Debut ! NVIDIA GF100 “FERMI” to introduce nVidia GeForce GTX470/GTX480
Share | Tweet |
.
..สวัสดีครับ วันนี้ก็ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดีที่ NVIDIA จะยอมปล่อย และเปิดเผยข้อมูลของกราฟฟิคการ์ดที่เป็นที่รอคอยกันมานานของเหล่าเกมเมอร์ ซึ่งนั้นก็คือ GeForce GTX470/480 ที่ใช้รหัสในการพัฒนาใหม่ว่า GF100 หรือโค้ดเนมที่พวกเราอาจจะรู้จักกันในชื่อของ FERMI นั่นเองครับ ที่ก่อนหน้านี้นั้น ก็ได้มีการปล่อยข่าว ทั้งข่าวลือข่าวลอยอะไรทั้งหลายแหล่ และปล่อยให้คู่กัดตลอดกาลอย่างค่ายสีแดง ATi นั้นชิงเปิดตัว HD5870 ที่รองรับ Direct X 11 กันไปก่อนหน้านี้แล้ว วันนี้ก็ถึงเวลาแล้วครับที่ NVIDIA จะปล่อยหมัดกลับไปทางฝั่งคู่แข่ง กับการปล่อยกราฟฟิคชิป ภายใต้สถาปัตยกรรม GF100 มาให้พวกเราได้ยลประสิทธิภาพกัน
…นับตั้งแต่กราฟฟิคชิปรหัสการพัฒนา G80 ถือกำเนิดขึ้น นั้นก็เปรียบเสมือนเป็นก้าวที่สำคัญก้าวหนึ่งของ NVIDIA และวงการกราฟฟิคชิปของโลกใบนี้ กับโครงสร้าง Scalar shader design ที่ถือเป็นรุ่นพี่ ของเหล่าชิป GT200 ที่กำลังจะหมดอายุการตลาดลงในปัจจุบัน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมใหม่ GF100 นี้ด้วยนั้นเองครับ
กราฟฟิกชิปใหม่ เทคโนโลยีใหม่ (ที่ไม่ใช่เรื่องใหม่)
…เป็นเรื่องที่แน่นอนครับว่า กราฟฟิคชิปแต่ละรุ่นที่คลอดออกมาใหม่แทบจะทุกๆปีนั้น ออกมาใหม่ ก็จะต้องมีพลังการประมวลผลที่สูงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว และแน่นอนครับในโลกของกราฟฟิคนั้น พลังที่สูงขึ้น ไมได้หมายความว่าจะสามารถสร้างสรรค์ภาพกราฟฟิคที่สวยงามสมจริงได้เสมอไป เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์นั้น มีการถูกคิดค้นขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ซึ่งกราฟฟิคชิปใหม่นั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีความสามารถที่จะรองรับ วิธีคิดเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ นั้นคือสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ครับ เกี่ยวกับเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใหม่ใน Direct X 11 ที่ซึ่งจะเข้ามาปฏิวัติภาพกราฟฟิคบนคอมพิวเตอร์ของเราให้เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว
…สืบเนื่องมาจากกราฟฟิกชิกภายใต้โครงสร้างรุ่นเก่านั้นมีประสิทธิภาพในการคำณวน และประมวลผล ที่สูง อย่างที่เราๆท่านๆทราบกันดีครับ แต่ปัญหาหลักของ G80 / GT200 นั้นคือเรื่องของคอขวด กล่าวคือ G80 และ GT200 นั้นถูกพัฒนามาเพื่อเน้นพลังในการประมวลผลของ Streme Processor เป็นหลักครับ ซึ่งตรงนี้ท่าน IRONA นั้นก็ได้เขียนบทความถึงรายละเอียดไว้หมดแล้ว เกี่ยวกับปัญหาในสถาปัตยกรรม G80 GT200 ซึ่งท่านก็สามารถที่จะย้อนกลับไปหาอ่านได้ที่ บทความนี้ ครับ
Tesselation
