Memory G.Skill F3-17600 CL7D-4GBPIS : Review
Share | Tweet |
—– Introduction and Specification —–
: ) สวัสดีครับ พบกับบทความของ VMOD อีกครั้งในวันรัฐธรรมนูญวันนี้… 78 ปี ผ่านมาแล้วกับรัฐธรรมนูญไทย วันนี้เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 7 ของราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในปี พ.ศ. 2475 นับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ผมจำได้แค่นี้ล่ะครับเรียนมาตั้งแต่สมัยมัธยมฯ เนื้อหาเกินเลยกว่านี้จะใช้ system restore เรียกคืนกลับมาก็ไม่ได้ เพราะผม ความจำสั้น (แต่รักฉันยาว) เอิ้กๆๆ ภายในสมองตอนนี้คงมีแต่สนิมเกรอะ และหลายๆ ส่วนก็ reset คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว เอิ้กๆๆ :) 78 ปี ผ่านไปเมื่อหันหน้าย้อนกลับไปดู แล้วหันกลับมามองปัจจุบันในวันนี้ในทางรูปธรรมผมว่ามันยังขยับไปได้ไม่ไกลเลย…แต่หากเปรียบเทียบกับวงการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน มันช่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สวนทางกับรัฐธรรมนูญไทยเสียจริงๆ เกริ่นพอแค่นี้ก่อนดีกว่าเดี๋ยวนึกว่าโต๊ะราชดำเนิน @พันทิพย์ เอิ้กๆๆ
รอบนี้ผมมีแรม G.Skill F3-17600 CL7D 4GBPIS ของยืมจากข้างบ้าน (จริงๆ) มาทดลองแสดงประสิทธิภาพ และโชว์ความงามหน้าตาของมันเผื่อถูกใจวัยรุ่นแถวนี้ และได้ไปจัดหามาทดลองใช้ดูบ้าง G.Skill รุ่นนี้ทำออกมาจำหน่าย 2 รูปแบบ คือเซต 4GB (2×2GB) และ 8GB (4×2GB) ความเร็วของแรมรุ่นนี้จัดได้ว่ากำหนดสปีดความเร็วมาให้สูงกว่าแรม DDR3 มาตรฐานทั่วไปอยู่พอสมควร และค่า CL ที่ฝังมาให้ก็รัดแน่น ถูกใจขาแรงอย่างแน่นอน อีกทั้งใน package ก็มีการพ่วงพัดลมระบายความร้อนหน้าตาสวยงามมาให้เรียบร้อยเลย ครบเครื่องจริงๆ จัดทีเดียวได้ครบเซต ไม่ต้องเดินตากแดดออกจากซอย แล้วเบียดผู้คนบน ขสมก. !!! เดินขึ้นพันทิพย์เวียนหาหลายรอบเพื่อซื้อซิงค์เป่าแรมเพิ่มเติมให้ยุ่งยาก เอิ้กๆๆ แบบนี้นี่เองที่เขาเรียกซื้อ 1 ได้ 2 อิอิกำ นอกประเด็นไปมากแล้ว รูดสกอร์บาร์ข้างเวปเพื่อเช็คสเปคแรมจากผู้ผลิตด้านล่างต่อได้เลยครับ อิอิ :)
Click >>> รายละเอียด และข้อมูลอื่นๆ จากเวปฯ ผู้ผลิต
—– Package & Product Detail —–
หน้าตากล่องใส่ของ G.Skill รุ่นนี้มาในแนวกระดาษลังใส่ของที่เห็นได้โดยทั่วไปตามร้านขายของชำบ้านเรา เอิ้กๆๆ : ) ดูๆ ไปมันก็อาร์ตดี package โดยภาพรวม ดูแล้วทำให้คิดไปว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์แรมค่ายนี้สนใจต่อสิ่งแวดล้อม เลยนำเอาวัสดุประเภท recycle มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง ตัวกล่องฯ สกรีนรายละเอียด และระบุสเปคมาให้เห็นอย่างชัดเจน ภายในกล่องฯ นอกจากจะมีตัวแรมมาให้จำนวน 1 คู่แล้ว ยังมีพัดลมระบายความร้อนแรมหน้าตางดงามติดมาด้วยอีก 1 ตัว พร้อมทั้งคู่มือสำหรับผู้ใช้ไว้ดูรายละเอียด หรือเก็บไว้เฉยๆ (แบบผม) อีกจำนวน 1 แผ่นขนาดบางๆ
เปิดกล่องฯ ออกมาก็เจอพัดลมระบายความร้อนตัวแรมขนาดเขื่องวางอยู่อย่างสวยงาม ส่วนตัวแรมแอบสอดอยู่ข้างๆ แทบจะมองไม่เห็น มองดูผ่านๆ แล้วนึกว่าขายตัวพัดลมฯ มากกว่าขายตัวแรม เอิ้กๆๆ ในส่วนหน้าตาพัดลมระบายความร้อนที่พ่วงติดมาให้กับตัวแรม ในสายตาผมถือว่างดงามใช้ได้เลย ดูผิวเผินรูปทรงการออกแบบคล้ายๆ ตัวเรือนนาฬิกาข้อมือไม่มีผิด นี่ถ้าก้านล๊อคเป็นยางนิ่มๆ ยืดหยุ่นและให้ตัวได้ นอกจากทำหน้าที่เป็นพัดลมระบายความร้อนแล้ว คงเอามาให้เด็กๆ ที่บ้านใส่รัดข้อมือแล้วจินตนาการแปลงร่างเป็นยอดมนุษย์ได้เลย เอิ้กๆๆ อิอิกำ !!!
