GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming and GTX 960 WF2 First Launch
Share | Tweet |
INTRODUCTION
สวัสดีครับ มาพบกับบทความเปิดตัวกราฟฟิกการ์ดรุ่นกลางที่มีประสิทธิภาพเปี่ยมล้นสำหรับคอเกมส์อย่างแท้จริงต้อนรับควอเตอร์แรกของปี 2015 กันครับ อย่างที่ได้ทราบกันก่อนหน้านี้แล้วว่า ทาง NVIDIA นั้นเตรียมปล่อย GPU รุ่นกลางที่มีชื่อว่า GeForce GTX 960 ที่มีพื้นฐานโครงสร้างจาก Maxwell และถือเป็น GPU ตัวที่น่าจะเป็นรุ่นที่มีองค์ประกอบในการใช้งานครบถ้วนทั้งสำหรับคอเกมส์และขาโอเวอร์คล๊อก
ในช่วงปี 2014 นั้นถือว่าเป็นปีที่มีอัตราการเติบโตของตลาดเกมส์อย่างแท้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมส์บน PC นั้นถูกวางจำหน่ายกว่า 338 เกมส์ซึ่งถือว่ามากกว่าสองเท่าของเกมส์บน Platform อื่นๆเลย
เทคโนโลยีของ NVIDIA ได้ถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับการเล่นเกมส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบและสมจริง
GPU บนโครงสร้างสถาปัตยกรรม MAXWELL ได้ถือกำเนิดในปี 2014 ที่ซึ่งเป็น GPU ที่มีความก้าวล้ำด้านเทคโนโลยีที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หลักใหญ่ของ GPU Maxwell ก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานนั้นมากกว่าสองเท่า เทคโนโลยีด้านแสงและเงาอย่าง VXGI, เทคโนโลยีลบรอยหยักแบบใหม่ DSR และ MFAA รวมถึง VR DIRECT
เทคโนโลยีที่ได้สร้างสรรขึ้นมานั้นเพื่อสอดรับกับ DirectX 12 ที่เตรียมจะใช้งานได้จริงในอีกไม่ช้า
NVIDIA นั้นนอกเหนือจะทำการพัฒนาฮาร์ทแวร์สำหรับเกมส์แล้วยังมุ่งมั่นจะนำพาเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้าไปใช้งานกับโครงสร้างของเกมส์ให้ได้ใกล้ความเป็นจริงที่สุดจึงได้ส่งทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์เข้าไปร่วมพัฒนาเกมส์ให้มีศักยภาพมากขึ้นจากฮาร์ทแวร์ที่เพียบพร้อม
Unreal Engine 4 นั้นถือเป็น Engine เกมส์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในความสมจริงหลังการเรนเดอร์นั้นก็ได้ร่วมพัฒนากับ NVIDIA และนำเอาเทคโนโลยีของ NVIDIA ผนวกเข้าไว้กับ Engine ของตัวเอง
GTX 960 นั้นถูกวางตัวให้เป็น GPU ที่อยู่ในเซกเมนท์ที่มีการตลาดกว้างขวางที่สุดซึ่งจากการสำรวจล่าสุดของ Steam Hardware ได้แก่ GPU ที่อยู่ในคลาส 60 คือ GTX 660 GTX760
จากการสำรวจนั้น GTX 660 นั้นมีจำนวนผู้ใช้งานอยู่มากที่สุดบน Multiplayer Onlinee Battle Arena ซึ่ง GTX 660 นั้นสามารถรองรับเกมส์ดังๆอย่าง Newerth, League of Legends, DOTA2 ได้เป็นอย่างดี