…เทคนิคการทำ Tesselation นั้น ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาคอขวดที่ว่านั้นแหละครับ กล่าวคือเทคนิคนี้ จะมีส่วนช่วยในการลดขนาดของข้อมูล ถ้าจะให้พูดกันง่ายๆ ภาษาบ้านๆ ก็คือ Tesselation นั้นจะทำให้ภาพที่ถูกสร้างมาด้วยโพลิกอนจำนวนที่ไม่มากนัก มีขนาดและมิติที่สมจริงมากขึ้น
…ถ้าจะให้เห็นภาพ ก็ให้ลองคลิกดูวีดีโอด้านบน ของโปรแกรม Unigine Benchmark ครับ ตรงนี้จะมีการเปรียบเทียบเทคนิคการเรนเดอร์ ทั้งแบบที่ไม่ได้ทำ Tesselation และทำ Tesselation ก่อนทำ Tesselation นั้นตัวพื้นผิวผนังนั้นก็จะแบนๆเป็น Texture ธรรมดาๆ แต่พอทำแล้ว ก็จะเห็นได้ถึงรายละเอียด ส่วนนูนส่วนเว้าต่างๆได้อย่างสมจริง
…หากเป็นเทคโนโลยีเก่าๆใน Direct X 10/9 นั้น เราจะต้องใช้โพลิกอนจำนวนมากมายในการสร้างพื้นผิวที่มีความสมจริงขนาดนี้ และนั้นจะเป็นต้นตอของปัญหาคอขวดในการประมวลผล ซึ่้ง Tesselation นั้น จะมาช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างพื้นผิวเพียงแค่เป็นลักษณะระนาบแบนๆ แล้วใส่ลักษณะ ข้อมูลลงไปทีหลัง แล้วให้ตัวกราฟฟิคชิปประมวลผลออกมา จากแผ่นระนาบแบนๆ ออกมาเป็นวัตถุที่มีมิติสูงต่ำ ออกมาสมจริง ดังภาพด้านบนนี้ครับ
…กล่าวคือ Tesselation นั้นเกิดมาเพื่อเอื้อโอกาสให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ภาพกราฟฟิคและเกมต่างๆ สามารถสร้างสรรค์งานที่ไม่ได้มีโพลิกอนมากมายนัก ประหยัดแบนด์วิดท์ของกราฟฟิคชิปได้ แต่สามารถสร้างให้ภาพออกมาได้มีมิติ สมจริง รวมไปถึงการใส่แสง เงา การเคลื่อนไหวต่างๆที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยที่ไม่ได้กินแรงจากกราฟใฟิคการ์ดมากนักนั้นเอง
The GF100 Architecture
คงไม่ต้องกล่าวกันถึงอะไรอีก กับสิ่งที่ท่านสมาชิกทุกท่านกำลังรอคอย ก็คือสถาปัตยกรรม GF100 ครับ ภาพด้านบนนั้นเป็นภาพ die shot จากทาง NVIDIA ซึ่งจะได้อธิบายกันต่อในภาพต่อไปด้านล่าง…
…โครงสร้างของ GF100 นั้น เป็นกราฟฟิคชิปมี Streme processor รุ่นที่ 3 หากมองที่ภาพด้านบนนั้น เราจะเป็นได้ว่า GF100 ถูกออกแบบโดยแบ่งเป็นสัดส่วนได้ 4 ก้อนใหญ่ๆครับ ไอ้เจ้าก้อนใหญ่ๆตรงนั้น เขาเรียกว่า GPC ย่อมาจากคำว่า Graphics Processing Cluster กล่าวคือใน GF100 นั้นจะบรรจุ GPC มาทั้งหมด 4 GPC ทั้งหมดนี้ถูกเชื่อมต่อด้วย Host Interface และ Memory Controller แบบ GDDR5 ถึง 6 ชุดด้วยกัน ซึ่งรองรับระบบ ECC และโครงสร้างโดยภาพรวมนั้น จะมี Level 2 Cache ขนาด 768kb ที่สามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้หมดทั้ง 4 GPC อยู่ตรงกลางภาพด้านบน
…ในส่วนของ GPC นั้นภายในนั้นจะประกอบไปด้วย กลุ่มของ SM (Stream Multi processor) จำนวนสี่ชุด โดยในแต่ละ SM นั้นก็จะมี CUDA Core แยกย่อยลงไปอีก เพราะเหตุนี้แหละครับ เขาจึงเรียกมันว่า Graphics Processing Cluster ซึ่งจะเสมือนว่าเป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กๆภายในตัว GPC ถูก Cluster กันมาเรื่อยๆ
