HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

/ บทความโดย: tpp , 15/10/2018 20:26, 36,255 views / view in EnglishEN
«»
Share

main HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

สวัสดีครับ วันนี้เรามีหูฟังเกมส์มิ่งจาก Kingston HyperX มารีวิวให้ได้ชมกันอีกแล้ว และวันนี้เราจะพูดถึงรุ่นใหม่ล่าสุดของ HyperX คือ Cloud Flight Gaming Headset ซึ่งมันเป็น Gaming Headset แบบ Wireless ครับ สามารถเชื่อมต่อกับหลากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น PC, Play Station ก่อนหน้านี้เราก็ได้รีวิวไปแทบทุกรุ่นทุกเจนเนอร์เรชั่นของเค้ามาก่อนหน้านี้แล้วหลายตัว ซึ่งสามารถย้อนกลับไปชมบทความได้ที่นี่ครับ

HyperX Cloud Alpha Gaming Headset Review

Kingston Hyper X Cloud Revolver S Review

Kingston HyperX Cloud Stinger Gaming Headphone Review

Kingston HyperX Cloud Revolver Headset Review

KINGSTON HYPERX CLOUD II Pro Gaming Headset Review

ความคาดหวังอันสูงของผมก็คือเสียงที่ได้จากรุ่นใหม่ๆจากหูฟังของ HyperX นั้นต้องดีมากแน่ๆเพราะจากที่เคยได้ทดลองฟังจากรุ่นแรกและได้มีโอกาสคุยกับทีมงาน HyperX ที่ไต้หวัน ก็ได้ชื่นชมรวมถึงได้เสนอแนะความคิดเห็นเรื่องแนวเสียงจากผู้ใช้งานคนนึงไปให้ทางทีม Kingston เมื่อตอนนั้น และหลังจากนั้นก็พบว่าเสียงของหูฟังเกมส์มิ่งแบรนด์นี้มันต่างครับ ต่างจากเกมส์มิ่งแบรนด์อื่น ซึ่งเข้าใจครับว่าทีมงานจูนเสียงเค้าเหมือนจะชอบทำเสียงให้ออกแนวฟิเดลิตี๊ด้วยกระมังทำให้ผลรวมนั้นออกมาดีทีเดียวครับหากมองในแง่มุมของผมนะ มาชมรายละเอียดกันดีกว่าครับ

.

HyperX Website

2018 10 15 19 14 45 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ข้อมูลเชิงลึกนั้นก็สามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดด้านบนครับ

.

————————————————–


PACKAGE Appearance

tpp 4303 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

tpp 4304 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

กล่องบรรจุตัว Cloud Flight นั้นจะมีการออกแบบสวยงามเตะตาด้วยโลโก้ HyperX

tpp 4307 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

tpp 4306 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ในกล่องนั้นจะมีคู่มือแบบแผ่นพับที่จะอธิบายรายละเอียดต่างๆรวมถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ขวาสุดจะเป็นตัวรับและส่งที่เราต้องนำไปเสียบกับพอร์ท USB บนคอมพิวเตอร์หรือ PS

tpp 4305 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

เมื่อถอดออกมาจากกล่องนอก เราจะเห็นตัวหูฟังวางอยู่แบบนี้

tpp 4308 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

รูปร่างของหูฟังโดยรวมครับ สวยงามตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นเลย

tpp 4309 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

บริเวณที่สัมผัสและกดกับศรีษะนั้นให้ความรู้สึกนุ่มดีครับ เมื่อใส่เข้ากับศรีษะก็จะรู้สึกกระชับครับ แต่หากใครรู้สึกว่ามันหนึบหัวหรือแน่นเกินไปก็แนะนำให้ถ่างออกไว้ซักพักนึงครับ จะช่วยให้มันลดอาการบีบหัวลงได้บ้าง

tpp 4311 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ส่วนที่สัมผัสกับหูนั้นเป็นลักษณะคล้ายหนังที่มีความนุ่มนวลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก การบีบรัดก็ไม่มากนักเมื่อสวมใส่อยู่บนหัว

tpp 4312 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ช่องเชื่อมต่อที่สามารถต่อได้ จากซ้ายจะเป็นปุ่มเชื่อมต่อกับ PC หรือ PS ครับ ถัดมาจะเป็นช่องเสียบสายจากตัว Cloud Flight ไปยังเอาท์พุทของคอมแบบ stereo แบบ 3.5 มิลลิเมตร ตรงกลางจะเป็น USB สำหรับชาร์จไฟเข้าตัวหูฟัง และขวาสุดจะเป็นช่องสำหรับเสียบไมค์ครับ

tpp 4313 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ที่หูฟังอีกด้านจะมีโวลุ่มสำหรับปรับเร่ง/ลดเสียง

tpp 4314 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ภาพเมื่อประกอบไมค์เข้ากับตัวหูฟังนะครับ