GTX 960 นั้นมีพลังที่จะขับเคลื่อนเกมส์ดังๆเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีที่เฟรมเรทเฉลี่ย 60 เฟรมต่อนาที ซึ่งถ้ามองกันตรงๆคือมากกว่า GTX 660 ที่ได้เพียงไม่เกิน 40 เฟรม เมื่อเปรียบเทียบ GTX 960 กับ GTX 660 นั้นจะเห็นได้ว่า GTX 960 นั้นมีการพัฒนาต่อยอดได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติพิเศษๆเช่น VXGI และ MFAA ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีลบรอยหยักของเจนเนอร์เรชั่นต่อไปซึ่งจะพบได้บน DirectX ตัวที่กำลังเปิดตัวจาก Microsoft
นอกเหนือจากความแรงแล้ว อัตราการใช้พลังงานรวมถึงประสิทธิภาพนั้นสูงมากกว่าเดิมร่วมสองเท่า
ในขณะที่ตัว GPU นั้นรองรับการโอเวอร์คล๊อกได้สูงกว่าเดิม ซึ่งจากการทดลองจาก GPU หลายๆตัวนั้นก็จะเห็นได้ว่า GPU นั้นสามารถบู๊สพลังขึ้นไปได้กว่า 1500 MHz รวมถึงทำให้อัตราการส่งผ่านข้อมูลของแรมนั้นพุ่งขึ้นไปเกือบ 7.5 Gbps ด้วย
ตัว GTX 960 นั้นรองรับการทำงานของเอนจินส์เกมส์ดังๆต่างๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สำหรับคอเกมส์ที่ไม่สันทัดในการปรับแต่งค่าต่างๆในเกมส์ NVIDIA GeForce Experience นั้นก็ต่อยอดให้สามารถปรับแต่งเกมส์ต่างๆได้อย่างอัตโนมัติเพื่อให้คอเกมส์สั้นได้สัมผัสกับอารมณ์ลื่นไหลเมื่อเล่นเกมส์แต่ยังคงความสมบูรณ์ของภาพและเอฟเฟกต่างๆที่บรรดาผู้สร้างนั้นบรรจงรังสรรเข้าไว้ในเกมส์
และด้วยเทคโนโลยี DSR นั้นจะช่วยทำให้เราสามารถเล่นเกมส์ที่ความละเอียดสูงๆไม่ว่าจะเป็น 2K หรือ 4K บนจอขนาด Full HD เดิมๆที่เรามีอยู่ได้ ผลผดีของมันก็คือความคมของภาพต่างๆที่แสดงอยู่บนหน้าจอมากขึ้นด้วยจำนวนของเส้นที่ถูกดาวน์สเกลลงมาบนขนาด 1080p นั่นเอง
และเมื่อเล่นเกมส์ เกมส์บางประเภทอย่าง MOBA นั้นต้องการความเงียบเพื่อที่จะดื่มดำไปกับการผจญภัยในซีนต่างๆ GTX 960 นั้นมีคุณสมบัติพิเศษที่เมื่อ GPU นั้นทำงานไม่หนักหรือมีโหลดไม่มากนัก พัดลมจะไม่ทำงานจนถึงเมื่อความร้อนหรือโหลดเกินจุดที่กำหนดไว้
Base clock ของ GTX 960 นั้นจะอยู่ที่ 1126 MHz และจะมีการบู๊สได้สูงขึ้นไปที่ 1178 MHz ซึ่งจะขึ้นอยู่กับโหลดขณะใช้งานนั้นๆ และจะมีเมมโมรี่ที่มีความเร็ว 7010 MHz Output นั้นออกแบบให้สามารถต่อออกได้หลายจอและมีขั่วต่อเชื่อมหลากหลายเพื่อรองรับชนิดของจอที่วางตลาดอยู่ทั้งหมด ระดับการวางตัวของ GTX 960 นั้นจะอยู่ตรงกลางระหว่า GTX 970 และ GTX 750Ti
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 GAMING
กล่องบรรจุ GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming ออกแบบมาสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้เช่นเคย
รายละเอียดของตัวการ์ดและชุดระบายความร้อน Windforce 3X รวมถึงความสามารถของการต่อจอแสดงผลที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยี FLEX Display
อุปกรณ์ที่มากับชุด ก็จะมี DVD Driver และเอกสารบรรยายรายละเอียดการ์ดรวมถึงคู่มือการติดตั้งเบื้องต้น หัวแปลงไฟจาก Morex เป็น PCIe 6 pin สองเส้น
ตัวการ์ดนั้นเด่นด้วยพัดลมระบายความร้อนสีดำและโครงฝาครอบโลหะที่สวยงามดุดัน