…โดยที่แต่ละ SM นั้นจะมี Polymorph Engine ทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับ โครงสร้างทางสามมิติของวัตถุ (Geometry) ออกมา ซึ่งตรงจุดนี้แหละครับ ที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำ Tesselation ในระดับ Hardware ที่ผมได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งทั้งหมดนี้สุดท้ายแล้ว ข้อมูลที่ประมวลผลทั้งหมด ก็จะถูกส่งไปยัง Raster Engine ที่จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปของ Vector (แบบเส้น) ให้ออกมาเป็น Pixel (แบบจุด)
…โดยสรุปแล้ว GF100 ในที่นี้นั้น จะมีชุด GPC ทั้งหมด สี่ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย SM (Streaming Multi processing) สี่ชุด รวมทั้งหมดแล้ว GF 100 ก็จะมี SM ทั้งหมด 16 ชุด ชุดละ 32 คอร์ ซึ่งรวมกันแล้วก็จะนับได้ 512 CUDA Core รวมไปถึง Polymorph Engine ที่จะคอยช่วยประมวลผลในส่วนของการทำ Tesselation ในระดับฮาร์ดแวร์ทั้งหมด 16 ชุด ด้วยกันครับ ส่วนในด้านของ Cache Memory นั้นจะมี Level 1 Cache ขนาด 64kb และ L2 ขนาด 768kb ด้วยกันครับ
โดยข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ในเอกสาร Whitepaper เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม GF100 เท่านั้นนะครับ มิใช่เสป็คของกราฟฟิคการ์ด GTX480/470 ตัวใดตัวหนึ่งเสียทีเดียว
ภายใน SM โครงสร้างใหม่ ที่มีการบริหารจัดการ Level 1 Cache ให้มีประสิทธิภาพ และความจุมากยิ่งขึ้น
…นอกจากนี้แล้วการถือกำเนิดของ Polymorph engine นั้น นอกจากจะทำให้วัตถุที่มีโพลิกอนเท่าเดิม เกิดมีมิติ ขนาด และรายละเอียดที่สมจริงมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้นักพัฒนากราฟฟิค สามารถใส่ลูกเล่นไปในภาพกราฟฟิคที่แปลกใหม่ได้ อาทิเช่น Depth of field หรือระยะชัดตื้นชัดลึก ดังภาพด้านบนนั้นเองครับ
นอกจากนี้ ก็ยังมีเทคโนโลยีใหม่ ที่เริ่มนำมาใช้ใน GTX4xx นั้นก็คือ 3D Vision ครับ
3D vision ต่อออกพร้อมกันสามจอ โดยการนำการ์ดสองใบมา SLI กัน ทำให้ได้ภาพแบบ Surround และมีเทคโนโลยีที่คอยช่วยลบรอยต่อระหว่างจอสองจอได้ด้วย รวมไปถึงเทคโนโลยี 3D vision นั้นจะทำให้เราสามารถรับชมภาพสามมิติแบบทะลุจอ (ต้องใช้งานร่วมกับแว่น) ได้อีกด้วยครับ
**ข้อมูลภายในหน้าหนึ่งทั้งหมด เรียบเรียงจาก White paper จากทาง NVIDIA
Geforce GTX480/GTX470
มาถึงตัวกราฟฟิคการ์ดกันแล้วนะครับ โดยเบื้อต้นแล้ว NVIDIA ได้ปล่อยกราฟฟิคการ์ดภายใต้สถาปัตยกรรม GF100 ออกมาทั้งหมด 2 รุ่นด้วยกันครับ คือ GTX480 และ GTX470 นั้นเอง
NVIDIA GTX480 Refrence card นั้นจะเป็นตัวเรือธงของทาง NVIDIA ครับ สนนราคาเปิดตัวอยู่ที่ราวๆ 499 ดอลล่าสหรัฐ
NVIDIA GTX470 Refrence card สนนราคาอยู่ที่ราวๆ 349 ดอลล่าสหรัฐ ครับ
…เผยเสป็คจริงๆกัน ก็จะพบว่าตัว GTX480 นั้นน่าผิดหวังไปนิดครับที่มี CUDA Cores เพียงแค่ 480 คอร์ เท่านั้น ไม่เหมือนกับที่ก่อนหน้านี้ NVIDIA ได้ออกเอกสาร Whitepaper ที่เป็นข้อมูลของบทความในหน้าแรกฉบับนี้ของเรา ว่ามันจะมี Cuda core มากถึง 512 ยูนิต (คิดจาก SM 16 ชุด 1 ชุด จะเท่ากับ 32 core) แต่ในทีนี้ ผมเข้าใจว่า NVIDIA คงจะต้องมีก๊อกสอง หรืออย่างไรสักอย่าง ที่จะเปิดตัวการ์ดที่มี SM 16 ชุดจริงๆ เพราะในเสป็คเราจะเห็นว่า แม้กระทั่ง 480 นั้นก็มี SM เพียงแค่ 15 ชุด เท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังจะมีเมมโมรีแบบ GDDR5 รวมไปถึง ROP (Raster engine) ถึง 48 ยูนิตด้วยกันครับ
