GIGABYTE Radeon R9 290X WINDFORCE 3X Review
Share | Tweet |
.
Graphic Card Appearance
กล่องบรรจุ GIGABYTE Radeon R9 290X WINDFORCE 3X ยังเป็นโทนสีนี้เช่นเคย แต่อาจจะแปลกตาซักนิดกับรายละเอียดบนหน้ากล่องที่แอบมีสีแดงแต้มมาเล็กๆตรงขวาล่างครับ
ด้านหลังกล่องได้อธิบายจุดเด่นของการ์ดและชุดระบายความร้อน WINDFORCE 3X ที่สามารถรับโหลดความร้อนได้ถึง 450 วัตต์
มากันแบบตัว Sample สำหรับรีวิวครับ อุปกรณ์ต่างๆยังไม่ได้ใส่มาให้ชมนะ
ด้านหน้าการ์ดแบบเต็มๆยังคงแสดงให้เห็นถึงหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุดระบายความร้อนรุ่นใหม่ล่าสุดจาก GIGABYTE ครับ
ด้านหน้าเป็นโลหะ ด้านข้างก็มีการดามคานกันการ์ดแอนขณะใช้งานในเคสมาด้วยเช่นเดิมครับ
ความหนาของการ์ดนั้นก็ยังสามารถ optimize ให้เหลือเพียงสองสล๊อดเท่านั้น
GIGABYTE Radeon R9 290X WINDFORCE 3X กับชื่อรุ่นอย่างเป็นทางการ GV-R929XOC-4GD ซึ่งมันก็คือการ์ดที่ใช้ GPU R9 290X ที่มีเมมโมรี่ขนาด 4 กิ๊กกาไบท์ และการ์ดได้ถูกโอเวอร์คล๊อกมาให้เรียบร้อย
ต้องการไฟจากหัว PCI แบบแปดพินหนึ่งหัวและหกพินอีกหนึ่งหัวเพื่อเข้าไปเลี้ยงภาคจ่ายไฟครับ กินตามมาตรฐานครับ
อืม ผมก็ลืมไปว่า interface สำหรับ CF นั้นไม่จำเป็นสำหรับรุ่นใหญ่อย่าง 290X
ด้านหลังการ์ดมากันเต็มๆ อุปกรณ์แน่นเอี๊ยด
อินเตอร์เฟสที่สามารต่อเชื่อมกับจอแสดงผลนั้นมีทั้งหมด 4 ช่อง DVI สองช่อง / HDMI / DisplayPort ตามสมัยนิยม
.
มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเล็กน้อยจาก GIGABYTE กันครับ
สำหรับ ระบบระบายความร้อน WINDFORCE ลิขสิทธิ์เฉพาะของกิ๊กกาไบท์นั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสามารถจัดการกับความรร้อนของ GPU ได้เป็นอย่างดี รวมถึงอาจจะดีกว่าระบบระบายความร้อนจากแบรนด์อื่นด้วย สำหรับรุ่นของระบบระบายความร้อนที่ติดตั้งมาในรุ่นนี้ก็คือ WINDFORCE 3X สองสล๊อดครับ โครงสร้างของ WINDFORCE 3X สองสล๊อดจะประกอบไปด้วยฮีทไปท์ที่ทำมาจากทองแดง โดยส่วนของท่อนั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับฐานของชุดระบายความร้อนอย่างภาพด้านบน ครับ ลมจะถูกดูดมาจากสามพัดลมด้านบน เป่าผ่านฟิอลูมิเนียมเพื่อนำพาเอาความร้อนออกจากฟินให้เร็วที่สุด โดยจะมี Metal cover ช่วยบังคับทิศทางลมด้วย
.
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง GIGABYTE Radeon R9 290X WINDFORCE 3X กับรุ่นที่ใกล้เคียง
ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นมาจาก GIGABYTE Radeon R9 290X WINDFORCE 3X นั้นก็คือความเร็วของ Core ที่อัดมาให้นิดหน่อยที่ 40 MHz
...