ECS Z77H2-AX Black Extreme Golden Board Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ผมก็ขอพามาพบกับเรื่องราวของ Ivy Bridge และคู่หู Intel® Z77 Express Chipset กันอีกครั้งนะครับ โดยในวันนี้เราก็จะมาชมพลังและความสามารถของมาเธอร์บอร์ดจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่ แห่งวงการไอทีฮาร์ดแวร์อีกแบรนด์หนึ่งอย่าง ECS ที่คราวนี้จะมากันในรุ่นที่ชื่อ ECS Z77H2-AX นะครับ แต่ก่อนอื่นเราก็ไปชมรายละเอียดต่างๆโดยรวมของซีพียู 3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K Processor รุ่นที่เกิดมาเป็นคู่บุญรุ่นท็อปสุดของ Intel® Z77 Express Chipset ที่จะนำมาใช้ทดสอบร่วมกันในบทความนี้ก่อนนะครับ
…Ivy Bridge Intel Core 3rd generation นั้นมันก็คือ Sandy Bridge Intel Core 2nd generation ที่ถูกปรับปรุงรายละเอียดยิบย่อยตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิต (22นาโนเมตร) ไปจนถึงฟีเจอร์ต่างๆของตัวโปรเซสเซอร์ ให้ดียิ่งๆขึ้นไปนั้นเองครับ แต่ยังคงพื้นฐานของ Sandy-Bridge ไว้ ถ้าให้พูดกันง่ายๆก็คือเป็น Sandy-Bridge Minorchange ออกมาเรียกว่า “Ivy Bridge”
…ทุกครั้งที่อินเทลมีการเปิดตัวสถาปัตยกรรมระดับไมโครใหม่ หรือมีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์เจเนอร์เรชั่นใหม่ ก็คงจะได้หยิบยกเอาโมเดล “Tick-Tock” ของทางอินเทลขึ้นมาอธิบายอยู่ร่ำไป ครั้งนี้ก็เช่นกัน กล่าวได้คือจังหวะนาฬิกาเทคโนโลยีของอินเทลเดินไปในช่วง “Tock” นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมระดับไมโครขนานใหญ่ หรือว่ากันให้เข้าใจง่ายๆก็ต้องใช้คำว่า “Modelchange” ส่วนจังหวะ “Tick” นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมระดับไมโครด้วยการอิงพื้นฐานของโมเดล เริ่มต้น และนำมาปรับปรุงฟีเจอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมากเป็นการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้ละเอียดขึ้น (นาโนเมตร)
…แน่นอนครับว่า Ivy-Bridge ที่ถูกจัดให้อยู่ในช่วงจังหวะการเดินทาง “Tick” นั้นคือการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมระดับไมโครของอินเทลโดยอิงพื้นฐานมาจาก “Sandy-Bridge” ที่เราคุ้นเคยกันดี อินเทลเรียกนับให้ Ivy-Bridge ให้เป็น “Intel Core 3rd generation processor” โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีการผลิตระดับ 22นาโนเมตร มาใช้ในการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์อย่างแรกของทางอินเทลที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตนี้ ตลอดจนมีการปรับปรุงระบบกราฟฟิคอินติเกรตภายในตัวซีพียูให้มีประสิทธิภาพดี ขึ้น นำเอาเทคนิคการจัดเรียงโครงสร้างทรานซิสเตอร์แบบใหม่มาใช้ ที่เรียกว่า “3D Tri-gate” ซึ่งจะทำให้ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงและมีการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามาก ขึ้น นอกจากเทคนิคการผลิตใหม่ๆ อินเทลยังได้ทำให้ 3rd generation processor ของพวกเขาให้สนับสนุนการเชื่อมต่อ I/O แบบใหม่ๆด้วยตัวแพลตฟอร์มโดยไม่ต้องอาศัยคอนโทรลเลอร์เพิ่มเติมใดๆในระบบ อย่าง PCI Express 3.0, SATA 6GB/s, USB3.0 ที่จะเป็นมาตรฐานสำหรับแพลตฟอร์มใหม่ของอินเทล และมีการสนับสนุนระบบไร้สายต่างๆอย่างกว้างขวางด้วยการเปิดตัวออ ฟชั่นของการ์ดไวเรสใหม่ถึง 5 ตัวด้วยกันครับ
…สถาปัตยกรรม โดยภาพรวมนั้นยังคงเป็นลักษณะที่มีการแชร์กันของ Level 3 Cache อยู่ระหว่างแกนประมวลผลทั้งสี่แกน และตัวประมวลผลกราฟฟิค และแน่นอนว่า System agent ต่างๆทั้งเมมโมรีคอนโทรลเลอร์ ส่วนควบคุมหน่วยแสดงผล ส่วนเชื่อมต่อบัสความเร็วสูง ยังคงมีอยู่ในตัวซีพียู (ส่วนประกอบที่เป็นชิปเซ็ตทิศเหนือเดิม) ซึ่งใน Ivy-Bridge นั้นก็ได้มีการสนับสนุนเมมโมรีแบบ DDR3L ซึ่งเป็นมาตรฐานเมมโมรีกินไฟต่ำของทาง JEDEC รวมไปถึงหน่วยประมวลผลกราฟฟิคใหม่ที่สนับสนุน DirectX 11 จากเดิมที่เป็น Intel HD2000 และ HD3000 ใน Sandy-Bridge อัพเกรดมาเป็น Intel HD2500 และ Intel HD4000 ใน Ivy-Bridge
OVERCLOCKING
…ในส่วนของการโอเวอร์คล๊อก เนื่องจาก Ivy-Bridge นั้นยังคงเป็นซีพียูที่มีพื้นฐานคล้ายคลึงอยู่กับ Sandy-Bridge เดิม รายละเอียดส่วนใหญ่นั้นบอกได้เลยว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนักครับ จะมีเพียงแค่ตัวคูณที่สามารถปรับได้สูงสุด 63 จากเดิม 59 และกลไกการปรับตัวคูณแบบ real-time แบบใหม่ รวมไปถึงความสามารถในการปรับแต่งความเร็วของตัวประมวลผลกราฟฟิคภายในที่จะ สามารถปรับให้ได้แรงขึ้นกว่าเดิม และสุดท้ายคือเรื่องของเมมโมรีที่สนับสนุนโปรไฟล์เมมโมรีประสิทธิภาพสูงแบบ XMP 1.3 พร้อมทั้งสามารถปรับอัตตราทดแรมต่อความเร็วซีพียูให้ดันความเร็วแรมไปได้ถึง ระดับ DDR 2667MHz จากเดิมที่เคยทำได้เพียง 2133 และ 2400 สำหรับ SNB-E ครับ
Graphics
…การปรับปรุงใน Ivy-Bridge ในด้านของกราฟฟิคสำหรับ Intel HD2500/4000 ก็จะมีตั้งแต่เพิ่มตัวประมวลผล EU (Execution Units) ที่ปกติเราๆจะคุ้นเคยกันในชื่อของ Shader Units (มันคือสิ่งเดียวกัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มี 12 ใน HD3000 เป็น 16 ใน HD4000 รวมไปถึงมีการออกแบบมาเพื่อพร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานกับ Windows 8 อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการสนับสนุน API ล่าสุดอย่าง Direct X11 ที่สามารถทำ tesselation ภาพกราฟฟิคได้ครับ ซึ่งแต่เดิมใน HD2000 และ 3000 ใน 2nd gen นั้นจะสนับสนุนเพียงแค่ Direct X 10.1 เท่านั้น นอกจากนี้ยังคงการสนับสนุน HTML5.0 อย่างเต็มรูปแบบด้วยครับ
New 7 series Chipset
