50 |
.Power Supply | TT 1200W |
.Operation System | Windows 7 Ultimate 32-bit |
สำหรับชุดที่ใช้ในการทดสอบผมยังยืนยันที่จะใช้ชุดเดิมครับ ความเร็วเหมือนครั้งที่เทสซิงค์ที่ผ่านๆมา นั้นคือ I3 530 ที่ความเร็ว 4.2 G เมื่อจะได้ดึงเอาตัวเก่าๆที่เทสไปแล้วมาทำการเปรียบเทียบครับ แม้ว่าอุณภูมิห้องจะต่างกันบ้าง แต่ไม่มากถึงขนาด 10 องศาแน่ๆครับ ยังเอาเป็นฐานข้อมูนได้สำหรับซิงค์ที่เอามาเที่ยบด้วยกับ Corsair A50 ในรอบนี้ก็คือ ProlimaTech ARMAGEDON และ ThermoLab Bada เอาละครับเมื่อมีฐานข้อมูนแล้วไปชมผลกันเลยดีกว่าครับ
ขณะทำการทดสอบ
ห้องเดิมๆ โต๊ะเดิมๆ ที่ไม่เพิ่มคือเปิดแอร์ เพราะเทสซิงค์นั้นเองครับ อิอิ
Idel
เปิดขึ้นมาความร้อนที่คุมอยู่ได้ อยู่ที่ 35 องศาเท่านั้นครับ
FullLoad
อุณภูมิสูงสุดที่ทำได้ครับ 85 องศา โอ้ว แต่ยังคุมอยู่ยังไม่มีวูปครับ อิอิ
ช่วงคายความร้อน
ดีดลงมาอยู่ที่ 40 องศาอย่างรวดเร็วครับ
เอาละไปดูกราฟเทียบผลกันดีกว่าครับ
ส่งท้าย
ครับก็จบกันไปอีกแล้วกับ Corsair A50 AIR กับการออกแบบที่สวยงามและการทำงานเงียบเพราะรอบพัดลมหมุนแทบไม่มีเสียงเพราะเบาจริงๆ สำหรับงานนี้ใครชอบความเงียบและสวยงามแบบ Air Corsair A50 AIR สำหรับท่านที่ต้องการความเย็นมากกว่านี้แนะนำเลยครับหาพัดลมรอบที่แรงขึ้นอีกนิด เปลี่ยนได้เลย สบายอุราเลยครับ สำหรับวันนี้คนที่ชื่นชอบ Corsair คงจะถูกใจไม่น้อย ผมยังชอบเลยครับ อิอิ เอาละวันนี้พอก่อนดีกว่า หมดมุขแล้วลาละครับสวัสดีครับ
ขอขอบคุณ
ARC