**ซึ่งข้อมูลข้างต้นนั้น เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสื่อมวลชนในช่วงก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในเอกสาร Reviewer’s Guide ของตัวการ์ด GTX470/480
…โดยในวันนี้ ที่เราจะมาทำการทดสอบประสิทธิภาพกันกับ GF100 นั้นจะเป็นการ์ดรุ่นรองครับคือ GTX470 ซึ่งเสป็ค ก็คงจะไม่ต้องอธิบายอีก ตามในตารางด้านบนครับ ส่วนรูปร่างหน้าตาของตัวการ์ด เป็นรูป Official จากทาง NVIDIA นั้น จะเป็นดังรูปด้านล่างครับ สำหรับ GTX470
ตัวการ์ดนั้นเป็น From factor แบบ Dual slot เช่นเคยครับ และมาพร้อมกับ Dual DVI + HDMI
ดูรูปร่างแล้วอาจจะไม่ดุดันเหมือน 480 ที่เป็นซิงค์ฝาครอบอะลูมิเนียมทั้งดุ้น แต่ก็สวยไปอีกแบบ กับ 470 ฝาครอบสีดำ
.
ประมวลรูปภาพ การ์ด GTX470 Refrence (by vmodtech.com)
ตัวการ์ด จริงๆแล้วพลาสติกจะเงาๆนะครับ แต่เนื่องด้วยการจัดแสงบางอย่างของผู้ถ่ายภาพทำให้มันออกมาเป็นผิวด้านๆแบบ นี้
สองสลอต เต็มๆแน่นอนกับการ์ดใบนี้
รูระบาย อากาศออกนอกเคสหลังแบรกเก็ต และพอร์ต DVIx2 และ HDMI
ใช้ไฟ เพิ่มแบบ 6 พิน แค่สองเส้นเท่านั้นครับ
ด้านหลัง ก็โล่งๆ และแอบมีเซาะรูระบายอากาศบนแผ่น PCB ไว้ให้ตรงบริเวณพัดลมโบลว์เวอร์ด้วยครับ
System Configuration
…สำหรับในการทดสอบในวันนี้ เราก็ได้รับการอนุเคราะห์ซีพียู “Intel Core i7 Extreme 980X” ซึ่งเป็นซีพียู Core i7 แบบซอกเก็ต 1366 แบบ 6 Cores / 12 Threads สุดแรงจากทางอินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย ซึ่งก็คงต้องให้เครดิตไว้ล่างหน้าเลยครับ และระบบในการทดสอบทั้งหมดนั้น เราก็จะใช้อุปกรณ์ในการทดสอบการ์ด GTX470 ตามตารางด้านล่างนี้
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel? Core? i7 980X Extreme Edition “Gulftown” @ 4.6 GHZ |
.Motherboard | ..GIGABYTE GA-X58A-UD7 |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..NVIDIA Geforce GTX470 (Refrence card) |
.Harddisk | ..WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling |
.Power Supply | ..Thermaltake Toughpower 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
…ระบบที่ใช้ ก็เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาครับ ซึ่งหากจะทดสอบกันแบบความเร็วเดิมๆ ก็คงจะไม่ใช่การทดสอบตามตำราของเว็บเรากันอย่างแน่นอน ซึ่งระบบนั้นก็เป็นไปตามอย่างที่เห็นในรูปด้านบนครับ เปลือยเคส ซีพียูเล่นน้ำ เล่นในห้องปรับอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยราว 28 องศาเซลเซียส และสุดท้ายก็คล๊อกกันไปที่ 4.6Ghz ซึ่งการทดสอบและการ Overclock ทั้งหมดนั้นก็ต้องยกเครดิตให้กับท่าน Venom-Crusher อีกเช่นเคยนะครับ
.