…Ivy-Bridge ถึงแม้จะเป็นการอัพเดตสถาปัตยกรรมของ Sandy-Bridge ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ใช่เป็นการยกเครื่องโครงสร้างใหม่หมด แต่ก็ยังคงมีชิปเซ็ตตระกูลใหม่เปิดตัวตามๆกันมาอย่าง Intel 7 Series ที่จะใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 65 นาโนเมตร สนับสนุนซีพียูทั้ง Sandy-Bridge และ Ivy-Bridge รองรับการต่อออกหน้าจอถึง 3 หน้าจอด้วยกัน มีตัวควบคุม SATA 6GB/s และ USB3.0 มาให้ในตัว รวมไปถึงเทคโนโลยียิบย่อยต่างๆของอินเทลตัวอย่างเช่น Rapid Storage เทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จานหมุนลูกใหญ่ๆนั้น เร็วขึ้นด้วยการ cache ข้อมูลลงในฮาร์ดไดร์ฟ SSD ที่ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เท่าฮาร์ดดิสก์ลูกหลักก็ได้
…อินเทลยังคงยืนหยัดกับรหัสนำหน้าชิปเซ็ตของตนในระบบเดิมครับคือ Z series กับ H series สำหรับผู้ใช้ทั่วไป และเฟดเอาชื่อ P series เดิมออกไป โดยที่ Z series นั้นจะเป็นตระกูลที่สามารถทำการปรับแก้ไขตัวคูณของซีพียูเพื่อทำการโอ เวอร์คล๊อกได้ โดยจะมี Z77 และ Z75 ทั้งสองตัวนั้นต่างกันตรงที่การสนับสนุนบัส PCI-E ใน 77 นั้นมากกว่า 75 และเทคโนโลยี Intel Rapid Storage ที่จะไม่มีใน Z75 ส่วน H77 นั้นเรียกง่ายๆคือเป็น Z77 ที่ถูกตัดความสามารถในการปรับแต่งความเร็วซีพียู (โอเวอร์คล๊อก) ออกไปนั้นเองครับ นอกจากนี้ยังคงมี Q Series ที่ผมไม่ได้ยกมาพูดถึง ณ ตรงนี้ ซึ่ง Q series นั้นจะเป็นตระกูลสำหรับแพลตฟอร์ที่ใช้ในระดับองค์กร มีฟีเจอร์ทางด้านความปลอดภัยและการจัดการที่จะทำมาให้เหมาะสมกับการใช้งานใน องค์กรครับ
…ชิปเซ็ต 7 series ใหม่และซีพียูใหม่ในปี 2012 นี้ (Ivy-Bridge) ยังคงยืนหยัดอยู่บนซอกเก็ต LGA1155 อยู่ครับ สำหรับคนที่มีเมนบอร์ด 6 series ใช้งานอยู่แล้วหากต้องการอัพเกรดมาเป็น Ivy-Bridge ก็จะสามารถทำได้ด้วยการอัพเฟิร์มแร์ไบออส ME8 ลงไป ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับชิปเซ็ต H61,67,P67 และ Z68 เท่านั้น ไม่รองรับ Q67 และ B65 ส่วนในขณะที่ผู้ที่ซื้อเมนบอร์ด 7 series ไป ก็ยังจะสามารถนำเอาซีพียูรุ่นเก่ามาใช้งานบนบอร์ดตัวใหม่ได้เช่นกัน ซึ่งการนำ Sandybridge มาใช้กับบอร์ด 7 series นั้นก็ต้องทำความเข้าใจว่าจะไม่สามารถใช้งาน PCI Express 3.0 ได้เนื่องจากตัวซีพียูไม่มีส่วนควบคุม ซึ่งถ้าท่านศึกษาเอาจาก block diagram ดีดีก็จะเข้าใจครับว่า PCI Express 3.0 เป็นระบบบัสความเร็วสูงที่ขึ้นตรงอยู่กับซีพียู เมนบอร์ดจะใช้ได้หรือไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับซีพียู เป็นสำคัญ
Core i3 i5 i7 Model Line-up
(Click ScreenShot to Enlarge)
…สิ่งแรกที่จะพบได้ในตารางแสดงรุ่นของ Ivy-Bridge นี้คือในซีพียูรุ่นใหม่นี้จะมีตัวเลขนำหน้ารหัสโมเดลเป็นเลข 3 ส่วนรหัสลงท้ายที่เป็นตัวอักษร ยังคงมีความหมายเหมือนเดิม K คือ Unlock คือเป็นโมเดลที่สามารถทำการ overclock โดยปรับตัวคูณได้ ส่วนโมเดล T นั้นคือโมเดลประหยัดไฟพิเศษ (TDP 45watt) และ S คือโมเดลประหยัดไฟ (TDP 65W) ส่วนโมเดลที่ไม่มีอะไรลงท้ายก็หมายถึงโมเดลปกติทั่วไปครับ
