CPU Load Meter ในอารมณ์ของรถซิ่ง
Share | Tweet |
สืบเนื่องมาจากวันสองวันที่ผ่านมา ผมได้ไปโพสกระทู้ PC Tacho meter ซึ้งได้โชว์ CPU Load meter ในบทความนี้ผมก็จะพูดถึงการต่อ วัดรอบแบบง่ายๆก็แล้วกัน
แต่ก่อนอื่นเราต้องมีซอฟแวร์ที่ใช้ในการควบคุม ซึ่งตอนนี้ที่ผมมีอยู่ ฝรั่งเขาทำกันเอง ผมจะเปิดให้ดาวโหลดได้ จากไฟล์ที่ท่านวีน่อมเคยโพสไว้ในกระทู้วิจารย์นี้ แต่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกันและกัน ว่าไม่ได้เอาไปใช้ในเชิงพานิชย์ เพราะโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ฝรั่งเขาเขียนขึ้นมาใช้กันเองเท่านั้น และไม่ได้แจกจ่ายอะไรกันมาก ดังนั้น ถ้าหากจะนำไปใช้ ก็พึงระลึกเอาไว้ด้วยครับ และห้ามนำไปใช้ในการค้าเป็นอันขาดครับ หรือจะติดต่อมาทางอีเมลที่ [email protected] ก็ได้ครับ
เอาล่ะ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าก่อนอื่น เราไปหาซื้อวัดรอบกันก่อน
ที่ที่ผมคิดว่าน่าจะมีขาย ตอนนี้ที่แน่ๆคือ คลองถมครับ มีชัวร์ๆ ถ้าที่อื่นก็คงจะเป็นย่านที่มีของจำพวกอะหลั่ยรถ หรือของแต่งรถ นั้นก็อาจจะมีครับ อย่างวรจักร เซียงกง
ส่วนวัดรอบเนี่ย มันก็มีหลายเกรด ตั้งแต่ราคา 450 ไฟสีเหลือง บอดี้พลาสติ้กกิ้กก๊อก จนถึง ตัวละเหยียบหมื่น ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์เลยก็มี โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นยี่ห้อที่ทำตราเลียนแบบยี่ห้อดังๆอย่าง Auto Meter ก็จะมี AUto Gauge ทำออกมาเลียนแบบ และรูปทรงก็จะคล้ายๆกัน แต่พวกของเลียนแบบส่วนใหญ่จะเป็นของจีนซะเยอะครับ ราคาของเลียนแบบก็ตกอยู่ที่ตัวละ 450 -3000 บาทแล้วแต่ออฟชั่นและการออกแบบ แบบที่มี Shift Light (ไฟเตือนเวลารอบสูงให้เราเปลี่ยนเกียร์ ตั้งเองได้) ก็จะแพงหน่อยครับ ถ้าแบบไม่มีชิฟไลท์ แต่เปลี่ยนสีแบ๊กไลท์ได้ ก็จะอีกระดับนึง แต่ถ้าเป็นแบรนเนมจริงๆ คงจะไม่ต่ำกว่า 2 พันบาทเป็นแน่ๆครับ แต่เท่าที่เคยสัมผัสมา ของแบรนเนม เนื้องานจะเนี้ยบกว่ามาก
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาเลือกซื้อ ถ้าจะซื้อมาติดกับคอมพิวเตอร์ คุณจำเป็นต้องเลือกแบบที่มันรับสัญญาณลูกคลื่นไฟฟ้าครับ เวลาซื้อคนขายก็จะถามว่า เอาไปใช้กับเบนซินหรือดีเซล ถ้าดีเซลเนี่ย เวลามันวัดรอบ มันจะวัดกันคนละจุด ดีเซลบางรุ่นวัดที่เฟืองท้าย บางรุ่นต่อตรงล้อเลยก็มี แต่ถ้าเป็นแบบเบนซิน ส่วนใหญ่ที่ขายๆจะเป็นแบบต่อคร่อมคอล์ยจุดระเบิดครับ ของผมก็ซื้อแบบนี้มาครับ คร่อมคอล์ย จุดระเบิด คือถ้าใครอยากจะซื้อแบบอื่นมาลองก็ลองกันได้นะครับ แต่ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ครับ