ใบพัดของการ์ดนั้นได้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้มีการตักลมที่มากกว่าปกติครับ
ตัวการ์ดรวมฮีทซิ้งค์นั้นมีขนาดประมาณสองสล๊อดครับ ฟินระบายความร้อนและท่อฮีทไปท์นั้นรมดำมาดุดันมาก
ต้องการไฟจากหัว PCIe แบบ 6 พินสองหัวครับ และเมื่อมองจากมุมนี้จะเห็น Logo Windforce ขนาบซ้าย/ขวาด้วยโลโกเรืองแสงคำว่า Silent และ Stop ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ว่าขณะนั้นพัดลมทำงานหรือเปล่า
ด้านหลังการ์ดนั้นจะปูเต็มไปด้วย Backplate G1 Gaming ช่วยระบายความร้อนและเพิ่มความเท่ห์ขึ้นไปอีก
อินเตอร์เฟสที่สามารต่อเชื่อมกับจอแสดงผลนั้นมีทั้งหมด 3 รูปแบบ 6 ช่องได้แก่ DVI x 2/ HDMI 1 และ Display Port อีก 3 ช่อง
...
.
G1 Gaming Features
G1 นั้นได้ถูกออกแบบมาอย่างลงตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของเกมส์เมอร์ทั้งความแรงของการ์ดที่มาพร้อมกับความเงียบกว่า
ด้วยลักษณะเด่นต่างๆจากโครงสร้างการออกแบบการ์ดไม่ว่าจะเป็นชุดระบายความร้อน Windforce ที่ให้ความเย็นกว่าและรองรับโหลดความร้อนได้มากกว่า
คุณสมบัติหลักของการ์ด G1 Gaming ก็คือ การ์ดได้รับการโอเวอร์คล๊อกมาแล้ว ชุดระบายความร้อนที่เย็นกว่าและสามารถต่อออกจอได้หลากหลาย
รวมถึงภาคจ่ายไฟที่มาเป็นพิเศษถึง 6 เฟส ซึ่งหากเทียบกับการ์ดมาตรฐานของ NVIDIA ซึ่งมีมาแค่ 3 เฟสเท่านั้น ตรงจุดนี้จะช่วยให้เราสามารถโอเวอร์คล๊อกไปได้ไกลกว่า
หลักการทำงานของชุดระบายความร้อนนั้นจะมีอยู่สองส่วนก็คือแบบพาสซีฟและแอคทีฟ พาสซีฟก็คือการระบายความร้อนจาก GPU ไปยังฟินเท่านั้นและปล่อยให้ความร้อนนั้นกระจายออกไปช้าๆ และแบบแอคทีฟก็คือมีพัดลมช่วยเป่าฟินเพื่อระบายความร้อน ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความร้อนนั้นไม่สามารถกระจายออกไปได้ทันท่วงทีและเกิดความร้อนสะสมมากเกินไป ทำให้การ์ด G1 Gaming นั้นทั้งเย็นและเงียบในเวลาเดียวกัน
Fan stop mode ที่จะช่วยควบคุมการทำงานของพัดลม เมื่อมีโหลดต่ำกว่า 32 วัตต์หรืออุณหภูมิต่ำกว่า 43 องศาเซลเซียส พัดลมจะหยุดหมุน แต่เมื่อมีโหลดเบาๆเกิดขึ้นทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอยู่ในช่วง 43 - 62 องศานั้นพัดลมจะเดินรอบเบาๆซึ่งแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลยแม้ว่าชุดทดสอบจะไม่ ได้ใส่ในเคสก็ยังแทบไม่ได้ยิน และหลังจากที่มีโหลดจากการทำงานหนักๆเช่นเล่นเกมส์ 3D จนทำให้อุณหภูมิสูงกว่า 62 องศา หรือ GPU Power เกิน 60 วัตต์ พัดลมก็จะทำงานโดยปรับรอบตาม Profile ของการ์ดครับ
Logo Windforce ขนาบซ้าย/ขวาด้วยโลโกเรืองแสงคำว่า Silent และ Stop ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ว่าขณะนั้นพัดลมทำงานหรือเปล่า