…ซีพียูก็ถูกโอเวอร์คลอกกันไป ตามภาพเลยครับ เสถียรชัวร์ที่ 4.6 GHZ กับ Super PI 32m 12 Threads และ LinX แรมวิ่งที่ 1000mhz CL9 สบายๆครับ
Temperature & Overclockability
Default (Fanspeed default)
(Click Screenshot to Enlarge)
93-95 องศาเซลเซียส ความเร็วเดิม รอบพัดลมเดิมๆ ร้อนใช้ได้เลยครับ
.
Overclock @ 750/3,760MHz (Fanspeed 100%)
(Click Screenshot to Enlarge)
…66-67 องศาเซลเซียสโดยประมาณครับ กับการโอเวอร์คลอกจากเดิมที่ 607/1,676MHz ไปที่ความเร็ว 750/3,760MHz อย่างเสถียร ด้วยการปรับพัดลมให้ไปทำงานที่ 100% ตลอดเวลา ส่งผลให้อุณหภูมิเย็นลงด้วยครับ แต่ต้องแลกมากับเสียงรบกวนที่ค่อนข้างสูงครับ
Unigine Heaven Benchmark
…สำหรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมอย่างแรกๆที่ผมอยากจะให้คุณผู้อ่านได้สัมผัสถึงประสิทธิภาพในการทำ Tesselation ของ GTX470 ครับ โดยท่านสามารถดูภาพที่ออกมาจากการ์ดตัวนี้ได้ด้วยการคลิกที่ผลการทดสอบ (รูปด้านล่าง) และส่วน fps ผมได้ทำกราฟสรุปไว้ให้แล้วด้านบนนี้ครับ
อัดคอนฟิคกันสุดเหยียดเท่าที่มีให้ปรับได้สูงสุด
Default
(Click Screenshot to Enlarge)
.
Overclock @ 750/3,760MHz
(Click Screenshot to Enlarge)
…อยากให้ลองคลิกเข้าไปชมภาพขนาดเต็มๆดูครับ ว่าสวยมากมาย โพลีกอนเหลี่ยมๆได้หมดไปแล้วเมื่อเจอกับเทคโนโลยี Tesselation ของ DX11 เข้าไป
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
แรงใช้ได้เลยครับ การ์ดเดี่ยว ชิปเดี่ยว หวดไปเกือบ90,000แต้มแล้ว
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
3DMark05 ก็แรงจัด การ์ดเดี่ยว ชิปเดี่ยว หวดกันไปเกือบ40,000
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
ส่วน3DMark06 ก็ยังหวดกันไปเกือบ 30K แร๊งงงงง
Default (Physx On)
Overclock @ 750/3,760MHz (PhysX On)
Default (PhysX off)
Overclock @ 750/3,760MHz (PhysX off)
Vantage ก็ยังคงแรงครับ ขนาดปิด PhysX เวลา OC ยังเกือบทะลุ 20,000
…สำหรับเกมสุดโหดที่ใช้ Direct X 10 อย่าง Crysis นั้นการทดสอบของเราก็ได้ทำการปรับค่าจนแทบจะเรียกได้ว่า “หมดแมก” กันครับ โดยการทดสอบในโหมด Enthusiast ที่ความละเอียดเต็มจอ 1920×1200 ซึ่่งก็ยังสามารถทำผลงานออกมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ
Default
Overclock @ 750/3,760MHz (PhysX off)
…Dirt 2 นั้นเป็นอีกเกมหนึ่งที่ใช้งาน DIrect X11 ครับ ซึ่งการตั้งค่าในการทดสอบของเรานั้น ก็ยังจะคงเน้นการตั้งค่าไปที่ Ultra โดยยืนพื้นที่ความละเอียด 1920*1200 และลบรอยหยักที่ระดับ 8x ครับ
ปรับสุดๆกันทั้งนั้น โหดจริงๆ
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
SETTINGS
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
SETTINGS
.