ส่วนที่ผมไปหามาได้ก็นี่เลยครับ ยี่ห้อ Race Tech ตัวละ 720 บาทครับ ของจีน เป็นแบบไฟแบ๊กไลท์ LED เปลี่ยนได้ 7 สี มีสเกลมาให้ 8000รอบต่อนาที บอดี้ทำจากพลาสติกครับ รองรับเครือ่งยนแบบ 3สูบ 4สูบ แล้วก็ 6สูบ เบนซินครับ เพราะเวลาต่อกับรถต้องต่อคร่อมคอลย์จุดระเบิด
บรรจุในกล่องกระดาษ ปกใส ดังรูปครับ
ทีนี้เรามาเปิดกล่องดูครับ
เปิดกล่องมา ก็จะเจอวัดรอบของเราครับ ตัวนี้แถมขาตั้งตรงคอนโซลหน้ารถ แล้วก็แถมน๊อตยึดให้ด้วย แล้วก็มีคู่มือประกอบการติดตั้งครับ ส่วนหัว Molex นี่อย่าเพิ่งตกใจนะครับว่าจะมีให้ จริงๆมาเป็นสายสีดำเส้นเดียวครับให้มาปอกหัวเอง แต่หัว Molex นั้นผมไปซื้อแบบ สาย Y มาจากพันทิพย์พลาซ่าครับ เอามาตัดหัว FDD ออกแล้วบัดกรีเข้ากับวัดรอบของเราครับ
การติดตั้ง
สำหรับวิธีการติดตั้ง ส่วนใหญ่ ก็ควรที่จะอิงจากคู่มือของวัดรอบที่แต่ละท่านซื้อมาครับ มันจะมีบอกไว้ว่า สายไหนเป็นสายไหน เอาเป็นว่า เดี้ยวจะยกตัวอย่างของผมให้ดูก็แล้วกัน
ฮ่าๆ และแน่นอนครับ ในคู่มือมันคงไม่บอกวิธีมาเป็นแบบของคอมพิวเตอร์หรอกว่าจะต้องต่อเข้าสายไหนสายไหน (ก็มันทำมาสำหรับรถนี่) อิอิ จุดนี้อาจจะต้องใช้ Sense ของแต่ละท่านสักนิดนะครับในการเดา
ในการติดตั้งของผม ผมได้เลือกใช้สาย Y ที่ต่อจาก PSU มาครับ
Note ให้สักนิดนึงก็แล้วกันว่าสายจาก PSU เส้นไหนเป็นอะไร
-สีดำ Ground
-สีเหลือง +12 Volt
-สีแดง + 5 Volt
ทีนี้พอผมได้สาย Y มาแล้ว แต่ทีนี้สาย Y ของผมที่ได้มา มีดีตรงที่ว่ามันแถมหัวที่ใช้เสียบกับ Floppy ให้ด้วย ทีนี้ก็สบายเลยครับ ผมก็เลยตัดออก หัวกุดอยู่อย่างในรูปนั้นแหละ แล้วก็นำสาย สีเหลือง บัดกรีเข้ากับ สายของวัดรอบที่ต้องจ่ายไฟ
อันได้แก่
- ไฟแบ๊กไลท์
- ตัวควบคุมการเปิดปิดของวัดรอบที่ต่อเข้ากับระบบ Start ของรถยนต์
- ไฟเลี้ยง Memory ว่าเราตั้งไฟเป็นสีอะไร
ส่วนสายสีดำ ก็บัดกรีเข้ากับสายสีดำเลยครับ เพราะเป็นสายดิน
เสร็จแล้วจะมันก็จะเหลือ สายสีเขียว หรือถ้าหากว่า ยี่ห้ออื่นเป็นสายสีอื่นก็ให้สังเกตจากคู่มือครับ มันจะเป็นเส้นที่ต่อคร่อมคอล์ยจุดระเบิด หรือเส้นที่ต่อรับสัญญาณมาจากเซ็นเซอร์ที่เฟืองท้าย หรือชุดเกียร์ อย่างอื่น
ก่อนอื่นขออิงก่อนก็แล้วกัน ตามหลักการแล้ว วัดรอบของเราที่มันทำงานร่วมกับพีซี มันจะรับสัญญาณมาจากพอร์ต Serial หลังเครื่องครับ ซึ่งการต่อสายสัญญาณ ก็ทำได้โดยการต่อสายสัญญาณของวัดรอบ เข้ากับสาย Serial ที่ต่อเข้ากับหัว TD หรือ TX หรือว่า TXD มันจะเป็นช่อง Transmitted Data ของพอร์ตซีเรี่ยว ซึ่งมันจะมีไดอะแกรมของสาย Serial ที่ต่อเข้ากับหลังเครื่องเราดังนี้ครับ