3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K Processor
หน้าตาของตัวซีพียูที่จะใช้ทำการทดสอบร่วมกับมาเธอร์บอร์ด ECS Z77H2-AX ในคราวนี้ครับ
จะเห็นว่าตัว pcb จะออกสีฟ้าเทอร์คอยส์แปลกตาดีครับ
ECS Golden Board Launch Party
…และทางเราก็ได้รับเชิญไปงานเปิดตัวของมาเธอร์บอร์ด ECS 7 Series Golden Board ตามรายละเอียดในภาพด้านบนนี้ ทางเราก็เลยถือโอกาสนำภาพบรรยากาศของงานในวันนั้นมาให้ชมไปพร้อมๆกันเลยนะครับ
ภาพบรรยากาศบริเวณหน้าสถานที่จัดงานครับ
Golden Board ยกขบวนมาโชว์พลังกันเพียบหน้างานครับ
พระเอกของงานนี้รุ่นท็อปสุด ECS Z77H2-AX ครับ
บรรยากาศทองกันทั้งงาน แม้แต่การแต่งกายของพริตตี้สาวสวยหน้างานครับ
อะไรที่เป็นทองๆผมก็ชอบอยู่แล้วครับ เลยต้องขอถ่ายรูปกับหนุ่มสาวชุดทองหน้างานสักหน่อย
บรรยากาศภายในงานครับ
ทองอร่ามไปทั้งงานจริงๆ
สื่อมวลชนที่มาร่วมงาน มากันเพียบครับงานนี้
เปิดงานกันอย่างคึกคักด้วยการแสดง Dance Show จาก Dancer สาวสวย
พิธีกรสาวสวยชุดทองกล่าวเปิดงานครับ
Mr. Eric Kuo , ECS senior product manager ก็ให้เกียรติมาบรรยายในงานนี้ด้วยครับ
คุณ Philip Tseng Business manager จากอินเทลประเทศไทย ก็ให้เกียรติมาบรรยายถึง Platform ใหม่ล่าสุดจากทางอินเทลครับ
ไปชมรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ ECS 7 Series Motherboard ที่บรรยายในงานนี้กันได้ที่หน้าถัดไปเลยครับ
…ECS ได้เลือกใช้เทคโนโลยีระดับทอง ด้วยการเคลือบทองที่หน้าสัมผัสของคอนแทคต์ต่างๆบนบอร์ด ไม่ว่าจะเป็นขาซีพียู ขาของสลอตหน่วยความจำ และขาของสลอต PCI-E ด้วยทองคำที่หนาถึง 15 ไมครอน หรือ 3 เท่าของมาตรฐานโดยทั่วๆไปครับ
อย่างที่ทราบๆกันอยู่แล้วว่าโลหะที่เกิดสนิมหรือออกไซด์ยากที่สุดในโลกก็คือทองคำ เพราะฉะนั้นงานนี้ใช้กันยาวๆแน่นอนครับ
นอกจากนั้นก็ยังช่วยให้บอร์ดเย็นขึ้นกว่าเดิม ด้วยเทคโนโลยีจากทองคำ
ทีเด็ดด้วยฮีตซิงค์แนวใหม่ บอกสถานะความร้อนด้วยสีที่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น
เสถียรภาพระยะยาวย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอนเมื่อปลอดจากออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีแห่งทองคำ
…ยังไม่พอครับ All Golden Solid Capacitor และ Super Alloy Choke Gold Plating นอกจากจะทำให้บอร์ดดูสวยงามหรูหรามีราคาขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เสถียรภาพและอายุใช้งานยาวนานขึ้นกว่าเดิมด้วยครับ
ความสวยงามหรูหราที่มาพร้อมกับคุณภาพที่ยอดเยี่ยมต้อง ECS Golden Board ครับ
ผ่านการทดสอบวิจัยที่หนักหน่วงรุนแรงและยาวนาน ก่อนผลิตออกวางตลาด คือมาตรฐานขั้นสูงจากทาง ECS ครับ
Features ต่างๆที่น่าสนใจสำหรับ ECS 7 Series Motherboard มากันเพียบครับ
มีให้เลือกใช้ทุกระดับความต้องการถึง 8 รุ่นครับ สำหรับ ECS 7 Series Motherboard
ปิดท้ายงานด้วยช่วง Lucky Draw กับรางวัลใหญ่ ECS Z77H2-2AX รุ่นทองรองท็อป
