Delux DL-R600 600watt PSU Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ วันนี้ก็มาพบกับผม พักเรื่องหนักๆเอาไว้ก่อน (อีกแล้ว) แล้วมาพบกับรีวิวอุปกรณ์ที่ดูเหมือนจะไม่หนักหนามากหนัก แต่ก็มีความสำคัญกับระบบ PC ของเรา นั้นก็คือ PSU นั้นเองครับ วันนี้เราได้รับ PSU จาก DELUX ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของ PSU ราคาถูกที่มีคุณภาพ สามารถจ่ายไฟให้กับซิสเต็มโหดๆได้ ไม่แพ้กับ PSU ราคาแพงๆเลยทีเดียวครับ
DL-R600 เป็นอีกหนึ่งในครอบครัว Delux ในรุ่น R series เป็น PSU ขนาด 600 วัตต์ มาตรฐาน ATX ver. 2.2 แหล่งจ่าย 12Volt สองเฟส เฟสละ 22a ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะสามารถจ่ายไฟได้ 34a สำหรับ 12v รองรับมาตรฐานทั้ง ATi Crossfire และ NVIDIA SLI ครับ ซึ่ง R series ของ Delux นั้น จะจัดไว้เป็น PSU ระดับที่สูงขึ้นมาจาก PSU มาตรฐานที่เดิม Delux เคยทำตลาดอยู่ โดยจะมีทั้งรุ่น 850 วัตต์ที่ได้รับมาตรฐาน 80plus ก็จัดว่าเป็น R series ด้วยเช่นกัน
ตัว PSU นั้นมาในรูปของสีดำ พร้อมพัดลมระลบายความร้อนขนาดใหญ่ด้านล่าง ตามสมัยนิยม ส่วนด้านท้ายที่เป็นรูระบายอากาศนั้นก็จะเป็นแผงรังผึ้ง
พัดลมขนาด 14cm
DELUX DL-R600 ยังคงใช้ระบบ Power factor correction แบบ Passive อยู่ครับ จะสังเกตได้ว่า เรายังคงต้องมีการปรับระดับแรงดันไฟที่ใช้ ระหว่าง 220 หรือ 110 โวลต์ ตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ โดยระบบ Passive PFC ที่ว่านั้น จะเป็นระบบแก้ค่าตัวประกอบกำลัง โดยใช้คาปาซิเตอร์หนึ่งตัวต่อคร่อมกับสายไฟขาที่จะเข้าไปยังวงจรกรองและแปลงกระแสไฟเป็น DC ต่างจากระบบ Active PFC ที่จะใช้เป็นวงจรที่มีความซับซ้อนในการแก้ค่า PF ครับ
ฉลาก แบบชัดๆ
สายสามารถถอดได้ ตามอรรถภาพ แต่สายกลุ่มที่จะฟิกซ์ตายตัวมานั้น ไม่น่าเชื่อครับว่านอกจากจะมีสาย ATX มาตรฐานแล้ว ยังคงรวมสายสำหรับการ์ดจอ PCI E มาให้อีกถึง 3 connector ติดรวมอยู่ในสายชุดหลักนี้
ความยาวจัดได้ว่าพอสมควรครับ
สายที่แถมมาให้ ก็มีมาให้พอดีๆ ไม่ได้เยอะจนเหลือเก็บแน่นอน
Power Factor Correction Test.
ค่า PF นั้น ยังคงทำได้ไม่ดีนักครับ ภาพนี้เป็นภาพขณะ Full load จะสังเกตว่า ทำได้แค่เพียง 0.6 ซึ่งผมว่ามันเป็นปกติสำหรับ PSU ที่ใช้ระบบ Passive Power factor correction ซึ่งค่าตัวประกอบกำลังนี้ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจ่ายกระแสไฟให้กับคอมพิวเตอร์ของเราครับ แต่จะไปมีผลต่อโหลดของไฟบ้าน ที่จะมีกระแสในส่วนของ VAR ที่สูงขึ้น ซึ่งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นด้วยนะครับ เพราะว่ากระแสไฟบ้านนั้น จะคิดค่าไฟจาก Watt ที่ใช้งานจริงๆ ไม่รวมถึงวัตต์แบบ VAR ด้วยนั้นเอง
Load Test
โหลดที่วัดได้จากมิเตอร์ พุ่งไปกว่า 650 วัตต์ ซึ่งก็อาจจะมีการเพี้ยนกันบ้าง แต่คาดว่า คงจะเต็มกำลังของ PSU ตัวนี้ที่สามารถรับได้ (ซึ่งผมว่าคงไม่ถึง 650watt แน่ครับ)
ระหว่างการทดสอบ มี error บ้างนะครับ แต่ว่า เราสามารถนำกราฟมาใช้วิเคราะห์์ประสิทธิภาพของ PSU ได้ ไม่มีปัญหา
VCore นิ่งสนิท ต้องขอบคุณภาคจ่ายไฟของ Asus Rampage II Extreme ครับงานนี้
3.3 ก็ยังถือว่าดรอปลงไปไม่มาก และมีการแกว่งเล็กน้อย แต่อยู่ใน % เพียง 1.45% ก็ถือว่าพอไหวครับ
5V นี่ถึงจะไม่ค่อยสำคัญต่อระบบหลักๆของเครื่อง แต่จะไปมีผลในส่วนของ USB หรือพอร์ต I/O อื่นๆเสียมากกว่า
อันนี้คือ 12V เป็นไลน์หลักของระบบที่อุปกรณ์กินไฟส่วนใหญ่จะใช้ไฟในย่านแรงดันนี้กัน แกว่งพอสมควร แต่ก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา เครื่องไม่ดับไม่น็อค ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ เพราะว่าระบบที่เราใช้ในการทดสอบนั้นเรียกได้ว่า โหดเกินตัว PSU ไปเสียหน่อยครับ
.
…สำหรับ Delux R600 นั้นก็จัดได้ว่าเป็น PSU ที่ให้กำลังไฟที่ค่อนข้างสูง ในราคาที่คุ้มค่าตัวหนึ่ง โดยจากที่ผมสืบๆมา ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2500 บาทครับ โดยคงจะมีข้อเสียก็ตรงที่ระบบ Power factor correction นั้นยังคงเป็นแบบ Passive อยู่ ซึ่งนั้นก็ไม่ได้ความว่าจะทำให้ PSU ของเราจ่ายไฟได้ไม่เต็มที่ แต่อย่างใดครับ ถ้าใครที่คิดจะซื้อไปใช้ ก็เรียกได้ว่า สมเหตสมผลดี หากท่านจะนำไปใช้กับระบบที่มีซีพียู ที่กินไฟน้อยกว่าระบบที่ผมใช้ทดสอบอยู่นี้ แต่เรื่องของกราฟฟิคการ์ด ทาง Exmory นั้นเคลมมาเลยครับว่าสามารถนำไปใช้กับการ์ด GTX285 ได้อย่างไม่มีปัญหา ใครที่ใช้ซีพียู Dualcore อยู่ ผมคิดว่า คงจะใช้งานได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าใช้ซีพียูตัวโหดๆแล้วแถมยัง OC อีกด้วย ก็คงจะมีเสียวบ้างครับถ้าใช้การ์ดจอที่กินไฟโหดๆอย่าง GTX แบบนี้
…สุดท้ายก็คงจะจบลงที่ Delux DL-R600 และ R Series ทุกรุ่น ประกัน 5 ปีเต็ม โดยบริษัท Exmory ผู้นำเข้าโดยตรงเลยนะครับ สวัสดีครับ….
.
.
ขอขอบคุณ บริษัท Exmory