HP Mini 1000 พลัง Intel Atom
Share | Tweet |
ก่อนอื่นก็ต้องกล่าวสวัสดีและขออภัยท่านผู้ติดตามชมเว็บไซต์ของเราทุกท่านก่อนเลยครับ เนื่องจากผม่ได้รับ HP Mini เน็ทบุ๊กจาก Hp มาเป็นเวลานาน (ร่วมเดือน) แล้ว และได้ทำการทดสอบเสร็จแล้ว แต่ไม่ได้นำผลการทดสอบ และรีวิวมาให้พวกเราได้ชมกันสักที สืบเนื่องจากภารกิจของนักเรียนวัยเกรียนอย่างผมนั้นเองครับ อิอิ วันนี้ก็ฤกษ์งามยามดี (อย่างไรมิทราบ) ก็ได้ที นำบทความขึ้นให้ทุกท่านได้ชมกันครับ
พูดกันคร่าวๆถึง HP mini 1000 ตัวนี้ครับ โดยตามจริงแล้ว ในซีรียส์เน็ทบุ๊กของทาง HP เอง จะมี HP mini ซีรียส์ 2000 สำหรับซีพียูจากค่าย VIA ไว้ทำตลาดอยู่ก่อนแล้ว และในตอนนี้ ก็มี HP mini 1000 ออกมา สำหรับซีพียูจากอินเทลในชื่อ Atom มาทำตลาดกันอีก ซึ่งจะเป็นยังไง ผมก็จะนำมานำเสนอในวันนี้เองแหละครับ
HP Mini 1000 (Atom CPU)
CPU | Intel Atom N270 1.6Ghz |
RAM | DDR2-800 1gb |
Chipset | Intel 945 |
Graphics | Intel GMA950 |
Storage | 1.8″ Toshiba 60gb |
Optical drive | N/A |
Wireless | Bluetooth + Broadcom 802.11b/g |
Display | 10.2″ 1024×600pixels |
Wieght | 1 kg |
Port/Slot | USB2.0 2port ,2 in 1 card reader |
Batterry | 2400mWh |
ภาพจากโปรแกรม Everest แสดงรายละเอียดของเครื่อง
การออกแบบโดยรวม ของ HP mini ผมถือว่าค่อนข้างน่าปลื้มกว่าเน็ทบุ๊กจากหลายๆค่ายนะครับ ด้วยทัศนะส่วนตัวเลยคือ ผมว่ามันดูมีลวดลาย ในความง่ายๆของบอดี้ของมัน และดูๆแล้วเป็นของมีราคาครับ
เมื่อลองยกฝาพับเปิดขึ้นมา ก็จะพบกับคีย์บอร์ดที่ดีไซน์ไม่เหมือนใครครับ
อันนี้ทัชแพดครับ ดูทรงแล้วเล็กไปสักนิดหนึ่ง เพราะโดนพื้นที่คีย์บอร์ดกินลงมาเยอะ
ที่น่าชื่นชมก็คือการจัดวางปุ่มบนคีย์บอร์ดครับ ทำได้ดี ระยะห่างระหว่างนิ้ว ถือว่าดีกว่าเน็ทบุ๊กหลายๆค่ายมากเลยทีเดียว
ลำโพงถึงจะไม่ได้ตีตราว่าเป็นแบรนด์อะไรมา แต่ก็ออกแบบได้สวยงามเหมือนลำโพงแบรนเนมเลยทีเดียว ส่วนเสียงออกมา ก็งั้นๆแหละครับ (อิอิ กำ)
power switch ทำออกมาได้แปลกดีครับ แต่ผมว่าเลื่อนเปิดนี่ มันยากกว่าการกดเปิดนะครับ หุหุ ส่วนถัดไป ที่เห็นเป็นไฟสีฟ้าๆนั่นคือสวิชเปิดปิดระบบไร้สายนั่นเองครับ
ด้านซ้ายมือ รูระบายความร้อน พอร์ต USB และพอร์ตพิเศษสำหรับอุปกรณ์ของ HP ครับ รวมไปถึงพอร์ต RJ45 ที่ซ่อนอยู่ในจุ๊กยางที่ต้องดึงเปิดออกมา (ตรงนี้ดึงลำบากนิดนึง)
Card Reader 2 in 1 USB 1 พอร์ต แล้วก็หมดแล้วครับ ไม่มีพอร์ต VGA out