สื่อมวลชนผู้โชคดีในงานนี้จาก CHIP MAGAZINE ที่ได้รับรางวัลครับ
ปิดท้ายด้วยการถ่ายภาพร่วมกันของผู้บริหารจากบริษัทต่างๆที่ให้เกียรติมาร่วมงานในคราวนี้ครับ
ECS Z77H2-AX Appearance
Package & Bundle
…กลับเข้าสู่เรื่องที่เราจะทำการทดสอบในบทความนี้กันต่อนะครับ ก่อนอื่นไปชมหน้าตาของกล่องบรรจุภัณฑ์กันก่อนครับ มากันแบบทองเพียวๆล้วน ปะด้วยโลโก้ใหม่ Black Extreme Golden Board
เปิดฝากล่องด้านหน้าก็จะเห็นสเป็คเทพต่างๆ พร้อมช่องแสดงตัวมาเธอร์บอร์ดครับ
ไปอ่านกันครับว่ามีอะไรบ้าง ทองมากันเพียบทุกจุดเชื่อมต่อครับ
ซิงค์ก็ทอง Choke ก็ทอง Solid Capacitor ก็ทองเงาแว๊บอร่ามกันทั่วทั้งบอร์ดทีเดียวครับ
ด้วยทองแท้ๆที่หนาถึงระดับ 15 ไมครอน ไม่มีหลุดลอกอย่างง่ายๆแน่นอนครับ
ยังไม่พอครับ ฝาหลังกล่องก็ยังเปิดได้ โชว์สเป็คความแรงกันไปแบบเทพๆครบๆ
หน้าตาของอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งแผ่นพับคู่มือ ที่ Bundle มากับมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ครับ
หน้าตาของมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ จะออกแนวหรูหราเลอค่า ด้วยสีทองคำแวววาวตัดกับดำอย่างลงตัวครับ
เรียบร้อย หรูหรา แต่แฝงไปด้วยความดุดันทุกมุมมองครับ
ด้านหลังบอร์ดตรงเพลทหลังซีพียูก็ยังคงชุบทองครับ หรูหราหน้าหลังจริงๆ
ภาคจ่ายไฟขนาดรวม 15 เฟสทองเงาแว๊บ ที่มาพร้อมกับชุดระบายความร้อนสีทองลายเสี้ยนอันแวววาวสวยงาม
สวยงามทุกมุมมองจริงๆครับ สำหรับบริเวณนี้
Memory Slot แบบ Dual Channel ที่มากัน 4Slot ได้ขนาดความจุรวมทั้งหมดสูงสุดที่ 32GB ครับ
หน้าตาชุดระบายความร้อนให้กับตัวชิปเซตที่สวยงามกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันกับตัวมาเธอร์บอร์ดเป็นอย่างดีครับ
ไฟ Dubug บอกสถานะการทำงาน SATA 6 ช่องทาง สวิทซ์ Power , Reset ครบชุด สมกับเป็นบอร์ดรุ่นเรือธง
…PCI-E 3.0 X16 Slot ที่มาพร้อมกัน 3 ช่องทาง ที่สนับสนุนการทำงานทั้งในรูปแบบ SLI และ CrossFireX สูงสุดถึง 3 ทาง ตามด้วย PCI-E 2.0 X1 อีก 2ช่องทาง และ PCI 32bit อีก 2ช่องทางครับ
Back Panel ด้านหลังทุกช่องก็ยังคงเคลือบเพลททองคำหนา 15 ไมครอนกันทุกช่องทาง หรูหราทุกรายละเอียดจริงๆครับ
SYSTEMS | |
.CPU | ..3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K |
.Motherboard | ..ECS Z77H2-AX Black Extreme Golden Board |
.Memory | ..Geil EVO Corsa DDR3 2133 4GB*2 Dual Channel |
.Graphic Card | ..NVIDIA GeForce GTX 680 2GB GDDR5 X2 @ 1150/1203-1215Turbo/6,848MHz |
.Harddisk | ..OCZ Vertex 4 128GB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..antec 1200w |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 64-bit |
รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบคราวนี้ครับ
ทดสอบกันง่ายๆที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 25 องศา บนระบบระบายความร้อนด้วยน้ำธรรมดา