เทออกมาจากกล่องฯ แล้ว มีเท่าที่เห็นครับ แรม 1 คู่, พัดลม 1 ตัว และกระดาษคู่มือ 1 แผ่น
ตัวแรมใช้แผงวงจรสีเขียวดูแล้วให้อารมณ์เป็นแผงวงจรรูปแบบดั้งเดิมโดยแท้ แต่ถ้าเป็นสีดำผมจะชอบเป็นการส่วนตัวมากกว่านี้ เอิ้กๆๆ ตัวฮีตซิงค์ที่ประกบกับตัวแผงวงจรเป็นแผ่นอลูมิเนียมขนาดใหญ่ ด้านบนแผงฮีตซิงค์เซาะร่องเป็นซี่ๆ ไม่ทึบตัน นัยว่าทำให้ตัวฮีตซิงค์มีหน้าสัมผัสอากาศเพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ตัวฮีตซิงค์เย็นกว่าปกติ และในส่วนความสูงของตัวฮีตซิงค์ ความสูงระดับนี้ถ้าท่านใช้ฮีตซิงค์ CPU ที่มีขนาดใหญ่ และติดตั้งพัดลมระบายความร้อนฮีตซิงค์ CPU แบบอยู่ด้านเดียวกับตัวแรมเพื่อเป่าลมผ่านฮีตซิงค์ฯ ออกด้านหลังเคส เห็นทีต้องเจออุปสรรคกับความสูงของตัวฮีตซิงค์แรมเป็นแน่แท้ถ้าติดตั้งตัวแรมไว้ที่ช่องเสียบที่ 1 (dimm1) คงต้องร่นเข้ามาเสียบแถวถัดไปแทน ยังไงก็ต้องลองเช็คอุปสรรคเรื่องความสูงของตัวฮีตซิงค์แรม กับ System ของแต่ละท่านดูกันเองน๊ะครับ : )
—– System Test & Memory Detail —–
ระบบที่ใช้เพื่อทดสอบในครั้งนี้ ก็ยังคงต้องอิงแอบกับ Intel i7 8xx เช่นเดิม เพราะถ้าจะวิ่งไล่ให้ได้ตามฉลากสเปคของตัวแรมในระดับบัสแรม 2200 ขึ้นไปนั้นนอกจากต้อง O/C ระบบโดยรวมแล้ว ยังคงต้องการอัตราทดของแรมในระดับ 1:6 ซึ่งตัว CPU Intel i7 8xx สามารถจัดการให้ได้ หรือถ้านำแรมตัวนี้ไปรันกับ Intel Series อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่อัตราทดแรมจะต่ำกว่า 1:6 เช่น i5 7xx จะมีอัตราทดแรมสูงสุดอยู่ที่ 1:5 ดังนั้นหากต้องการวิ่งให้ได้บัสแรม 2200 ที่อัตราทด 1:5 ต้องปรับบัส CPU หรือ BCLK ให้วิ่งได้ 220 เป็นอย่างต่ำ ผมมองว่าหืดขึ้นคอแน่ๆ ถ้าจะเริ่มต้นค่า BCLK กันที่จุดนี้ ในส่วนของค่า CL ตาราง Timings ของ G.Skill F3-17000 CL7D 4GBPIS คู่นี้ มีมาให้ 4 ค่า เป็นค่าแบบ JEDEC 3 ค่า และอีก 1 ค่าเป็นแบบ XMP Profile จัดไว้ที่บัสแรม 2200 รัดค่า CL ไว้ที่ 7-10-10-28-2T vDimm 1.65v (แทป SPD บน CPUZ ในส่วนของ Command Rate รายงานเป็นค่า 1T แต่ความเป็นจริงตามสเปคระบุอยู่ที่ 2T)
และเช่นเคยครับ รูปแบบการทดสอบของผมจะรันแต่ละเบนมาร์คฯ จำนวน 2 รอบ คือ รันแบบ Over Spec. 1 รอบ และรันแบบ Default Spec. ตามค่ามาตรฐานโรงงาน อีก 1 รอบ โดยค่าบัสแรมแบบ Over Spec. จะวิ่งที่บัสแรม 2262 MHz. CL9.10.9.28.1T ซึ่งเป็นค่าที่สามารถรันผ่านทุกการทดสอบได้แบบ Stability บนระบบฯ ของผมเท่านั้น… : )
ระบบทดสอบ (System Test) | |
CPU | Intel Core i7 860 |
CPU Cooling | Prolima Tech Megahalems [+Fan 2700 rpm] |
Motherboard | MSI P55-GD65 [Bios : v1.9] |
Memory | G.Skill F3-17600 CL7D 4GBPIS [2048x2] CL7.10.10.28.2T 1.65v |
VGA | HIS ATi HD5850 |