เปิดฝาออกมา พบว่าทำอะไรกับมันไม่ได้มากนักครับ จะมีฝาพิเศษอีกฝาหนึ่งไว้เปิดแรมออกมา (แต่ลืมถ่ายรูป อิอิ กำ) ซึ่งก็ทำได้เพียงเท่านี้จริงๆ
การที่จะ service ในส่วนอื่นๆ อาจต้องใช้ประสบการณ์นิดนึงในการเปิดฝาด้านล่างทั้งแผง(น็อตอยู่ใต้จุ๊กยาง) และทำการสไลด์เลื่อนคีย์บอร์ดออกมาดังรูป ภายใน ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไมมันถึงมีความร้อนที่ค่อนข้างสูง เพราะว่า ช่องระบายอากาศของพัดลมซีพียูนั้น อาศัยช่องว่างระหว่างปุ่มคีย์บอร์ดในการดูดลมเย็นเข้ามา และปล่อยออกในช่องระบายอากาศด้านข้างเครือ่งเท่านั้นเองครับ ไม่มีรูระบายอากาศด้านล่างเครื่องแต่อย่างใด
แบตเตอร์รี่ทรงแปลกตาดีครับ ปกติจะเป็นเป็นแท่งยาวๆเจ้าตัวนี้ ความจุ 2400mWh ใช้งานจริงได้ราวสองถึงสามชั่วโมงครับ
ทดสอบ มุมมองของจอ
มุมมองตรง
เอนไปด้านหลัง 45 องศา
เอนมาด้านหน้า 45องศา
ด้านขวา 45องศา
ด้านซ้าย 45 องศา
Raw Performance กับโปรแกรมยอดนิยม
ทดสอบ WinRAR
Super PI 1mb
Cinebench R10
ดูคะแนนระหว่าง Single กะ Multi processor ต่างกันตั้ง 1.5 เท่า แสดงว่า HT technology นั้นพอที่จะช่วยทำงานงานเสร็จเร็วขึ้นได้นะครับ อิอิ
HDtune
สำหรับ HDtune ที่ดูช้าๆ เพราะฮาร์ดดิสก์ เป็นแบบ 1.8 นิ้วนั้นเองครับ แต่ใช้งานจริง ก็จะไม่ค่อยรู้สึกมากหรอกครับ เป็นธรรมชาติของ Atom ที่ช้ายังไงก็อย่างนั้นอยู่แล้วนั้นเอง เอิ้กๆ แต่ก็ได้มาซึ่งความสะดวกในการพกพาและใช้งานนอกสถานที่ครับ
Synthetic Benchmark.
Everest Ultimate Edition
วัดประสิทธิภาพในการเล่นเกมกราฟฟิค 3Dmark01se 3Dmark06 สำหรับวันนี้ แถม 01se ให้พอได้รู้ว่าเจ้านี่ก็พอที่จะเล่นเกม DX8 เก่าๆได้เหมือนกัน ไว้แก้เซ็ง เห็นผลการทดสอบแล้วก็นึกถึงสมัย AMD Duron จับกับพวก Geforce 2 อะไรทำนองนี้ล่ะมั้งครับ อิอิ
General Usage by PCmark05
Graphics by 3Dmark Series
บทสรุป สำหรับ HP mini 1000 ตัวนี้ ประสิทธิภาพ ก็คงจะไม่ต่างจากเน็ทบุ๊กจากค่ายอื่นๆหรอกครับ ก็เพราะเสป็คมันก็แทบจะโคลนนิ่งกันมาหมด แต่ที่น่าสนใจคือการดีไซน์ ลวดลายที่เป็นสไตล์ของ HP รวมไปถึงการจัดวางคีย์บอร์ดทีดี ของ HP ส่วนข้อเสีย คงจะเป็นพอร์ตเชื่อมต่อ ที่ยังขาด VGA out ไปอย่างหนึ่ง รวมไปถึงช่องระบายความร้อนที่ดูแล้วมีน้อยจนน่ากลัว แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันครับ ส่วน HP mini 1000 ตัวนี้ สนน ราคาที่ 14900.- บาท ณ วันที่นำบทความขึ้นนะครับ จะถูกใจหรือไม่ ก็ลองไปคิดๆกันดูนะคร้าบ
ไดร์เวอร์ & ซอฟทแวร์ คลิกที่นี่
วิจารณ์บทความ คลิกที่นี่