Overclocked Settings
3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K @ 4.925 GHz
(Click ScreenShot to Validation Link)
งานนี้จัดความเร็วให้กับ 3770K ไปที่ 4.925GHz กันแบบสุดๆของสมรรถนะซีพียูตัวนี้เลยครับ ECS รุ่นนี้เขา OC เยี่ยมจริงๆ
จัด NVIDIA GeForce GTX 680 ในรูปแบบ SLI และจัดความเร็วไปที่ 1150/1203-1215Turbo/6,848MHz กันเลยครับ
System Properties in AIDA64 Extreme Edition
ดูรายละเอียดต่างๆกันครบถ้วนแล้ว ก็ไปลุยทดสอบกันต่อยาวๆที่หน้าถัดๆไปเลยครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 32M 8Threads
(Click ScreenShot to Enlarge)
เร็วแรงประสิทธิภาพเยี่ยมตามความเร็วที่ทำได้จริงๆครับ สำหรับชุดการทดสอบ SuperPI
WinRAR4.10 ,wPrime2.09 ,CPUMark99 & Fritz Chess
เร็วแรงเยี่ยมทุกการทดสอบจริงๆครับ
CINEBENCH R9.5
CINEBENCH R10
CINEBENCH R11.5
Cinebench Series ก็แรงได้ใจกันมากๆครับ
PCMark 05
PCMark Vantage
PCMark 7
สำหรับตระกูล PCMark ต้องปิด SLI นะครับ คะแนนถึงจะแรง
X264 FHD Benchmark
X264 FHD Benchmark ก็แรงเยี่ยมไปเลยครับกับพลังระดับ 28.9 FPS
AIDA64 Extreme Edition
AIDA64 Cache & Memory Benchmark
CPU Queen
CPU PhotoWorxx
CPU ZLib
CPU AES
CPU Hash
FPU VP8
FPU Julia
FPU Mandel
FPU SinJulia
แรงระดับหัวแถวแบบหายใจรดต้นคอซีพียู 6-8 หัวกันเลยทีเดียวครับ
3DMark 03
3DMark 05
3DMark 06
3DMark Vantage
3DMark 11
ผลการทดสอบของตระกูล 3DMark ก็แรงสุดๆไปกับพลัง NVIDIA GeForce GTX 680 SLI @ 1150/1203-1215Turbo/6,848MHz
Unigine Heaven DX11 Benchmark 3.0
SETTINGS
เซตกันไปแบบสุดๆเลยครับ
Unigine Heaven DX11 Benchmark 3.0
เปิดสุดหมดที่ 1920 X 1200 ก็ยังแรงกันเกือบทะลุ 100 FPS สุดยอดจริงๆครับ
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปของการทดสอบมาเธอร์บอร์ด ECS Z77H2-AX ตัวนี้กันแล้วนะครับ ก็นับว่าเป็นมาเธอร์บอร์ดอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่กำลังมองหามาเธอร์บอร์ดที่ใช้ชิปเซต Z77 ที่มากันครบถ้วนทุก Features แบบเต็มพิกัด ในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป เพราะว่านอกจากจะมี Features ใหม่ๆอาทิเช่น PCI-E 3.0 , SATA 6GB/s , USB 3.0 ฯลฯ มากันอย่างครบๆแล้ว ยังสามารถลากซีพียู 3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K Processor ไปได้ถึง 4.925GHz กันอย่างมีเสถียรภาพ แรงกันแบบไม่ธรรมดาจริงๆ แถมยังสวยงามหรูหราและทนทานกันไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีจากทองคำ ใครตั้งใจที่จะใช้เคสรุ่นที่มีหน้าต่างฝาข้างใส และต้องการจัดแต่งแบบสไตล์สวยงามหรูหรา ไม่ควรจะพลาดมองข้ามมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้เป็นอันขาดนะครับ และสำหรับวันนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