สิทธิบัตร FLEX Technology ที่จะช่วยเลือกการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติเมื่อมีการเสียบไม่ว่าช่องใดก็ตาม และมันยังสามารถเชื่อมต่อได้มากถึงสี่จอพร้อมกันในเวลาเดียว
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2
เช่นเดียวกับการ์ด G1 Gaming ตัว WF2 นั้นได้ออกแบบกล่องบรรจุมาในสไตล์เดียวกัน
คุณสมบัติหลักๆของการ์ดอย่างชุดระบายความร้อนก็ได้นำมาอธิบายให้เห็นด้วย
นี่เป็นภาพจากกล่องด้านในครับ แพกมาแน่นหนาดีมาก
ของที่ติดมากับกล่องก็จะมี คู่มือพร้อมกับหัวแปลงไฟจากโมเร็กเป็น PCIe แบบหกพินสองเส้น
ตัวการ์ดนั้นสวยงามด้วยเอกลักษณ์ของชุดระบายความร้อน Windforce
ใบพัดที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษนี้จะช่วยให้การตักลมเข้าไประบายังฟินนั้นทำได้ดีมากกว่าใบพัดแบบปกติ
ความหนาของการ์ดเพียงสองสล๊อดทำให้ไม่กินที่ในเคสมากนัก
ตัวการ์ดนั้นต้องการไฟจากหัวเสียบแบบ PCIe หกพินจำนวนสองหัว
เมื่อนำการ์ดเข้าไปเสียบใช้งานในเคส ตัวอักษร Windforce ก็จะเป็นจุดเด่นครับ
ด้านหลังการ์ด WF2 นั้นจะไม่มี Backplate นะครับ
อินเตอร์เฟสที่สามารต่อเชื่อมกับจอแสดงผลนั้นมีทั้งหมด 3 รูปแบบ 6 ช่องได้แก่ DVI x 2/ HDMI 1 และ Display Port อีก 3 ช่อง
.
WF2 Features
ด้วยคุณสมบัติของการ์ดเฉกเช่นเดียวกับ G1 Gamin การ์ด WF2 นั้นได้ออกแบบภาคจ่ายไฟมาแบบ 6 เฟสซึ่งจะช่วยให้การโอเวอร์คล๊อกนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นและได้ค่าที่สูงกว่ารวมถึงสเถียรภาพในการทำงานที่ดีกว่าด้วย
.
System Configuration
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 5960X |
.Motherboard | ..MSI X99s XPOWER AC |
.Memory | ..G.SKILL RIPJAWS4 F4-3000C15Q-16GRR 16GB |
.Graphic Card | ..GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 GAMING, GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 |
.Harddisk | ..Plextor M6Pro 256GB |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling |
.Power Supply | ..Thermaltake Toughpower 1500 Watt |
.Operating System. | ..Windows 8.1 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
ภาพขณะทำการทดสอบครับขนาดกระทัดรัดดี
.
ตารางเปรียบเทียบกับการ์ดรุ่นต่างๆ
.
ชุดทดสอบ
สำหรับชุดทดสอบ ก็เซตกันง่ายๆด้วยชุด Haswell - E ที่ความเร็ว 4.4 GHz บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro ครับ
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming from GPUZ
ความเร็วมาตรฐานของ GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming นั้นคือ 1241/1753/1304 MHz Core/Mem/Boost ซึ่งเป็นความเร็วที่ได้ทำการโอเวอร์คล๊อกขึ้นมานิดหน่อยจากความเร็วมาตรฐานของการ์ด Ref
.
Furmark Default
ความร้อนนั้นสูงสุดอยู่ที่ 72 องศาเซลเซียสด้วยรอบพัดลมแบบออโต
.
