HD3850 ขุนพลระดับกลางของ ATI
Share | Tweet |
หลังจากที่ ATI เงียบไปพักใหญ่ พอออกการ์ด HD2900XT ก็เริ่มออกเป็นชุด
จนเหล่าสาวกชักงง ๆ ว่าจะเล่นรุ่นไหนดี เช่นกันผมนาย Gigolo ก็คิดมาพักใหญ่
ด้วยกำลังบ้า Hi-Def ทำให้มองการ์ดทางฝั่ง ATI เป็นหลัก เพราะมันมี UVD นั่นเอง
เมื่อ HD3850/3870 การ์ดซีรีย์ HD3000 ออกมา ผมจึงไม่รอช้าที่จะควักกระเป๋าซื้อ HD3850 มาใช้
ครับวันนี้เราจะมาเทสดูว่าพลังของการ์ดราคา 6 พันกว่าบาทมันจะเป็นยังไง
เมื่อได้การ์ดมาอย่างแรกที่คนเห่อของใหม่อย่างผมทำก็คือ อ่านมันทุกอย่างที่อยู่บนกล่อง เอาให้คุ้มกับเงินที่เสียไป
(อารมณ์เดียวกับอ่านถุงใส่กล้วยทอดเลยครับ) ดูจากกล่องแล้วพอจะสรุปได้ว่า ทำกล่องได้สมกับเงินที่จ่ายไป เอิ้กๆ
แกะกล่องเข้ามาก็เจอกับตัวการ์ดอยู่ในถุงพลาสติกอย่างดี อิอิ ใจร้อนฉีกถุงเอาการ์ดมาดูเลยดีกว่าครับ (คนมันเห่อครับ)
แดงได้ใจจริง ๆ ครับ อุปกรณ์บนการ์ดใช้คาปาแบบโซลิด มีซิงค์อลูมิเนียมครอบด้วยพลาสติกดักลมสีแดงขนาดพอ ๆ กับตัวการ์ด
ความหนาของตัวการ์ดใช้เนื้อที่ในการติดตั้ง 1 สล็อต ด้วยซิงค์ที่บางทำให้มีคำถามว่าจะเอาความร้อนของการ์ดอยู่หรือไม่ เดี๋ยวเราไปดูกันครับ
ครับทุกยี่ห้อที่ทำการ์ดซีรีย์ HD3850/3870 ต่างก็ใช้ Reference Card ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกันหมด
จะแตกต่างกันก็แค่สติ๊กเกอร์ที่ติดอยู่บนซิงค์เท่านั้นเอง ผมไม่สนใจยี่ห้ออยู่แล้ว สนใจแต่ว่ามันจะแรงคุ้มราคาหรือเปล่า เอิ้กๆ
ด้านหลังได้ความรู้สึกแบบการ์ดรุ่นใหญ่ทีเดียวครับ เต็มไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ที่เห็นเด่นชัดก็คานเหล็กยึดซิงค์ครับ
เอามาโชว์ในเกือบทุกมุมมองครับ ในส่วนของภาคจ่ายไฟก็ได้อานิสงค์จากซิงค์ด้วยเช่นกัน โดยทำพินในรูปแบบแท่งกลม สวยงามดีครับ
พอร์ทของการ์ดรุ่นนี้จะเป็น DVI 2 พอร์ท พร้อมช่องต่อ S-Video ตามสมัยนิยม ส่วนชิบ GPU ก็ RV670 Pro ใช้การผลิตแบบ 55 nm
ชมกันให้ทั่ว ๆ ก่อนครับ ก่อนจะไปทราบรายละเอียดของการ HD3850 ว่ามีอะไรกันบ้าง อย่าพึ่งเบื่อซะก่อนนะครับ
เมื่อถอดเอาซิงค์ออกก็จะเห็นเม็ดแรม 8 เม็ด รวมความจุแล้ว 256 MB แบนด์วิชท์ 256 Bit เป็นแรมGDDR3 ของ Samsung BJ-11
ทางด้านปลายการ์ดก็จะเป็นส่วนของภาคจ่ายไฟ และที่เสียบไฟเลี้ยงแบบ 6 Pin ที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบ ได้กลิ่นอายของการ์ดรุ่นใหญ่ดีจริง ๆ
ดูกันแบบคร่าว ๆ ไปแล้ว ไปดูถึงรายละเอียดต่างของ HD3850 กันดีกว่าครับ
รายละเอียดฮาร์ดแวร์ HD3850
VPU | |
VPU | RV670Pro |
Transistor Count | 666 Millions |
VPU Core-Clock | 668 Mhz |
Bus Type | Pci-e 2.0 x 16 |
Fabrication | 55 nm |
Stream Processing Unit | 320 |
Maximum Fill Rate | 10700 MTexels/s |
Memory | |
Graphic Memory | 256 MB |
Graphic Memory Speed | 1656 Mhz |
Graphic Memory Type | GDDR3 |
Graphic Memory Bit | 256 |
Memory Bandwidth | 53 GB/s |
Connectors | |
S-Video | Yes |
DVI | Yes ( 2 Port) |
HDMI | Yes (by DVI to HDMI Adapter) |
D-Sub | Yes (by DVI to D-sub Adapter) |
Technology | |
AVIVO HD | Yes |
Crossfire X | Yes |
UVD Support | Yes |
Direct X | 10.1 |
Shader mode | 4.1 |
PowerPlay | Yes |
จะเห็นได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นกับการ์ดในซีรีย์นี้ เริ่มจากเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 80nm มาเป็น 55 nm
ซึ่งทำให้มีความร้อนน้อยลง ใช้พลังงานน้อยลง ต่อมาก็ระบบการเชื่อมต่อที่เปลี่ยนมาเป็น PCI-E 2.0 โดยทางทฤษฎีบอกว่า
จะมีความเร็วในการเชื่อมต่อมากกว่า PCI-E เวอร์ชั่นเดิมถึง 2 เท่า ต่อมาก็เป็นเทคโนโลยี Crossfire X จากเดิมที่
การเชื่อมต่อการ์ดวีจีเอเข้าด้วยกันนั้นจะทำได้แค่ 2 ตัว แต่ด้วย Crossfire X ทำให้สามารถเชื่อมต่อได้ถึง 4 ตัวด้วยกัน (อ่าจะต่อไปทำไมหว่า เยอะขนาดนั้น อิอิ)
อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ ATI ใส่เข้ามาคือฟังก์ชั่น Powerplay ซึ่งทำงานคล้ายฟังก์ชั่น Speedstep ของซีพียูนั่นเอง
ครับเอาคร่าว ๆ ก็พอครับ ไปดูพลังของมันกันดีกว่าครับ ผมจะเทสใน 2 ระบบปฏิบัติการนะครับคือ Windows Vista Ultimate และ Windows XP Professional