Pin | Assignment | Description |
---|---|---|
1 | DCD | Data carrier detect |
2 | RXD | Receive data |
3 | TXD | Transmit data |
4 | DTR | Data terminal ready |
5 | GND | Signal ground |
6 | DSR | Data set ready |
7 | RTS | Request to send |
8 | CTS | Clear to send |
9 | RI | Ring indicator |
แค่นี้ก็คงไล่กันได้แล้วนะครับ สำหรับวิธี อาจจะหาสายซีเรียลมาสักสายนึงแล้วเอามาปอก แล้วบัดกรีเข้ากับวัดรอบของเราก็ได้ครับ
แต่เมนบอร์ดสมัยใหม่ มันมักจะไม่มี Serial Port มาให้หลังเมนบอร์ดแล้ว ส่วนใหญ่จะมาเป็นสายๆไว้ต่อมาหลังเคส แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ บางรุ่นยังไม่มีสายมาให้เลยครับ มีคอนเน็กเตอร์มาให้บนเมนบอร์ดอย่างเดียว อย่างของผมใช้ Lanparty nf4-D มันก็ไม่มีครับ เลยต้องใช้วิชามาร แบบนี้ล่ะ ฮ่าๆๆ
ในรูปที่เห็นนี่ผมไปตัดมาจากเคสเก่าๆที่ไม่ใช้แล้วครับ มันเป็นแจ๊กเสียบลำโพงเปียโซหน้าเคส ซึงมันต่อได้พอดีกับพอร์ตสำหรับโยงสายมาหลังเคสบนเมนบอร์ดเรา เพียงแค่เราหาตำแหน่งว่า ขาไหนเป็นขา TD แล้วก็ทำการบัดกรี สายสีเขียวของเราเข้ากับแจ๊กตัวนี้ แล้วก็เสียบให้ตรงกับขา TD บนเมนบอร์ดเรา เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ สะดวกดีกว่าวิธีแรกอีกนะ (ผมคิดเอาเอง)
ส่วนขา TD ที่ว่า ถ้าอยากรู้ว่ามันคือขาไหน ให้เปิดคู่มือเมนบอร์ดดูครับ ถ้ามันมีขาแบบนี้บนเมนบอร์ด (ที่สำหรับโยงสาย Serial) มันต้องมีไดอะแกรมบอกแน่นอนครับ บางทีการเรียกชื่ออาจจะต่างกัน อย่างที่บอกไปตอนแรก อาจจะมี TD TX TXD ต่างๆนาๆ ต้องใช้ Sense เล็กน้อยในการเดาครับ
อาวล่ะ Wiring สายเสร็จแล้ว
อ้อ ลืมบอก โปรแกรมส่วนใหญ่ที่เขาใช้ๆกัน จะทำงานได้กับวัดรอบแบบที่วัดกับเครื่อง 4สูบนะครับ (ส่วนใหญ่จะนิยมมาก) เพราะฉะนั้นถ้าวัดรอบของคุณมาให้เลือก 4สูบ หรือ 6สูบ หรือ 3สูบ ก็เลือกไว้ที่เลข 4ครับ
มาดูผลงานๆ
|
|
อันนี้ตอนฟูลโหลดครับ เด้งไปถึงนี่เลย (ท่านช้างม่วงคงชอบนะ) | อีกสีนึงครับ |
มาจับคู่กับเคสคู่บุญของผม อิอิ | แดงแป๋นมาแต่ไกลเลย |
คงไม่มีอะไรจะพูดอีกแล้วล่ะครับ หวังว่า พวกเราชาว VModtech คงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ ไม่มากก็น้อยนะครับ สวัสดีครับ……
ขอขอบคุณท่าน ช้างน้ำ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการต่อ และโปรแกรมครับ