Default | Full load | |
. | ||
ในขณะ Full Load นั้น ระบบรวมกินไฟจากเต้ารับที่ประมาณไม่เกิน 390 วัตต์
..
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming OVERCLOCK
ทดลองโอเวอร์คล๊อกเพิ่มขึ้นไป มันไปได้อีกพอสมควรครับที่ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost สามารถทดสอบ 3DMark Benchmark ผ่านได้หมด
.
แต่ขณะทำการทดสอบ Furmark สถานะโอเวอร์คล๊อกพบปัญหาเล็กน้อยครับ ตรงนี้เดี๋ยวผมจะกลับมาดูครับว่าเกิดจากอะไร
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 from GPUZ
ความเร็วมาตรฐานของ GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 นั้นคือ 1216/1753/1279 MHz Core/Mem/Boost ซึ่งเป็นความเร็วที่ได้ทำการโอเวอร์คล๊อกขึ้นมานิดหน่อยจากความเร็วมาตรฐานของการ์ด Ref เช่นเดียวกับ G1 Gaming
ความร้อนสูงสุดจะอยู่ที่ 69 องศานะครับ รอบพัดลมออโต้
.
Default | Full load | |
. | ||
ในขณะ Full Load นั้น ระบบรวมกินไฟจากเต้ารับที่ประมาณ 380-390 วัตต์
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock
ทดลองโอเวอร์คล๊อกเพิ่มขึ้นไป มันไปได้อีกพอสมควรครับที่ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost สามารถทดสอบ 3DMark Benchmark ผ่านได้หมด
ความร้อนจะอยู่ที่ 55 องศานะครับ ผมปรับรอบพัดลม 100% เสียงดังพอได้ยิน
กินไฟที่ประมาณ 400-415 โวลท์ครับ สูงสุดแค่นี้
.
.
3DMark Vantage
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
.
.
.
3DMark 11
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
.
..
.
3DMark
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
.
…
Chinese Unreal Engine 3 DirectX 11 Benchmark
.
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
..
.
Sniper Elite 2 Benchmark.
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
.
.
.
Crysis 3 Benchmark
.
.
METRO Last Light Benchmark
.
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
.
.
.
TOTAL WAR ROME 2 Benchmark
.
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
..
.
Batman Arkham Origin Benchmark
.
NVIDIA GeForce GTX 960 @ 1151/1750/1214 MHz Core/Mem/Boost (Equivalent)
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming @ 1241/1750/1304 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming Overclock @ 1378/2001/1441 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 @ 1216/1750/1279 MHz Core/Mem/Boost
.
GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 Overclock @ 1346/1945/1409 MHz Core/Mem/Boost
..
.
Watchdog Benchmark
.
.
Call of Duty Advanced Warfare Benchmark
.
.
.
FarCry 4 Benchmark
.
.
The Crew Benchmark
.
.
NVIDIA DSR Feature
ขอพูดถึงคุณสมบัติพิเศษที่ติดตัวมาบน Driver รุ่นใหม่ๆที่รองรับการทำงาน GPU ในซีรีย์ Kepler และ Maxwell ซักนิดครับ DSR นั้นเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ออกมาเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเล่นเกมส์ให้มาความคมชัดสูง ก่อนหน้านั้นการลบรอยหยักในเกมส์นั้นเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่จะช่วยเพิ่มความเรียบของรอยต่อต่างๆของสิ่งที่เห็นในเกมส์ แต่ด้วยเทคโนโลยี DSR นั้น มันจะช่วยจำลองความละเอียดขึ้นไปโดยจะมีอัตราส่วนที่ 1.2x, 1.5x, 1.78, 2.0x, 2.5x,3X, และ 4X หลังจากนั้นจะสเกลดาวน์ลงมาที่ Native resolution ของจอที่เราใช้อยู่
.