————————————————–

Testing and Conclusion

tpp 4376 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

เริ่มทดลองกันเลย

tpp 4361 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

การใช้งานแบบไร้สายนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดายนะครับ คือเรานำเอาตัวรับส่งสัญญาณไปเสียบเข้ากับพอร์ท USB ของคอมพิวเตอร์หรือ Play Station หลังจากนั้นก็ทำการเชื่อมต่อโดยกดปุ่มพาวเวอร์ที่อยู่บนหูฟังด้านซ้ายจนมีเสียงปี๊บเบาๆ ไฟโลโก้ HyperX จะติดและการเชื่อมต่อก็จะสมบูรณ์ ในการทดลองนี้ผมได้ทำการเสียบใช้งานหูฟังต่อเนื่องไว้ก่อนประมาณสามวันครับ

tpp 4363 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

การใช้งานพื้นฐานของหูฟังนี้ก็แน่นอนครับว่ามันออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายได้ สุ่มเสียงก็จัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนไปทางดี รายละเอียดพอได้ เบสไม่บวมไปบูมเหมือนกับหูฟังเกมส์มิ่งแบรนด์อื่นๆ ติดนิดตรงว่าหากจะพิจารณาเสียงที่เปล่งออกมานั้นดูเหมือนยังไม่พุ่ง ไม่โปร่งนักโดยเฉพาะเสียงกลาง กรณีเราเล่นเกมส์เสียงที่ได้ก็จะลดความดุดันลงไปครับถ้าเราไปเทียบกับหูฟังรุ่นอื่นๆ ลองพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นเพราะภาคขยายในตัวนั้นไม่สามารถผลักดันตัว driver ของหูฟังออกหมดแม้จะผ่านการเบิร์นอินไปเกือบๆร้อยชั่วโมงแล้วก็ตาม ซึ่งน่าจะเป็นบุคลิคของ Cloud Flight เมื่อใช้งานแบบ Wireless ครับ

tpp 4377 HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ผมลองนำเอาสายเสียบและเชื่อมต่อไปยัง ASUS Essence One MK II ซึ่งเป็น DAC เสียงเรียบๆแต่ให้รายละเอียดดีตัวนึงจากแบรนด์ ASUS ครับ เสียงที่ได้จาก Cloud Flight นี่กลายเป็นหนังอีกม้วนนึงเลยครับ พื้นฐานเสียงโดยรวมนั้นถูกผลักดันออกมาจนหมดจากกำลังขับที่มากกว่าจาก DAC นอก เสียงตลอดย่านนั้นเปิดโปร่งโดยเฉพาะเสียงกลาง เสียงย่านปลายแหลมนั้นจะเหมือน slope ลงค่อนข้างเร็วแต่ถือว่าไม่ห้วนแต่อย่างใด เสียงกลางต่ำให้แรงปะทะที่ดีมากจากที่ได้ลองฟังกับ TOP 10 SLIPKNOT RIFFS บน Youtube เสียงโทนกลางต่ำจนถึงต่ำนั้น ผมว่ามันถูกจูนมาได้อย่างลงตัว ตัว driver สามารถหยุดยั้งเสียง drop B จากกีตาร์ไม่ให้หึ่งขึ้นมากวนเสียงกลางๆจนลดทอนความดิบเถื่อนเลย ตรงนี้จะเป็นเพราะว่าภาคขยายนั้นมีแรงเพียงพอ ผมลองเร่งโวลุ่มขึ้นไปที่ประมาณเที่ยงบน DAC ที่นี้เสียงพุ่งโหดดิบกว่าเดิมอีกมากมาย แสดงให้เห็นว่าตัว Driver และการจูนโทนเสียงนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก

.

เมื่อเปลี่ยนเพลงมาเป็น ลูกทุ่งติดชาร์จ จะเห็นได้ชัดครับว่านอกเหนือจากกลางต่ำที่พุ่งแล้ว เสียงกลางที่เปิดรวมถึงรายละเอียดด้านกลางแหลมนั้นมีรายละเอียดที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ โทนัลบาลานซ์ตลอดย่านนั้นผมว่ามันสามารถทำให้เพลงมีความกลมกล่อมที่ดีครับ ถ้าจะฟังว่าบางช่วงบางย่านดูเหมือนบางเบามากก็คงจะเป็นเพราะตัว driver เอง เสียงที่หายไปนี้จะไปได้ยินบนชุดที่แรงกว่าซึ่งคงไม่ใช่ข้อเสียของหูฟังตัวนี้แต่อย่างใด ผมว่าหากต้องการหูฟังที่สะดวกๆซักรุ่น เอามาเล่นเกมส์ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องสายที่จะรุงรัง ขยับเก้าอี้ทีต้องระวังว่าจะไปทับสาย ผมว่าตอบโจทย์ครับ แต่ต้องยอมลดความซีเรียสลงไปบ้างจากสุ่มเสียงที่บางเบาลงอย่างชัดเจนในแง่ของพลังและรายละเอียด การเสียบเข้ากับ USB DAC หรือ DAC จะเป็นการต่อยอดที่ดีมากสำหรับ Cloud Flight ตัวนี้ คือพอจะเน้นสะดวกก็ต่อไร้สายได้ ระยะนั้นก็สามสี่เมตรสบายๆครับเสียงไม่ดร๊อปเลย ขนาดเดินออกไปนอกห้องยังไม่มีรอยต่อของเสียงเลยครับ แต่เมื่อไหร่ที่ต้องการคุณภาพเสียงที่ดีแล้ว การเชื่อมต่อแบบสายยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ Cloud Flight  อาจจะแพงไปนิดครับที่ห้าพันกว่าแต่ถ้ามองว่ามันเป็นหูฟังที่มีความสะดวกในการเลือกเชื่อมต่อและมีเสียงที่ดีแบบนี้ ผมว่าคุ้มครับ และผมอยากจะบอกว่าสำหรับผู้ทดสอบแล้ว HyperX Cloud Flight ถือเป็น Gaming Headset หน้าตาเกมส์มิ่งสำหรับเล่นเกมส์ ฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์หรือ Play Station นั้นมีเสียงที่ดีที่สุดเท่าที่ผมได้ทำการทดสอบมาครับ

.

.

.

.

ขอบคุณที่ติดตาม

chane


vmod award performance best HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Reviewvmod award innovation best HyperX Cloud Flight Wireless Gaming Headset Review

ขอขอบคุณ

Kingston

«ก่อนหน้า 1 2 3 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»