Harddisk | Intel X25-M SSD [80GB] |
Power Supply | Tagan BZ800 (800w) |
Air Condition | LG 9500BTU @ 27c |
O/S | Windows 7 Ultimate [x86] |
—– Hyper Pi 09.8b 32M 4Cores 8Threads—–
ช๊อตแรกเลยกับ HyperPi 0.98b 32M 4 Cores 8 Threads เบนมาร์คฯ ตัวนี้ผมทำ SS ตอนเทสค่าตามสเปคหายไป คงเหลือแต่ SS เฉพาะตอนวิ่งแบบโอเว่อร์สเปคเท่านั้น ก็รันผ่านมาได้ตามมาตรฐานชายไทย at วีม๊อดเทค กับความเร็วแบบโอเว่อร์สเปคที่บัสแรม 2262Mhz. ครับ :)
—– LinX All Memory —–
LinX 0.6.4 รันโหมด All Memory เอากันแบบไม่ต้องกลัวว่าแรมจะหายใจไม่ออก เพราะถ้ามันสิ้นใจตายในหน้าที่ และไม่ทิ้งสารตกค้างตามร่างกายแรม ก็โทรฯ เรียกประกันได้เลย เอิ้กๆๆ ค่า GFlops สูงสุดขณะรันแบบ Over Spec จะได้ 50.97 หน่วย และรันแบบ Default ได้ 49.77 หน่วย
—– PCMark 2005 —–
ค่า Memory Score ขณะรันแบบ Over Spec. จะได้คะแนน 13266 และรันแบบ Deafult จัดไป 13052 คะแนน จี๊ดดดด ดีครับ :)
—– MaxxMEM —–
รัน MaxxMEM ได้ค่า Reached Memory Score ประมาณ 16.41 GB/Sec. และค่า Reached Latency Score ประมาณ 42.8 ns
—– EVEREST Cache & Memory —–
—– SiSoftware Sandra —–
จัดไปอีก 1 ชุด กับ SiSoftware Sandra
—– Conclusion !!! —–
โค้งสุดท้ายก่อนจากกับ G.Skill F3-17600 CL7D 4GBPIS แรมเกรด Hi-End ที่ดูน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ฝังสเปคสูงมาแต่กำเนิด หน้าตาสวยงาม ดูแล้วเย้ายวนชวนให้กิเลสเพรียกหาเป็นอย่างยิ่ง ความเร็วบัสที่ได้จากตัวแรมจัดได้ว่าสูงกว่าแรมสเปคมาตรฐานทั่วๆ ไป และค่า CL ที่รัดมาให้ในระดับบัสแรม 2200 Timing ค่าแรกอยู่ที่ระดับ CL7 ถือได้ว่าจี๊ดพอสมควร สเปคแรมแบบนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพของตัวแรมในระดับสูง เพื่อใช้ควบคู่กับ CPU ซีรีย์แรงๆ และสามารถขับเคลื่อนให้มันวิ่งได้ตามสเปคแรม หรือจะวิ่งโอเวอร์สเปคเกินฉลากที่ระบุมาก็ย่อมได้ แต่กระนั้นข้อควรคำนึงถึงเล็กๆ น้อยๆ กับแรมคู่นี้สำหรับท่านฯ ที่เล็งไว้เพราะรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม ตัวฮีตซิงค์ของมันค่อนข้างสูงอาจเป็นอุปสรรคอยู่บ้างสำหรับการติดตั้งลงไปบนช่อง dimm1 หากท่านฯ ใช้ฮีตซิงค์ขนาดใหญ่ และมีการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนอยู่ด้านเดียวกับตัวแรม….ท้ายที่สุดกับคำถามยอดฮิต ค่าตัวมันเท่าไหร่? เจ้าของแรม ท่านฯ ที่ให้ผมหยิบยืมมาทดลองใช้งานบอกว่าประมาณ 5,xxx กลางๆ ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อมาในตอนนั้น…ท่านใดรักความแรง แฝงด้วยปัจจัยที่พร้อม ก็ฝากไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกแล้วกันครับ…See you next time : )
ขอขอบคุณ Mr.mohan เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