ยกตัวอย่างเช่นเราใช้จอ Full HD ที่มีความละเอียด 1920 x 1080 เมื่อทำการเปิดคุณสมบัตินี้ไปที่ 4X และเลือก 3840 x 2160 DSL ในเกมส์นั่นก็คือ เกมส์จะปรับ Resolution ไปที่ 4K และทำการ Down Scale ลงมาที่ Full HD ผลที่ได้ก็คือความคมชัดจากการที่มีเส้นเพิ่มขึ้นขนขนาดพิกเซลเดิม รอยหยักลดลง ความมัวความเบลอนั้นก็จะน้อยลงด้วย ลองมาดูตัวอย่างกัน
ในรูปผมลองทดสอบปรับ DSR 4X ใน Batman Arkham Origin ครับ ผมปรับความละเอียดไปที่ 3840 x 2160 DSR และทำการเทส
จากรูปจะเห็นได้ว่า ผลของ Benchmark นั้นชัดเจนว่า GPU นั้นมีโหลดเกิดขึ้นอย่างมหาศาลครับ จากที่เคยได้ที่ 83 เฟรมต่อวินาทีก็ลดลงเหลือ 24 เฟรมต่อวินาทีบนความละเอียด 3840 x 2160 DSR
.
ผมลองกับ FarCry 4 อีกครั้งครับโดยใช้ Preset เหมือนกับในช่วงทดสอบด้านบนแต่เปลี่ยนความละเอียดเป็น 2X จาก Native Resolution ที่ Full HD
จากเฟรมเรทเฉลี่ยที่ Full HD ที่ประมาณร่วมๆ 50 เฟรมก็ร่วงมาเหลือแค่ประมาณ 32 เฟรมเท่านั้นบน 4K DSR
.
ผลที่ได้ก็คือ ความคมชัดที่มากขึ้นแต่เฟรมเรทก็จะลดลงตามขนาด Resolution ที่เราเลือกครับ ดังนั้นหากคุณเล่นการ์ดใหญ่ๆและต้องการเล่นเกมส์ที่มีความคมชัดสูงกว่าปกติ สวยกว่า แนะนำว่าให้ลองปรับดูครับ
.
.
Conclusion
ถ้ามองถึงประสิทธิภาพจากการทดสอบทั้ง 3DMark Benchmark Series และ Game Benchmark ซึ่งถือว่าเป็นเกมส์ที่เราคุ้นๆกันและถ้าจะบอกว่ามันกินสเปกมากกว่าเกมส์ที่ทาง NVIDIA อ้างถึงซึ่งเป็นเกมส์ออนไลน์ที่ใช้พลังไม่เยอะนัก ความสามารถของ GPU Maxwell รุ่นใหม่อย่าง GeForce GTX 960 นั้นต้องถือว่ามีประสิทธิภาพดี และดีกว่าการ์ดรุ่นก่อนบนคลาสระดับกลางนี้อย่างชัดเจนครับ นี่ยังไม่รวมถึงเทคโนโลยีที่อัดแน่นอยู่ใน GPU ทั้งหลายที่แน่นอนว่ามันรองรับอนาคตในอีกสองปีเป็นอย่างน้อยได้อย่างสบายๆ
.
อัตราการกินไฟนั้นถือว่าเยี่ยมครับหากเทียบกับเฟรมเรทที่เกิดขึ้น ชุดทดสอบนี้นั้นใช้ CPU เบอร์ใหญ่สุดของอินเทลทว่าการใช้พลังงานรวมทั้งระบบนั้นเพียงแค่สี่ร้อยวัตต์ต้นๆเท่านั้น ซึ่งหากจะมองการกินไฟจากกราฟฟิกการ์ดเจนก่อนนั้นต้องมีเกินห้าร้อยวัตต์อย่างแน่นอน
.