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
SETTINGS
.
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
SETTINGS
Default
Overclock @ 750/3,760MHz
.
CONCLUSION
…สำหรับการเริ่มต้น ปฐมบทของกราฟฟิคการ์ด Direct X 11 จากทาง NVIDIA นั้นก็เดินทางมาถึงบทสรุปกันแล้วนะครับ เริ่มกันที่ค่าตัวของการ์ด GTX470 ในบทความนี้ ทาง NVIDIA ตั้ง Reference price ไว้ที่ 349 USD. คิดเป็นเงินไทยก็จะได้ราคาราว 11,xxx บาทไทย ส่วน GTX480 นั้นจะอยู่ที่ 499 USD. คิดเป็นเงินไทยได้ราว 16,xxx-17,xxx บาทไทย ซึ่งราคาที่ตั้งมาสำหรับตัวท๊อป ก็ถือว่าไม่ได้แรงแพงเหมือนสมัยก่อนที่ G80 ออกมาใหม่ๆแล้วครับ
…ตามหลักทั่วๆไปแล้ว หากมองสเป็คและการวางเกมส์ของ NVIDIA GTX470 นั้นน่าจะถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถที่จะต่อกรกับ Radeon HD 5850 ได้อย่างพอดี เพียงแต่ราคาที่ตั้งไว้มันสูงกว่าตัว HD 5850 ที่ขายกันอยู่ในท้องตลาดอยู่ระดับหนึ่งเลยทีเดียว และแถม GTX480 ที่น่าจะขึ้นไปฟัดกับ Radeon HD5870 นั้นก็มีราคาที่โดดไปถึง 499 USD. ซึ่งถ้าเทียบกับราคาตลาดของการ์ด 5870 ในบ้านเราตอนนี้ ก็ต้องบอกได้เลยครับว่าสูงกว่า ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้ามองในแง่ของคนที่ใช้งานจริงๆ การซื้อการ์ด NVIDIA ที่ราคาอาจจะแพงกว่า แต่ก็ไม่ได้เป็นการจ่ายเงินที่เสียเปล่าอย่างแน่นอนครับ เพราะว่าได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อัดมาแน่นและเยอะกว่าของค่ายคู่แข่งอย่างแน่นอน นับตั้งแต่ PhysX ที่กำลังจะมีเกมส์อีกหลายร้อยเกมส์ที่ Support กำลังจะออกมาในปีนี้ CUDA ที่ตอนนี้ก็มีซอฟท์แวร์ที่ออกมารองรับมากขึ้นๆ ต้องอย่าลืมนะครับว่า CUDA ของ NVIDIA นั้นรองรับภาษาสำหรับโปรแกรมเมอร์ ที่หลากหลายกว่าของค่ายอื่น ส่วนทีเด็ดสุดท้ายก็คือส่วนการทำ Tesselation ระดับฮาร์ดแวร์ถึง 15ชุด ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีเพียง 1ชุดแล้ว น่าจะทำให้ในการทำเอฟเฟคต์ Tesselation ซึ่งเป็นตัวชูโรงที่สำคัญของ DX11 ของ GF100 แรงกว่าแบบไม่ต้องสงสัยอันใด
…สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งสำหรับ GTX480 / GTX470 นั้นก็คือ อัตตราการบริโภคพลังงานครับ ที่ของตัว GTX480 นั้นกระโดดขึ้นไปถึงระดับ TDP 250watts และตัว GTX470 นั้นอยู่ที่ 205watt ส่งผลให้ PSU ขนาดที่ NVIDIA รองรับว่าควรจะใช้งานร่วมกับการ์ดเหล่านี้ ต้องมีขนาด 550 และ 600 watts ขึ้นไป เลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่แล้วนะครับ เพราะว่าราคา Power Supplies ในปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้สูงมากมายเหมือนเมื่อก่อนแต่อย่างใดครับ
.
สำหรับวันนี้ ก็คงต้องขอจบบทความเอาไว้แต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
.
.