ภาพรวมของ GIGABYTE GeForce GTX 960 G1 Gaming นั้นถือว่าเป็นทีเด็ดทีเดียวครับ ความแรงนั้นถูกกำหนดมาจากโรงงานด้วยค่า Core ที่มากกว่าถึง 10% และมันยังโอเวอร์คล๊อกไปได้กว่า 22% เมื่อเทียบกับความเร็วที่ถูกตั้งมาจากโรงงาน จุดเด่นหลักๆของ G1 Gaming นั้นก็คือคุณสมบัติของกราฟฟิกการ์ดในซีรีย์ Super Over Clock นั่นก็คือ 6-เฟส GPU Power Design ที่ซึ่งมากกว่า Ref Card ซึ่งมีเพียง 3 เฟสเท่านั้น ทำให้มันสามารถรองรับ Power Draw ได้สูงถึง 160 วัตต์ครับ นั่นเองที่ทำให้ความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกนั้นสูงมาก
.
ในด้านเสียงรบกวนนั้นต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของกราฟฟิกการ์ดรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Fan stop mode ที่จะช่วยควบคุมการทำงานของพัดลม เมื่อมีโหลดต่ำกว่า 32 วัตต์หรืออุณหภูมิต่ำกว่า 43 องศาเซลเซียส พัดลมจะหยุดหมุน แต่เมื่อมีโหลดเบาๆเกิดขึ้นทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอยู่ในช่วง 43 - 62 องศานั้นพัดลมจะเดินรอบเบาๆซึ่งแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลยแม้ว่าชุดทดสอบจะไม่ได้ใส่ในเคสก็ยังแทบไม่ได้ยิน และหลังจากที่มีโหลดจากการทำงานหนักๆเช่นเล่นเกมส์ 3D จนทำให้อุณหภูมิสูงกว่า 62 องศา หรือ GPU Power เกิน 60 วัตต์ พัดลมก็จะทำงานโดยปรับรอบตาม Profile ของการ์ดครับ นั่นเองที่ทำให้เมื่อเราเล่นเกมส์ เสียงรบกวนนั้นจะต่ำมากซึ่งทาง GIGABYTE นั้นเคลมไว้ว่าต่ำกว่า 20 เดซิเบล ซึ่งความเห็นผมคือน่าจะไม่ผิดเพี้ยนไปซักเท่าไหร่
.
ทางด้าน GIGABYTE GeForce GTX 960 WF2 นั้นเป็นอีกทางเลือกสำหรับกราฟฟิกการ์ดที่ใช้ GPU GTX 960 แต่จะมีราคาต่ำกว่า ความแตกต่างก็คือเรื่องของความเงียบครับ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยี Fan stop mode เหมือนกันแต่ว่าเมื่อมีโหลดหนักๆแล้วเสียงของพัดลมเมื่อเกิน 70% ขึ้นไปนั้นก็พอรู้สึกได้ ทางด้านประสิทธิภาพด้านโอเวอร์คล๊อกนั้น ตัวการ์ดถูกโอเวอร์คล๊อกมาจากโรงงานร่วมๆ 10% รวมถึงยังสามารถลากต่อไปได้อีกเกือบๆ 20% ต้องถือว่าไม่แพ้รุ่น G1 Gaming ครับทว่าคุณสมบัติบางอย่างนั้นจะด้อยกว่าอย่างที่กล่าวไป
.
ความเห็นส่วนตัวนั้นอยู่ตรงที่ราคาเปิดตัวครับ NVIDIA แจ้งไว้ว่า 199 USD ถ้าเทียบกับประสิทธิภาพแล้วไม่มีข้อกังขาครับ สุดยอด ทว่าราคาขายในไทยเมื่ออาทิตย์ก่อนที่ได้เริ่มวางกันนั้นอยู่ที่หมื่นกว่า ถ้ามองอย่างนี้แล้วแพงไปครับเพราะในคลาสนี้นั้นมีการ์ดคู่แข่งที่น่ากลัวค้ำคออยู่ ก็หวังว่าราคานั้นจะกลับลงมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น และเมื่อถึงวันนั้น GPU GTX 960 น่าจะเป็นการ์ดที่มีความต้องการสูงที่สุดในตลาดแทนที่ GTX 660 อย่างแน่นอน
..
..
CHANE
.
.
Special Thanks.
GIGABYTE, TW